วันศุกร์, พฤษภาคม 30, 2551

บรรยาย "การปฏิบัติตาราในระดับสมมติและปรมัตถ์"

มูลนิธิพันดาราขอเชิญท่านเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย

"การปฏิบัติตาราในระดับสมมติและปรมัตถ์"

World Buddhist University สวนเบญจศิริ ถนนสุขุมวิท

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน 2551 เวลา 12.00-13.30 น.


โดย รศ.ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ (ประธานมูลนิธิพันดารา)


ตารา พระโพธิสัตว์แห่งความเมตตาทรงเป็นที่เคารพบูชาและมีการปฏิบัติสืบเนื่อง

จนถึงปัจจุบันในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมในสายพุทธทิเบตทั้งในทิเบตและดินแดนอื่นๆ ธารณีสิบพยางค์ของพระองค์มักได้ยินสวดกันอยู่เสมอใน

หมู่ผู้บูชาพระองค์ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นชายหรือหญิง มีการศึกษาหรือไม่ก็ตาม


พรของพระองค์ได้รับการเน้นเป็นพิเศษในยุคสมัยนี้ที่มนุษย์ประสบภัยพิบัติจากสงคราม โรคภัยไข้เจ็บ ภัยธรรมชาติ ความขัดแย้งและจิตที่สับสนเศร้าหมอง การปฏิบัติตาราได้รับความนิยมแพร่หลายจนทำให้มีศูนย์ปฏิบัติธรรมจำนวนมากทั่วโลกที่อุทิศให้พระองค์เป็นพิเศษ


ตาราคือความเป็นจริงภายนอก (ลักษณะเหมือนเทพ) หรือเป็นผลพวงที่เป็นนามธรรมซึ่งเกิดจากจิตของเราเอง เราจะเข้าใจตาราจากมุมมองสมมติและปรมัตถ์ได้อย่างไร การปฏิบัติตาราขจัดความกลัวและอารมณ์บ่อนทำลาย เตรียมผู้ปฏิบัติธรรมสำหรับความตายที่จะมาเยือนและนำไปสู่การเข้าถึงความรู้แจ้งในระดับสูงสุดอย่างไร


การบรรยายนี้จะให้คำตอบต่อคำถามเหล่านี้จากมุมมองของผู้ปฏิบัติพุทธวัชรยานในบริบทเถรวาท



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบรรยาย สถานที่ และแผนที่ ได้ที่

The World Buddhist University Centre โทร : 66 (0) 2-2580369 - 73

หรือที่ www.wb-university.org/?do=contact และ www.wb-university.org/

คอนเสิร์ต "ศิลปะดนตรี เพื่อเพื่อนมนุษย์" (ที่อยู่ในพม่า)

SVN ร่วมกับ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป สำนักศิลปะร่วมสมัย

และมูลนิธิพัฒนาการศึกษา จ.พังงา

ขอเชิญท่านร่วมฟัง

คอนเสิร์ต "ศิลปะดนตรี เพื่อเพื่อนมนุษย์"

ART 7 MUSIC FOR FRIENDS (Concert for Burma)

ในวันพุธที่ 4 มิถุนายน 2551

ณ สถาบันปรีดีพนมยงค์ ซอยทองหล่อ กรุงเทพฯ ตั้งแต่ 14.00 - 20.00 น.

งานนี้ชมฟรี แต่มาร่วมกันบริจาคได้

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://review.semsikkha.org/content/view/520/1/


"ความจริงพูดได้" (สาระ-คดี) สุภิญญา กลางณรงค์

ความจริงพูดได้ (คดีสุภิญญา)
The Truth Be Told: The Cases Against Supinya Klangnarong

ภาพยนตร์สารคดีเรื่องยาว ปี 2550, 105 นาที

"ความจริงพูดได้" สารคดีชีวิต สุภิญญา กลางณรงค์ ฉายแล้ว 29 พ.ค.

และจะฉายต่อเนื่องไปทุกวันๆละ 1 รอบ เวลา 19.00 น. (ต่อไปอีก 4 สัปดาห์)

ที่SFX World Cinema ชั้น 7 เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า

และทุกศุกร์/เสาร์ สามารถพบปะ พูดคุยกับพิมพกา โตวิระ ผู้กำกับภาพยนตร์ได้

"ความจริงพูดได้" ผลงานเรื่องใหม่ของผู้กำกับหญิง พิมพกา โตวิระ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ครั้งแรกในโครงการ Director's World Screen (Director's World Screen Project) ที่จัดทำโดยกลุ่มคนทำหนังอิสระ ร่วมกับ เอสเอฟ ซินีม่า ซิตี้

สารคดีเรื่องนี้ ติดตามชีวิตตลอด 3 ปีของสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ในช่วงที่ถูกบริษัทชินคอร์เปอเรชั่น ของเครือญาติอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องเป็นจำเลยที่หนึ่งร่วมกับหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ในข้อหาหมิ่นประมาทจากการตีพิมพ์บทความของเธอที่ชื่อว่า

"เอ็นจีโอประจาน 5 ปีรัฐบาลไทย ชินคอร์ปรวย" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ โดยถูกเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 400 ล้านบาทในคดีแพ่ง และติดคุกสำหรับคดีอาญา แต่เธอและไทยโพสต์ชนะคดีในเวลาต่อมา

แม้นศาลจะพิพากษาให้ยกฟ้องเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2549 แต่ตลอดสามปีที่สุภิญญาต้องมีชีวิตอยู่กับคดีใหญ่คับฟ้าที่คนตัวเล็กๆ มิอาจเผลอได้ว่าจะมีโอกาสหลุดรอด และคดีนี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งและรับใช้เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงสามปีที่ผ่านมา ชัยชนะของเธอในครั้งนี้ สร้างความหวังให้เราหรือว่าอิสระในการพูดช่วยทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงได้

หรือเราเพียงคิดไปเองว่ามันเปลี่ยนแปลงได้?

ความจริงพูดได้ ได้รับเกียรติให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศมาแล้วมากมาย อาทิ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติจาการ์ต้าครั้งที่ 9 ประเทศอินโดนีเซีย เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติครั้งที่ 37 ที่กรุงร็อตเตอดัม เนเธอร์แลนด์ เทศกาลสารคดีที่ประเทศกรีซ เทศกาลภายนตร์นานาชาติที่สิงคโปร์ และล่าสุดคือเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ (Hot Docs) ประเทศแคนาดา เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา

เกี่ยวกับผู้กำกับ

พิมพกา โตวิระ สำเร็จการศึกษาด้านภาพยนตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผลงานหลากหลายทั้งด้านการละคร และภาพยนตร์สั้นเชิงทดลอง รวมถึงเป็นเจ้าของผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง แม่นาค ซึ่งได้รับรางวัล Special Jury Prize ที่เทศกาลอิมเมจฟอรั่ม ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2541 และภาพยนตร์เรื่องยาว คืนไร้เงา นำแสดงโดย นิโคล เทริโอ และสิริยากร พุกกะเวส ซึ่งได้รับการฉายเปิดตัวในสาย International Forum of New Cinema ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในปี 2546 รวมถึงยังได้เดินสายไปฉายในอีกหลากหลายเทศกาลทั่วโลก

ผลงานในด้านอื่นๆ ยังประกอบด้วยงานเขียน งานรณรงค์ด้านภาพยนตร์ และการสอนในสถาบันศึกษาต่างๆ รวมถึงดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคัดเลือกภาพยนตร์งาน Bangkok Film Festival ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ The Nation เมื่อปี 2544 และยังเคยได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินภาพยนตร์ในอีกหลายเทศกาลนานาชาติ เช่น เทศกาลภาพยนตร์สั้นโอเบอร์เฮาเซ่น ประเทศเยอรมัน และเทศกาลภาพยนตร์สารคดียามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น และตลอดจนยังเป็นผู้ร่วมงานในอีกหลากหลายโครงการกับมูลนิธิหนังไทย โดยโครงการล่าสุดคือการจัดตั้งเครือข่ายรณรงค์เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์ (Free Thai Cinema Movement) ร่วมกับอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย,มูลนิธิหนังไทย, และกลุ่มองค์กรภาพยนตร์อิสระ

เทศกาลหลักที่เข้าร่วม

9th Jakarta International Film Festival
37th International Film Festival Rotterdam
10th Thessaloniki Documentary Film Festival
21st Singapore International Film Festival
12th Hot Docs Canadian International Documentary Festival


“สื่อกับจิตสาธารณะ”

สัมมนาวิชาการ
“สื่อกับจิตสาธารณะ”
วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2551 เวลา 08.30- 16.00 น.
ณ ห้องประชุมทวี บุณยเกตุ ชั้น 6 อาคารสำนักอธิการบดี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สื่อมวลชน สื่อโฆษณา สื่อการตลาด สื่อประชาสัมพันธ์ ข่าวสารจากองค์กรเหล่านั้นจะมีการชูประเด็นสาธารณะ จิตสาธารณะ จิตอาสาอยู่บ้าง แต่หลายคนอาจเคลือบแคลงว่าเป็น "จิตสำนึกเทียม" หรือไม่ อันเนื่องมาจากความมีผลประโยชน์แฝงเร้น ซึ่งเมื่อได้ผลตอบแทนแล้วก็ปราศจากอุดมการณ์ที่จะสานต่อประโยชน์สาธารณะอย่างต่อเนื่อง
จิตสาธารณะไม่ควรเป็นเพียงกระแสการตลาดหรือการะแสงานเพื่อสังคม แต่จิตสาธารณะจำเป็นอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่และเสรีประชาธิปไตย
คนรุ่นใหม่ต้องการสำนึกใหม่ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น เส้นแบ่งขอบเขตความเป็นส่วนตัวส่วนรวมทั้งในเชิงพื้นที่และในเชิงตัวตนชัดเจนขึ้น แต่กระนั้นสิทธิของปัจเจกชนจะต้องสอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม
รัฐและนโยบายพัฒนาที่ผิดพลาดไม่อาจตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของกลุ่มพวกและท้องถิ่น จำเป็นที่ต้องมีการรวมกลุ่มร่วมมือพึ่งตนเอง รวมถึงการทวงถามสิทธิที่รัฐพึงให้บริการ ความพยายามในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการต่อรองกับนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบถึงตน
จิตสำนึกสาธารณะจึงเป็นเรื่องของกระบวนการเรียนรู้จากความเป็นจริงทางการเมือง
และสังคมของประชาชนพลเมืองเอง ไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูปในหลักสูตรการศึกษาใด ๆ

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้จัดทำโครง การวิจัยชุด“จิตสำนึกสาธารณะ” และจะนำเสนอผลงานใน วันที่ 25 มิถุนายนนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด งานวิจัยสู่สังคม ดังกำหนดการดังต่อไปนี้


08.30- 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.30 น. - ศาสตราจารย์สุกัญญา สุดบรรทัด
คณบดี คณะนิเทศศาสตร์และหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวรายงาน
- รองศาสตราจารย์ ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน อธิการบดี กล่าวเปิดการประชุม - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว
ผู้อำนวยการดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์
นำเสนอภาพรวมงานวิจัยชุด “จิตสำนึกสาธารณะ”

09.30-10.30 น. นำเสนอผลการวิจัยกลุ่ม การสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะกับเยาวชน
1. “บทบาทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กกับการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ” โดย รศ.ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์
2. “ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารของกลุ่มเยาวชนในการดำเนินงานกิจกรรม
สาธารณะ” โดย ผศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ
3. “ถอดบทเรียนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศกับจิตสำนึกสาธารณะของเยาวชน
กรณีศึกษา ชมรมมุสลิมในสถาบันอุดมศึกษา” โดย ผศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว

10.30-10.40 น. พักรับประทานของว่าง

10.40- 12.00 น. นำเสนอผลการวิจัยกลุ่มการสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะกับชุมชน
4. “จิตสำนึกของหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหาสาธารณะที่ได้รับการร้องเรียน
ผ่านสื่อมวลชน” โดย อาจารย์พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์
5. “บทบาทสื่อมวลชนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ:
กรณีศึกษาสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน เอฟ เอ็ม 96.0 เมกกะเฮิร์ตซ์” โดย อาจารย์วีณา แก้วประดับ
6. “จิตสำนึกสาธารณะ: อำนาจเรื่องเล่าบ้านทรายขาว” โดย อาจารย์วิไลวรรณ จงวิไลเกษม

12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.30-14.30 น. นำเสนอผลการวิจัยกลุ่มองค์กรและสื่อกับการสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะ
7. “การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะผ่านพันธมิตรองค์กร
ภาครัฐ องค์กรธุรกิจเอกชนและองค์กรไม่แสวงหากำไร” โดย อาจารย์เสาวนีย์ ฉัตรแก้ว
8. “จริยธรรมของนักวิชาชีพประชาสัมพันธ์ในการนำจิตสำนึกสาธารณะมาใช้ใน งานประชาสัมพันธ์”
โดย อาจารย์กอบกวี ชื่นรักสกุล
9. “ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะกับทัศนคติ
และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค" โดย อาจารย์มนัสสา จินต์จันทรวงศ์

14.30-14.40 น. พักรับประทานของว่าง

14.40-15.40 น. นำเสนอผลการวิจัยกลุ่มองค์กรและสื่อกับการสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะ (ต่อ)
10. “การสื่อสารเพื่อการเชื่อมร้อยจิตสำนึกสาธารณะขององค์กรธุรกิจ
กับภาคประชาชน” โดย ผศ.สุรางคนา ณ นคร
11. “กลยุทธ์การวางแผนและการสร้างสรรค์สื่อจดหมายตรงขององค์กร เพื่อสาธารณประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการระดมทุน" โดย อาจารย์ วิลาวัณย์ วโรภาษ
12. “จิตสำนึกของผู้ประกอบการในการตลาดแบบปฏิสัมพันธ์” โดย ผศ.พนารัตน์ ลิ้ม

15.40-15.50 น. ซักถาม/ข้อเสนอแนะในภาพรวม
15.50-16.00 น. สรุปและปิดการประชุมสัมมนา
โดย ศาสตราจารย์สุกัญญา สุดบรรทัด คณบดี คณะนิเทศศาสตร์


การลงทะเบียน
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประชุมสัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสำรองที่นั่งได้ที่
1. คุณนันธิการ์ จิตรีงาม โทรศัพท์ 02-954-7300 ต่อ 445 หรือ 081-6560948
โทรสาร: 02-954-7355 และ E-mail: star_dao3@hotmail.com
2. สำนักงานเลขานุการ คณะนิเทศศาสตร์ 02-954-7300 ต่อ 300, 233, 724
โทรสาร: 02-954-7355

วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 22, 2551

คอนเสิร์ต “เปิดโลกเย็น”

จีวันแบนด์และศิลปินรับเชิญพิเศษ ขอเชิญชม คอนเสิร์ต “เปิดโลกเย็น”
รำลึกบทเพลงธรรมท่านพุทธทาสภิกขุ เพื่อลดภาวะโลกร้อน
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2551 เวลา 19.00 น. (1 รอบ)
ณ หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

“โลกเย็นได้ด้วยธรรม ชีวิตฉ่ำด้วยทำนอง
บทเพลงที่ขับร้อง ให้อ่อนน้อมสงบเย็น”


ในโอกาสฉลอง 102 ปี ท่านพุทธทาส ศิลปินที่ศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา และมีเจตนารมณ์เป็นหนึ่งเดียวกันที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในแผ่นดินไทยและในผืนโลก ได้ร่วมใจกันจัดมินิคอนเสิร์ต “เปิดโลกเย็น” เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย ได้น้อมนำใจสู่ธรรมและสัมผัสกับจิตที่สงบเย็นผ่านบทเพลงอันไพเราะ

นายดินป่า จีวัน กล่าวว่า “การจัดมินิคอนเสิร์ต “เปิดโลกเย็น” ต่อเนื่องมาจากคอนเสิร์ต “เปิดดวงตา” (12 พฤษภาคม 2550 ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาด้วยบทเพลงตามแนวคิดของ ท่านปรีดี พนมยงค์ และ ท่านพุทธทาสภิกขุ (พ.ศ. 2485)

ท่านพุทธทาส กล่าวไว้ว่า“ศีลธรรม ของยุวชน คือ สันติภาพของโลก”
ดนตรีและบทเพลงเป็นสื่อที่มีอิทธิพลสูงมากในกลุ่มยุวชน,วัยรุ่น และประชาชนทั่วไป ดังนั้น การถ่ายทอดธรรมะผ่านบทเพลงจะช่วยให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงธรรมะได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบันสังคมมีความเสื่อมถอยทางจริยธรรม ประเทศไทยมีปัญหาสังคมมากมาย โลกของเราร้อนขึ้น เต็มไปด้วยสงครามและการแย่งชิงกัน กการปลูกฝังศีลธรรม และความดีงามให้เกิดขึ้นในจิตใจผู้คน เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่มาของการสร้างสรรค์ให้เกิดกิจกรรมเช่นนี้ขึ้น

มินิคอนเสริต “เปิดโลกเย็น” นำโดย จีวันแบนด์ และศิลปินรับเชิญพิเศษ อาทิ มีสุข แจ้งมีสุข, ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, สิริยากร พุกกะเวส ธีรภาพ โลหิตกุล, กัมปนาท บัวฮัมบุรา, แทนคุณ จิตต์อิสระ, นุภาพ สวันตรัจฉ์, ธนกฤต อกนิษฐธาดา, ธีรยุทธ์ เวชเจริญยิ่ง, เด็กๆ จากอนุบาลสัตย์สงวนอนุสรณ์ และเด็กๆ นักแสดงและน้องตั้งเต เป็นต้น จะจัดขึ้น

บัตรราคา 1,000 บาท มีจำนวนที่นั่งจำกัด เพียง 200 ที่นั่ง

รายได้เพื่อใช้ในโครงการนำเพลงธรรมสู่ยุวชน และประชาชน
ผู้สนับสนุนร่วมกันทุกฝ่ายนอกจากจะเป็นการจัดทำสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์ที่คงอยู่นานแล้ว ยังเป็นการบำเพ็ญธรรมทานคือการให้ธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่าเป็นทานอันยอดเยี่ยม พร้อมไปกับการมีส่วนร่วมในการเผยแผ่ธรรมบันเทิง อันจะอำนวยประโยชน์สุขที่แท้จริงแก่ชีวิตและประชาชน

ผู้สนใจสามารถจองบัตรคอนเสิร์ตได้ตั้งแต่วันนี้ที่
สำนักพิมพ์ ดีเอ็มจี DMG Book 02-685-2254-5/
คุณเอ 081-929-2439 หรือที่ และ
กลุ่มศิลปะเปิดจิต 087-591-6995 email: tortow2005@yahoo.com

โลกร้อน…อากาศร้อน ก็ร้อนไป
อย่าให้ใจเร่าร้อน ด้วยไฟราคะ- โทสะ- โมหะ
อย่าให้ความเร่าร้อนของคนอื่น
มาทำลายความสงบเย็นของเรา
อย่าเอาความเร่าร้อนของเรา
ไปทำลายความสงบเย็นของคนอื่น
ช่วยกันรักษา “ความสงบเย็น”
จะช่วยโลกให้เป็น “บรมสุข”
เพราะ… “นิพพานัง ปรมัง สุขัง”
ความสงบเย็นเป็นสุขอย่างยิ่ง (บรมสุข)
ธรรมชีวิน


กลุ่มศิลปะเปิดจิตได้สร้างสรรค์บทเพลงเพื่อศาสนา ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ ร่วมกับศิลปินรับเชิญ ที่มาร่วมร้อง และอ่านบทกวี โดยเนื้อหาของบทเพลงคือ
1. บทกวี ข้อเขียน และ บทความของท่านพุทธทาสภิกขุ
2. บทกวีและข้อเขียนที่ศิลปินแห่งชาติ และ ศิลปินรับเชิญที่มาร่วมในผลงาน
3. เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ คำร้องและทำนอง โดย ดินป่า จีวัน
ผลงาน “เพลงพุทธทาส” โดยจีวันแบนด์ และศิลปินรับเชิญพิเศษ เกิดขึ้นเพื่อสนองเจตนารมย์ของท่านพุทธทาสภิกขุ ที่อยากจะทำเพลงศาสนาสำหรับการเผยแผ่พุทธธรรมและให้ผู้คนได้รับฟังเพื่อความรื่นรมย์ทางสติปัญญา (Spiritual Entertainment) การจัดทำดนตรีเพลงธรรมะในครั้งนี้จึงมีรูปแบบที่เป็นร่วมสมัยมากขึ้น

“Spiritual Entertainment” คือคำที่ท่านพุทธทาสภิกขุ เน้นย้ำหนักแน่นถึงความจำเป็นของผู้คนที่มีชีวิตอยู่ว่า ยังต้องการสิ่งที่เป็นความรื่นเริง สนุกสนานแต่ก็จะต้องเป็นไปในทางสติปัญญา ด้วยรสแห่งธรรมะ เป็นปัจจัยที่ห้า เพิ่มให้ปัจจัยที่สี่ (อันเป็นปัจจัยฝ่ายร่างกาย) จึงจะสมบูรณ์ - ดี -งาม จึงช่วยกันจัดทำขึ้นไว้สำหรับใช้สอยเพื่อเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาจิต
ขอขอบพระคุณที่กรุณาเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์

สื่อมวลชนสนใจข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
คุณวิรวัฒน์ จันทร์เจ้าฉาย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด สำนักพิมพ์ดี เอ็ม จี 02-685-2254-5 / 081-929-2439
กลุ่มศิลปะเปิดจิต โทร.087-591-6995


วิธีชนะความตาย: มิติทางสังคมปัจจุบัน

สัมมนาวิชาการ
เรื่อง วิธีชนะความตาย: มิติทางสังคมปัจจุบัน
สาขาวิชาชีวิตและความตาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ณ หอประชุมวัดศรีสุดาราม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑
---------------
เวลา ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน/รับเอกสาร
เวลา ๐๙.๐๐-๐๙.๑๐ น. พระธรรมโกศาจารย์ ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง-
กรณราชวิทยาลัย ประธานในพิธี จุดเทียนธูป และนำบูชาพระรัตนตรัย
เวลา๐๙.๐๐-๐๙.๑๐น. พระมหาขวัญชัย กิตฺติปาโล คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ กล่าวถวายรายงาน
เวลา ๐๙.๑๐-๑๐.๓๐ น. พระธรรมโกศาจารย์ ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง-
กรณราชวิทยาลัย เปิดงาน และปาฐกถานำเรื่อง“การชนะความตาย”
เวลา ๑๐.๓๐-๑๒.๓๐ น. สัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “วิธีชนะความตาย: มิติทางสังคมปัจจุบัน”
ผู้ร่วมอภิปราย ๑) พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ รศ.ดร.
๒) พระอาจารย์ดุษฎี เมธงฺกโร
๓) รศ.ดร.ทิพาวดี เอมะวรรธนะ
๔) คุณหมอเขียว (อาจารย์ใจเพชร มีทรัพย์)
ดำเนินการอภิปรายโดย ผศ.ดร.ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์
เวลา ๑๒.๓๐-๑๓.๐๐ น. พักรับประทานกลางวัน
เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. บรรยาย/กิจกรรมพิเศษ จัดเป็นกลุ่มย่อย ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ เรื่อง “แด่เธอผู้รู้สึกตัวกับโยคะวิถีและเกมส์แห่งสติ” (คุณธนวัชร์ เกตน์วิมุต)
กลุ่มที่ ๒ เรื่อง “การให้คำปรึกษาทางสุขภาพตามแนวธรรมชาติบำบัด” (คุณเพียงพร ลาภคล้อยมา)
กลุ่มที่ ๓ เรื่อง “จิตวิวัฒน์” (สมาชิกกลุ่มจิตวิวัฒน์)
กลุ่มที่ ๔ เรื่อง “ประสบการณ์ชนะความตาย” (คณะเครือข่ายพุทธิกา)
กลุ่มที่ ๕ เรื่อง “ชีวิต-สังคมกับทางเลือกใหม่” (มูลนิธิพุทธฉือจี้ )
กลุ่มที่ ๖ เรื่อง “ถอดรหัสวิถีสุขภาพองค์รวมเพื่อชนะความตาย” (หมอเขียว ใจเพชร)
กลุ่มที่ ๗ เรื่อง “ช่วยคนเจ็บ เก็บคนตาย” (มูลนิธิปอเต็กตึ้ง)
เวลา ๑๖.๓๐ น. พระศรีสิทธิมุนี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สรุปและกล่าวปิดงาน

Email: LifeandDeath.MCU@gmail.com
แฟกซ์: ๐๒-๒๘๘ ๑๐๗๘