ความจริงพูดได้ (คดีสุภิญญา)
The Truth Be Told: The Cases Against Supinya Klangnarong
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องยาว ปี 2550, 105 นาที
"ความจริงพูดได้" สารคดีชีวิต สุภิญญา กลางณรงค์ ฉายแล้ว 29 พ.ค.
และจะฉายต่อเนื่องไปทุกวันๆละ 1 รอบ เวลา 19.00 น. (ต่อไปอีก 4 สัปดาห์)
ที่SFX World Cinema ชั้น 7 เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า
และทุกศุกร์/เสาร์ สามารถพบปะ พูดคุยกับพิมพกา โตวิระ ผู้กำกับภาพยนตร์ได้
"ความจริงพูดได้" ผลงานเรื่องใหม่ของผู้กำกับหญิง พิมพกา โตวิระ เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ครั้งแรกในโครงการ Director's World Screen (Director's World Screen Project) ที่จัดทำโดยกลุ่มคนทำหนังอิสระ ร่วมกับ เอสเอฟ ซินีม่า ซิตี้
สารคดีเรื่องนี้ ติดตามชีวิตตลอด 3 ปีของสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ในช่วงที่ถูกบริษัทชินคอร์เปอเรชั่น ของเครือญาติอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องเป็นจำเลยที่หนึ่งร่วมกับหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ในข้อหาหมิ่นประมาทจากการตีพิมพ์บทความของเธอที่ชื่อว่า
"เอ็นจีโอประจาน 5 ปีรัฐบาลไทย ชินคอร์ปรวย" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ โดยถูกเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 400 ล้านบาทในคดีแพ่ง และติดคุกสำหรับคดีอาญา แต่เธอและไทยโพสต์ชนะคดีในเวลาต่อมา
แม้นศาลจะพิพากษาให้ยกฟ้องเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2549 แต่ตลอดสามปีที่สุภิญญาต้องมีชีวิตอยู่กับคดีใหญ่คับฟ้าที่คนตัวเล็กๆ มิอาจเผลอได้ว่าจะมีโอกาสหลุดรอด และคดีนี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งและรับใช้เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงสามปีที่ผ่านมา ชัยชนะของเธอในครั้งนี้ สร้างความหวังให้เราหรือว่าอิสระในการพูดช่วยทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงได้
หรือเราเพียงคิดไปเองว่ามันเปลี่ยนแปลงได้?
“ความจริงพูดได้” ได้รับเกียรติให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศมาแล้วมากมาย อาทิ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติจาการ์ต้าครั้งที่ 9 ประเทศอินโดนีเซีย เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติครั้งที่ 37 ที่กรุงร็อตเตอดัม เนเธอร์แลนด์ เทศกาลสารคดีที่ประเทศกรีซ เทศกาลภายนตร์นานาชาติที่สิงคโปร์ และล่าสุดคือเทศกาลภาพยนตร์สารคดีนานาชาติ (Hot Docs) ประเทศแคนาดา เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา
เกี่ยวกับผู้กำกับ
พิมพกา โตวิระ สำเร็จการศึกษาด้านภาพยนตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผลงานหลากหลายทั้งด้านการละคร และภาพยนตร์สั้นเชิงทดลอง รวมถึงเป็นเจ้าของผลงานภาพยนตร์สั้นเรื่อง แม่นาค ซึ่งได้รับรางวัล Special Jury Prize ที่เทศกาลอิมเมจฟอรั่ม ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2541 และภาพยนตร์เรื่องยาว คืนไร้เงา นำแสดงโดย นิโคล เทริโอ และสิริยากร พุกกะเวส ซึ่งได้รับการฉายเปิดตัวในสาย International Forum of New Cinema ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในปี 2546 รวมถึงยังได้เดินสายไปฉายในอีกหลากหลายเทศกาลทั่วโลก
ผลงานในด้านอื่นๆ ยังประกอบด้วยงานเขียน งานรณรงค์ด้านภาพยนตร์ และการสอนในสถาบันศึกษาต่างๆ รวมถึงดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคัดเลือกภาพยนตร์งาน Bangkok Film Festival ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ The Nation เมื่อปี 2544 และยังเคยได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินภาพยนตร์ในอีกหลายเทศกาลนานาชาติ เช่น เทศกาลภาพยนตร์สั้นโอเบอร์เฮาเซ่น ประเทศเยอรมัน และเทศกาลภาพยนตร์สารคดียามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น และตลอดจนยังเป็นผู้ร่วมงานในอีกหลากหลายโครงการกับมูลนิธิหนังไทย โดยโครงการล่าสุดคือการจัดตั้งเครือข่ายรณรงค์เพื่อเสรีภาพของภาพยนตร์ (Free Thai Cinema Movement) ร่วมกับอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย,มูลนิธิหนังไทย, และกลุ่มองค์กรภาพยนตร์อิสระ
เทศกาลหลักที่เข้าร่วม
9th
37th International Film Festival
10th
21st
12th Hot Docs Canadian International Documentary Festival
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น