วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 29, 2549

How To สุดเก๋จากสุนทรียสนทนา



โอ้ว~ ท่านเคยประสบปัญหาเช่นนี้เหมือนกันใช่หรือไม่?!!


เหนื่อย หงุดหงิด ธุระปะปัง ไม่สุด ไม่เสร็จ ไม่สิ้น เสียที ยิ่งทำ ยิ่งยุ่ง ยิ่งยุ่ง ยิ่งเครียด ยิ่งไฟลนก้น งานยิ่งไม่เสร็จไปกันใหญ่ ฮู้ว!!!!!!!!! แล้วจะทำอย่างไรดีละหนอ??


หากท่านประสบปัญหาเหล่านี้ อย่าได้เป็นห่วง วันนี้เรามี How To สุดเก๋จากสุนทรียสนทนา (?) ครั้งกระนู้นมา remind ท่านอีกครา


สิ่งนี้เรียกว่า "การบริหารแบบโควี่" คือ วิธีการจัดเวลาในชีวิตในสมดุลย์และเหมาะสม ไม่หลงลืมสิ่งสำคัญในชีวิตนั้นเอง ก่อนอื่นต้องกลับมาดูการใช้เวลาของท่าน ว่าเป็นเช่นไร ระหว่าง



แบบที่ 1 เหงื่อตกแหมะๆ มีแต่งานเร่งด่วน

และนี้คือวิธีใช้เวลาในชีวิตของท่าน

แบบที่ 2 ไม่เร่งด่วน รักษาดุลยภาพ ทำงานอย่างเบิกบานใจ


นี้คือการบริหารเวลาแบบที่โควี่แนะนำ

หากเราเป็นแบบที่หนึ่งแล้วไซร้ เราคงโหดเหี่ยว ไร้ชีวิตชีวา วิ่งวุ่น เหนื่อยหอบ และหลงลืมสิ่งที่สำคัญกับชีวิตไปจริงๆ เนื่องจากเราให้ความสำคัญกับความเร่งด่วนถึงร้อยละ 60 – 80 แต่ลืมสิ่งที่มีความสำคัญจริงๆไป

หากถามว่า "สิ่งสำคัญ" มีอะไรบ้าง แน่นอน สิ่งสำคัญของเราคงไม่ใช่ "งาน" เสียทั้งหมด การรักษามิตรภาพ การดูแลบ้าน ดูแลครอบครัว การดูแลสุขภาพ การศึกษาหาความรู้ ฯลฯ ล้วนมีความสำคัญต่อกายและใจของเราทั้งสิ้น

โควี่กล่าวว่าชีวิตของมนุษย์ควรจะอยู่กับการ "เตรียมการ" แต่คนส่วนใหญ่ไม่ทำงานโดยเตรียมการ ทำให้ไฟลนก้น และเรามักจะบอกว่าไม่มีเวลาอยู่เสมอเพราะว่าเราอยู่กับความเร่งด่วนตลอดเวลา จนกระทั่งไม่มีเวลาให้กับเรื่องสำคัญจริงๆ ของเราเลย

เมื่อได้อ่านตารางโควี่ เราลองมาร่างตารางเล็กๆ ในสมุดดูว่าเราให้ความสำคัญกับอะไรบ้าง เพื่อเราจะไม่หลงลืมสิ่งที่สำคัญจริงๆ ไป ^_^

วันจันทร์, มิถุนายน 26, 2549

คุยให้สุข เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง ภาคจบ

.
.
สุนทรียสนทนา : คุยให้สุข เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง ภาคจบ
ความคิดเชิงบวกและญาณทัศนะ

เช้าวันสุดท้ายของสุนทรียสนทนา เราได้นั่งลอมวงอีกครั้ง พร้อมแลกเปลี่ยนอ.วิศิษฐ์ วังวิญญู

เรื่องหนึ่งที่อ.วิศิษฐ์พูดได้อย่างน่าสนใจและซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันคือคือเรื่อง "ความคิดเชิงบวก" และ "ญาณทัศนะ"

*****************

ความคิดเชิงบวก


ในวงคุย มีคนสงสัยว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการมีความคิดเชิงบวกมาก แต่ไม่สามารถทำได้ซักที ทำไมนะ

อ.วิศิษฐ์บอกว่า ความคิดเชิงบวกเป็นเรื่องที่ดี แต่ทำยาก เพราะมันเกี่บยวเนื่องกับจิตไร้สำนึก แต่สิ่งที่เรารับรู้ทั้งหลาย เช่น เรียนหนังสือหรือทำงานเราถูกฝึกให้อยู่ในเรื่องจิตสำนึกเท่านั้น ในขณะที่จิตไร้สำนักถูกละเลยไป จิตไร้สำนึกอยู่ไหน หากให้เปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ จิตสำนึกเป็นโต๊ะทำงาน ในขณะที่จิตไร้สำนึกคือเครือข่ายที่บรรจุโลกทั้งใบซึ่งอาจหมายรวมถึงจักรวาล จิตไร้สำนึกทำงานมีประสิทธิภาพแม่นยำ เป็นฐานรองรับจิตสำนึกของเรา แต่ในชีวิตประจำวันของเรา เรามักไม่เคยมีโอกาสเข้าไปเรียนรู้ , รู้จัก , คุ้นเคย ที่จะได้ทำงานกับจิตไร้สำนึกของเราเลย

ในเรื่องคลื่นสมองซึ่งมีอยู่ 4 คลื่น ได้แก่ ALFA, TETA, DELTA, TETA และ DELTA หากเราฝึกโยคะมีสมาธินิ่งพอ จะเข้าไปเริ่มสัมผัสที่ BETA และ DELFA

BETA บุคลิกหน้าตาของ BETA คือถ้าเป็นหน้าคนคิ้วขมวด มี KEYWORDS 2 คำ คือ เร่งรีบและบีบคั้น หากรู้สึกว่าขณะนี้ตัวเองเร่งรีบและรู้สึกถูกบีบคั้น คลื่นสมองของเราจะมีความเร็ว 14 – 21 รอบต่อวินาที

ส่วน ALFA คลื่น ALFA มีKEYWORDS 2 คำ คือ ผ่อนคลายอย่างตื่นรู้ เวลาที่เราผ่อนคลายเราจะตื่นรู้ ข้างในเราจะตื่นมากกว่าเดิม ALFA เป็นภาวะที่เราเคลื่อนจากจิตสำนึกเข้มๆ ไปสู่ประตูรอยต่อระหว่างจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก ทำให้จิตสำนึกได้เรียนรู้จากจิตไร้สำนึก

ขณะที่เราพยายามคิดแบบ POSSITIVE THINKING แต่คิดอยู่แค่ระดับจิตสำนึก แต่ลึกลงไป เราไม่ได้คิด POSSITIVE จิตไร้สำนึกของเรานั้นลบตลอดเวลา เราไม่รู้เท่าทันจิตไร้สำนึกของตัวเอง เนื่องจากจิตไร้สำนึกนั้นอนันตกาลใหญ่โตมโหฬารมาก จิตนั้นมีเมล็ดพันธุ์มากมายไปหมด

หากอธิบายแบบ “ติช นัท ฮันท์“ จะบอกว่า เรามีเมล็ดพันธุ์ต่างๆ มากมายเหมือนกันทั้งหมด แต่ปลูกไม่เหมือนกัน เรารดน้ำพรวนดินคนละต้น บางคนชอบรดน้ำพรวนดินต้นโกรธ ต้นหงุดหงิด ต้นรีบเร่ง ต้นควบคุม เพราะเราไม่มั่นใจ ไม่ไว้ใจผู้อื่น แต่ยิ่งคุมยิ่งหลุดออกจากมือ แล้วเราไม่ค่อยปลูกต้น POSITIVE เราไม่ค่อยรดน้ำพรวนดินต้นคิดด้านบวก ฉะนั้นความคิดเราจึงเป็นคิดแค่จิตสำนึก ยังลงไปไม่ถึงจิตไร้สำนึก

บางคนสงสัยคิดบวกแล้วทำไมไม่ได้ผล เพราะคิดบวกแต่อารมณ์ลบ ลึก ๆ คิดสาปแช่งตัวเองอยู่เรื่อย ๆ เชื่อว่าซวยแน่ ๆ ชีวิตเราแย่แน่ๆ และคนคิดแบบนี้จะเจอทุกที บางคนคิดว่าเราจะต้องถูกกลั่นแกล้ง ชีวิตนี้เกิดมาโดนแกล้งตลอดเวลา เพราะฉะนั้นคน ๆ นั้นก็จะถูกแกล้งตลอดชีวิต เพราะจิตไร้สำนึกไปเชื้อเชิญ ฉะนั้นสิ่งที่ทำได้คือต้องหัดรดน้ำพรวนดินให้ต้นบวกที่เราอยากส่งเสริม

*****************

ญาณทัศนะ : ปิ๊งแว้บ มาเอง ไม่ต้องสั่ง

อาการปิ๊งแว้บของอ.วิศิษฐ์ คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องสั่ง โดยมักผ่านภาวะดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การทำงานด้วยจิตสำนึก ด้วยเหตุผล การหาข้อมูลเท่าที่มีที่หาได้รวบรวม ประมวล วิเคราะห์

ขั้นตอนที่ 2 หาคำตอบไม่ได้ กดดัน ตัน ส่งผลให้หงุดหงิด คับข้องใจ

ขั้นตอนที่ 3 การที่เข้าไปในจิตไร้สำนึกโดยเราไม่รู้ตัว ที่เรียกว่าการบ่มเพาะคล้ายกับไก่ฟักไข่ หรือเมล็ดพันธุ์ที่ถูกฝังไว้ในดิน รอคอยเวลา ให้จิตไร้สำนึกภายใต้ข้อมูลต่าง ๆ

ขั้นตอนที่ 4 เกิดญาณทัศนะ หรือปิ้งแว้บ

ขั้นตอนที่ 5 การแปลญาณทัศนะออกมาเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์

ขณะที่เกิดญาณทัศนะ เราจะไม่ได้เข้าใจเป็นคำพูดหรือภาษาที่ใช้สื่อสารกัน แต่มั่นใจเต็มร้อยว่า “นี่แหละใช่แล้ว“ ยกตัวอย่างเช่น สถาปนิกแปลแบบออกมาเป็นเส้นสาย นักดนตรีก็จะแปลออกมาเป็นตัวโน๊ต นักเขียนหรือนักข่าวก็จะแปลออกมาเป็นคำพูด เป็นข้อความ เพื่อใช้ในการเขียน

คนทำข่าวส่วนใหญ่มักจะพยายามไปคิดเค้นและก็ล้มเหลวเพราะไม่เข้าใจในกระบวนการของจิตไร้สำนึก หากมีความเข้าใจก็จะไม่ไปคิดเค้น แต่จะบ่มเพาะและเตรียมการในประเด็นต่างๆ ตลอดเวลาแต่เนิ่นๆ ล่วงหน้า รวมทั้งหมั่นฝึกและวางใจในตัวเอง เมื่อฐานการเตรียมการมีความพร้อมบนความมั่นใจ ในขณะที่ญาณทัศนะโผล่ปรากฏจะเป็นความลงตัวในห้วงเวลาที่เหมาะสมและดีที่สุด ญาณทัศนะจะนำไปสู่คำตอบที่ใหญ่โตกว่าที่คิด

แม้ว่าชีวิตของคนทำข่าวจะอยู่ ภายใต้เงื่อนไขของ Deadline ก็ตาม หากเราวางใจตัวเองมากพอ และดำรงอยู่ใน ALFA จะเป็นเรื่องมหัศจรรย์ มันจะมีความลงตัวที่พอดีเกิดขึ้น เหมือนคำกวีที่ว่า “เมื่อ DEADLINE กลายเป็นความรื่นรมย์“ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเชื่อตัวเองหรือไม่

และทุกคนมีความสามารถเข้าสู่ญาณทัศนะได้เท่ากัน แต่ญาณทัศนะอยู่ในจิตไร้สำนึก จิตไร้สำนึกเป็นเมล็ดพันธุ์ ถ้าเราไปปลูกรดน้ำต้นเมล็ดพันธุ์ของ BETA คือ ผ่อนคลายและตื่นรู้มากๆ เราจะได้ยินเสียงของญาณทัศนะ เปรียบเสมือนเราอยู่ในห้องที่มีเสียงอึกทึกครึกโครม ยืนอยู่บนถนนที่รถวิ่งอยู่ตลอดเวลา เราจะไม่มีทางได้ยินเสียงจิ้งหรีดร้องเบาๆ ญาณทัศนะคือเสียงของจิ้งหรีด

*************************

จบการแลกเปลี่ยน ตกบ่ายเราหลายคนร่ำลา ขอบคุณและกลับบ้าน รอยยิ้มของหลายคนอิ่มเอม เปี่ยมสุข และมีพลัง

May the force be with you . . .

วันจันทร์, มิถุนายน 12, 2549

คุยให้สุข เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง ๓

.
สุนทรียสนทนา : คุยให้สุข เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง ภาค 3
ตอน เอ๋? เป็นตัวอะไรดีหนอ?
.
ตื่นเช้า ผ่องใส เราก็มานั่งล้อมวงสุนทรียสนทนากันอีกครั้ง เนื้อหาวันนี้ว่าด้วยเรื่อง "ผู้นำ 4 ทิศ" ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้เราได้ลองสังเกตตัวเองว่ามีพฤติกรรม ความคิดว่าสอดคล้องกับสัตว์ตัวใด -กระทิง หนู อินทรี หมี- ตัวไหนหนอที่เป็นเรา ลองอ่านดูแล้วจะคลิ๊กค่ะ
กระทิง ทิศเหนือ หรือ ธาตุไฟ เป็นทิศของพลังชีวิต มีคุณลักษณะของความมุ่งมั่น (Will Power) เป็นทิศแห่งความมุ่งมั่น เมื่อต้องทำสิ่งใดแล้วทำให้ถึงที่สุด เคลื่อนไหวรวดเร็ว ถ้าใครพยายามจะไปหยุดกระทิงจะทำให้เขาอึดอัด เป็นทิศที่มุ่งมั่นมีเป้า และวิ่งชน ต้องการบรรลุความสำเร็จ ถ้าใครมีความเป็นกระทิงอยู่มากก็จะมีบุคลิกที่เป็นคนเก่ง กล้าแสดงออกไม่กลัว เป็นทิศของนักรบ ทิศของผู้ที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงความท้าทาย ชอบอยู่แนวหน้า ชอบจัดการคลี่คลายกล้าวิ่งชนกับปัญหา ชอบคำชม ต้องการผลงาน ภาพภายนอกของกระทิงเนื่องจากมีความมุ่งมั่นสูง ทำอะไรต้องให้สำเร็จ ฉะนั้นหากใครไปขวางเข้า ก็อาจจะโดนชนโดยกระทิงไม่ได้ตั้งใจได้ ภาพภายนอกอาจจะดูมุทะลุดุดันก้าวร้าว แต่จริงๆ ภายในจิตใจอ่อนโยน และพร้อมจะปกป้องลูกน้อง พรรคพวก และคนที่รัก กระทิงจะอยู่กันเป็นกลุ่มก็ต่อเมื่อเป็นกลุ่มของการปฏิบัติ กระทิงอาจจะรู้สึกหงุดหงิดกับคนที่ช้า ไม่ทันใจ

ถ้าใครเป็นแม่ที่มีความเป็นกระทิงอยู่มาก อยู่บ้านจะทำงานทั้งหมดเองหมดทุกอย่าง ทำให้ลูกทำอะไรไม่ค่อยเป็น แต่ถ้าได้ฝึกปล่อยวางได้ให้ลูกทำความผิดพลาด ก็ช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ แต่กระทิงก็มีหลายแบบได้แก่ กระทิงที่หวังความบริบูรณ์, กระทิงที่บุกตะลุย ชัดเจน คำไหนคำนั้น เปิดเผยไม่ชอบเก็บ ปากกับใจตรงกัน และกระทิงแบบที่เงียบ ไม่ค่อยพูด แต่ทำเน้นการปฏิบัติ ความรู้มาจากประสบการณ์ตรง ไม่ใช่ทฤษฎี

กระทิงจะไม่ชอบคนที่มัวแต่คิดมาก ใคร่ครวญ คาดคะเนแต่ไม่ทำอะไรเลย หากมองทางเต๋ากระทิงถือเป็นหยาง เป็นทิศแห่งการยืนหยัดเมื่อมีปัญหาก็พร้อมจะเผชิญ หากมีอำนาจมากดดันก็พร้อมจะท้าทายอำนาจนั้นโดยเปิดเผย แต่ในขณะเดียวกันตัวเองก็ชอบใช้อำนาจเช่นกัน กินพื้นที่โดยไม่รู้ตัว



หนู ทิศใต้ หรือ ธาตุน้ำ เป็นทิศของหัวใจถืออารมณ์ความรู้สึกเป็นหลัก หนูมีบุคลิกที่ปราดเปรียว ขี้เล่น อยู่เป็นกลุ่ม และเป็นผู้หล่อเลี้ยงอารมณ์ความรู้สึกของหมู่คณะ เฝ้าสังเกตความรู้สึกของพรรคพวก หนูจะมีความรู้สึกเอาใจใส่อย่างมาก มีนิสัยชอบให้ความช่วยเหลือเยียวยา หนูเป็นพวกที่พยายามดึงผู้คนมารวมกัน อยู่กับผู้คนได้มากมาย เพราะความเป็นชุมชนและสัมพันธภาพนั้นหล่อเลี้ยงชีวิตเขา จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้คนที่อยู่รอบ ๆ เขารู้สึกดีมีความสุข ถ้าหนูกับกระทิงเป็นเพื่อนกัน จะพบว่าหนูเป็นคนช่วยทำให้กระทิงรู้สึกว่ากระทิงเป็นคนเก่ง เข้มแข็ง สง่างาม และหนูรู้สึกดีว่าตนเองเป็นผู้ให้ ในขณะที่ทิศเหนือเป็นหยาง ทิศใต้ก็เป็นหยิน คือเป็นฝ่ายตั้งรับ บางทีหนูก็จะไม่บอกไม่เปิดเผย หนูจะเก็บให้อีกฝ่ายเดา หนูมีแบบแผนเพื่อตอบสนองความต้องการของคนอื่น ทำให้บางครั้งไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร เป็นพวกประนีประนอม ไม่ชอบเผชิญหน้ากับความขัดแย้งตรงๆ ใช้วิธีอ่อนโยนหรือหลบไม่เผชิญหน้า หนูหลายๆ ตัวในหลายองค์กรรู้สึกน้อยใจ เพราะว่ามักถูกมองข้าม Performanceไม่เด่นเท่ากระทิง กระทิงจะสำเร็จตลอดแต่ชนกับผู้อื่นไปทั่ว ส่วนหนูพยายามเป็นผู้ประสาน แต่ผลสำเร็จของเขาอาจจะไม่เด่นชัดออกมา ดังนั้นอาจจะถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังความสำเร็จ มักเป็นผู้ที่ได้กลิ่นความขัดแย้งหรือความไม่ลงตัวก่อนผู้อื่น เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดผู้คนทางความรู้สึกมาก



(แบร่ๆ เหมือนพี่จ๋าไหม? เหมือนเน๊อะ ^^)
หมี ทิศตะวันตก หรือ ธาตุดิน เป็นทิศของเสถียรภาพ ความมั่นคง ช้า หนักแน่น ตัดสินใจช้า ชอบการชั่งตวง หมีเป็นทิศของระเบียบวินัยแบบแผนที่ลงตัว เป็นนักวางระบบคิดเรื่องเสถียรภาพความมั่นคง ชอบวางแผนทำอะไรต้องมีขั้นตอน เชื่อว่าการทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จะเกิดความสำเร็จมีประสิทธิภาพ หมีจะเป็นคนที่รักษาต้นทุนให้ต่ำที่สุด วิเคราะห์การเงิน ในขณะที่กระทิงเป็นผู้ที่สำเร็จโดยไว้กระบวนท่า หมีจะใจเย็นค้นหาหนทางที่มีเสถียรภาพมากที่สุด เป็นเจ้าหลักการ มีกรอบ ทำให้อาจจะเข้าไม่ถึง หรือสื่อสารกับหมีลำบาก หมีจะมีความรู้สึกมั่นคงเมื่อได้ทำแบบแผนบางอย่างในชีวิต เน้นความปลอดภัยไม่ชอบเปลี่ยนเส้นทาง หมีเป็นนักเฝ้าสังเกตไม่ชอบเข้าไปเกาะติดนัวเนีย จะมีระยะห่างจากสิ่งที่เข้าไปศึกษาพอสมควร ไม่คลุกคลี มีพื้นที่ของตัวเองชัดเจน มีความสันโดษ ไม่ชอบสังคมวุ่นวาย มีเพื่อนไม่กี่คน การที่หมีมีพื้นที่ของตัวเองทำให้มีพลัง



อินทรี (เหยี่ยว) ทิศตะวันออก คือธาตุลม เป็นพวกที่อยู่สูง ดังนั้นเขาจะชอบคิดเป็นภาพรวมเชื่อมโยงแต่ไม่ลงรายละเอียด เป็นทิศของความคิดสร้างสรรค์ ชอบเรียนรู้ ชอบเรื่องใหม่ ๆ การมีชีวิตอยู่คือการคิดอะไรใหม่ๆ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การกระทำไม่สำเร็จ แต่อยู่ที่การได้คิดถือว่ามีคุณค่าแล้ว ส่วนกระทิงและหมีนั้นต้องทำให้สำเร็จจึงจะถือว่ามีคุณค่า ความคิดของอินทรีเป็นความคิดแบบนอกกรอบ ไปใน ๆ ไม่เคยไปเป็นพวกเจ้า PROJECT ฝันทั้งวัน บางทีอาจฟุ้งซ่านชอบขายฝันแต่ไม่ลงมือทำ แต่หากมีความเป็นอินทรีผสมกับกระทิง มันก็จะเกิดการผลักดันไปสู่การกระทำ

อินทรีเป็นพวกที่ใครจะทำอะไรก็ทำด้วยหมด ชอบทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ขี้เบื่อ บางครั้งถึงขนาดจับจด สิ่งที่ท้าทายของคนที่มีอินทรีในตัว คือ FOCUS ถ้าอินทรีสามารถเรียนรู้จากกระทิงและหมีได้ในเรื่อง FOCUS เช่นการจัดลำดับความสำคัญอะไรต้องทำก่อนหลังแบบหมี และมุบากบั่นทำให้สำเร็จอย่างกระทิงจะมีความสมบูรณ์มาก เป็นทิศของญาณทัศนะ แต่อินทรีหลีกเลี่ยงและหงุดหงิดมาก ถ้าต้องรับผิดชอบงานที่มีระบบระเบียบ เช่น บัญชี และการเงิน

*********************************

เมื่อสังเกตว่าเราป็นตัวไหนแล้ว ก็ไปรวมกลุ่มเพื่อนที่คิดว่าเป็นพันธุ์เดียวกัน เพื่อเช็คว่าเราเป็นมีหางเหมือนกันไหม (ดมฟุดฟิดๆ) พร้อมแลกเปลี่ยน ข้อดี ข้อด้อยของลักษณะของเรา เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตและการทำงาน


อันนี้กลุ่มกระทิง แต่มีพี่จ๋าที่เหมือนหมี (โดยเฉพาะตัวข้างบน) แจมด้วย


กลุ่มอินทรี+หนู
จำได้ พี่โก๋หลงมาอยู่ผิดกลุ่ม เหอๆ



กลุ่มหนู : กลุ่มนี้พูดน้อยหน่อย เพราะพอมาอยู่ด้วยกันแล้วมันเขิน ^///^


จากการนั่งแลกเปลี่ยนในวง ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของตัวเราเองและคนอื่นที่ต่างจากเรามากขึ้น และพบว่าจริงๆ แล้วเราต่างมีคุณลักษณะของทุกทิศในตัวเรา บางวันเราก็ต้องมีคุณลักษณะของแต่ละทิศเพื่อทำงานให้สำเร็จ แต่โดยปกติเราลักษณะเด่นอะไร เรารู้ดีแก่ใจ

พี่ณัฐกระบวนกรของเราเพิ่มเติมว่า บางครั้งบางสถานการณ์ที่เราอาจแปรคุณลักษณะไปเป็นสัตว์แบบอื่น หรือ หากอยู่ในวัยที่เปลี่ยนแปลง ช่วงเรียนรู้ ก็อาจจะทำให้เราเปลี่ยนแปลงไปได้

*********************

พอตกบ่าย เราก็เริ่มออกเที่ยวกันขึ้นรถไป กินเค้กและกาแฟที่อร่อยมากๆ ><, แช่น้ำร้อน (ในห้องน้ำนะ) และช๊อปปิ๊ง

ตกดึก เราก็ร้องเพลงรอบกองไฟ ตะละลาๆ~

อือหือ~ สุนทรีย์จริงค่ะ ทริปนี้

วันศุกร์, มิถุนายน 02, 2549

สุนทรียสนทนา : คุยให้สุข เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง ภาค 2

สุนทรียสนทนา : คุยให้สุข เมื่อเราฟังอย่างลึกซึ้ง
ภาค 2 ลองของ!
(หมายถึง ลองสุนทรียสนทนาจริงๆ ไงค่ะ ^^)

หลังจากกินข้าวจนอิ่มท้อง พุงป่อง แล้วเราก็เริ่มล้อมวงกันอีกรอบ

คราวนี้นำโดยพี่ณัฐและพี่น้อง กระบวนกรที่น่ารักนำการสุนทรียสนทนา

กิจกรรมมีเงื่อนไขง่ายๆ ให้เราจับคู่กันผลัดกันเล่าเรื่องราวในวัยเด็กให้อีกคนฟัง เงื่อนไขคือ เมื่อฝ่ายหนึ่งกำลังเล่า อีกฝ่ายต้องตั้งใจฟัง ไม่แทรกแซง ไม่ท้วงติง เมื่อระฆังส่งสัญญาณให้หยุด ฝ่ายที่ฟังต้องเล่าทวนเรื่องเพื่อน แล้วก็สลับฟังราวของอีกคน เมื่อเล่าจบ ฝ่ายที่ฟังก็ต้องสะท้อนเรื่องราววัยเด็กกลับไป


นั่งคุยกันพับเพียบเรียบร้อยเชียวละ


เมื่อกิจกรรมคู่จบลง พี่น้องก็ให้เราจับกลุ่มเป็น 4 คน แล้วลองสะท้อนว่า กิจกรรมจับคู่ที่ผ่านไปนั้นเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง พบว่าเราได้รู้อะไรมากมายเกี่ยวกับการสื่อสารของเรา

พี่วรรณ สะท้อนว่า สุนทรียสนทนาเป็นวิธีการที่เรียกได้ว่าสวนทางกับการทำงานสื่อเลยทีเดียว เพราะสื่อต้องฟังเพื่อจับประเด็น ฟังเพื่อนคิดตามและตั้งคำถาม แต่กติกาดังกล่าวนั้นกลับกันทำให้อึดอัดใจ แต่ก็ทำให้ได้เรียนรู้การเป็นผู้ฟัง จากการทำงานจัดรายการวิทยุ พบว่าคนในปัจจุบันนี้พอคิดไม่เหมือนกันจะโต้แย้งหรือตั้งคำถามทันที ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่พอเราฟังเพียงอย่างเดียว ฟังอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่มีคำถาม ก็ทำพบวิธีการสื่อสารแบบใหม่

ด้านผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกท่าน ได้สะท้อนจากวงสนทนาว่า จากการคุยสุนทรียสนทนาพบว่าตัวเองมีความกังวลว่าจะเก็บรายละเอียดไม่ได้ กลัวจะถ่ายทอดไม่ได้ จึงจับคำต่อคำ ผลปรากฎว่าในขณะที่คนพูดไปไกลแล้วแต่เรายังช้าอยู่ ขณะเรายึดคำแรกไว้ คนพูดไปถึงคำที่ห้าแล้ว ส่วนอื่นหายหมด จึงหันมาใช้วิธีปล่อยวางลง เป็นภาวะของความเชื่อใจในตัวเองและเชื่อใจผู้อื่นว่าจะยอมรับเรื่องที่จะเล่าให้เขาฟัง ซึ่งครั้งแรกที่เล่ากลับ เรามีความกลัวว่า เขาจะตัดสินเรา แต่พอปล่อยแล้ว มันเป็นความงดงาม เราไว้ใจตัวเอง เราไว้ใจคู่สนทนา เขาเปิดใจและยอมรับเราอย่างที่เราเป็น เวลาที่เราฟังฟังอย่างผ่อนคลาย เราไม่ได้ฟังเป็นเรื่อง แต่ฟังเป็นภาพ ฟังด้วยใจ ทำให้สิ่งที่เขาพูด เรารู้สึกบางอย่างได้อย่างลึกซึ้ง และบางครั้งลงไปลึกมากจนอยากจะร้องให้ และรู้สึกได้ว่าความเศร้าของเขาและของเราไม่ต่างกัน เนื้อหาอาจจะไม่เหมือนกัน แต่เป็นความเศร้าอันเดียวกัน

พี่อ้วน บอกเล่าประสบการณ์การทำข่าวกับการฟังว่า การเป็นนักข่าวทำให้ต้องฟัง และเรื่องที่ทำเป็นเรื่องความขัดแย้ง ฉะนั้นเราต้องฟังด้วยใจ หัวใจที่จะฟังชาวบ้าน แต่ก็มันกลายเป็นว่าเรามีอารมณ์ร่วมมากไป จนบางครั้งเราก็ร้องไปด้วย สัมภาษณ์ไปด้วย พอไปคุยกับฝั่งราชการ เราก็ฟังหน่วยงานเหล่านี้ด้วยความโกรธ ตั้งคำถามรุนแรงด้วยน้ำเสียงขุ่นเคืองและไม่เก็บสีหน้า ทำให้เขาตอบโต้กลับมาแรงเช่นกัน ตอนหลังจึงเริ่มฟังเขามากขึ้น เราทำหน้าที่สื่อเพื่อให้เรื่องมัน balance มากขึ้น


พี่น้ำเย็น เล่าการทำหน้าที่ทั้งผู้ฟังและผู้พูดจากการทำงานมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวว่า สถานะแรกที่ทำคือเป็นผู้ให้คำปรึกษาปัญหาครอบครัว เราต้องถือหูโทรศัพท์เป็นชั่วโมง ไม่ได้ทำอะไรนอกจากฟังๆๆ รู้สึกอึดอัด เมื่อหลุดพ้นจากหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษาก็มาทำหน้าที่เป็นฝ่ายวิจัยซึ่งมีหน้าที่ถามอย่างเดียว รู้สึกอัดอัดอีกเพราะรู้สึกตัวเองถามมากไป แต่เมื่อมีโอกาสได้เข้าร่วม วงสุนทรียสนทนากับกลุ่มจิตวิวัฒน์ รู้สึกมีความสุขมากขึ้น เพราะได้ฝึกการเป็นผู้ฟัง ฝึกในเรื่องของอารมณ์ ฝึกในเรื่องของความอดทน ฝึกเข้าใจธรรมชาติของคน เข้าใจธรรมชาติของตัวเอง ฝึกผ่อนคลายไม่ให้มีอารมณ์ร่วมค้างกับเรื่องราวที่รับฟัง เวลากลับไปบ้านจะไม่รู้สึกว่าเราหอบปัญหาอะไรกลับบ้านไปด้วย


ด้าน พี่มัณ กล่าวว่าพอได้ลองสุนทรียสนทนาดูแล้วทำให้กลับมาทบทวนตัวเองพบว่า ตัวเองมีคำพูดจะบอกเล่ามากเกินไป ประเด็นมีนิดเดียวยังไม่ทันเล่าจบก็หมดเวลาซะแล้ว ทำให้เรารู้ว่าเวลาที่เราคุยกับคนอื่น เราพูดมากไป ต้องปรับปรุงวิธีการพูดนิดหน่อย

พี่โก๋ แลกเปลี่ยนว่า จากการฟังวันนี้ได้ยินสาระและอารมณ์ที่ไม่ได้มาจากคำพูดเป็นคำ ๆ แววตา ความสั่นของเสียง ช่องว่างระหว่างคำพูด ล้วนเป็นข้อมูลที่ได้รับมีความหมายยิ่งขึ้น และการทวนสิ่งต่างๆ ที่เราได้ยินมา ทำให้รู้ว่าอย่าไปประเมินที่คำพูด เพราะสิ่งที่เราได้รับรู้มันมีคุณค่าและมีมิติมากเหลือเกิน จนคำพูดที่เราเล่าอาจไม่สามารถรองรับสิ่งที่เราได้ยินและได้เรียนรู้ได้ เพราะฉะนั้นอย่าชิงตัดสินใจจากคำพูดเพราะบางครั้งคำพูดมีความจำกัด

นอกจากนี้ ยังรู้สึกชอบที่ได้คุยแบบนี้เพราะว่าถูกฝึกมาอีกแบบ เราถูกปลูกฝังความกลัวเรื่องความกลัวเป็นคนโง่ หากไม่จับประเด็นจะดูโง่ พูดไม่มีประเด็น ไม่มีสาระ ไม่ชัดเจน กำกวม ก็เลยพยายามที่จะถอดรหัสในใจว่ากลัวทำไม มีอยู่คำหนึ่งที่คิดถึง คือ ความเป็น “เจ้าตัวเล็ก” ที่ยังอยู่ในตัวเรา “ เจ้าตัวเล็ก” เป็นคุณภาพของจิตใจที่กล้าหาญ กล้าเผชิญ มีความเบิกบาน เมื่อเราได้ฝึกเรื่องการฟัง เราต้องกลับไปดูแล “เจ้าตัวเล็ก” มากขึ้น เพราะ “เจ้าตัวใหญ่“ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผลกำลังกดทับ “เจ้าตัวเล็ก" อยู่ เราอาจไม่สามารถถอดถอนได้ทั้งหมดเพราะเจ้าตัวใหญ่ใช้ประโยชน์ได้ในการทำงาน แต่ก็พยายามมีพื้นที่ให้สำหรับ “เจ้าตัวเล็ก“ ได้มีมุมมองกว้างอย่างสร้างสรรค์

ในตอนท้าย พี่อุ๊ พูดถึงการกลับมาฟังเสียงของตัวเราเองว่า ทุกวันนี้เราฟังตัวเองบ้างหรือไม่? แค่ไหน? จากประสบการณ์การฝึกโยคะทำให้ได้เรียนรู้เรื่องการฟังร่างกายของตัวเอง อวัยวะส่วนไหนกำลังบอกเราว่ากินอันนี้ไม่ดีนะ จากที่ผ่านมาเราไม่ได้ฟังกายเราเลยนั้น ทำให้เกิดการสะสมและกลายเป็นโรคต่างๆ หรือ การฟังความฝันก็เป็นฟังตัวเองเช่นกัน เพราะความฝันเป็นเรื่องของจิตที่ถูกเก็บกดไว้ มันกำลังเรียกร้องให้ฟังฉันหน่อย มีก้อนกรวดอยู่ในสมองในจิตสำนึกของเธอนะ มาดูแลหน่อย

หมดการลองของยกแรก จากสภาพนั่งพับเพียบเรียบร้อย เริ่มกลายเป็นแบบนี้



แผ่หลาสามสลึงกันเป็นแถวเลย

เราจึงกลับไปที่พักกินข้าว อาบน้ำ แล้วตกดึกก็ร้องเพลง ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีสองสาวเท้าไฟได้แก่ พี่อุ๊และพี่มัณ ลุกขึ้นมาเต้นจนสะโพกกระจุย ฟลอร์กระจาย ทำเอากองเชียร์ส่งเสียงกรี๊ดกร๊าดกันอย่างสนุกสนาน

แหม~ แสนเสียดายไม่มีภาพสาวร้อนมาโชว์ให้ใจเต้น

เอารูปอะคูสติกจากพี่ๆ กระบวนกรเสียงหวาน พร้อมกับเสียงกีต้าร์สุดพริ้ว (ฟังแล้วอดเคลิม ใจละลายไม่ได้) ดูให้คิดถึงเล่นก่อนนะคะ


แค่เห็นภาพ ก็อยากฟังเสียงเพลงนี้อีกจังเลยค่ะ ^_^

โอ๊ะ!! เดี๋ยวค่ะ ยังไม่จบ
บ่ายนี้เราได้รูปเด็ดจากสายข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้ผันตัวเป็นปาปารัสซี่เป็นที่เรียบร้อย
ส่งภาพลับสุดยอดมาให้เรา (?)


ผ่างที่ 1 : พี่อุ๊ผ้าพริ้ว ติดชึ่ง ตะลิดติดชึ่ง
(สังเกตพี่น้องแอบทำหน้าตกกะใจอยู่ข้างหลัง)

ผ่างที่ 2 : พี่มัณม้วนตัวท่าราวดอฟ ทำเอา "พี่อุ๊ผ้าพริ้ว"
อึ้งคิดท่าไม่ออกไปเลย อิอิ

จบตอน 2 (?)
จริงๆ นะจะบอกให้