วันอังคาร, ธันวาคม 30, 2551

Reaching out for Happiness

Reaching out for Happiness is written by Karnjariya Sukrung for In Spirit package of Outlook, the Bangkok Post, on December 30, 2008

On his recent visit to Thailand, I had a chance to talk to Venerable Matthieu Ricard, 62, on the effect of mind training and his new book, Happiness: A Guide to Developing Life's Most Important Skill, which has been translated and published in Thai "ความสุข".

Based on scientific approach and researches as well as his 35 years of Buddhist practice, Ven. Ricard suggests mind training and altruistic love as keys to our happiness for the individual and the collective whole.


Aristotle said happiness is the goal of all goals. We try to do this and that because we think that it will bring us happiness. We get money, not for getting money, but to earn happiness. So does it do or not? Be objective.

Ask yourself, in your life, what are the moments of genuine sense of fulfillment? Are they when you get more money, or are they times when you spend with friends, family or in nature?

What do we want in life? We have to begin thinking what really matter. There are things that matter, things that really matter, and things that really, really matter. Those are the things you need to know.

You must have moments of silence to see what comes at the surface. Quieten your mind. Try to look inside.

And if you see that the things that really, really matter, take only five percent of your time, then something is wrong. Then you should do something that can fulfill your aspiration to engage in what really, really matter to you.

It is always difficult to predict the consequences of your decisions and actions but what you can always check is your motivation.

Why am I doing that? Is it just for me or is it also taking into considerations of others?

Is it just for benefits of one person, or for more? Is it harming to others? Definitely, we should not harm anyone.

Is it for the short term or the long term benefits? We can think of selfish pleasure in the short term, but lots of sufferings will come in the long term. This is not a good bargain.

These questions are important. To have meanings to directions give you strength.

You have to be able to discriminate, what is going to bring you genuine fulfillment and what does not.

Authentic happiness is not an endless succession of pleasure. It is an optimal way of being that really gives you resources to deal with the ups and downs in life.

Pleasure changes all the time. I drink a cup of tea, very delicious. Three cups of tea, enough. Twenty cups, I got sick. The pleasurable can turn unpleasant.

Also, pleasure is vulnerable to change and circumstance. If I don’t have a cup of tea, I’m not happy. It does not last or give you a sense of fulfilling.

Happiness is not like that. The way of well being is the opposite. No matter what happens; getting a pot of tea, fine, not getting one is also okay.

The more you experience happiness, it becomes stronger
. The more you eat ice cream, it won't get more delicious. You won't get any happier, you start becoming nauseated.

Our control of the outer world is limited. It is always changing, sometimes, it is illusory. The best is to control the way you experience things; how we translate our experience; happiness or suffering.

You can be terribly sad and depressed although everything is beautiful. Or you can be happy in the environment that does not look very nice. So it is the mind that is stronger than the outer environment. That is why we need to cultivate the mind.

You need to know what kinds of mental states will destroy your happiness; is it jealousy, anger or obsession? And there are other mental states that you don’t want to suppress; like altruism and compassion.

You need to cultivate the constructive ones and get rid of destructive ones.

If you genuinely construct more compassion, more inner peace, inner freedom and inner strength, day after day, it is growing, you become stronger and less vulnerable to the change outside.

Slowly, you will become a better person and you feel better, others will appreciate. When facing adversity, you will not be discouraged. Facing success, you will not be presumptuous. Good criticism, very good. Bad criticism, it is alright. You can manage and deal with whatever happens. You keep your balance. That is the result of change. That is the real criteria; slow and real change.

Therefore, we must develop the understanding of how the mind works. We can train our body, our intellect, why can’t we train our mind and altruistic love? We can. And we have the potentials to do so.

If you said, it is normal for human beings to be jealous and it is a part of our being, then why don’t you try cultivating jealousy for 24 hours? Or if you think strong ego is great, go for it, do it for 24 hours, what would you experience? Is it something genuinely good? Experiment!

Now if you do loving kindness for 24 hours, what kind of result it brings? You can make a distinction. Anyone who is honest will see the difference.

We all have it; passion, emotions, anger, and envy. We don’t need that much to encourage it or boost our anger or amplify our envy. They go themselves very well.

But there are many ways to be part of something. Take for example a glass of water. Water is H2O. I can put some medicine in that, and it becomes therapeutic water. I can put some syenite in it, it will kill me. But H2O is not medicinal or toxic, but the contents in it are.

Is it like that for mental poisons? How can we investigate that? We need some kinds of introspection. We can see behind the wandering thoughts. There is a basic nature of consciousness --- awareness that is not modified by contents (mental constructions).

To recognize that is to realize the possibility of change. You can bring antidotes, you can neutralize hatred with loving kindness, and you can stop identifying with your anxiety and anger. The awareness of anger is not anger.

The more awareness and mindfulness grows, the more anger will vanish and fade away. When we know that transformation is possible then we can put it in action.

Meditation is a way to become a better human being, then to function better in society, then to be at the better service of others.

We are working with scientists studying how the brain changes with those who do short and long term meditations; from 8 weeks and 20 years.

They find that those who do long term meditation have tremendous change in their brain. The faculty that generates powerful mental states is the result of their training.

For those who are not experienced, they were asked to meditate for 30 minutes a day for 8-10 weeks, and the study showed remarkable results.

The area of the brain that is related to stress is less active. Their anxiety and stress diminishes; the immune system and production of antibody increases, high blood pressure decreases, the traits of anger and the tendency to depression goes down. These lead to conditions to happiness and increase the quality of life.

I’d suggest you do meditation for 30 minutes every day, best in the morning when your mind is not too covered by thoughts. It will give you a different taste to the day. You will be less affected by whatever happens during the day.

And like any trainings, change is not going to happen within a snap. We don’t mind spending 15 years going to schools and learn professional skills. When we know and accept the fact that we need to change, we need to learn.

Your happiness can be achieved with and through happiness of others. Selfish happiness does not exist. It destroys self. You make yourself and others miserable.

Our suffering and happiness is closely linked with that of others. We are not in our own bubble. We are interdependent. So we have to learn how to live together.

Altruism is the key. Compassion and altruism love is the most constructive emotion of mental states.

It is the thing that makes us speak and act in favour of others. It is attuned with reality, which is interdependence.

Living together does not mean that everybody should think the same. Have different ideas but work together!

This is for the good of the nation, for the people, for the good of your family, and for your own good.
People have to be genuinely concerned about bringing a better society. If everyone tries to pull the strings out of personal interests, for fame, glory, power, or money, then it is not going to work because selfish interest never satisfies, endless and also bound to fail because you cannot always succeed in self interest.

If you are genuinely concerned, you will always find solutions, through dialogue and good will. That is what we need.

You can’t make good human beings by issuing new laws. A good human being needs to be developed from inside.

So first, begin with yourself by being sensible, wise, strong, altruistic, then slowly others will also change. Their anger somehow is going to reduce. The power of truth, ahimsa, is really strong. Take for example, Gandhi, a small man who brought the British Empire down by the power of truth. Non violence does not mean passiveness. Non violence means to be very determined not to use hatred.

In any situations, it is important that we cultivate love in our mind. It is our mind that generates the optimal quality of being, that is genuine happiness.

About Venerable Matthieu Ricard
In 1972, after completing his PhD degree in molecular genetics from the Institut Pasteur in France, young and promising biologist Matthieu Ricard decided to pursue his practice, not in science, but in Tibetan Buddhism.

For 35 years, the world has known Venerable Ricard as a Buddhist monk, the French translator for the Holy Dalai Lama, a photographer, a best selling author of the Monk and the Philosopher, a dialogue of himself and his father; the renown French philosopher Jean-Francois Revel.

Ven. Ricard has also coordinated more than 30 humanitarian projects ( see www.karuna-asia.org) to promote health and well being, education and cultural preservation in under-privileged communities in Nepal, Tibet, India and Bhutan.

And at the Mind and Life Institute, he works with scientists from leading institutions on collaborative researches of the effect of mind training.

On his recent visit to Thailand as one of keynote speakers at the International Conference on Buddhism in the Age of Consumerism, hosted by the College of Religious Studies, Mahidol University, Outlook has a chance to talk to Ven. Ricard, 62, on the effect of mind training and his new book, Happiness: A Guide to Developing Life's Most Important Skill.

วันอาทิตย์, ธันวาคม 28, 2551

รสนา โตสิตระกูล : บนหนทางเพื่อชีวิตและสังคม

กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย – หลังจากใช้เวลาสามชั่วโมงอยู่ท่ามกลางจราจรที่ติดขัดและให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับภาวะการเมืองที่สับสนวุ่นวาย – ทั้งในสภาและบนท้องถนน – รสนา โตสิตระกูลดูเป็นปรกติและผ่อนคลายขณะที่ก้าวเข้ามาในห้องเพื่อร่วมประชุมโต๊ะกลม หัวข้อของเธอ: ชีวิตในฐานะชาวพุทธในการเคลื่อนไหวทางสังคม

วงสนทนาเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือนร่วมกับกลุ่มจิตวิวัฒน์ ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยท่านอาจารย์ประเวศ วะสี

ทันที ที่เพิ่งมาถึง นักเขียนหนุ่ม วิจักขณ์ พานิช ได้เข้าไปหาและมอบหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ว่าด้วยการเรียนรู้ที่นำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงตนเอง “สำหรับนักรบสตรี” เป็นคำอุทิศที่เขียนไว้

รสนาที่สวมแว่นตาออกจะงงอยู่สักหน่อย “ดิฉัน ค่อนข้างจะชอบไอเดียนี้นะ มันเป็นสิ่งที่ดิฉันมองเห็นภาพตัวเองเวลาที่ต้องสู้เพื่ออะไรบางอย่าง เพื่อไปข้างหน้าและบรรลุสู่จุดหมาย” รสนา โตสิตระกูลกล่าว เธออายุ ๕๕ ปี นักกิจกรรมทางสังคมมือเก๋าและวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งคนล่าสุดของกรุงเทพมหานคร “เป้าหมายไม่ใช่การได้รับตำแหน่งสูงหรือรวยล้นฟ้า เป็นการต่อสู้เพื่อความถูกต้องยุติธรรม จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้นั่นแหละที่ทำให้ฉันมีชีวิตอยู่” เธอกล่าว ดวงตาเป็นประกาย

สำหรับแนวคิดเรื่องนักรบนั้น รสนากล่าวว่า เธอได้รับแรงบันดาลใจจากภาพของนักรบในหนังสือชัมบาลา: หน ทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ โดยเชอเกียม ตรุงปะ ธรรมาจารย์ชาวทิเบต ซึ่งอรรถาธิบายเกี่ยวกับแนวคิดของปัจเจกบุคคลในการสร้างสังคมอุดมคติ อันเป็นเช่นเดียวกันกับถ้อยความของมิเกล เดอ เซรบานเตสในดอน กิโฆเต อัศวินวิปลาสผู้ต่อสู้กับความอยุติธรรม

และนั่นก็เป็นสิ่งที่ผลักดันให้เธอเข้าสู่การเมืองระดับชาติ ถึงแม้จะมีคำเตือนจากทุกฝ่ายว่าการเมือง “สกปรก” หากความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขสิ่งผิดให้ถูกของเธอก็สอดคล้องกับท่วงทำนองของผู้ มีสิทธิ์เลือกตั้งในกรุงเทพฯ พวกเขามอบหมายผ่านให้เธอด้วยคะแนนเสียง ๗๔๐,๐๐๐ เสียง

รสนา สนใจกิจกรรมทางสังคมมาตั้งแต่ยังเรียนหนังสือ เธอทำงานทางด้านพุทธศาสนาเพื่อสังคมและการเคลื่อนไหวเชิงสันติวิธีแบบติดดิน มาตลอดจนกระทั่งปีที่เศรษฐกิจตกต่ำ พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อเธอเป็นผู้น้ำกลุ่มประชาสังคม ๓๐ กลุ่มขุดคุ้ยการทุจริตในกระทรวงสาธารณสุข เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่นักการเมืองที่เคยเป็นถึงรัฐมนตรีต้องถูก คุมขังในคุกด้วยข้อหาทุจริต

รสนากลาย เป็นชื่อสามัญประจำบ้านเมื่อเธอทำงานร่วมกับกลุ่มคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการเคลื่อนไหวต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย และปตท. ยักษ์ใหญ่ของประเศทางด้านกาซและน้ำมัน

“ดิฉันไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมืองหรือมุ่งหวังที่จะเป็นวีรสตรี” นักสันติวิธีที่ได้รับการยกย่องกล่าว “สิ่งที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามแนวพุทธ – พุทธศาสนาเพื่อสังคม”

ในทัศนะของเธอ การปฏิบัติตามแนวพุทธมิใช่การพูดเชิงปรัชญาหรือทำสมาธิบนโซฟา หากแต่เป็นการกระทำที่เต็มไปด้วยความกรุณา ความกล้าวหาญ และความเข้าใจที่จะช่วยกำจัดความทุกข์

พุทธศาสนาเพื่อสังคมคือการเอามือเท้าของเราเข้าไปคลุกกับดินโคลน นำการปฏิบัติไปสู่การกระทำ เธอกล่าว “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิต ดิฉันจะถือว่าเป็นเสมือนบทเรียนบนหนทางแห่งการฝึกฝน”

นั่นคือ การดำรงจิตอยู่ในความสงบ ปราศจากความหวั่นไหว และเต็มไปด้วยความกรุณา ถึงแม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นนักคิดแบบ “ถอยหลังเข้าคลอง” และ “ฝ่ายซ้าย” ซึ่งฉุดดึงบ่อนทำลายเศรษฐกิจของประเทศลงมา ถึงแม้ว่าจะถูกฟ้องในศาลหลายคดีโดยข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองที่กำลัง มีอำนาจ การได้รับคำขู่ฆ่าหรือมีระเบิดใกล้ที่ทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแลก เปลี่ยนกับเรื่องดังกล่าว

ผู้คนมักจะประทับตราให้กับอีกฝ่าย เธอกล่าว “ถ้า คุณไม่ใช้ขวา คุณก็ต้องเป็นซ้าย ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับเรา คุณก็เห็นด้วยกับพวกเขา พุทธศาสนาสอนไม่ให้เราสุดโต่ง ซึ่งไม่ง่ายเลย ฉันต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอไม่ให้หลุดและหลงทางไปกับเรื่องเหล่านี้”

ในยามที่เธอมีความลังเลสงสัยว่ากำลังอยู่บนหนทางที่ถูกต้องหรือไม่ เธอก็จะนึกถึงสิ่งที่หลวงพ่อคำเขียน สุวรรณโณ พระอาจารย์ที่เธอเคารพยิ่ง เคยแนะนำไว้ “ครั้ง หนึ่งหลวงพ่อเคยสอนว่า เมื่อไหร่ที่ใจของเราไม่เป็นปรกติหรือไม่เป็นกลาง ถือว่าผิด ไม่ว่าเราจะให้เหตุผลดีเพียงใดต่ออารมณ์ของเราและสาเหตุที่เราทำ มันก็ยังผิดอยู่นั่นเอง การโกรธหรือคิดแค้นไม่เคยถูกเลย”

“ถึงแม้จะพูดไปอย่างนั้น ต้องขอยืนยันว่าดิฉันยังคงอยู่ในกระบวนการเรียนรู้และพยายามอยู่”

ที่มาแห่งแรงบันดาลใจ

ขณะ ที่เป็นนักศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ยุคที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน แรงบันดาลใจของรสนาที่จะเปลี่ยนแปลงก่อรูปขึ้นจากนักคิดชาวพุทธร่วมสมัย อย่างพุทธทาสภิกขุ ติช นัท ฮันห์ พระเซ็นชาวเวียดนาม และมาโซบุ ฟูกูโอกะ ผู้บุกเบิกการทำเกษตรกรรมธรรมชาติชาวญี่ปุ่น รวมทั้งมหาตมคานธี คุรุด้านอหิงสา เหล่านี้เป็นที่มาของแรงบันดาลใจแห่งเธอทั้งสิ้น

การ เป็นนักอ่านระดับหนอนได้สร้างธรรมเนียมปฏิบัติขึ้นมา ด้วยการแปลหนังสือปีละเล่มเพื่อนำแนวคิดในหนังสือที่อ่านซึมซาบเข้าไปใน เนื้อตัว โดยทำในช่วงเข้าพรรษาสามเดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เธอไปภาวนาในวัดป่า

ช่วง ที่แปลหนังสือหลายเล่มของติช นัท ฮันห์ เธอได้รับเอาแนวคิดเรื่องชุมชนสังฆะเข้ามาในชีวิตและงาน ในการดำเนินชีวิตตามแนวคิดดังกล่าว รสนากับเพื่อนอีก ๑๔ คน ร่วมกันตั้งกลุ่ม “เทียบหิน” ขึ้นมา โดยพบปะกันทุกสองสัปดาห์เพื่อทวนศีล ๑๔ ข้อ ซึ่งช่วยชี้แนะหนทางการดำเนินชีวิตด้วยความตระหนักรู้และการทำงานเพื่อ สันติภาพและรับใช้สังคม

รสนากล่าว ว่าเธอได้เรียนรู้บทเรียนอันล้ำค่านานับประการจากติช นัท ฮันห์ ซึ่งเธอเรียกท่านว่า ไถ่ (ครู) ทั้งจากหนังสือของท่านและจากการได้ใกล้ชิดท่านช่วงที่พำนักอยู่ในประเทศไทย เมื่อ ๓๐ ปีก่อน

“ถึง แม้ว่าท่านจะเป็นพระและครู ไถ่ไม่พยายามที่จะยัดเยียดความเห็นและการปฏิบัติให้ดิฉันเลย ท่านเป็นเพียงตัวท่านเอง สิ่งนี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับดิฉันในการปฏิบัติตามแนวทางและคำสอนของ ท่าน”

หลักการหนึ่งที่เธอถือไว้อย่างมั่นคงก็คือ “การเห็นต่างไม่ใช่ปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเราพยายามที่จะบังคับผู้อื่นให้ยอมรับความเห็นของเรา” รสนากล่าว

พุทธศาสนาสนับสนุนให้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนด้วยความกรุณา เธอกล่าว “แต่ หนทางของพระพุทธเจ้านั้นใช้เวลา แต่คนยุครีโมต-คอนโทรล ในปัจจุบันไม่มีเวลาอย่างนั้น เราคุ้นชินกับการได้มาซึ่งสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและสำเร็จรูป แล้วเราก็นำเอาทัศนะแบบนี้เข้ามาในวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ”

รสนาชี้ให้เห็นว่า ทัศนะ แบบพุทธนั้น การทำงานกับความอยุติธรรมหรือความป่วยไข้ของสังคมจำต้องใช้ความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง รวมท้งความเข้าใจในความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสรรพสิ่ง เธอกล่าวว่า เธอได้เรียนรู้สิ่งนี้จากการเข้าไปทำงานในแปลงเกษตรกรรมช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๖

หลัง จากแปลหนังสือคลาสสิกตลอดกาล ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว โดย มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ เจ้าพ่อเกษตรธรรมชาติ รสนาได้สมัครขอทุนแลกเปลี่ยนไปทำงานในไร่ที่ญี่ปุ่น วัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็คือการไปหาปราชญ์ชาวนาผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล อย่างฟูกุโอกะ

“พอทำงานในไร่ได้เก้าเดือน และใช้เวลาสองวันขึ้นลงรถไฟ ๓๐ เที่ยว ดิฉันก็ไปถึงไร่ของลุงฟูกุโอกะจนได้” เธอเล่าถึงความหลังด้วยรอยยิ้ม “ครั้งหนึ่ง ตอนที่เราขึ้นรถไฟไปเที่ยวเมืองอื่นด้วยกัน ลุงฟูก็บอกว่า ‘รสนา เราไม่ต้องกังวลว่าจะถึงที่หมายหรือเปล่า เราควรสนใจว่าเราอยู่บนขบวนที่ถูกหรือยัง ถ้าเราอยู่บนรถไฟถูกขบวน ก็มั่นใจได้ว่าเราจะไปถึงที่หมาย ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง’”

เธอใช้เวลาสองสามเดือนอยู่กับฟูกุโอกะและเรียนรู้ปรัชญาของธรรมชาติและการเกษตรแบบ “อกรรม” ตลอดจนศิลปะแห่งการใช้ชีวิต

“ทั้ง หมดทั้งนั้นก็คือการรักษาสมดุล พืชไม่ได้งอกงามขึ้นถ้าเราปรับคุณภาพดินให้ดีขึ้น โดยมากแล้ว พืชแย่ๆ มักจะงอกในดินที่เสียแล้ว มันเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้องโดยธรรมชาติก่อนที่ดินจะกลายเป็นทะเลทราย เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องสู้กับระบบที่เลวร้ายโดยตรง สิ่งที่เราทำได้ก็คือการบ่มเพาะสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้สิ่งดีงามงอกงาม เติบโตได้”

เธอ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้สามารถปรับใช้กับการเมืองได้เหมือนกัน สำหรับรสนาแล้ว ผืนดินของการเมืองแบบรัฐสภาสามารถบ่มเพาะให้เข้มแข็งผ่านการเมืองภาคประชาชน และการกระจายอำนาจ และนี่ก็คือเหตุผลที่เธอให้ความเคารพนับถือต่อคานธีเป็นอย่างสูงในฐานะที่ เป็นแบบอย่างอันดี

“คาน ธีสร้างแรงบันดาลใจให้กับดิฉันเป็นอย่างมากทีเดียว ท่านได้ทดลองความคิดของท่านด้วยชีวิตของท่านเอง ท่านปรารถนาที่จะนำสัจจะมาสู่การเมือง ท่านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างขวาง สามารถมองเห็นการณ์ไกลว่าในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดียจากอ้อมอกอังกฤษ ผู้คนจำต้องพึ่งพาตนเองให้ได้” เธอกล่าว

ทัศนะ ของคานธีว่าด้วยเรื่องการพึ่งพาตนเองได้เป็นแรงผลักดันให้เธอริเริ่มโครงการ สมุนไพรพึ่งตนเอง ซึ่งต่อมากระตุ้นให้เกิดความสนใจต่อการแพทย์สมุนไพรและแผนโบราณในวงกว้าง โครงการนี้ได้เติบใหญ่กลายเป็นมูลนิธิสุขภาพไทที่มุ่งเน้นความสำคัญของ สุขภาพแบบองค์รวมและความรุ่มรวยขององค์ความรู้พื้นถิ่นด้านนี้

แนว รบอีกด้านของรสนาก็คือลัทธิบริโภคนิยม อันเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้คนเชื่อว่าความสุขของเขาเหล่านั้นขึ้นอยู่ กับการเป็นเจ้าของครอบครองวัตถุ กิจกรรมนวดเด็กทารกเป็นโครงการเล็กๆ หนึ่งโครงการของเธอที่ช่วยให้ผู้คนมองเห็นความเท็จในความเชื่อชนิดนั้น

“ดิฉัน อยากจะให้ผู้คนมองเห็นว่าความสุขอยู่ในมือของเราเองนี้แหละ ง่ายมากเลย ลองไปนวดเด็กดูสิแล้วคุณจะพบกับความร่าเริงเบิกบาน ความสุขของเราไม่ได้เกิดจากการบริโภคหากเกิดจากการให้ต่อผู้อื่น” เธอกล่าว

นอกเหนือจากกิจกรรมนวดเด็กแล้ว รสนายังใช้การปิดทองพระเป็นงานอดิเรก “เป็นงานอดิเรกที่ช่วยทำให้เกิดสมาธิและให้คุณประโยชน์อย่างมาก ทำให้ดิฉันมีพลังใจ”

“การ ทำงานด้านสังคมและการต่อสู้กับความอยุติธรรมต้องใช้เวลา ความสำเร็จไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายดายและฉับพลัดทันที และในช่วงเวลาเหล่านั้น หัวใจคุณอาจจะถูกบีบคั้นอย่างหนัก ดิฉันเลยต้องมีบางอย่างที่ช่วยให้พลังกับจิตวิญญาณของตัวเอง บางอย่างที่ดิฉันสามารถทำได้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนด”

“สิ่งเหล่านั้นช่วยให้ดิฉันผ่านพ้นงานอันหนักหน่วงยาวนานได้”

ชะตากรรมมนุษย์และชมพูพันธุ์ทิพย์

แน่ ล่ะ หนทางของรสนาย่อมมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เธอเคยหมดแรงใจหลายครั้งหลายหน ตัวอย่างเช่น โครงการสมุนไพรพึ่งตนเองของเธอได้รับผลกระทบจากนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค เป็นอย่างมาก “ผู้คนต่างหันกลับไปสู่การรักษาด้วยยาแทนการป้องกันตนเอง” เธอขยายความ

ความพยายาม ๓๐ ปีของเธอจะเหลวเปล่ากระนั้นหรือ? การพึ่งพาตนเองจะกลับกลายเป็นสิ่งไร้ความหมายกระนั้นหรือ? “บางครั้ง ดูเหมือนเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ที่จะต่อสู้ ที่จะแก้ไขสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นงานที่ไร้จุดจบ”

ความ ยอกย้อนของชีวิตทำให้เธอนึกถึงชะตากรรมของซิซิฟุสในตำนานกรีก โดยเฉพาะการตีความของอัลแบร์ต กามูส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสที่มีเชื้อสายอัลแกเรีย

“ชะตา กรรมของมนุษย์ก็เหมือนกับซิซิฟุสน่ะแหละ เขาถูกสาปให้ทำงานที่ไร้ความหมายซ้ำไปซ้ำมาอยู่นั่นแล้ว นั่นคือ การเข็นก้อนหินขึ้นสู่ยอดเขา เพียงเพื่อที่จะเห็นมันกลิ้งลงมาอีกรอบ ดูเปล่าประโยชน์และไร้ความหมายอย่างสิ้นเชิง”

เธอเล่าต่อ “กระนั้น กามูส์ชี้ให้เห็นว่า วันหนึ่งนั้นเอง ขณะที่ซิซิฟุสกำลังเข็นหินขึ้นสู่ยอดภู เขาก็เหลือบไปเห็นดอกไม้เล็กๆ ดอกหนึ่ง กำลังบานอยู่ข้างทาง เพียงเท่านั้น เขาก็เป็นสุข”

“บาง ที มันอาจจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราถึงยังต้องทำงานที่ไร้ความหมายและน่าเหน็ดหน่ายอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะว่า ยังมีความงามอยู่ระหว่างทางนั่นเอง”

ถ้อย คำของกามูส์เข้ากันได้ดีกับตัวเธอมากทีดียว รสนาพบว่าตนเองมีความละม้ายคล้ายคลึงกับนักเขียนนวนิยายผู้นี้โดยเหตุที่เธอ เองก็พบความสุขจากดอกไม้ – ชมพูพันธุ์ทิพย์ หรือดอกซากุระของไทย

“ทุกปี พอถึงฤดู ดิฉันจะรู้สึกตื่นเต้น คล้ายกับว่าเพื่อนเก่ากำลังจะมา”

ปีละครั้ง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม รสนาจะขับรถไปบริเวณที่ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์กำลังบาน

ต้น ชมพูพันธุ์ทิพย์มีความวิเศษมาก ดำรงตนอยู่สันโดษ แผ่กิ่งก้านอย่างสง่า ดอกสีชมพูก็งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ถึงแม้ภาวะแวดล้อมจะไม่ค่อยเหมาะนัก แต่ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ก็ยังคงภักดีต่อฤดูกาล ทั้งเติบใหญ่และเบ่งบานอย่างองอาจห้าวหาญ

“สัจจะ แท้จริงย่อมเผยตัวออกมาอย่างสามัญธรรมดา เมื่อเรามอบเวลาให้กับตนเองเพื่อพิจารณาใคร่ครวญถึงธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว เราย่อมเปี่ยมพลังและกระตือรือล้น” รสนากล่าว

เมื่อฤดูกาลผ่านพ้น รสนาได้ถ่ายภาพต้นชมพูพันธุ์ทิพย์เก็บไว้ดูเพื่อเตือนให้รำลึกถึงงานเข็นครกขึ้นภูเขา เช่นเดียวกับซิซิฟุส

“เรามีหน้าที่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่อง เพื่อสร้างเหตุแห่งกุศลกรรมให้เกิดขึ้น ซึ่งจะดูแลผลหลังจากนั้นเอง” เธอกล่าว

“คุรุ ทางจิตวิญญาณของดิฉันเคยกล่าวไว้หนหนึ่งว่า พระพุทธองค์จักทรงฉวยโอกาสเท่าที่มีในการทำสิ่งที่ถูกต้อง และแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง แม้จะเป็นการกระทำอันเล็กน้อย ไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะสำเร็จหรือล้มเหลว โดยเหตุที่พุทธศาสนาเป็นทั้งหนทางและเป้าหมายในตัวเอง”

บทความชิ้นนี้ แปลโดย ชลนภา อนุกูล

จากงานเขียนภาษาอังกฤษของ กรรณจริยา สุขรุ่ง

บางกอกโพสต์, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๑