สังคมใด หากคนในสังคมนั้นตกอยู่ในความประมาท หายนภัยย่อมบังเกิดแก่สังคม และคนในสังคมนั้นๆ อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ความจริง ปัญหาดังกล่าวเราจะพบได้จากชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทย ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นเป็นความจริงมาแล้วแทบทุกแห่งหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนในสังคม หากเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย มักทำให้รู้สึกเพิกเฉย ทั้งนี้และทั้งนั้นเพราะความประมาท จึงไม่ให้ความสนใจ จนกระทั่งบานปลายออกไปกลายเป็นเรื่องใหญ่แล้วจึงรู้สึกเดือดร้อนหนัก
ตัวอย่างแรกได้แก่ ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ก็ได้มีบันทึกเอาไว้ให้รู้ว่า มีการอพยพคนพื้นบ้านกลุ่มหนึ่งจากบริเวณสามจังหวัดดังกล่าว เพื่อเอามาอยู่ในจังหวัดภาคกลาง ทำให้สันนิษฐานว่า คงต้องการแก้ไขปัญหาความไม่เข้าใจกันระหว่างคนท้องถิ่นกับคนภาคกลางนับตั้งแต่บัดนั้น
หลังจากนั้นมา คนรุ่นหลังซึ่งควรแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ ในการสืบทอดการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง กลับสะท้อนให้เห็นอาการเพิกเฉย โดยไม่ติดตามงานที่คนรุ่นก่อนเคยคิดและปฏิบัติมาแล้วอย่างจริงจัง จึงทำให้ปัญหาท้องถิ่นหยั่งรากลงสู่ระดับล่างอย่างลึกซึ้งต่อมาอีก จนกระทั่ง มาถึงช่วงนี้สังคมได้สะท้อนเหตุการณ์ให้รู้สึกว่า มีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนิสัยอันเป็นธรรมชาติของคนไทยส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน เราจึงเห็นว่าในยุคนี้คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้ที่ขึ้นไปถืออำนาจในระดับสูง มักมีนิสัยทำอะไรๆ ตามอำเภอใจตัวเอง นอกจากนั้น คนในกลุ่มนี้ยังมีอำนาจอยู่ในมือ จึงต้องการแก้ไขปัญหาให้เร็วทันใจ จึงตัดสินใจใช้อำนาจปราบปรามเพื่อแก้ปัญหาด้านเดียว ซึ่งสภาวะดังกล่าวปรากฏผลว่า “เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า” ดังนั้น ในอนาคตก็คงต้องเตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้รับสภาพของปัญหาที่รุนแรงยิ่งขึ้น
ตัวอย่างที่สอง นับตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งมีการใช้กำลังทหารติดอาวุธยึดอำนาจจากราชบัลลังค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โดยอ้างว่า ต้องการให้ประเทศชาติเป็นประชาธิปไตย
แต่ผู้ดำเนินการได้กระทำไปเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็มีผลทำให้ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อโดยไม่คิดว่า กาลเวลา เท่าที่มีโอกาสผ่านพ้นมาแล้ว ย่อมเป็นบทพิสูจน์ความจริงให้คนทั่วไปสามารถรู้เห็นได้เองอย่างอิสระว่า เป็นการเปลี่ยนแปลง ที่สืบเนื่องมาจาก คนต้องการให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย หรือบุคคลกลุ่มหนึ่งต้องการอำนาจกันแน่? แต่เท่าที่ได้ปฏิบัติไปแล้วสะท้อนผลให้เราท่านหยั่งรู้ความจริงอันเป็นสัจธรรมได้จาก ความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากปัญหาติดตามมา ซึ่งแก้ไขได้ยากที่สุด
ทั้งนี้และทั้งนั้น หลักธรรมะได้สอนเอาไว้ว่า ถ้าไม่มีสิ่งนั้นก็ย่อมมีสิ่งนี้ หรืออีกนัยหนึ่ง อาจกล่าวว่า เพราะคนต้องการประชาธิปไตยบนพื้นฐานความไม่รู้ จึงจำต้องได้รับผลทำให้เกิดความเดือดร้อน จนกระทั่งถึงยกพวกฆ่ากันเองเพราะกระทำไปโดยไม่รู้สึกตัว
ดังจะพบกับคำปรารภที่ออกมาอย่างตรงไปตรงมา แม้จากหน้าหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเป็นช่วง ๆ ว่า เรากำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นประชาธิปไตยมาเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ประชาธิปไตยก็ยังไม่สามารถก้าวหน้า หากยังคงวนเวียนอยู่ในสภาพที่เหมือนเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากแต่คนท้องถิ่นกลับแสดงอาการเหมือนกับทองไม่รู้ร้อนเรื่อยมา
ทั้งนี้และทั้งนั้น แม้คนไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาการถูกครอบงำโดยอิทธิพลวัฒนธรรมทางวัตถุและกระแสการเงินข้ามชาติ แต่ก็ยังไม่รู้สึกสังหรณ์ใจเพื่อหวนกลับมาค้นหาความจริงหรืออีกนัยหนึ่งทำให้รู้สึกว่า คนในชาติถูกครอบงำโดยอิทธิพลสิ่งเสพติดจึงทำให้สติปัญญามืดบอด
หรืออีกนัยหนึ่ง สติปัญญามืดบอดของคนท้องถิ่น มีผลสืบเนื่องมาจากการหลงอยู่กับความสะดวกสบาย ทำให้สมองคนตกอยู่ในสภาพหลับใน จนกระทั่งแทบไม่อยากคิดและนำปฏิบัติ ไม่ว่าจะกระทำการใด ๆ เพื่อหวังผลปลุกจิตสำนึกให้คนในชาติตื่นขึ้นมา ช่วยกันคิดที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาความเจริญก้าวหน้าบนพื้นฐานความกระตือรือร้นให้เป็นความหวัง
นอกจากนั้น ยังพบกับคำปรามาสโดยสื่อเป็นครั้งคราวว่า คนไทยรวมกันไม่ติด ดังเช่น การทำงานที่ปราศจากการรวมตัวกันเป็นทีม หากรวมกันก็มักพบกับความล้มเหลว
ตัวอย่างที่สาม ได้แก่ ผลจากการพัฒนาชนบท ซึ่งแต่ก่อนเรายังไม่เห็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนมากนัก แต่ขณะนี้กาลเวลาได้พิสูจน์ความจริงออกมาให้หลายคนจำต้องยอมรับ
เมื่อไม่นานมานี้ สภาพแวดล้อมในจังหวัดภาคเหนือได้ก่อปัญหาเรื่องหมอกควันที่เกิดจากไฟไหม้ป่าในฤดูแล้ง ซึ่งกระจายไปอย่างทั่วถึง จนกระทั่งเครื่องบินไม่อาจขึ้นและลงสนาม ทำให้ต้องงดการเดินทางเอาไว้เป็นช่วง ๆ
ความจริงแล้ว หมอกควันที่เกิดจากคนเผาป่า ผู้เขียนยังจำได้ดีว่า ช่วงที่ตนไปเรียนเกษตรอยู่ที่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๕ ระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต่อมีนาคม มักได้เห็นภาพไฟไหม้ป่าอยู่ตามเชิงเขาในระยะไกล แต่หมอกควันและไอร้อน ซึ่งลมร้อนพัดมา มันก็ทำให้รู้สึกร้อนผ่าวแทบทุกวันในช่วงเวลาค่ำลง จนกระทั่งเป็นภาพที่เคยชิน
ครั้นต่อมา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ ทรงเริ่มต้นโครงการเกษตรที่สูงที่ดอยอ่างขาง ระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ผู้เขียนมีโอกาสตามเสด็จโดยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์
ในขณะที่นั่งอยู่ในเครื่องบิน ระหว่างการเดินทางเหนือร่องเขา เราได้พบกับหมอกควัน ซึ่งเป็นผลจากการเผาป่าของชาวบ้าน จนกระทั่งเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงเพียรพยายามขจัดไฟป่า โดยโปรดเกล้าฯให้คนท้องถิ่นหารายได้เลี้ยงชีพตัวเองจากการปลูกพืชทดแทนฝิ่น
แต่ข้าราชประจำจากหลายหน่วยงาน ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะไม่รู้สึกเดือดร้อน นอกจากมีความเคยชิน จนกระทั่ง ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีหมอกควันหนาทึบเกิดขึ้นอีกในช่วงเวลาเดียวกัน จนกระทั่ง ทำให้การสัญจรไปมาของยานพาหนะทั้งทางบกและทางอากาศเป็นไปได้ยากลำบาก ซึ่งเราก็ตื่นตระหนกกันไปพักใหญ่ แล้วก็เริ่มต้นเคยชินอีกเช่นเคย
อนึ่ง ผู้เขียนพยายามค้นคว้าหาเหตุและผล แต่ยังก่อน ก่อนที่จะหาเหตุแห่งหมอกควัน ควรจะเริ่มต้นจากผู้คนทั่วไปว่า เหตุใดคนไทยจึงตกอยู่ในความประมาทง่ายเกินไป โดยที่นิสัยลักษณะนี้ทำให้สังคมเสี่ยงต่อความหายนะได้ไม่ยาก
นิสัยดังกล่าว น่าจะเกิดจากคนในสังคมไทยถูกมอมเมาด้วยอิทธิพลวัตถุ ซึ่งมีผลทำให้คนท้องถิ่นส่วนใหญ่หลงอยู่กับความสบาย เปิดโอกาสให้รากฐานจิตใจถูกแทรกซึมด้วยอิทธิพลที่มีผลทำให้คนท้องถิ่นขาดการตื่นตัว แม้แต่นิสัยนอนหลับทับสิทธิ์ ซึ่งควรจะทำให้ตนมีส่วนร่วมในการกำหนดโครงสร้างเพื่อการบริหารประเทศตามแนวทางใหม่ที่หวังว่าควรจะนำไปสู่ทิศทางที่สร้างสรรค์
แต่คนยุคนี้กลับทำตัวเสมือน “ทองไม่รู้ร้อน” บางครั้งก็สะท้อนอุปนิสัยที่คนยุคก่อนเรียกกันว่า “เห็นช้างตัวเท่าหมู”
ทั้งนี้และทั้งนั้น ทุกวันนี้เหตุการณ์ที่สะท้อนออกมาปรากฏให้ผู้คนที่เดินทางไปมารู้สึกเดือดร้อน เนื่องจากคนส่วนใหญ่ตกอยู่ในความประมาท ดังเช่นเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งมีผู้คนเดินทางจากกรุงเทพออกไปสู่ต่างจังหวัด ก็ยังสะท้อนให้เห็นคนบาดเจ็บล้มตายเพราะอุบัติเหตุ จนกระทั่ง แม้ทางราชการก็ยังตั้งเป้าคนตายเอาไว้ด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนการยอมจำนนต่อปัญหา หรืออีกนัยหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึง การทำงานแบบขอไปที แทนที่จะมีสติปัญญาแตกฉานยิ่งกว่านี้
ทั้งนี้และทั้งนั้น เนื่องจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วเปรียบเสมือนสะท้อนให้เห็นความจริงว่า มีการแก้ปัญหาแบบขอไปทีอย่างปราศจากความหวังที่มุ่งทิศทางลงสู่ระดับลึก
สภาพการณ์เช่นนี้ ประชาชนคนไทยจะมีความสุขอยู่ได้อย่างไร?
อนึ่ง ตัวอย่างที่สี่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่เราประกาศการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและแนวคิดมาสู่ประชาธิปไตย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนำไปผูกติดเอาไว้กับคำว่า ต้องมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรของประชาชน ในการพิจารณาออกกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อนำออกมาใช้ในการบริหารสังคมและประเทศชาติ
ซึ่งเราพบกับปัญหาความหวาดระแวงต่อกัน อีกทั้ง การปฏิบัติตนของกลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า เป็นผู้แทนราษฎร เนื่องจากหลังการได้รับเลือกตั้งแล้ว ส่วนใหญ่มักหันหลังให้ชาวบ้าน หลายคนอยากขึ้นไปมีอำนาจ ซึ่งในทางปฏิบัติมักพูดกันว่า เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองและพรรคพวก
ดังเช่นรัฐบาลชุดที่ผ่านพ้นมาแล้ว มีบุคคลจากกลุ่มผู้มีอุปนิสัยดังกล่าว ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปเป็นผู้บริหารประเทศในสาขาต่าง ๆ ทำให้ตนและบริวารเหล่านี้ นำประชาชนซึ่งโดยปกติถูกปล่อยไว้อย่างปราศจากการร่วมมือร่วมใจกันคิดแก้ไขปัญหาด้วยใจจริง การที่คนระดับล่างไม่สามารถรู้เท่าทันต่อสภาพแวดล้อมจากผลการปฏิบัติของคนระดับบน นอกจากนั้น ยังมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยพยายามใช้บุคคลระดับล่างที่ไม่สามารถรู้เท่าทันการกระทำของตนและพรรคพวก จึงทำให้จำต้องตกเป็นพรรคพวกในการหาผลประโยชน์ร่วมด้วย
หรืออีกนัยหนึ่ง อาจกล่าวว่า ปล่อยคนระดับล่างเอาไว้ให้รากฐานจิตใจอ่อนแอ เพื่อหวังใช้ผู้คนเหล่านี้เป็นเครื่องมือสนองประโยชน์แห่งตน ดังนั้น สังคมไทย จึงได้รับการปรับเปลี่ยนสภาพ ซึ่งเปรียบเสมือนอาการจากยาเสพติด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
แต่เป็นเพราะความประมาทในอดีตที่ผ่านพ้นมา ทำให้คนระดับชาวบ้านตกเป็นพรรคพวกของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งบริหารประเทศอย่างขาดความบริสุทธิ์ใจจนกระทั่ง อาจเกิดการนองเลือดโดยที่มีคนไทยยกพวกฆ่ากันเอง
ซึ่งสิ่งที่หยิบยกมาเป็นกรณีตัวอย่าง สำหรับบุคคลผู้ถือนโยบาย รวมทั้งคิดจัดการแก้ไขปัญหา ซึ่งควรสนใจเรียนรู้และนำไปพิจารณาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แต่จากกรณีตัวอย่างที่นำมาเสนอให้ทุกคนทบทวน เพื่อค้นหาความจริง อีกทั้ง นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง ความจริงแล้ว ปัญหาที่หยิบยกมาเป็นตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์เจาะลึก หากภายในรากฐานจิตใจตนเอง หยั่งรู้ได้ว่า เราผ่านพ้นสภาพที่เป็นปัญหา ซึ่งมีมาแต่อดีตเพียงเล็กน้อย แต่ก็นำมาปฏิบัติเสมือนเป็น ทองไม่รู้ร้อน จนกระทั่งปัญหาต่าง ๆ เติบโตยิ่งขึ้นจนเป็นเรื่องใหญ่ถึงได้รู้สึกและรีบร้อนแก้ไขแบบเอาแต่ใจตนเองเป็นใหญ่ หากมองเห็นว่า เป็นเพราะเราเกียจคร้าน จึงทำให้ตัวเองนำปฏิบัติแบบสุกเอาเผากิน จนกระทั่งเกิดปัญหาอีกด้านหนึ่ง ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของสังคมอย่างลึกซึ้ง
ทำให้คิดถึงภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เขียนไว้ในอดีตว่า “สัญชาติคางคก ถ้ายางหัวไม่ตกก็คงยังไม่คิดแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการนำปฏิบัติของตนและพรรคพวก”
3 เมษายน 2550
ระพี สาคริก
วันพุธ, มิถุนายน 27, 2550
หายนะกับภัยของชาติ ที่เกิดจากความประมาทของคนท้องถิ่น!
วันจันทร์, มิถุนายน 25, 2550
Happy Lobbyist
ช่วงที่ผ่านมาอาชีพที่ได้รับการกล่าวถึงกันมาก และเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ในอนาคต อาชีพนี้จะได้รับการพูดถึงมากขึ้นไปอีก นั่นก็คืออาชีพ Lobbyist (ล็อบบี้ยีสต์) แปลตรงตัวได้ว่า “กลุ่มคนซึ่งมีหน้าที่หาเสียงสนับสนุนในสมาชิกสภานิติบัญญัติเพื่อให้มีการออกกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง”
แต่ในความเป็นจริง อาชีพล็อบบี้ยีสต์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในสภา ยกตัวอย่างเช่น อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศใดประเทศหนึ่งว่าจ้างให้เอกชนรายหนึ่งทำหน้าที่เป็นล็อบบี้ยีสต์ เพื่อดิสเครดิตรัฐบาลบ้านเกิดเมืองนอนของตน
หรือในภาพยนตร์เรื่อง Thank for Smoking ที่ตีแผ่เรื่องราวของนักโฆษณาประชาสัมพันธ์รายหนึ่ง
ที่เป็นล็อบบี้ยีสต์ตัวเอ้ เขาพยายามบิดเบือนให้บุหรี่กลายเป็นสินค้าที่มีประโยชน์มากกว่าให้โทษภัยกับมนุษย์
ซึ่งเขาทำได้สำเร็จเสียด้วย
อาชีพล็อบบี้ยีสต์จึงอาจเรียกให้เข้าใจง่ายตามภาษาบ้านเราว่า “ฤาษีแปลงสาร” ที่ต้องมีความถนัดในการเปลี่ยนถูกเป็นผิด แปลงผิดให้เป็นถูก
ทุกวันนี้ โลกจึงเต็มไปด้วยเรื่องจริงพอๆ กับเรื่องลวง วิ่งคู่คี่เฉือนเอาชนะกันอยู่แค่ปลายจมูก แถมยังอยู่ในลู่แข่งที่ติดๆ กัน ขว้างกั้นด้วยเส้นแบ่งที่บางเฉียบลงทุกทีๆ ไม่ต่างอะไรกับสินค้านานาชนิดที่เน้นความบอบบาง
ถ้าไม่เชื่อ ลองหันไปดูวงการบันเทิงบ้านเราเป็นตัวอย่าง
ก่อนหน้านี้ เรามีซุปเปอร์สตาร์ระดับนางเอกที่คนทั้งประเทศพร้อมใจกันมอบฉายา “เจ้าหญิงวงการบันเทิง” ด้วยความสวยไม่มีที่ติและความสมบูรณ์พร้อมทั้งชื่อเสียง ฐานะ และการศึกษา ทว่าวันหนึ่งคนทั้งประเทศก็ต้องช็อค เมื่อรู้ว่าโดนเธอหลอก หลังจากที่เธอออกมายอมรับอย่างมั่นใจว่าตั้งครรภ์
หรือดาราละอ่อนอีกรายที่ออกมาเปิดตัวหนังสือบันทึกประสบการณ์ทางเพศกับชายหนุ่มในวงการบันเทิง (ซึ่งยังไม่มีใครกล้ายืนยันว่าเกิดประโยชน์กับผู้อ่านด้านไหน?) เธอยืนยันว่าตนเองท้องแน่ๆ อย่างน้อย 6 เดือนแล้ว แต่สุดท้าย ทุกอย่างก็โอละพ่อ เพราะจริงๆ ในท้องของเธอไม่ได้มีเด็กอายุครรภ์ตามนั้นฝังตัวอยู่ แต่ที่ต้องแต่งเรื่องมาขายเพราะกำลังผ่อนบ้านราคา 6 ล้านบาท!!!!
เห็นไหมคะ แค่เรื่องคนจะ “เกิด” ยังสับสนขนาดนี้ คนที่ท้องบอกตัวเองไม่ได้ท้อง แต่คนไม่ท้องก็อยากจะลองท้องปลอมๆ ดูบ้าง
เท่านี้ เราก็มองเห็นลู่ทางการตลาดชัดเจน เพราะเรายังมีวัฏฏะเรื่อง “แก่”, “เจ็บ” และ “ตาย” ของมนุษย์ให้ทำมาหากินกับเรื่องจริง-ลวงอีกมากมาย
ที่ว่ามาทั้งหมดก็เพื่อเชิญชวนทุกท่านให้มาประกอบสัมมาอาชีพการเป็นนักล็อบบี้มืออาชีพ
ขอยืนยันว่างานนี้ทำได้จริง รับสมัครจริง และมีค่าตอบแทนจริง ไม่ใช่กลลวง
แต่อาชีพนักล็อบบี้ที่จะมาเปิดรับสมัครกันในวันนี้คือ ตำแหน่ง “ล็อบบี้ยีสต์ความสุข หรือ นักสร้างความสุขมืออาชีพ” ซึ่งเราไม่ได้รับสมัครกันพร่ำเพรื่อ
ก่อนอื่นท่านผู้อ่านต้องพิจารณาคุณสมบัติตนเองว่าเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้หรือไม่
คุณสมบัติ
• ต้องการพบความสุขกับเรื่องจริง ไม่ใช่ลวง
• ไม่ต้องการรับผลตอบแทนเป็นตัวเงินและอามิสสินจ้างทุกประเภท เพราะเงินเป็นโลหะที่มีน้ำหนักมาก และบางครั้งก็หนักเกินไปจนทำให้สูญเสียความสุข
• มีความมั่นคงทางจิตใจพอ โดยไม่ต้องพึ่งพาวัตถุมงคล
ค่าตอบแทน
• คุณจะได้รับเสียงหัวเราะและรอยยิ้มจากผู้คนรอบตัว
• คุณจะได้รับความรักและความเมตตาจากผู้คนรอบตัวคุณ
• คุณจะได้รับภูมิคุ้มกันความทุกข์จากผู้คนรอบข้าง
• คุณจะได้รับความสุขที่สะท้อนกลับมาจากผู้คนรอบตัว
• คุณจะไม่มีวันโกรธใครได้นานเกิน 24 ชั่วโมง
หน้าที่และความรับผิดชอบ
• แยกแยะระหว่างความสุขที่แท้จริงและความสุขปลอมๆ ในชีวิตประจำวันของคุณออกจากกันอย่างสิ้นเชิง (หมายเหตุ -- ความสุขนี้ ไม่รวมความเพลิดเพลินใดๆ ที่เกิดจากการซื้อหาหรือได้มาด้วยเงินทอง)
• บอกเล่ากับผู้คนรอบตัวว่า คุณมีความสุขกับสิ่งนั้นเพราะอะไร
• บอกเล่ากับผู้คนรอบตัวว่า คุณมีความสุขกับสิ่งนั้นอย่างไร
• บอกเล่ากับผู้คนรอบตัวว่า พวกเขาสามารถสร้างความสุขเช่นเดียวกับคุณได้อย่างไร
ภารกิจที่มอบหมายให้เบื้องต้นมีเพียงเท่านี้ หากทำได้ผลดีก็จะได้รับการประเมินผลงานและบรรจุเป็น ล็อบบี้ยีสต์ความสุข มืออาชีพ
สวัสดิการที่จะได้เพิ่มเติมคือ........โอ๊ะๆ!!!! ขอตัวรับโทรศัพท์สักครู่ .......จุ๊ๆ..... ล็อบบี้ยีสต์คู่ใจ ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี (เจ้าเก่า) ส่งข่าวทางไกลมาจากกรุงมอสโคว์ บอกว่า เรื่องจริง-ลวงที่เป็นช่องทางการตลาดของอาชีพล็อบบี้ยีสต์ ไม่ได้มีแค่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เท่านั้นนะศิษย์น้อง???
ในฐานะรุ่นพี่ขอแนะนำมือสมัครเล่นว่า แม้แต่เรื่อง “กิน” ก็เป็นประโยชน์สุขได้
ท่านกรุณาเล่าเหตุการณ์ล่าสุดให้ฟังว่า วันหนึ่ง ลูกค้าของท่าน (คนที่คุณก็รู้ว่าเป็นใคร) ไปทานแฮมเบอร์เกอร์แล้วถูกชิงทรัพย์มูลค่ากว่าล้านบาท ท่ามกลางหน่วยอารักขาแน่นหนากลางกรุงมอสโคว์
แค่ส่งข่าวนี้กลับมาบ้านเกิด ก็ตีความกันหน้าดำหน้าแดงแล้วว่า จริง-ลวง..........
ชีวิตรื่นรมย์ // โพสต์ทูเดย์ // ฉบับวันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2550
กนกวรรณ กนกวนาวงศ์ media4joy@hotmail.com
กลุ่มสื่อสร้างสรรค์ www.happymedia.blogspot.com
สนับสนุนโดย ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วันอังคาร, มิถุนายน 12, 2550
รับอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเด็กเรื้อรังและระยะสุดท้าย
โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ
เครือข่ายพุทธิกา และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตระหนักว่ากลุ่มผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเรื้อรัง หรือเด็กที่กำลังเจ็บป่วยด้วยโรคระยะสุดท้ายในโรงพยาบาล เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการกำลังใจและการช่วยเหลือดูแลจากคนรอบข้าง แม้ว่าโรงพยาบาลจะมีแนวทางการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ทว่าระบบโรงพยาบาลก็มีภาระในการดูแลผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถดูแลตอบสนองต่อความทุกข์ของเด็กและครอบครัวได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสภาวะทางจิตใจที่เป็นทุกข์เนื่องจากความเจ็บป่วยที่รักษาไม่หาย
ด้วยเหตุนี้ทางโครงการจึงอยากเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปได้บำเพ็ญประโยชน์ โดยสมัครเข้ามาทำงานช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจเด็กที่เจ็บป่วยและครอบครัวของพวกเขาผ่านกิจกรรมศิลปะ ซึ่งนอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรในโรงพยาบาลแล้ว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เรียนรู้การการทำบุญรูปแบบใหม่ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นและสังคมอีกด้วย
กิจกรรมศิลปะเพื่อการเยียวยา
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเด็กอายุระหว่าง 4-16 ปี ซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและกำลังพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
จำนวนอาสาสมัคร 15 คน
สถานที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ระยะเวลา 20 สิงหาคม – 20 พฤศจิกายน 2550
คุณสมบัติอาสาสมัคร ไม่จำกัดเพศ อายุ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะ แต่มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น และมีภูมิคุ้มกันโรคหัดและสุกใส
ขั้นตอนการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร
1. เขียนแสดงทัศนะในการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร ความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ
1. ท่านทราบข่าวโครงการฯ นี้จากที่ใด2. ท่านมีอะไรบันดาลใจให้มาสมัครเป็นอาสาสมัคร
3. มีวิธีการใดบ้างที่ท่านคิดว่าสามารถนำมาใช้ช่วยเหลือเด็กป่วยเรื้อรังหรือป่วยระยะสุดท้ายได้ กรุณาอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น ใช้วิธีพูดคุยให้สบายใจ หรือ ซื้อของเล่นมาฝากเพื่อให้เด็กเพลิดเพลิน ฯลฯ ส่งมาที่ pueypier@gmail.com หรือโทรสาร 02-883-0592 ภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2550 (พิจารณาตามลำดับ) และจะแจ้งชื่อในวันที่ 2 กรกฎาคม 2550
2. ปฐมนิเทศวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2550 และอาสาสมัครที่ผ่านการคัดเลือกแล้วแต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันหัดและสุกใส จะต้องทำการนัดเจาะเลือดภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 และฉีดวัคซีนวันที่ 16 กรกฎาคม 2550
3. เข้ารับการอบรมวันที่ 4-6 สิงหาคม 2550 (3 วัน 2 คืน ค้างแรมนอกสถานที่)
4. อาสาสมัครจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยเด็ก อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง อย่างต่อเนื่อง
5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับแพทย์ที่ปรึกษา เดือนละสองครั้งๆ ละ 15-20 นาที ในบ่ายวันอังคารหรือพุธ
6. สรุปการเรียนรู้ร่วมกัน (Meeting อาสาสมัคร) ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550
ติดต่อสอบถาม: เครือข่ายพุทธิกา 90 ซอยอยู่ออมสิน ถนนจรัลสนิทวงศ์ 40 เขตบางพลัด กทม 10700 โทรศัพท์: 02-883-0592 และ 085-919-7616
เครือข่ายพุทธิกา และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตระหนักว่ากลุ่มผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเรื้อรัง หรือเด็กที่กำลังเจ็บป่วยด้วยโรคระยะสุดท้ายในโรงพยาบาล เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการกำลังใจและการช่วยเหลือดูแลจากคนรอบข้าง แม้ว่าโรงพยาบาลจะมีแนวทางการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ทว่าระบบโรงพยาบาลก็มีภาระในการดูแลผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถดูแลตอบสนองต่อความทุกข์ของเด็กและครอบครัวได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสภาวะทางจิตใจที่เป็นทุกข์เนื่องจากความเจ็บป่วยที่รักษาไม่หาย
ด้วยเหตุนี้ทางโครงการจึงอยากเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั่วไปได้บำเพ็ญประโยชน์ โดยสมัครเข้ามาทำงานช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจเด็กที่เจ็บป่วยและครอบครัวของพวกเขาผ่านกิจกรรมศิลปะ ซึ่งนอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรในโรงพยาบาลแล้ว อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เรียนรู้การการทำบุญรูปแบบใหม่ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นและสังคมอีกด้วย
กิจกรรมศิลปะเพื่อการเยียวยา
กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเด็กอายุระหว่าง 4-16 ปี ซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและกำลังพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
จำนวนอาสาสมัคร 15 คน
สถานที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ระยะเวลา 20 สิงหาคม – 20 พฤศจิกายน 2550
คุณสมบัติอาสาสมัคร ไม่จำกัดเพศ อายุ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะ แต่มีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น และมีภูมิคุ้มกันโรคหัดและสุกใส
ขั้นตอนการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร
1. เขียนแสดงทัศนะในการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร ความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ
1. ท่านทราบข่าวโครงการฯ นี้จากที่ใด2. ท่านมีอะไรบันดาลใจให้มาสมัครเป็นอาสาสมัคร
3. มีวิธีการใดบ้างที่ท่านคิดว่าสามารถนำมาใช้ช่วยเหลือเด็กป่วยเรื้อรังหรือป่วยระยะสุดท้ายได้ กรุณาอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น ใช้วิธีพูดคุยให้สบายใจ หรือ ซื้อของเล่นมาฝากเพื่อให้เด็กเพลิดเพลิน ฯลฯ ส่งมาที่ pueypier@gmail.com หรือโทรสาร 02-883-0592 ภายในวันที่ 29 มิถุนายน 2550 (พิจารณาตามลำดับ) และจะแจ้งชื่อในวันที่ 2 กรกฎาคม 2550
2. ปฐมนิเทศวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2550 และอาสาสมัครที่ผ่านการคัดเลือกแล้วแต่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันหัดและสุกใส จะต้องทำการนัดเจาะเลือดภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2550 และฉีดวัคซีนวันที่ 16 กรกฎาคม 2550
3. เข้ารับการอบรมวันที่ 4-6 สิงหาคม 2550 (3 วัน 2 คืน ค้างแรมนอกสถานที่)
4. อาสาสมัครจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วยเด็ก อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง อย่างต่อเนื่อง
5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับแพทย์ที่ปรึกษา เดือนละสองครั้งๆ ละ 15-20 นาที ในบ่ายวันอังคารหรือพุธ
6. สรุปการเรียนรู้ร่วมกัน (Meeting อาสาสมัคร) ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550
ติดต่อสอบถาม: เครือข่ายพุทธิกา 90 ซอยอยู่ออมสิน ถนนจรัลสนิทวงศ์ 40 เขตบางพลัด กทม 10700 โทรศัพท์: 02-883-0592 และ 085-919-7616
วันพุธ, มิถุนายน 06, 2550
แนะนำงานดี ๆ จากชาวมะขามป้อม
มะขามป้อมเปิดพื้นที่สำหรับงานศิลป์แห่งใหม่แล้ว
ขอเรียนเชิญพี่น้องชาวละครมาร่วมงานกันเยอะๆนะจ๊ะ
เชิญมาร่วมชมร่วมฮาเฮกับรายการดังนี้
-การแสดงละครเรื่อง สะพานควายไม่ไร้รัก กำกับโดยประดิษฐ ประสาททอง
-VTR ค.คนสะพานควาย
-ภาพเขียนจากครูเทพสิริ สุขโสภา
**หากท่านไม่สามารถมาในวันตามกลุ่มที่กำหนดไว้สามารถาในวันอื่นที่ท่านว่างได้ ทั้งนี้ขอความกรุณาโทรจองที่นั่งที่คุณ จิ๊กเก๋ 086-722-1600 ที่นั่งจำกัด สถานที่เล็กค่ะ
ศุกร์ที่ 15 มิ.ย. รอบ 19.30 น. รวมชาวมะขามป้อม รุ่นบุปผาชน (รุ่นปี พ.ศ. 2524 -2532)
เสาร์ที่ 16 มิ.ย. รอบ 14.00 และ 19.30 คนละครทั้งในและนอกสถาบัน / บุคคลทั่วไป
อาทิตย์ที่ 17 มิ.ย. รอบ 14.00 รวมชาวมะขามป้อม รุ่นทุนนิยมนำไทย (รุ่นปี 2533-2539)
ศุกร์ที่ 22 มิ.ย. รอบ 19.30 รวมชาวมะขามป้อม รุ่นฟองสบู่แตก (รุ่นปี 2540-2545)
เสาร์ที่ 23 มิ.ย. รอบ 14.00 และ 19.30 NGOs / คนทั่วไป
อาทิตย์ที่ 24 มิ.ย. รอบ 14.00 รวมชาวมะขามป้อม รุ่น GEN-X & GEN-Y (รุ่นปี 2546-2550)
พิเศษในทุกรอบวันเสาร์มีเสวนาในเวลา 15.00 น.
เสาร์ที่16 มิถุนายน หัวข้อ “ศิลปะกับชีวิตชาวเมือง เรื่องที่เป็นไปได้?”
เสาร์ที่23 มิถุนายน หัวข้อ “ศิลปะร่วมสมัย…ร่วมกับใคร ร่วมไปทำไม?”
หมายเหตุ – ที่ตั้งของมะขามป้อมสตูดิโอ อยู่หลังป้อมตำรวจตรงจุดสี่แยกสะพานควายพอดี เป็นห้องแถวหัวมุม ไม่มีที่จอดรถ หากสามารถจอดได้ที่บิ๊กซีสะพานควาย
ทั้งนี้การแสดงทั้งหมดไม่ได้มีการจำหน่ายบัตร หากท่านต้องการบริจาคกรุณาติดต่อได้ที่หน้างาน
ความศรัทธาทำให้คนตาบอด
ถ้อยประโยคจากหัวเรื่องอาจเป็นคำคุ้นคล้ายของใครหลายคน นั่นเพราะคำดังกล่าวหมายถึงการลุ่มหลงในความรักจนไม่อาจปลีกตัวไปพบความจริง เพียงแต่คำกล่าวด้านต้นเปลี่ยนจากคำว่า ‘ความรัก’ เป็น ‘ความศรัทธา’
ผมเคยได้ยินคำว่า ‘ความรักทำให้คนตาบอด’ มานมนาน และเคยประสบพบพานกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อน ช่วงเวลาดังกล่าวผมเป็นเพียงบัณฑิตใหม่ ไฟแรงทั้งในเรื่องการงานและการแสวงหา โดยเฉพาะเรื่องราวของความรักอันเป็นสัญชาตญาณที่ผู้ชายจะพึงมี
หลังจากทำงานประจำเพียงไม่กี่ปีผมก็ตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่ง ผมพบเธอและทำความรู้จักกันอย่างบังเอิญที่ต่างจังหวัด ก่อนจะหอบหิ้วความรักกลับเข้าเมืองหลวงด้วยการติดต่อและเขียนจดหมายถึงเธอตลอดเวลา กระนั้นหญิงสาวก็ยังไม่มีวี่แววจะเปิดทางเพื่อคบหาเรียนรู้ เพียงโต้ตอบกันในฐานะเพื่อน โดยผมเป็นฝ่ายรักเธอข้างเดียว
เป็นเรื่องธรรมดาที่ความชอบความหลงทำให้ผมเรียนรู้ถึงความเป็นตัวเธอ ผมจึงพบว่าเธอเป็นหญิงสาวที่แสนอินเทรนด์ ทั้งๆ ที่บ้านเกิดของเธออยู่ต่างจังหวัด ตรงข้ามกับผมที่มีบ้านเกิดอยู่กรุงเทพฯ แต่กลับมีบุคลิกนอกกระแส
จากเหตุผลระหว่างฝั่งความคิด ดูเหมือนเธอผิดหวังกับความเป็นผม แม้ผมได้พยายามปรับตัวเข้าหาเธออย่างมากก็ตาม
แต่สิ่งที่ทำให้ผมได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เกิดขึ้นหลังจากที่ผมเริ่มใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยด้วยการไปเดินห้างกับเธอ จับจ่ายข้าวของให้เธอ และเลี้ยงอาหารเธอในภัตตาคารสุดหรู ผมรู้สึกว่าเธอมีความสุขมากขึ้นและผมเองก็มีความสุข แม้คำเตือนของเพื่อนฝูงจะตีโต้มาเป็นระยะ
ไม่รู้ว่าโชคดีหรือโชคร้ายที่สุดท้าย เราสองก็เหินห่างเพราะความแตกต่างทางความคิดจนทำให้ทางชีวิตไม่เหมือนกัน ในเวลานั้นผมยังรู้สึกธรรมดากับหัวใจตัวเอง
บางครั้ง ภาพเธอก็มาหลอกหลอนในห้วงฝันของผม แต่หลังจากผ่านไปไม่กี่เดือน ผมก็กลับมาทบทวนถึงรูปเงาแห่งอดีตที่ยังตกตะกอนในก้นบึ้งแห่งความทรงจำ แม้ภาพของเธอจะยังคงอยู่ แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ของเพื่อนผู้ห่วงใยก็ยังคงอยู่เช่นกัน
ผมพบว่าคำกล่าวของเพื่อนๆ เตือนสติและหวังดีอย่างไม่มีทางเป็นอื่น
ความเป็นตัวเราทั้งสองช่างต่างกัน หากผมไม่พยายามสนิทสนมกับเธอ เธอก็คงไม่เรียนรู้ที่จะพบเห็นความเป็นผมเสียด้วยซ้ำ แต่การที่ผมนำเรื่องนี้มาวิเคราะห์ก็มิได้หมายความว่าผมจะคิดไปในทางเลวร้าย เพียงแต่สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ความหมายของคำว่า ‘ความรักทำให้คนตาบอด’ กลับเข้ามาอยู่ในความนึกคิดอีกครั้ง
ผมไม่ได้กล่าวหาว่าความรักเป็นเรื่องไร้ค่า ผมขอยืนยันว่าความรักคือสิ่งที่เกิดขึ้นจากหัวใจอันดีงาม เพราะจิตแห่งความรักคือจิตที่บริสุทธิ์ คือจิตแห่งการให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
คุณค่าของความรักคือความดีงามของชีวิตที่ทุกสรรพสิ่งพึงต้องการและโหยหาอย่างไม่รู้สิ้น แต่ผลลัพธ์จากความลุ่มหลงในความรักทำให้ผมนึกเปรียบเทียบถึงความรู้สึกของใครหลายคนที่ยังหลงใหลมัวเมาไม่ต่างจากการพร่ำเพ้อถึงใครสักคน
ผมหมายถึง ‘ความศรัทธา’ ที่มีต่อบุคคลคนหนึ่ง
ด้วยความที่ผมใช้ชีวิตเคียงชาวบ้าน คลุกคลีกับชาวบ้านและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชาวบ้าน ทำให้ผมรับทราบข้อเท็จจริงว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงศรัทธาบุคคลอันเป็นที่รักอยู่คนหนึ่ง บุคคลดังกล่าวเคยเป็นผู้นำประเทศ แต่ในเวลานี้กลับต้องพำนักอยู่นอกประเทศซึ่งผมจะไม่ขยายความให้เยิ่นเย้อ
เพราะสิ่งที่ผมฝังใจเป็นพิเศษ คือฤทธิ์เดชแห่งความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อบุคคลคนนั้น จนมองไม่เห็นความจริงในเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น
ความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่ออดีตผู้นำ รุกเร้ารุนแรง ไม่ต่างจากความรักของผมที่มีต่อหญิงสาว เป็นความคลั่งไคล้เกินจะนำเหตุผลใดๆ มาต่อกรกลับความไร้เหตุผล
ผมพยายามอธิบายให้ชาวบ้านรับฟังในเหตุผลอีกด้าน คลี่คลายข้อเท็จจริงยากๆ ให้กลายเป็นเรื่องง่ายเช่นเดียวกับเพื่อนฝูงของผมที่แนะนำให้ผมตัดใจจากหญิงสาวคนนั้น
ไม่น่าเชื่อว่า สิ่งที่ผมพร่ำกล่าวได้ผลลัพธ์เป็นเพียงสายลมบางเบา ทั้งนี้ มิใช่ว่าสิ่งที่ผมอธิบายเป็นเรื่องยากเกินจะเข้าใจ ทว่าพวกเขาไม่ได้ทำความเข้าใจในเรื่องที่ผมเล่า จนผมเองหมดหวังที่จะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอธิบายให้สังคมเล็กๆ ได้ตระหนักถึงผลลัพธ์ของการคอรัปชั่น
หลังจากคำอธิบายประสบความล้มเหลว ผมจับมองแววตาของชาวบ้านที่เปี่ยมล้นด้วยความหวังว่าบุคคลอันเป็นที่รักจะกลับมาเป็นผู้นำประเทศอีกครั้ง
แต่ระหว่างที่มองเห็นแววตาใสซื่อบริสุทธิ์ของพวกเขา ผมกลับมองเห็นภาพมายาสารพัดที่เบียดบังความจริง ม่านกำแพงที่ปกปิดดวงตาคนเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งเหนือความคาดหมาย เพราะนั่นคือความศรัทธาที่อยู่ในระดับรุนแรงยากจะบรรยาย
ปรากฏการณ์ความศรัทธาในตัวอดีตผู้นำ ทำให้ผมเข้าใจในอีกระดับว่า ‘ความศรัทธา’ และ ‘ความรัก’ เป็นเสมือนมุมมองในมิติเดียวกัน เพราะหัวใจของผู้ที่ถูกความรักเคลือบทา ย่อมมองไม่เห็นข้อเสียหรือตำหนิของคนที่ถูกรัก
ความหมายของความศรัทธาก็คงไม่ต่างกัน
ผมไม่เชื่อว่าความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้โดยไร้ซึ่งการอธิบาย เพียงแต่ต้นเหตุที่ทำให้สังคมของเรามีความเห็นแตกต่างจนนำไปสู่ภาวะแตกแยก มิใช่เรื่องของการแสดงข้อเท็จจริง แต่กำแพงหนาของความศรัทธานั่นแหละที่นำไปสู่การปกปิดความรับรู้ของตัวเอง จนเปิดทางให้วิกฤติบ้านเมืองดำรงคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
ดวงจิตแห่งความความศรัทธาที่รุนแรงจึงเป็นภยันตรายต่อสัจธรรมความจริง ไม่ต่างจากชายหนุ่มผู้หน้ามืดตามัวเพราะหลงอยู่ในหลุมหล่มแห่งความรัก
หากผู้มีศรัทธายอม ‘เปิดใจ’ ให้กับความเห็นที่แตกต่าง ลองคิดถึงตรรกะแห่งความจริง-เท็จ-ดี-ชั่ว ก็ย่อมแยกแยะผิด-ถูกได้ไม่ยาก เพราะความรักความศรัทธาไม่ใช่เรื่องของความเลวทราม เพียงแต่อาจเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจนสร้างดาบสองคมเล่นงานความถูกต้อง
ในเมื่อความรักของชายหนุ่มหญิงสาวคือสิ่งดีงาม ความศรัทธาก็ย่อมเป็นสิ่งดีงามเฉกกัน
เพราะฉะนั้นเราควรย้อนมองถึงสิ่งที่ศรัทธาด้วยการพินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นความศรัทธาที่มีต่อองค์พระ ความศรัทธาต่อวัตถุมงคล หรือความศรัทธาต่อผู้นำประเทศไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม (ขอย้ำ-ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม) ในเมื่อใครคนนั้นมีความเก่งกล้าจนเป็นที่เคารพศรัทธาในหมู่ชน ใครคนนั้นก็อาจมีข้อบกพร่องซึ่งเป็นสัจธรรมของสามัญมนุษย์ อาจเป็นข้อบกพร่องที่ไม่ได้ตั้งใจ (หรือเป็นข้อบกพร่องโดยสุจริตก็ตามที) หากเปิดใจพบเห็นข้อบกพร่องของบุคคลที่เราศรัทธา ความจริงและสัจธรรมย่อมปรากฏให้เรามองเห็น
หรือหากเรายังยืนยันที่จะศรัทธาและเชื่อมั่นในผู้ที่เราศรัทธา ก็ควรยกหยิบความจริงที่ได้ค้นพบขึ้นมาชี้แนะหรือวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้คนที่เราศรัทธากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
นี่แหละคือวิถีที่ถูกต้องของ ‘ความศรัทธา’ ซึ่งเป็นวิถีที่ถูกต้องของ ‘ความรัก’ ด้วยเช่นกัน
ชีวิตรื่นรมย์ // โพสต์ทูเดย์ // ฉบับวันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2550
โมน สวัสดิ์ศรี media4joy@hotmail.com
กลุ่มสื่อสร้างสรรค์ www.happymedia.blogspot.com
สนับสนุนโดย ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วันจันทร์, มิถุนายน 04, 2550
คลื่นชีวิตของคนท้องถิ่นกับการเรียนรู้
หวนกลับไปพิจารณาค้นหาข้อมูลที่เป็นความจริงจากอดีต เริ่มต้นตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเซียเขตร้อน ซึ่งมีประเทศไทยตั้งแต่สมัยที่ยังมีชื่อว่า “ประเทศสยาม” รวมอยู่ด้วย
แม้แต่ความคิดในการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยในช่วงกลางๆของกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้สะท้อนให้รู้ถึงสัญญาณที่บ่งบอกเอาไว้ว่า นั่นคือส่วนหนึ่งของวิถีทางที่จะนำไปสู่สภาวะล่มสลายซึ่งรอคอยอยู่เบื้องหน้า
เริ่มต้นจากการที่กลุ่มพ่อค้าพาณิชย์ชาวตะวันตกได้แล่นเรือข้ามน้ำข้ามทะเลมายัดเยียดสินค้าสำเร็จรูปให้แก่คนในเอเซียเขตร้อน ซึ่งการเดินทางมาครั้งนั้น ก็ไม่เพียงแต่การใช้เรือขนสินค้า หากยังมีการติดปืนใหญ่เข้ามาด้วย
ถ้าประเทศไหนไม่ยอมรับ ก็มักใช้โอกาสบุกรุกถือครองแผ่นดิน ดั่งจะพบความจริงได้ว่า ประเทศพม่า หมู่เกาะสุมาตรา แหลมมลายู อินเดีย และดินแดนในแถบที่เรียกกันช่วงนั้นว่า อินโดจีน ได้ถูกยึดครองไปแล้วเป็นตัวอย่าง
แม้ประเทศสยามจะใช้นโยบายปราณีประนอม จนกระทั่งหลุดรอดจากอิทธิพลอาวุธของชาวตะวันตกออกมาได้ แต่ก็ใช่ว่าควรแก่ความภูมิใจไม่ นอกจากนำผลที่ได้รับเฉพาะหน้ามาคุยโอ้อวดหรือทับถมชนชาติอื่นที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน
มาถึงช่วงนี้เราจะเห็นได้ว่า แม้การสูญเสียรากฐานจิตใจที่ควรจะมีอิสระ ของคนท้องถิ่นส่วนใหญ่ อาจเลวร้ายยิ่งกว่าการสูญเสียทางวัตถุ แม้กระทั่งแผ่นดินถิ่นเกิด ทั้งนี้และทั้งนั้น เนื่องจากการสูญเสียรูปวัตถุเช่นร่างกาย แต่จิตใจก็ยังคงมีอิสรภาพ วันหนึ่งข้างหน้าอาจมองเห็นโอกาสที่จะปลดปล่อยตัวเองให้หลุดพ้นจากพันธนาการบนพื้นฐานวัตถุออกมาได้
แต่การสูญเสียอิสรภาพภายในจิตใจย่อมมีผลนำไปสู่การสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง โดยเฉพาะการสูญเสียพื้นฐานการจัดการศึกษาซึ่งแต่ละคนใช้เป็นเครื่องมือเรียนรู้ความจริงอันนับได้ว่า มีโอกาสนำไปสู่การสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งการสูญเสียแผ่นดินถิ่นเกิด อันควรถือว่าเป็นที่รักและหวงแหนของคนท้องถิ่นอย่างสำคัญที่สุด
อนึ่ง ภาพสะท้อนซึ่งบ่งบอกถึงกระแสที่เข้ามาบุกรุก ครอบงำ ภูมิปัญญาคนท้องถิ่น ถึงกับทำให้ออกไปเชิญเขาเข้ามาปูพื้นฐานที่ไม่ใช่ของตัวเอง จากรากฐานความต้องการดังกล่าว ย่อมมีผลทำร้ายจิตใจของคนในชาติ ทำให้เกิดการยึดพลังอำนาจทางใจ เริ่มต้นจากกลุ่มผู้บริหารประเทศของเราเอง
นับตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกที่ผู้บริหารระดับสูงของชาตินำเอาผู้มีอิทธิพลในการจัดการศึกษาจากภายนอกเข้ามาเผยแพร่เงื่อนไขรองรับการจัดการเกี่ยวกับระบบชีวิตของคนท้องถิ่น
หลังจากนั้น ในช่วงเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ยังมีการนำบุคคลต่างถิ่นเข้ามาแพร่อิทธิพลในการจัดการศึกษา โดยที่มีการนำเข้ามาเป็นครูสอนเจ้านายในระดับสูงภายในระบอบการปกครองสมบูรณายาสิทธิราช ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลถ่ายทอดอิทธิพลรูปแบบของวัฒนธรรมตะวันตกจากด้านบนลงมาสู่ด้านพื้นฐานของเราเอง
ซึ่งในช่วงที่กล่าวมาแล้ว แม้ชุมชนคนท้องถิ่นจะมีทุนเดิมที่สะสมวัฒนธรรมการจัดการศึกษาเริ่มต้นจากพื้นดินซึ่งเป็นธรรมชาติในระดับพื้นฐานของชีวิตคนท้องถิ่นมาแล้ว แต่ก็ยังเปิดใจรับสิ่งแปลกปลอมเข้ามาไว้อย่างไม่อาจต้านทานได้สำเร็จ
ไม่เพียงแค่นั้น เนื่องจากผลอันเป็นที่สุด ซึ่งได้แก่การยึดครองอิทธิพลการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเป้าหมายอย่างสำคัญอย่างปราศจากการรู้สึกตัว แต่ถ้ามองมาจากภายนอก สำหรับผู้ที่สามารถรักษาพื้นฐานจิตใจตนเองเอาไว้ให้มั่นคงเข้มแข็งอยู่ได้ ย่อมรู้เท่าทันต่อพฤติกรรมดังกล่าว เนื่องจากยังคงมองเห็นความสำคัญของทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเกิดและดำรงอยู่บนพื้นดินถิ่นเกิดที่มีผูกพันอย่างลึกซึ้งถึงจิตใจคน
ที่สำคัญที่สุดจากผลการปฏิบัติโดยคนส่วนใหญ่ก็คือ ความแตกแยกภายในชุมชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งมีผลนำไปสู่ความหายนะของสังคมท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งสอดคล้องกันกับคำโบราณที่กล่าวฝากไว้ว่า “เงินเข้าที่ไหน ความทันสมัยทางวัตถุเข้าที่ไหน คนซึ่งควรรวมตัวกันเป็นชุมชนเข้มแข็ง ย่อมแตกแยกกันที่นั่น”
ประสบการณ์ชีวิตของคนท้องถิ่นซึ่งเคยผ่านปัญหาระดับดังกล่าวมาแล้วในอดีต นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตก น่าจะได้แก่ การที่สภาพของสังคมในขณะนั้น ได้รับการยุแหย่ให้เกิดความขัดแย้งอีกทั้งมีผลทำลายความสามัคคี ถึงขนาดที่นำมากล่าวไว้ให้คิดพิจารณาว่า การแตกความสามัคคีของคนในชาติ ย่อมมีผลนำไปสู่สภาวะล่มสลายของชาติในที่สุด
เรื่องนี้สามารถยืนยันความจริงให้ปรากฏเห็นได้ชัดเจนคือ สมัยที่กรุงศรีอยุธยากำลังใกล้จะแตก ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเกิดได้สองด้าน ด้านหนึ่งเกิดจากการยุแหย่ให้รู้สึกหวงแหนในผลประโยชน์ของตนและพรรคพวก ส่วนอีกด้านหนึ่งเกิดจากนิสัยความเห็นแก่ตัว ซึ่งทำให้มีความขัดแย้งกันบนพื้นฐานผลประโยชน์ โดยที่เรื่องนี้สามารถเห็นได้ชัดเจนมาแล้วทุกยุคทุกสมัย
ขณะนี้การเปลี่ยนแปลงได้ล่วงเลยมาจนกระทั่งถึงช่วงซึ่งวิถีชีวิตของแต่ละคน ภายในสภาพของสังคมลักษณะนี้ มีการระบายความรู้สึกจากผู้คนแทบทุกกลุ่ม แม้บางกลุ่มอาจยังไม่สะท้อนให้เห็นผลได้อย่างชัดเจน วันหนึ่งข้างหน้าไม่เร็วก็ช้าย่อมเห็นได้รู้ได้เองเสมอ
ทุกวันนี้ สำหรับบุคคลผู้มีรากฐานจิตใจอิสระช่วยให้มีความเป็นกลางถึงระดับหนึ่ง มักถูกใช้โดยกลุ่มบุคคลผู้ซึ่งมีความทุกข์ร้อนอย่างหนักจากสภาพความแตกแยก โดยเข้ามาหาเพื่อระบายความในใจให้ได้ทราบจากพื้นฐานที่เป็นความจริงอย่างเป็นธรรมชาติ
จึงช่วยให้มีโอกาสหยั่งรู้ความจริงในสังคมลักษณะนี้ได้อย่างชัดเจน อีกทั้ง ยังช่วยให้มองเห็นโอกาสที่จะนำข้อมูลออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนเพื่อการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
จากความจริงภายในองค์ประกอบของสังคมที่สะท้อนออกมาปรากฏ ย่อมมีวิถีการเปลี่ยนแปลงร่วมกันบนพื้นฐานความหลากหลายของมนุษยชาติอย่างเป็นวัฏจักร ในบางจุดถึงแม้วันนี้อาจยังไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ แต่จากจุดยืนบนพื้นฐานของอีกด้านหนึ่ง ย่อมสะท้อนออกมาเพื่อสารภาพความจริงให้สาธารณชนเห็นและรู้ได้เอง
ท่ามกลางบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน สำหรับผู้ที่หยั่งรู้ความจริงถึงระดับหนึ่งแล้ว คงเฝ้ารอคอยต่อไปว่า เมื่อใดวิถีการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมยุคนี้จะส่งผลกระทบทำให้คนรู้สึกเจ็บปวดอย่างถึงที่สุด เพื่อจะได้มีผลทำให้คนส่วนใหญ่หวนกลับมาพิจารณาตัวเอง ซึ่งเป็นความหวังที่จะช่วยให้เกิดกระแสซึ่งนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างลึกซึ้งถึงรากฐาน
อนึ่ง ในขณะที่ผู้เขียนบันทึกบทความเรื่องนี้ เป็นเวลาตีสี่ของเช้าวันที่ 3 พฤษภาคม 2550 ทำให้รู้สึกว่าฝนฟ้าอากาศยังคงชุ่มฉ่ำ อีกทั้งมีเงาของเม็ดฝนที่สะท้อนมาจากแรงกระทบพื้นถนนจนทำให้เห็นเป็นประกายระยิบระยับ แต่ใครเลยจะรู้ถึงกาลเวลาในอนาคตว่า สิ่งที่พบเห็นอยู่ในขณะนี้ วันหนึ่งข้างหน้ามันอาจปนเปื้อนด้วยเลือดจากการกระทำระหว่างคนไทยด้วยกันเองซึ่งชีวิตกำลังดำเนินไปถึงจุดจบ เพื่อหวนกลับมายังอีกด้านหนึ่งซึ่งมีทั้งรอยยิ้มความไม่พึงพอใจของคนท้องถิ่นร่วมกันทั้งสองด้าน สมกับการที่สัจธรรมได้กล่าวกันมาแล้วจากด้านหนึ่งว่า “เมืองไทยเป็นเมืองยิ้ม” แล้วอีกด้านหนึ่งล่ะจะเอาไปไว้ที่ไหน
7 พฤษภาคม 2550
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)