“สู่โอลิมปิคเพื่อสันติภาพ ด้วยการเมืองที่เป็นธรรม”
วันพุธที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ๒๒๒ ชั้น ๒ ตึกคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
ธิเบต คุณูปการที่มีต่อโลก
แม้ว่าภาพของการลุกฮือขึ้นเรียกร้องสิทธิของชนชาติธิเบตดูเป็นการจลาจล
ด้วยความรุนแรงจากรายงานที่เสนอผ่านสื่อต่างๆ แต่ความรุนแรงดังกล่าวย่อมไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยไร้ที่มาของปัญหา นับตั้งแต่กองทัพประชาชนของรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ ได้ยาตราทัพเข้าไปในดินแดนธิเบต ด้วยข้ออ้างถึงการปลดปล่อยธิเบต ในปีพ.ศ.๒๔๙๓(ค.ศ.๑๙๕๐)นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญต่อวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชนชาติธิเบต การลี้ภัยออกนอกประเทศของทะไลลามะและคุรุคนสำคัญอื่นๆ กลับกลายเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลสะเทือนต่อจิตวิญญาณของมนุษยชาติอย่างมาก เพราะกลายเป็นช่องทางที่ทำให้ภูมิปัญญาซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ขุนเขาหิมาลัย ได้สำแดงคุณค่าให้โลกประจักษ์ชัดพุทธศาสนาแบบวัชรยานของธิเบตกลายเป็น
หัวหอกที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่โลกตะวันตกอย่างกว้างขวาง
จีนกับการเจริญเติบโตทางวัตถุ
ในทางกลับกัน วิถีชีวิตและความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ของธิเบตที่โลกได้รับรู้กลับถูกเพิกเฉยจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของจีน ความพอใจกับสมบัติที่แม้ไม่มากมาย ความพึงใจกับการสะสมบุญและอุทิศตนเพื่อธรรมมะถูกมองเป็นความยากจนและล้าหลัง รัฐบาลจีนต้องการสร้างความเจริญทางวัตถุและหาประโยชน์จากธิเบต วิธีการหนึ่งที่รับบาลจีนนำมาใช้คือการพยายามสนับสนุนให้คนต่างถิ่นอพยพเข้ามา
ตั้งรกรากและทำมาหากินในธิเบตจนกลายเป็นความแปลกแยกกับคนท้องถิ่น เนื่องมาจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันรวมไปถึงความไม่เท่าเทียมกัน
ในการกระจายรายได้และทรัพยากร ปัญหาดังกล่าวค่อยๆก่อตัวสะสมมาอย่างยาว บวกกับการที่รัฐบาลจีนได้จำกัดสิทธิในด้านต่างๆของชาวธิเบตโดยเฉพาะเสรีภาพ
ในทางศาสนามีการจับกุมคุมขังนักบวชปิดวัด อยู่เป็นระยะตลอดเวลาห้าสิบกว่าปีที่เข้ายึดครองธิเบต ทำให้ความไม่พอใจที่สั่งสมมาถึงจุดแตกหักดังเหตุการณ์ที่กำลังที่เกิดขึ้น
การเจรจา หนทางสู่สันติภาพ? (dialogue?)
รัฐบาลจีนกล่าวโทษไปยังประมุขของทิเบตคือ องค์ทะไลลามะและรัฐบาลพลัดถิ่นของธิเบตณเมืองธรรมศาลาว่า อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว ไม่ว่าข้อกล่าวหานี้จะเท็จจริงประการใดก็ตามแต่นโยบายและการกระทำของจีน
ที่มีต่อธิเบตตลอดห้าสิบกว่าปีที่ผ่านมาย่อมเป็นประจักษ์พยานว่า รัฐบาลจีนเป็นส่วนสำคัญของปัญหาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้จะถูกบดบังด้วยภาพความรุนแรงของการจราจล แต่การเคลื่อนไหวของพระภิกษุสงฆ์ชาวธิเบตตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงลาซาขณะนี้ก็เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจีนร่วมเจรจาวิสาสะ(Dialogue) ถึงเสรีภาพอันพึงมีทางศาสนาและวัฒนธรรมความเชื่อแต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากจีนเสมอมา
อีกทั้งนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลจีนในระยะหลังเลือกที่จะละเลย
ความถูกต้องชอบธรรมต่างๆในการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในดินแดน
ที่มีความขัดแย้งและถูกตั้งคำถามต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเป็น กรณีดาร์ฟูร์ในซูดานหรือต่อเหตุการณ์ในพม่าเป็นต้น รัฐบาลจีนเลือกใช้อำนาจและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีอยู่กับนานาประเทศ เป็นเครื่องมือในการยุติการวิพากษ์วิจารณ์และสร้างความชอบธรรมจากนานาชาติ ในกรณีของธิเบตก็ไม่ต่างออกไปนัก การใช้มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเป็นเสมือนตัวประกันต่อนานาชาติ ในการเรียกร้องให้ยุติปัญหาโดยเร็วอย่างปราศจาการแก้ปัญหาอย่างถึงราก
๑๔.๐๐ น. ลงทะเบียน
๑๔.๓๐ น.- ๑๕.๐๐ น. ฉายภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับธิเบต
๑๕.๐๐น.-๑๗.๐๐น.เสวนา“สู่โอลิมปิคเพื่อสันติภาพด้วยการเมืองที่เป็นธรรม“
วิทยากร
๑. ภิกษุณี ธัมมนันทา
๒.รสนา โตสิตระกูล
๓.ดร. สุรพงษ์ ชัยนาม
๔.Dorothy Guerrero*
พร้อมชมนิทรรศการและหนังสือที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมธิเบตและพุทธศาสนานิกายวัชรยาน และการเปิดตัวหนังสือ “ปัญญาญาณแห่งการอภัย” (Wisdom of Forgiveness) ของท่านทะไลลามะและวิกเตอร์ ชาน(นักหนังสือพิมพ์ชาวจีน)
เครือข่ายพุทธิกา โทรฯ ๐๒-๘๘๖๙๘๘๑, ๐๒-๘๘๓๐๕๙๒
E-mail: b_netmail@yahoo.com
สนพ.สวนเงินมีมา โทรฯ ๐๒-๒๒๒๕๖๙๘ ๐๒-๖๒๒๐๙๕๕ ๐๒-๖๒๒๐๙๖๖
E-mail: publishers@suan-spirit.com เว็บไซต์: www.suan-spirit.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น