วันอังคาร, สิงหาคม 01, 2549

เผชิญความตายอย่างสงบ ๓

กิจกรรมฝึกทักษะการดูแลและให้สติผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยการแสดงบทบาทสมมติกระบวนการ
๑. วิทยากรแบ่งผู้เข้าร่วมการอบรมออกเป็น ๒ ทีม และในแต่ละทีมให้ผู้เข้าร่วมอ่านบทละครของตน
๒. ให้ผู้เข้าร่วมอบรมจับคู่กับคนที่ไม่ค่อยสนิท และเล่นบทบาทสมมติ
๓. เมื่อการแสดงจบลง วิทยากรสอบถามถึงความรู้สึกของผู้เล่นแต่ละคนว่ารู้สึกอย่างไรบ้างกับบทบาทนั้น ๆ รวมทั้งเหตุผลของการแสดงออกที่เกิดขึ้น
๔. วิทยากรชวนผู้เข้าร่วมอบรมวิพากษ์วิจารณ์และอภิปรายข้อสังเกตต่างๆ


ระยะเวลาที่ใช้ ประมาณ ๑ ชั่วโมง


เนื้อเรื่อง

Case ๑. ผู้ป่วย
คุณเป็นผู้ป่วยมีอาการหนัก คุณรู้ตัวว่าจะอยู่ได้อีกไม่นาน แต่ทำใจได้ลำบาก เพราะในใจยังรู้สึกโกรธ และน้อยใจลูกชาย ลูกชายคนนี้คุณรักมาก แต่หลังจากที่โต้เถียงกับเขาอย่างรุนแรงเกี่ยวกับผู้หญิงที่เขาคบเป็นแฟน ลูกชายจึงหนีจากคุณไปอยู่กับผู้หญิงคนนั้น โดยที่ไม่มาเยี่ยมเธออีกเลย จนกระทั่งคุณล้มป่วย เขาก็ไม่มา ความโกรธ และน้อยใจ จนทำให้คุณมีความหงุดหงิด ก้าวร้าว และทุกข์มาก

Case ๒. เพื่อนผู้ป่วย
เพื่อนของคุณป่วยหนัก อยู่ในระยะสุดท้าย คุณสังเกตว่าเพื่อนของคุณมีความหงุดหงิด ขุ่นเคืองใจ คุณอยากให้เพื่อนของคุณมีจิตใจที่สงบ เพื่อที่จะจากไปอย่างสงบ คุณจะช่วยเหลือเพื่อนของเธอได้อย่างไร
ข้อมูลเพิ่มเติม : เพื่อนของคุณเป็นม่าย ส่วนลูกชายก็แยกไปมีครอบครัวที่ต่างจังหวัด

อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการแสดงบทบาทสมมติ

ตอนเราเป็นผู้ป่วย


๑) ผู้ป่วย รู้สึกอย่างไรกับผู้มาเยี่ยม
o คนมาเยี่ยมอยู่ในกำมือเรา เราจะทำอย่างไรกับคนมาเยี่ยม
o การสัมผัส ได้ความรู้สึกดี
o ทำให้เราคิดว่าเราจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน
o เขาร้องเพลงให้ รู้สึกดี
o เพื่อนมีความพยายามมาก แต่ชักแม่น้ำทั้ง ๕ มาก่อน ก่อนที่จะถามถึงลูก
o ตอนที่เขาเข้ามา ถามคำถามด้วย plain ๆ และคำพูดที่แสดงความรู้สึกเก่า ๆ จากความเป็นเพื่อน ทำให้เขาไม่รู้โดดเดี่ยว
o เพื่อนอดทน ขนาดแสดงว่าหงุดหงิด อย่ามาแตะต้อง เขายังพยายามอีก
o ความเป็นพ่อ โกรธลึก พอให้เล่า มันมากจนไม่รู้จะบอกอะไร เต็มอก เพราะผู้ชายจะรู้สึกเหมือนถูกหมิ่นศักดิ์ศรี
o ความรู้สึกจากที่เขาคุยอย่างเรียบ ๆ เคียง และจะถึงจุดที่ต้องการหรือทุกข์ของเรานั้น เรียบ ๆ เคียง ๆมากไป จนอยากจะให้ถามเสียทีถึงเรื่องที่เราต้องการพูดคือเรื่องลูก
o เขาพยายามจะถาม แต่เขาก็ยังเกรงใจเรา

๒) ท่าทีหรือคำพูดที่บอกให้เรารู้สึกน่าจะดีในเรื่องที่เกี่ยวกับทุกข์ที่เราติด ปลดปล่อย
o คำพูดที่จะให้เราปลดปล่อย ที่เราติด
o จากความพยายามและคำพูดที่เอาใจเรา ยกประสบการณ์ที่เขาก็มี เขาพยายามดีมากจนบางทีทำให้ตนรู้สึกน้อยใจ ขนาดว่าคนอื่นยังดีกว่าลูกตน แต่เขาก็ยังเล่าให้เราเห็นมุมของลูกอีกแง่หนึ่ง ทำให้เราลองคิดตามและเบาคลายลง
o เราอยากท้าทาย หากเขาอดทนอีกนิด เขาก็จะบอก
o จากความตั้งใจดี พยายามมาพูด แต่เราผู้เป็นพ่อ มีความโกรธลึก ก็เลยไม่อยากพูดอะไรเลย น้อยใจและอ่อนแอ หากให้เวลา ไม่อยากฟังมากนัก และก็ไม่อยากพูดถึง
o แต่ถึงโกรธมาก พอเขาพยายามพูด เราก็จะรู้สึกเกรงใจ ก็เลยพูดบ้าง
o บางครั้งการมาเยี่ยม ถ้าเงียบลงบ้าง ผู้ป่วยจะดีขึ้นบ้าง

เพื่อนผู้ป่วย
o บางทีไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร ถ้าเราเริ่มแล้ว เหมือนไม่ตรงใจเขา อะไรที่รู้สึกหนักใจ จะปลดปล่อยปัญหาของเขา
o เอาเข้าจริง ถ้าเขาไม่อยากพูด จะทำอย่างไร ถ้าให้เขาพูด เราจะเป็นผู้ฟัง หากเขาไม่พร้อม
o แต่เราพยายามต่อ โดยเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้ค้นพบ

วิทยากรเสริม
o ในความเป็นจริง ยากกว่านี้ ถ้าเราแสดงความจริงใจ ความรัก คนไข้ต้องการอยู่แล้ว แต่คนไข้อาจจะแสดงอาการแรงออกมา ทำเป็นตรงข้าม และมีอารมณ์แรงมากที่เขามีปม เราอาจจะหาปมไม่เจอ ก็ต้องอดทน ไม่จำเป็นว่าต้องให้เขาพูดกับคนเยี่ยมได้เลย ต้องอดทน ทำไปเรื่อย ๆ
o ต้องให้เวลา โดยสร้างความไว้วางใจจนเขาวางใจแล้วเขาจะพูดให้ฟัง
o ต้องให้คำสัญญา เคารพ เอาใจใส่เขาอย่างจริงจัง เพราะภาวะนั้น เขามักจะเอาแต่ใจตนเอง โกรธ ฉุนเฉียวหรือหงุดหงิดง่าย
o สภาพคนไข้ที่มีปมโกรธ หงุดหงิด มักจะปฏิเสธการมาหามาเยี่ยม เขาจะหันหลังให้ก่อน หรือทำท่าไม่รับฟัง เพราะฉะนั้นวันแรกหรือครั้งแรกเราผู้ไปเยี่ยมก็แค่แสดงความเป็นมิตรเขาหรือแสดงความจริงใจก่อน ไม่สำเร็จวันเดียว
o ต้องอดทนต่อการแสดงออกของเขา
o แสดงคำพูด เช่น เราเป็นเพื่อนกัน เป็นการย้ำเตือน เป็นสะพานเชื่อมให้ถึงเขา เป็นการแสดงหัวอกเดียวกันหรือเห็นใจ เข้าใจเขา เป็นการลดช่องว่างของเขา ซึ่งนอกจากการนิ่ง ๆ อดทน เฉย ๆ เพราะต้องการแสดงความเห็นใจ นี่คือจุดเริ่มต้ยน และต้องใช้เวลา เป็นกรณีที่ไม่ต้องสร้างสัมพันธภาพเพราะเป็นเพื่อนมาก่อน ตรงนี้ก็คือการย้ำสัมพันธภาพ
o ต้องเข้าใจว่า เขาอาจจะถูกสะดุดหรือกระตุก เมื่อเราพูดถึงคำถามที่จะเป็นปมของเขา เพราะเป็นบาดแผล ต้องอย่าเลิก เพียงแต่ต้องหาโอกาสมาอีกที เพราะจะต้องช่วยเขาคลายปมนั้นเพื่อแก้ปัญหาค้างคาของเขา ต้องไม่ใช่ละเลยหรือข้ามไปเลย ทำให้เขาวางใจก่อน แล้วเขาจะเข้าสู่ประเด็น ในที่สุดทำให้ลุกของเขามาเยี่ยมได้ เราอาจจะบอกว่าเราจะพยายามช่วยให้ลูกของเขามาเยี่ยม
o ที่สำคัญเราก็ต้องมีสติ ทำด้วยความอดทน อาจจะถึงขั้นถูกทำร้ายก็ยังได้ รับฟังอย่างลึกซึ้ง




กิจกรรมการเขียนความในใจถึงผู้ล่วงลับ
กระบวนการ
วิทยากรกล่าวนำให้ผ่อนคลายและค่อย ๆ น้องนำสู่ลมหายใจ ด้วยการตามลมหายใจเข้าและออก ให้นึกถึงคนใกล้ชิดที่จากไป ความผูกพันใกล้ชิด ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ทั้งด้านที่ดี และด้านที่เราทำไม่ดี เรารู้สึกนึกคิดอย่างไรในขณะนั้น ตลอดจนความรู้สึกของเราในขณะนี้ (เคาะระฆังตอนเริ่มต้น ๓ ครั้ง เปิดเพลงบรรเลงคลอเบา ๆ และเคาะระฆังเมื่อจบภาวนา ๓ ครั้ง) หลังจากนั้นให้เขียนความในใจที่เห็นภาพเมื่อสักครู่ลงในสมุดบันทึก

ระยะเวลาที่ใช้ ประมาณ ๒๐ นาที


อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์

­ ถึงป้า... รู้สึกกับคำพูดที่ไม่ดี ไปที่ป้า แต่เป็นห่วงการเตรียมการสอน เมื่อย้อนมานึกถึง รู้สึกว่าผิด ที่เห็นแก่ตัว อยากชดเชยที่ผิด ต้องรีบพูดดีทันที แต่ก็ยังรู้สึกไม่เพียงพอ ขณะที่ป้าป่วยและต้องตาย และการที่ปล่อยทิ้งให้ป้าอยู่ที่รพ.หรือให้เจาะคอ ถ้าทำได้...อยากให้ป้าอยู่ที่บ้านรักษา รู้สึกตนเองผิด

­ ถึงพ่อ วันนี้สิ่งใดที่ตนเองทำไม่ดี พ่อกำลังอยู่ที่ รพ. ขอให้อภัย ลูกรักพ่อค่ะ ­ อยากขออโหสิกรรม จากที่ตนเองได้ทำอะไรไป หากทำไม่ดี กำลังเขียนถึงพ่อ แม้แต่กับคนไข้ ขออโหสิกรรมด้วย ย้อนไปตอนเด็กที่พ่อเสียชีวิตไปแล้ว อยากจะเขียนให้พ่อ

­ เขียนถึงพ่อ พ่อยังมีชีวิต พ่ออยู่ไกลกันมาก ผมรู้ว่าพ่อรักผมมาก แต่เป็นบาปของผม ถ้าผมยังไม่ได้ทำให้พ่อ พ่อยังอยู่ที่เตียงมา ๖ ปี

­ ถึงย่า..ย่าเสียไปไม่ค่อยดี ขอให้ย่าไปสู่ภพภูมิที่ดี ขอให้พระสงฆืนำทาง

­ ถึงยาย ขอให้บุญกุศลความดีที่มาจากคุณยาย ให้จิตใจที่ใสของคุณยายดียิ่ง ๆ ขึ้น ขอให้รับรู้จริง

­ ถึงพ่อ จากกันมากว่า ๑๐ ปี ๒๐ กว่าปีก็มีการสื่อสารกันมาตลอดมา เขาบอกเสมอให้เรียนสูง ๆ และทำดี ก็ทำดีต่อไป ตามที่พ่อบอก

­ ถึงน้องสาว อ่านหนังสือธรรม ตนเองจะหาโอกาสอ่านหนังสือธรรม

­ ถึงคุณตา พระคุณ แม้ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ทุกคนร้องไห้ แม่ น้า หนูเรียนรู้มากขึ้น ความตายที่หนูเรียน ทำให้หนูเข้าใจมากขึ้น จากการเข้ามาอบรมทำให้เห็นการตายเป็นทางผ่าน ทำให้การตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ไม่โศกเศร้า หนูเห็นรอยยิ้มของพระคุณ ไม่ใช่ความสูญเสีย เป็นของขวัญ ช่างมีความสุข หนูจะเดินทาง เท่าที่จะทำได้

­ จดหมายถึงป๊า นี่สิบกว่าปีแล้ว ที่เราไม่ได้คุยกันน่ะ เล่าเรื่องคนในบ้านให้ป๊าฟัง ลูกๆของป๊าโตมากขึ้น คิดเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ได้จากการสอนของป๊า ภูมิใจที่เป็นลูกป๊า..คิดถึงป๊า

­ ถึงป้า ป้ามีครอบครัวแล้วหย่า ไม่มีลูก เลี้ยงเหมือนลูก ผมดื้อ หนีไปอยู่หอพัก ตอนหลังเสียชีวิตล้มในห้องน้ำ ตะกายหาโทรศัพท์ จนมีคนมาพบ ตายอย่างว้าเหว่ รู้สึกตนเองผิด ที่อยู่กับแกไม่ได้ เพราะนิสัยขี้โกรธ ถ้าย้อนได้อยากให้แกพบธรรมเพื่อให้ได้ชีวิตที่ดีขึ้น

­ จากความเป็นเพศสมณะ อารมณ์อาลัยอาวรณ์ลดลงไป เดิมมีเพื่อนคนหนึ่งสนิทมากที่ตายเพราะถูกรถชน รู้สึกนึกถึงเขา

สรุป ได้อะไรจากการเขียนความในใจ (ความรู้สึกที่ได้)
o­ ได้ปลดปล่อยความรู้สึก ความทุกข์ มองเห็นภาพสะท้อนของอดีต ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ
o­ พบว่าสาเหตุที่ปิดกั้นอยากทำ แล้วไม่ได้ทำ เพราะ ระยะทางไกล ไม่มีเวลา
­o การมีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิด รู้สึกดี จิตว่าง คิดถึงความดีของผู้ล่วงลับ มองสิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนในชีวิตให้เรียนรู้
­o พบว่าการขอโทษไม่ได้เกิดง่าย เพราะในเวลา สถานการณ์ และความสัมพันธ์ ถ้าใกล้มาก เราจะละเลย แต่พอเขาไป แล้วค่อยมานึกถึง
­o ทำไมการมองมักเป็นด้านลบง่าย เพราะคนเรามักมองคนอย่างตัดสินถูกผิด
­o จากประสบการณ์ที่ได้มีการเขียนความในใจบ่อย ๆ จะช่วยให้คลายความรู้สึกผิดได้ ขอโทษได้
­o จะมีวิธีการอย่างไรในการน้อมใจให้เราหมั่นเขียนความในใจ คลายความผิดหรือยึดติดในใจ
­o จากการบวชเป็นพระ ทำให้เราได้จากการใช้ชีวิตนักบวช มีการศึกษาพระไตรลักษณ์ มีส่วนให้เรามีวินัย เข้าใจในกฏ เริ่มปล่อย โล่งได้

กิจกรรมการเขียนพินัยกรรมชีวิต

กระบวนการ
ให้ผู้เข้าอบรมเขียนพินัยกรรมชีวิตลงในสมุด โดยมีรายละเอียดใน ๗ ประเด็น ดังนี้
๑. เราจะจัดการทรัพย์สิน ข้าวของ เงินทองอย่างไร
๒. เราจะให้จัดการเกี่ยวกับครอบครัว หรือคนที่อยู่ต่อไป อย่างไร
๓. เราจะให้จัดการต่อเรื่องงานอย่างไรต่อไป
๔. การรักษาแบบใดที่เราไม่ต้องการ
๕. เราจะจัดการเกี่ยวกับร่างกาย หรืออวัยวะของเราเมื่อตายไปแล้วอย่างไร
๖. เราอยากให้จัดงานศพของเราอย่างไร
๗. ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น คนที่เราจะให้ตัดสินใจแทนคือใคร

ให้สังเกตความรู้สึก ณ ขณะนั้นว่าข้อไหนที่เรารู้สึกหวั่นไหว หรือเฉย ๆ
ระยะเวลาที่ใช้ ประมาณ ๓๐ นาที

กิจกรรมการภาวนามรณสติ

กระบวนการ
o ให้ผู้เข้าอบรมแต่ละคนหาบริเวณที่สามารถนอนราบได้ ถอดแว่น และให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่ผ่อนคลาย
o น้อมนำสู่ความสงบด้วยการตามลมหายใจเข้าและออก
o อ่านบทภาวนาอย่างช้าๆ เปิดเพลงคลอเบาๆ เคาะระฆังเป็นระยะ
o ให้ผู้เข้าอบรมเฝ้าดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างฟังบทภาวนา
o แลกเปลี่ยนความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้จากการภาวนา

ระยะเวลาที่ใช้ ประมาณ ๔๕ นาที

บทเรียนจากการทำมรณสติ
พิจารณาว่า การตายเกิดขึ้นกับเราแน่นอน แต่ต้องพิจารณาให้ไม่เกิดความประมาทขึ้นมา หรือทำให้เราเตรียมพร้อม ไม่ใช่หดหู่ การพิจารณาเพื่อให้เราลงมือกระทำ ซึ่งมี ๒ อย่าง คือ การทำกิจ เช่น พ่อแม่ป่วย เราจะทำอย่างไรดี เราไม่ผลัดผ่อน (ทำหน้าที่) และ การทำใจ

พิจารณามรณสติ โดยการน้อมเข้ามาใส่ตัวเสมอ เช่น การขึ้นรถ ลงเรือ น่าคิดต่อว่า นี่อาจจะเป็นการเดินทางครี้งสุดท้าย ลองคิดต่อว่า ถ้าเครื่องบินจะตก (ยังมีเวลาบ้าง) หรือรถกำลังจะประสานงา ซึ่งแทบไม่มีเวลา แต่เป็นระดับวินาที หากถึงเวลามาอย่างเร็ว เราจะนึกถึงอะไร เราต้องนึกเลย

ลองพิจารณาอีกแบบหนึ่ง จากข่าวหนังสือพิมพ์ ลองนึกจากภาพตรงที่จะเกิดขึ้น หากเกิดกับเรา เราจะทำอย่างไร หรือรถกำลังท่วมในคูน้ำ น้ำค่อย ๆ เข้ามา เราจะทำอย่างไร ฉะนั้น จะฝึกจิต ฝึกใจอย่างไร การมรณสติจะทำให้เราคุ้นชิน นี้คือการพิจารรานอกเหนือชีวิตประจำวัน แต่พิจารณาแบบหวือหวา
หรือเวลาเราสูญเสียหรือการพลัดพราก งานล้มเหลว เราโดนต่อว่า เราลองคิดว่านี่เป็นแค่ระดับหนึ่ง ถ้าวันหลังมากกว่านี่จะทำอย่างไร นี้คือการซ้อม ว่าแค่นี้เรายังไม่ไหว แล้วเราจะรับมือยฃอย่างไร

การพิจารณามรณสติทำได้บ่อย ไม่ใช่จะก่อนนอน พระพุทธเจ้ายังบอกว่า การตายเกิดขึ้นทุกขณะ จึงควรจะหมั่นพิจารณา

--- จบตอนที่ 3 ---
ติดตามตอนต่อไปค้า

เรียบเรียงโดย พี่อุ๊
โพสต์โดย นิ้ง

ไม่มีความคิดเห็น: