วันเสาร์, กรกฎาคม 29, 2549

เผชิญความตายอย่างสงบ ๒

คำถามจากผู้เข้าร่วม : ให้ผู้เข้าร่วมเสนอคำถามว่าอยากรู้เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับความตาย เขียนมาคนละ ๒ คำถาม

๑) ความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวกับนิมิต

ช่วงก่อนไป คนป่วยมักเห็นภาพต่าง ๆ ดีบ้าง แย่บ้าง นั่นคือนิมิต อย่างแรกคือกรรมนิมิต คือภาพกรรมในอดีตอาจจะดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่ เช่น เขาเคยฆ่าสัตว์ เพราะสภาวะเช่นนั้นคือความทรงจำในอดีตย้อนทวนขึ้นมาใหม่ การย้อนจะเกิดขึ้นเร็วมาก เพราะอะไรที่สะดุดใจก็จะค้างอยู่ตรงนั้น เพราะคนเราที่ทำความไม่ดี ก็จะผุดขึ้นมา

ไม่จำเป็นต้องสะดุดตา จะแสดงอานิสงส์ตอนใกล้ตาย คนที่ sensitive ถ้าไม่มีสติครองใจเลย สัญลักษณ์ภพภูมิ ตามทฤษฏี ทุกคนเกิด แม้ ๑ วินาที ก็กระทบเราได้

๒) ตายแล้วจะไปไหน

ขึ้นอยู่กับกรรมเป็นหลัก กรรมจะเป็นแรงขับไปเกิด กรรมอะไรมาก่อนมาหลัง ตัวที่จะให้ผลทันที คือ อาสัญณกรรมคือ ตาย จวนเจียนตายเป็นความนึกคิด เหมือนกับการเปิดประตู ถ้ามีอะไรที่ติดประตูก็แสดงผลมาก่อน เพราะฉะนั้นคนที่ทำกรรมมาก็วูบขึ้นในวินาทีสุดท้าย ก็จะไปเกิดสุคติ และจะแสวงหาภพ

๓) ถ้าพูดถึงความเชื่อแบบทิเบต หากนำมาประยุกต์ใช้กับเรา เราควรจะให้เวลาแค่ไหนกับคนตาย

ในช่วงสุดท้าย น่าจะปล่อยไว้สัก ๒-๓ ชม. สวดมนต์แผ่เมตตาเหมือนกับยังมีชิวติอยู่ ตายเมื่อไรตอบยาก วิทย์ก็ยังบอกว่ามีชีวิตอยู่ เพร่าร่งกายมีบางส่วนยังทำงานอยู่ เม่าอหมดลม สมองตาย แต่ทางกายยังไม่ตายสนิท เพราะเราก็ยังเผปื่อให้ เพราะพยังม่ตายสนิท โดยน้อมใจพาเขาไป หรือเมื่อตายไปแล้ว เขาก็ยังไม่รู่ว่าเขาตายแล้ว มีคนมานั่งรอบข้าง ร้องไห้ เขาก็จะตกใจ ต่าถ้าเราสงบ เขาก็ไปอย่างสงบ

หรือถ้าแม้เขาจะยังไม่สงบ หากเราน้อมใจ เขาก็จะไปอย่างสงบ แม้ว่าทางการแพทย์ว่าเขาป่วย เราก็ดูแลเขา

๔) ทำอย่างไรกับสิ่งที่ค้างคากับผู้ที่ยังอยู่

เราอาจจะคิดว่า สิ่งที่ค้างคาในผู้ตายนั้นไม่มี(ตายไปแล้ว) จะมีก็แต่ผู้ยังอยู่ จึงใช้พิธีกรรมมาช่วย แต่ก็พบว่ามีบ้าง ตัวอย่างเช่น เขาเคยเป็นเพื่อนรักกัน จนกระทั่งวันหนึ่งเขาโกรธกันมาก ถึงขนาดบอกว่าตายแล้วไม่เผาผี พอตายแล้ว มาเข้าฝันเพื่อน เพื่อนคนนี้ก็ไม่ยอมให้อภัย จนวันหนึ่งพระถามเขาว่ามีใครตามมาไหม เขาจึงกรวดน้ำไปให้ จากนั้นเพื่อนเขาก็เลิกตามมาอีกเลย

เป็นเพราะผู้ตายไปไม่ได้ เพราะยังค้างคา กรณีตัวอย่างไปได้เพราะให้อโหสิแล้วจากคนที่เขาต้องการให้อภัย ดังนั้นคนตายก็ยังต้องการรับการอโหสิ จึงจะไปได้



๕) ส่งใจถึงกันได้หรือไม่


มีตัวอย่างหนึ่ง เพื่อนที่ตายแล้ว มาปรากฏให้เราเห็น เหมือนมีสัญญาณที่ส่งให้ ทั้งที่เราไม่รู้มาก่อน ขณะกำลังบรรยายอยู่ เห็นเพื่อนคนนี้เดิมผ่านมา ตอนนั้นไม่รู้ว่าคนนี้ตายไปแล้ว มารู้ที่หลังว่าคนที่เห็นตายไปแล้ว

๖) การสวดมนต์ ต้องสวดอย่างไร


เอาสิ่งที่ผู้ป่วยคุ้นเคย ส่วนใหญ่เราทำตอนที่เขามีชีวิตอยู่ เอาสิ่งที่ผู้ป่วยเขาผูกพัน เช่น กรณีบางคนไม่เคยเข้าวัด เราไปสวด ก็ไม่มีผล ก็ต้องลองที่เขาชอบ มีตัวอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยต้องการให้สวดบางบทให้ พอได้ยิน เขาก็ไปอย่างสงบ

๗) การตายก่อนตายคืออะไร

ท่านพุทธทาสมักพูดหมายถึง การให้ระลึกการตายก่อนตาย ขณะที่ยังมีชีวิติอยู่ นี้คือความหมายเบื้องต้น ลึกลงไปเป็นความหมายที่ ๒ ให้ตายจากการยึดถือตัวตน เป็นการระลึกว่า เรามีอยู่ที่เรายึดสำคัญมั่นหมาย ฉันเป็นลูปก เป็นแม่ เป็นคนเก่ง นี้คือการเกิดเป็นยึดถือเป็นตัวตน เป็นตัวกู ตัวตน เพราะฉะนั้นลดตัวตน เป็นที่ละเอียด เป็นเรื่องยาก มีแต่ความตาย แต่ไม่มีผู้ตาย เพราะว่าไม่มีตัวตนแล้ว เวลาเกิดโกรธ ให้เรามองความโกรธมี แต่ไม่มีตัวตน เหมือนมีการตาย แต่ไม่มีใครตาย ก็ทำให้ไม่มี ปกติเราไปคิดว่า มีคนตาย ฉันตาย ก็เลยกลัว เพราะฉะนั้นพอมีการตาย ก็ใม่มีใครตาย ก็ไม่ต้องมีอะไร ตอบแบบพุทธ ไม่มีการตาย ไม่มีใครตาย ก็เป็นการเปลี่ยนสภาพเท่านี้ เหมือนดักแด้เป็นผีเสื้อ ก็แค่เปลี่ยนสภาพ หรือเด็กในท้อง คลอดเป็นเด็กออกมา เป็นการเปลี่ยนภพ เป็นการเกิดเท่านั้น จากท้องแม่สู่โลก เปลี่ยนภพ ใช้ศัพท์เป็นการเกิดเท่านั้น เป็นการแปรสภาพจากภพภูมิ เด็กจะไม่ยอมออกมา เพราะมันต้องการขัดขืน เหมือนคนติดคุก ๕๐ ปีอยู่นานมาก สบายแล้ว ก็ไม่อยากออก

พระมักพูดเปลี่ยนจากอกุศลกรรมเป็นกุศลกรรม เป็นสิ่งที่ตามไปคือ บุญ กรรม เว้นแต่ว่า เหนือกรรม ก็ไม่ไปเกิด แต่ถ้ายังมีเรื่องบาป เรายังมีอยู่ ก็ต้องไปเกิดอีก พระพุทธเจ้าถูกถามว่า ตายแล้วไปไหน พระพุทธเจ้าก็ถามกลับมาว่า เทียนดับแล้วไปไหน

) คำพูดของท่านพุทธทาส ตกกระไดพลอยโจน

คำนี้ มีความหมายกับท่าทีต่อการฝึกใจ เราต้องกระโดดลงไปเลย อย่าไปคิดหน้าคิดหลัง ต้องไปข้างหน้าเลย ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ต้องกล้าตัดใจ แต่เรามักตกอยู่ในสภาพที่ทำให้เราไม่ปล่อยวาง ไม่ปล่อยจากตัวตน ฉะนั้นเราต้องตัดสะบั้นเลย ในการเตรียมเพื่อที่จะตาย มีตัวอย่างหนึ่ง พระติสะ อยู่ในสภาพที่มีหนองน้ำเหลือง พระพุทธเจ้ามาพบ ก็เข้ามาดูแล และสวดบังสกุล พระติสะ ได้รับปัญญาขณะเจ็บป่วย ถือว่าบรรลุนิพพาน เพราะเกิดปัญญา การเตียมตัวตายเป็นอุปกรณ์ที่จากการได้ธรรมจากพระพุทธเจ้า
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง พระองค์หนึ่งจะฆ่าตัวตาย เพราะไม่บรรลุธรรม พอสะบัดมีด บรรลุธรรม เพราะรู้ว่า พิจารณาจากความเจ็บป่วย เกิดปัญญา หรือกรณีอีกองค์หนึ่งไฟกำลังคอก พอได้พิจารณา ก็บรรลุเพราะเกิดปัญญา คนที่มีความทุกข์ ณ ขณะนั้นได้พิจารณา โดยใช้ความทุกข์เป็นประโยชน์ตรงนี้ ซึ่งเกิดจากการไตร่ตรอง หรือมีคนชี้แนะ

๙) กรณีคนฆ่าตัวตาย บาปไหม

หากพิจารณาการตายสุดท้ายที่เป็นจิตอกุศล เช่น ความหดหู่ เศร้าหมอง จิตสุดท้ายสำคัญ เป็นปัญญาที่มีพลังมาก ตัวอย่างพระนั้นเป็นเพราะได้รับการฝึกฝน

คนที่ฆ่าตัวตาย มักจะมีติดตัว ที่เขาเรียกว่าบาปคือตรงนี้ คือตายไปแล้วมาเกิดใหม่ก็ยังคิดแต่จะฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเอง ภพแล้วภพเล่า เพราะมีติดตัว หรือที่เรียกว่า บาปติดตัว

ในทางการแพทย์บอกว่าการฆ่าตัวตาย เกิดจากอาการที่มีสารเคมีที่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้า มีสาเหตุเช่นนี้ด้วยหรือไม่ เคยมีงานวิจัยพบว่า ผู้เป็นแม่ที่ถูกกระทำข่มขืน จะส่งผลต่อลูก เพราะแม่ที่ถูกข่มขืน (abuse) มักจะพบอาการอย่างนี้ ซึ่งงานศึกษาทางการแพทย์ก็มี แต่ก็น่าจะแค่สาเหตุเดียว ถ้าจะแก้ไข จะต้องรับฟังเรื่องต่าง ๆ ของคนไข้จริง ๆ

สิ่งสำคัญของคนที่มีอาการซึมเซาคือเขาจะต้องการให้เราฟังเขามากกว่า ซึ่งเรามักลืม มักพบว่า คนไข้รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ฉะนั้นหากฟังเขา ไม่ใช่จู่ ๆไปแนะนำ โดยเราต้องทำตัวเป็นฟองน้ำ

ถามว่า คนหนึ่งที่มีชีวิตปกติอยากตาย กับคนหนึ่งที่มีชีวิตที่มีปัญหาแต่ไม่ทุกข์ ต่างกันอย่างไร
ความทุกข์ไม่ได้อยู่ที่ความรุนแรงของปัญหา หรือมีอะไรมากระทบกับเรา แต่อยู่ที่การมองของเราต่างหาก เช่น บางเป็นคนเป็นมะเร็ง กลับมองชีวิตดีและกลับใม่ทุกข์

คนฆ่าตัวตาย เพราะมีบางอย่าง คือ เห็นคุณค่าของตนน้อยลง เพราะ Self extreme ลดลง และการไม่สามารถคุยกับใคร ทั้งสองประการนี้ เป็นจุดสำคัญของคนที่ฆ่าตัวตาย ฉะนั้น การมีคนฟังจะมีความสำคัญ
จึงขึ้นอยู่กับว่า เรามองอย่างไร เสีย self อย่างไร ตัวอย่าง งานเรื่องเกอิชา สามีของเกอิชาเสีย เจอชีวิตมีปัญหามากมาย บังเอิญวันหนึ่งพบชายชราคนหนึ่ง จึงบอกไปว่าตนอยากจะฆ่าตัวตาย ชายชราบอกว่าก่อนตายขอให้ไปทำความดีก่อน วันละ ๑ คน เกอิชาคนนั้นก็ไปช่วยเด็ก สอนให้เด็กให้หัวเราะ ทำจนกระทั่งในที่สุด พบว่าเขาไม่ฆ่าตัวตาย เพราะเห็นการกระทำที่ตนได้จากการเสียสละช่วยผู้อื่นนั้นก่อประโยชน์
สิ่งที่เป็นก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีกับจิตใจ พบว่าเป็นบาป สิ่งที่เศร้าหมองเป็นอุปสรรคขัดขวาง เป็นบาป


๑๐) ที่ว่ามีความเชื่อว่า คนตายนั้น จริง ๆ แล้วเขายังมีชีวิตอยู่ถึง ๔๙ วัน จริงหรือไม่

เป็นความเชื่อทางพุทธ ที่ว่า ทุก ๗ วัน ชีวิตจะกลับมาครั้งหนึ่ง รวมประมาณ ๔๙ วัน ซึ่งแต่ละคนจะไม่เท่ากัน แต่นี้คือค่าเฉลี่ย เป็นสภาวะของช่วงการเตรียมตัวไปสู่ภพใหม่ การทำบุญช่วงนี้ เป็นการช่วยเขา และเป็นการเยียวยาให้กับผู้ที่ยังอยู่ด้วย เช่น ความรู้สึกว่ายังไม่สิ้นไร้ไม้ตรอก ทำให้รู้สึกดีกับผู้ยังอยู่ที่ว่ายังดีกว่าเอาแต่เศร้าโศก

๑๑) เราควรจะมีท่าทีอย่างไรในการดูแลคนป่วย

ซึ่งมีหลายองค์ประกอบ เทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ต้องเข้าถึงใจของเขาและสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมด้วย คนรอบข้าง เช่น
- ใจของเรา
- ท่าที
- ดูสภาพแวดล้อม
- ดูสิ่งที่เขาต้องการดูว่าเขาได้ทำแล้วหรือยัง
- เอื้ออำนวยในสิ่งที่เขาต้องการ
- จิตของเราต้องมั่นคง เข้มแข็ง ต้องเข้าใจว่าคนเราย่อมแตกต่างกัน หากเราหมดหวัง เสียกำลังใจจากกความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เราต้องฝึกการอุเบกขาด้วย

๑๒) ในฐานะพยาบาล การไปดูแล เราควรไปร่วมรู้สึกกับเขาไหม

ควรจะระวัง ไม่ใช่ทำให้เราทุกข์ด้วย เคยมีคำพูดว่า อย่าเอาอารมณ์ของคนไข้เข้ามาไว้ที่เรา ควรปล่อย และอยู่ห่างเขา แต่เราต้องทำด้วยเมตตา อย่าเอาตัวเองไปเศร้ากับเขา

๑๓) เรื่องการบอกจะบอกหรือไม่เกี่ยวกับความจริงของชีวิต

ในสังคมตะวันตกจะบอกว่า การบอกเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญ แต่ถ้าเป็นสังคมตะวันออกจะต้องดูคนรอบข้างเขาด้วย เสนอว่าเราต้องทำไปพร้อมกันทั้งกับญาติและคนป่วย แต่ถ้าต้องเลือก เราอาจจะยึดคนไข้ก่อน ดูปฏิกิริยา คอยประเมินว่าทั้งคนป่วยและญาติมีปฏิกิริยาอย่างไร การบอกต้องระมัดระวัง แต่ที่มักพบคือญาติมักจะห่วงไปเองก่อนมาก คิดล่วงหน้า

ฉะนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการบอก เรื่องร้ายแต่ไม่จำเป็นต้องบอกอย่างร้าย ไม่ใช่การบอกทางโทรศัพท์แล้ววางหู แล้วต้องคิดต่อว่าบอกแล้วต้องมีการดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น และจะทำอย่างไรด้วย และการบอกอาจจะค่อย ๆ บอก ทีละนิด

มีตัวอย่างหนึ่ง คนไข้เหมือนรู้ตัว แต่ไม่ยอมรับ ญาติเองก็รู้อยู่แล้ว แต่คนไข้ก็บอกญาติไว้ ตนเองจะหายปกติ เมื่อสภาพร่างกายแย่มาก ญาติก็ไม่รู้จะทำอย่างไร

๑๔) หลักการไปอย่างสงบ

๑. ขจัดสิ่งเป็นลบ เอาสิ่งรบกวนออกจากจิตใจเขาให้มากที่สุด คือ สิ่งรบกวน ห่วงกังวลออก จะเห็นได้ว่า เขารอบางอย่าง ขนาดว่าเขามีอาการโคม่า เขายังเปิดตาได้เพราะได้พบคนที่ต้องการ
ตัวอย่าง ดีเจโจ้คนที่เสียชีวิต ร่างเหมือนตายแล้ว แทบจะไม่ไหวแล้ว คนที่ยังอยู่คือภรรยาร้องไห้บอกว่าอย่าเพิ่งไปน่ะ เขาก็ต้องทน จนกระทั่งพอภรรยาบอกว่าไม่ต้องห่วงแล้ว เขาก็จากไปด้วยดี เพราะเขาสามารถปล่อยวาง ไม่ต้องห่วง กรณีนี้สะท้อนว่าเพราะเขาต้องถูกรั้งไว้เพราะคนที่ยังอยู่เป็นภรรยาต้องการให้เขายังอยู่

อีกรายหนึ่ง พอแม่มาบอกเขาที่รพ.ว่าได้ถวายสังฆทานให้เขาแล้ว เขาก็จากไปได้ เพราะฉะนั้นต้องดูทั้งคนไข้ และญาติ มีต่อกันว่ามีอะไรที่ยังไม่ได้เคลียร์ พยาบาลอาจจะช่วยในการเชื่อมทำความเข้าใจเขาและญาติ บอกให้เขาเข้าใจต่อกัน และหรือได้รับฟังกัน เอาสิ่งที่ค้างคาให้ได้รับการจัดการ นี้คือการทำหน้าที่ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่

๒. ทำหน้าที่น้อมนำจิตใจ เช่น นำสวดมนต์ หรือหาพระพุทธรูปมาให้เขาได้เห็น ทำให้เขามีสิ่งที่ระลึก หลับตาก็เห็น หรือทำการน้อมนำสวดมนต์ ทำสมาธิร่วมกัน ทำด้วยกัน การบอกคนป่วยทำ ต้องทำด้วยกัน ไม่ใช่แค่เปิดเทป แต่ต้องทำด้วยกัน

กรณี สุภาพร พงศ์พฤกษ์ เจ้าตัวไม่ต้องการรับการรักษา สิ่งที่เขาต้องการคือการน้อมนำให้จิตใจไปอย่างสงบ เขาทำบ้านให้น่าตาย ไม่ใช่แค่น่าอยู่ เขาวางกระทั่งการกรองเพื่อนที่จะมาเยี่ยม เช่น ไม่ใช่คนที่มาร้องไห้ ทำให้เขาเสียใจ เขาต้องการสงบ เพื่อนที่มาจึงมาทำให้เกิดความสงบ มาคุย หยอกล้อ เปิดเทป นั่งสมาธิ สวดมนต์ด้วยกัน เขาพึ่งยาน้อยมาก เขาใช้วิธีอาณาปานสติ ตามลมหายใจ หมอเต็มศักดิ์ช่วยดูแลให้ในสิ่งเขาต้องการ เขาจะไม่พึ่งยา เขาให้มีการตีระฆัง เพื่อเตือนสติเพราะความคุ้นเคยที่เขาเคยมีมาก่อน จากการที่เขาเริ่มไม่สามารถพูด แต่มีระฆังช่วยเขาได้

อีกรายหนึ่ง เป็นมะเร็ง ช่วงสุดท้ายสามารถมีสติก่อนไป ประคองสติไปได้ตลอด พี่น้องที่อยู่ข้างเตียงนำทางให้ โดยการสวดมนต์ ใน ๒ สัปดาห์สุดท้าย พูดให้นึกถึงพระรัตนตรัย ขอให้มั่นใจในพระคุณ ต่อมา ๒ วันสุดท้าย ต่อมาให้เขาขออโหสิ ขอขมา ปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ สรุปคือ น้อมนำสู่สุคติ และขออโหสิ ปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ ธรรมทำให้อาจหาญร่าเริง ญาติควรย้ำว่า คนป่วยที่เป็นคนไข้ ไม่ได้เป็นภาระ บอกว่าเขาเป็นประโยชน์ที่ทำให้เขาได้เรียนรู้ เป็นโอกาสที่ทำความดี เต็มใจที่จะมา ให้เขาสบายใจ

ประโยคสุดท้ายมีความสำคัญคือ การกล่าวคำอำลา ถ้ากำลังแย่ ก็พูดดัง ๆ กล่าวคำอำลา ก็มี ๑) แสดงความซาบซึ้ง ความดีของเขาที่เขาช่วยสร้างครอบครัว ดูแลลูกหลาน ทำบุญที่ไหน ให้เขาภูมิใจในตัวเขา ยกความดีของเขาขึ้นมา หรือคนที่ใช้ชีวิตกับเขา ๒) ขอขมาต่อเขา รวมให้อโหสิ ขอขมา ๓) พูดถึงธรรม ปล่อยวาง ความยึดมั่นตัวตน ถ้าไม่มีธรรมที่เขารับมา ก็ให้เขาอย่าห่วงอะไรที่ทำให้เขามีตัวตน



๑๕) การร้องไห้เป็นการทำร้ายเขาไหม

ถ้าเรามีความเศร้า ไม่ควรแสดง แต่ก็เลือกเวลา สถานที่ เพราะคนตายต่องการความมั่นใจ จะไปด้วยการไม่ห่วงกังวล การร้องไห้เป็นสัญญาณที่ทำให้เขาห่วง แต่ก็มีบางคนไปห้าม ก็ไม่ควร เพราะเคยมีที่เมื่อเลิกร้องไห้เลยนั้น กลับทำให้คิดว่าเขาโกรธ การหาสิ่งที่ผู้ตายคุ้นเคย เป็นสิ่งจำเป็น

๑๖) การกล่าวคำอำลา ช่วงเวลาไหนเหมาะ

ช่วงที่รู้ตัวอยู่ จะช่วยเป็นการตอกย้ำ เป็นการน้อมใจไปสู่สิ่งนั้น เพราะเขาจะลืม ต้องย้ำ คนที่โคม่า สติจะอ่อนลงไปมากแล้ว จิตสุดท้ายเป็นเรื่องสำคัญ จิตสุดท้ายสำคัญเพราะหากมีอะไรหลงเหลือ การพูดอีกครั้งก่อนไปก็ดีมาก การขอขมากับผู้จะตาย ดีมาก เป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาไปดี และยังช่วยคนที่ยังอยู่ ทำให้เขาได้จัดการแล้ว โดยการขอขมาและให้อภัย

๑๗) ในสถานการณ์ที่เราเป็นคนใกล้ชิดกับผู้ป่วย ถึงแม้ในบางกรณี ผู้ป่วยต้องการไปอย่างสงบ ญาติของผู้ป่วยยังทำใจไม่ได้ สังคมก็มักจะรู้สึกว่าต้องทำอะไรกับสิ่งสุดท้าย แต่เป็นการทำเพื่อใครกันแน่ ทำเพื่อตนเองหรือผู้ป่วย เราจะเลือกทำเพื่อเขาหรือตัวเรา

- หมอและบุคลากรทางการแพทย์จะคอยเตือนว่า จะมีอะไรที่ต้องการบอกหมอไหม เขาจะบอกว่าไม่ต้องการอะไรบ้าง เป็นต้น
- และหมอจะแนะนำว่าควรจะไม่ตัดสินใจคนเดียว ควรจะมีหลายคนอยู่ด้วย คุยพร้อม ๆ กันหลายคน เพราะเคยมีที่เกิดเรื่องกัน
- ปัจจุบัน วงการแพทย์ดีขึ้น

เวลาเจอจริง ทำได้แค่ไหน?

- เพราะความคาดหวังต่างกัน ทัศนคติที่ต่างกัน แลกการตัดสินใจต้องผ่านการลงความเห็นที่แตกต่างกันจากหลายมุมมอง
- ระหว่างการดูแลรักษาความสงบ ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง ไม่มีสูตรสำเร็ตายตัว แต่ไปถึงขั้นปล่อยวาง ได้ก็ดี แต่ถ้าไปอย่างสงบก็จะดี
- การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ ให้ดี ก็จะดีมากกว่าด้วย

**** สรุปสาระสำคัญที่ทีมวิทยากรขยายความเข้าใจเพิ่มเติม ****

นิมิต

๑) กรรมนิมิต ภาพที่เกี่ยวกับการกระทำในอดีตที่รับรู้ทางจิต อาจดีหรือไม่ดีก็ได้ ทำให้ความทรงจำในอดีตย้อนทวนมา life review เพราะค้างคาอยู่ในใจ ภาพนั้นเกิดขึ้นก่อนตาย

๒) คตินิมิต ภาพหรือสัญลักษณ์ เกี่ยวกับภพภูมิที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า ตายแล้วไปไหน ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง? กรรม/การกระทำที่เป็น กุศล และ อกุศล? อาสันนกรรม(วัวปากคอก) เป็นกรรมที่จะให้ผลทันทีเมื่อตาย เป็นความนึกคิดทางจิต เช่น เศร้าหมอง เบิกบาน? อานันตริยกรรม กรรมหนัก เช่น ฆ่าแม่ ทำให้สงฆ์แตกแยก

ภาวะหลังการตาย

หลังจากผู้ป่วยตาย ถ้าเป็นไปได้ ควรปล่อยวางศพไว้ ๑-๒ ชม. และสวดมนต์ แผ่เมตตาให้เขาไปดี สู่สุคติ สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ และอบอวลด้วยธรรมะ ช่วยให้ดวงจิตของผู้ตายได้ลดทอนความเศร้าโศกและนำทางไปสู่สุคติ ถือเป็นของขวัญชิ้นสุดทายให้แก่ผู้ตาย

วิธีลดสิ่งค้างคาใจของญาติ ?

ขออโหสิกรรม
ทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้ผู้ตาย?
เราสามารถส่งจิต รับรู้กันได้ แม้ระยะทางไกลเป็นการเยียวยาจิตใจให้ผู้ที่ยังอยู่ ญาติ ทำให้เขารู้สึกว่าสามารถทำอะไรให้ผู้ตายไปได้บ้าง

ตายก่อนตาย

มีความหมาย ๒ แบบ ๑)ระลึกถึงการตายของตนอยู่เสมอก่อนตนหมดลม เช่น ถ้าเราจะตายปล่อยวางอย่างไร

๒)ตายจากความยึดถือในตัวตน หรือความสำคัญมั่นหมายในตน ปล่อยวางตัวตน (ปล่อยวางทางจิตวิญญาณ) ถึงที่สุดจะไม่มีใครตาย มีแต่ความตายแต่ไม่มีผู้ตาย ทำได้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่มีชีวิตอยู่มีสติอยู่เสมอ ความตายคือการเปลี่ยนภพภูมิเปลี่ยนสภาพ บาปคือสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง อกุศล หรือ เป็นอุปสรรค ขัดขวางการรทำดีหรือมีความสุข

ตายแบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่คิดกังวล ละวางทุกสิ่ง ไม่ห่วงกังวลคนข้างหลัง ไม่คิดถึง กลัวว่าตายแล้วไปไหนทำจิตให้เป็นกุศล นำความเจ็บปวดทรมานกายเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาทางจิตวิญญาณ เข้าถึงธรรมขั้นสูง

ความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะอะไรกระทำ ต่อเรา เกิดอะไรขึ้นกับเรา แต่อยู่ที่เรามีมุมมองหรือท่าทีอย่างไรต่อทุกข์นั้น

ความทุกข์โดยทั่วไปของผู้ป่วย

๑) ไม่เห็นคุณค่าของตัวเองน้อยเนื้อต่ำใจ

๒) ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารกับคนอื่นได้ เช่น ไม่มีผู้รับฟัง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

- เข้าใจปฏิกิริยาทั้งทางร่างกายและจิตใจที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วย รับฟังความทุกข์ของผู้ป่วย

- ช่วยให้ผู้ป่วยคลี่คลายความทุกข์ภายในใจหมดห่วงกังวล และอโหสิกรรม

- ใช้ความรักความเมตตาเป็นพื้นฐาน (ใช้ใจ)

- ให้การดูแล เป็นทีม ทำให้ทั้งญาติ แพทย์ พยาบาล เข้าใจวิธีการรักษาทั้งทางกายและทางใจ

- ท่าทีสุภาพอ่อนโยน ให้เกียรติผู้ป่วย เคารพในความเชื่อของผู้ป่วย มีสติ จิตใจมั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย

- ประเมินผล ช่วยดูแลจิตใจของญาติที่ยังอยู่ ถ้าช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้วต้องปล่อยวาง อุเบกขา

- เข้าใจความทุกข์ของผู้ป่วย แต่ไม่แบกรับความทุกข์ของเขาไว้

- นำผู้ป่วยเป็นบทเรียน เป็นครู สอนให้เห็นคุณค่าของชีวิต

- ประเมินความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยและญาติ ทำให้บอกความจริงแก่ผู้ป่วยหรือญาติง่ายขึ้น ให้เหมาะสมกับสภาพอารมณ์เป็นเวลา ความพร้อมของทั้งญาติและผู้ป่วย

- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ช่วยให้เขาระลึกถึงคุณความดีที่เคยทำหรือสิ่งที่เป็นกุศล

- รับฟังความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง

- ช่วยจัดการภาระกิจที่ยังไม่ลุล่วง
๑) จัดการสิ่งที่รบกวนจิตใจ คลี่คลายสิ่งที่ค้างคาใจ
๒) ทำให้จิตใจเป็นกุศล น้อมระลึกถึงสิ่งดีงาม คุณงามความดี พระ เป็นต้น(ทำด้วยจิตใจที่มีพลัง และช่วยเหลือทางใจได้มาก)

- สร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับความตาย กลั่นกรองคนเยี่ยมเฉพาะที่เข้าใจผู้ป่วย และเข้าถึงความสงบ

- อาจหาญร่าเริงในธรรม มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น สงบแต่ไม่เศร้าโศก

- นั่งสมาธิ สวดมนต์ด้วยกัน ตีระฆัง หรือเปิดเทปธรรมะ

- พูดคุยให้ผู้ป่วยรับรู้ว่า เขาไม่ได้เป็นภาระให้กับใคร

- กล่าวคำอำลา
๑) แสดงความซาบซึ้งภูมิใจ พูดถึงความดีของผู้ป่วย
๒) ขอขมาลาโทษ ให้อโหสิ
๓) นำทางให้เขาปล่อยวางเข้าถึงความจริง ควรทำในสิ่งที่ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ขณะจวนเจียน

- เคารพความต้องการ การตัดสินใจวิธีการรักษาของผู้ป่วย ในกรณีญาติเปลี่ยน แพทย์ควรยืนยันการยืนยันการตัดสินใจขชองผู้ป่วยและขณะเดียวกันต้องเข้าใจญาติด้วย

- จัดให้มีการคุยกันของญาติหลายๆคน และร่วมตัดสินใจ (กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว)

- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา และผลการรักษากับทั้งญาติ ผู้ป่วย มุมมองการตัดสินใจของเขาด้วย

เรียบเรียงโดย พี่อุ๊
โพสต์โดย นิ้ง

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 27, 2549

เผชิญความตายอย่างสงบ ๑

...
การอบรม "เผชิญความตายอย่างสงบ" วันที่ ๕ – ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙
ณ แสนปาร์มเทรนนิ่ง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม จัดโดย เครือข่ายพุทธิกา และเสมสิกขาลัย
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


วิทยากรหลัก
- พระไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต อ.แก้งเคร้อ จ.ชัยภูมิ
- นพ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี หน่วยรังสีรักษา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
- คุณกานดาวศรี ตุลาธรรมกิจ หน่วยรังสีรักษา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
- คุณปรีดา เรืองวิชาธร เสมสิกขาลัย

ทีมสนับสนุน
- นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ เครือข่ายพุทธิกา
- นภนาท อนุพงศ์พัฒน์ เครือข่ายพุทธิกา
- กิติพร พรหมเทศน์ เสมสิกขาลัย
- เจนจิรา โลชา เสมสิกขาลัย

เกริ่นนำ โดย พระไพศาล วิสาโล ประธานเครือข่ายพุทธิกา


“ชาติหน้ามาก่อนวันพรุ่งนี้” เป็นคำกล่าวของครูบาอาจารย์ท่านหนึ่ง ที่ให้ข้อคิดว่าความตายเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ใกล้ยิ่งกว่าวันพรุ่งนี้เสียอีก คนเราต้องตายแน่อยู่แล้ว และที่แย่กว่านั้นก็คือความตายจะเกิดขึ้นเมื่อไร ที่ไหน เราเลือกไม่ได้ เราอาจตายด้วยโรคร้าย เอดส์ มะเร็ง เขาอาจจะตายเพราะการถูกทำร้ายก็ได้ ไม่มีความแน่นอน เป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการต้อนรับเสียเลย เช่นเดียวกับสิ่งที่เราทำให้ศัตรูหมดไปคิดการทำให้เป็นเพื่อนเสียเลย


เพราะฉะนั้นการอบรมเพื่อช่วยเราเข้าใจความตาย และไม่ใช่วิกฤตเดียว แต่เป็นการค้นพบมิติทางใจ คนจำนวนไม่น้อยพบว่าร่างกายแตกสลายไม่ใช่เพราะการใช้เทคโนโลยี แต่สิ่งที่สำคัญคือจิตใจ สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ แม้แต่คนตัวเล็กๆ แม้แต่คนที่ไม่เคยเข้าวัดก็พบได้ ทั้งหมดเขามาจากการได้เตรียม ทุกคนสามารถเข้าถึงศักยภาพตรงนี้ได้ ถ้าความตายเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกคนก็มีสิทธิที่จะตายอย่างสงบได้ เราจึงจัดอบรม เราจึงยืนยันว่าการเผชิญความตายอย่างสงบ เป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญ ต้องทนได้ เราต้องสามารถทำให้คุ้นเคย เราสามารถพูดได้อย่างไม่สั่นสะท้าน ความตายเป็นเรื่องที่เราก็สามารถพบได้อย่างยินดี ไม่สั่นสะเทือน ไม่ใช่ยังไม่ทันพบ ก็อ่อนเปลี้ย ยอมแพ้เสียแล้ว ได้ยินความตายแล้วก็รับไม่ได้ ต้องขอให้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงคำว่ามรณะ เราต้องกลับมาดู ต้องกล้าที่จะท้าทาย เช่นเดียวกับที่ทำให้ศัตรูเป็นเพื่อนเราให้ได้

การอบรมจึงเน้นการปฏิบัติทั้งในการอบรมในห้องและสถานการณ์ที่เป็นจริง แต่จะดีอย่างไร พบได้หรือไม่ อยู่ที่พวกเราผู้ร่วมอบรมทุกท่านไม่ใช่ผู้เป็นวิทยากร ทุกคนต้องเรียนรู้ร่วมกัน วิทยากรก็เรียนรู้จากผู้เข้าร่วม และมักพบว่าผู้เข้าอบรมจะได้จากเพื่อนที่ร่วมอบรมด้วยกันมากกว่าวิทยากรเสียอีก บ่อยครั้งที่จะพบว่าเวลาที่เพื่อน ๆ พูดกลับให้อะไรมากกว่าที่วิทยากรพูดเสียอีก ดังนั้นขอให้เรารับฟังจากเพื่อน ๆ ด้วย


กิจกรรมการแนะนำตัว

ผู้เข้าร่วมจำนวน ๔๕ คน กลุ่มวิชาชีพที่มาเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นพยาบาลมาจาก รพ.นครปฐม และอีกกลุ่มหนึ่งคือ สื่อมวลชน

ชี้แจงกระบวนการอบรม โดย ปรีดา เรืองวิชาธร วิทยากร จากเสมสิกขาลัย

กระบวนการอบรมจะเน้นการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการระดมแลกเปลี่ยนความนึกคิดความรู้สึก ร่วมกิจกรรมที่ทำให้นอกจากได้ความรู้แล้ว ยังได้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเพราะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการสัมผัสด้านในของตน และเกื้อกูลแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกัน สิ่งที่เรียนรู้ร่วมกันของการอบรมนี้ ประกอบด้วย

๑) ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับความตาย
๒) สภาพความตาย ที่พึงปรารถนา
๓) ภาวะใกล้ตายและความตายในทางการแพทย์และพุทธศาสนา
๔) การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทางการแพทย์ และศาสนา
๕) การเตรียมตัวตาย
- เขียนความในใจถึงผู้ล่วงลับ
- พินัยกรรมชีวิต
- มรณสติ
๖) บทบาทสมมติเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย
๗) การภาวนา แบบที่ช่วยเหลือผู้ป่วย เช่น ทำทองเลน ทำโพวะ เพื่อช่วยนำทางการตายอย่างสงบ
๘) กิจกรรม ที่เกี่ยวกับพิธีกรรม “การทำบุญ” (การทำสังฆทาน)

ตารางกิจกรรม (กระบวนการ)

๐๗.๓๐ – ๐๘.๓๐ น. อาหารเช้า
๐๘.๔๕ – ๐๙.๐๕ น. สมาธิภาวนา
๐๙.๐๕ – ๑๒.๐๐ น. กิจกรรมเช้า
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. อาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๓.๔๕ น. นอนภาวนา
๑๔.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. กิจกรรมบ่าย
๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. อาหารเย็น
๑๙.๐๐ - ๑๙.๒๐ น. สมาธิภาวนา
๑๙.๒๐ – ๒๑.๓๐ น. กิจกรรมค่ำ

กิจกรรมสำรวจความคิดความเข้าใจเรื่องความตาย
กระบวนการ
๑. วิทยากรให้ทุกคนตอบคำถาม ๕ ข้อ กิจกรรมนี้วิทยากรจะบอกให้ทุกคนนึกคิดความรู้สึกประสบการณ์ของตนแล้วมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในกลุ่มตน ซึ่งจะทำเป็นข้อ ๆ ไม่ได้ทำทีเดียวจบครบ ๕ ข้อ แต่จะทำทีละข้อ และมาร่วมระดมในกลุ่มย่อยใช้เวลาประมาณ ๒-๓ นาทีจากนั้นจึงนำเสนอกลุ่มใหญ่ แต่ละข้อในกลุ่มใหญ่ใช้เวลา๕๐ นาที

๒. แบ่งกลุ่มย่อยเป็น ๗ กลุ่ม แต่ละกลุ่มคุยทั้ง ๕ ประเด็น วิธีการแบ่งกลุ่ม ใช้วิธีนับเรียงอันดับเลข ๑-๗

๓. วิธีการในกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอย่างทั่วถึง ให้สมาชิกสังเกตกันว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนกันหมด แล้วนำเสนอต่อกลุ่มใหญ่การนำเสนอเล่าสู่กันฟังในกลุ่มใหญ่ โดยให้มีกลุ่มหนึ่งเริ่ม แล้วที่เหลือเสริมข้อที่อยากจะเพิ่มเติม
แลกเปลี่ยนความคิดความรู้สึก ในประเด็นต่อไปนี้

๑) คนส่วนใหญ่ เมื่อพูดถึงความตาย เขารู้สึกอย่างไร และปฏิบัติหรือมีท่าทีอย่างไรต่อความตาย

๒) ความรู้สึกนึกคิดในข้อแรก เพราะอะไรจึงรู้สึกนึกคิดอย่างนั้น

๓) ภาพที่คุ้นตาของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นอย่างไร เขาถูกปฏิบัติอย่างไร

๔) ภาพที่คุ้นตาเหล่านั้น เกิดขึ้นเพราะอะไร เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง

๕) ถ้าเราต้องตาย สภาพการตายที่เราปรารถนาควรเป็นอย่างไร หรืออย่างไรที่เรียกว่า “ตายดี”

๑. คนส่วนใหญ่ เมื่อพูดถึงความตาย เขารู้สึกอย่างไร และปฏิบัติหรือมีท่าทีอย่างไรต่อความตาย
- เป็นเรื่องไกลตัว พยายามไม่คิด

- หลีกเลี่ยง กลัวตาย ปฏิเสธ

- คนที่คิดเรื่องนี้เป็นคนแปลก

- หาหนทางที่จะห่างไกลความตาย(ลืมตาย)

- ความตายคือการสูญเสีย

- เป็นเรื่องอัปมงคล มีทัศนคติเชิงลบ

- ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับบุคคลอันเป็นที่รัก

- ความตายเป็นสิ่งใกล้ตัวเมื่อเกิดกับคนที่เรารักหรือมีประสบการณ์ที่จะใกล้จะสูญเสียเกิดขึ้นกับตนเองเช่น ต้องผ่าตัดอวัยวะส่วนใดของเรา

- ยอมรับความตายไม่ได้เพราะไม่ได้เตรียมตัว

- พยายามยื้อยุดชีวิต อยากมีชีวิตอยู่ยืนนานที่สุด

- เปรียบเสมือนเครื่องหมายความพ่ายแพ้หรือล้มเหลว

- สังคมหรือแนวคิดที่กำหนดเราไว้ด้วยคำพูดเช่น คนที่ตายแต่อายุยังน้อย เมื่อตายไป คนรอบข้างก็บอกว่าเขาตายก่อนวัยอันควร หรือบางกรณีก็ถูกพูดว่าคนนี้สมควรตายแล้ว

ทีมวิทยากรเสริม

พระไพศาล :
- คนเรามักลืมเรื่องการตาย โดยมักตั้งใจลืม เรายังคงดำเนินชีวิตมุ่งไปกับการเสพ ทั้งที่เราก็มีการรับรู้เกี่ยวข้องกับความตายอยู่แทบทุกเมื่อเชื่อวัน จากข่าวหนังสือพิมพ์ ทีวี สื่อ คนใกล้ตัว แต่เราพยายามหนี ใช้ชีวิตตักตวงกับการบริโภค ในที่สุดก็ลืมตาย ต่อมาเมื่อต้องตาย ก็หลงตาย(ลืมตายหลงตาย เป็นคำโบราณที่พูดกัน) คนเป็นเอดส์พอพบว่าตนเป็น คิดกับตนเองเสมอว่าไม่เกิดกับตนเองหรอก มักมองไม่ถึงตนเอง ห่างจากตัว ถ้าเปรียบกับซื้อหวยก็จะบอกกับตนเองว่าต้องถูกเสมอ อีกอย่างหนึ่ง การตายมักไปตายที่โรงพยาบาล ตั้งแต่ป่วยก็พรากออกจากคนใกล้ชิด ผู้คนจึงไม่มีทั้งการรับรู้ เห็น หากเปรียบกับสมัยก่อน พบเห็นอย่างสัมผัส รู้สึก แม้จะเห็นตามข่าว เราก็รับรู้แบบข้อมูล เราไปให้ความสำคัญเพียงแค่นั้น เราจะต้องรับรู้ในระดับถึงความรู้สึก ไม่ใช่แค่ข้อมูล ระดับการรับรู้ พระพุทธเจ้าเคยสอนไว้ เปรียบได้กับคน ๔ ประเภท ประเภทแรกแค่ได้ยินก็จะเตรียมตัว ประเภทที่ ๒ ต้องเห็นคนตาย ประเภททที่ ๓ ต้องเกิดกับคนรัก ประเภทที่ ๔ เกิดกับตนเอง ประเภทหลังนี้เรียกว่าไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา คนเรามักจะอยู่ในระดับที่ ๔ ไปจนถึง ๒ แต่ไม่ไปถึง ๑

๒. ความรู้สึกนึกคิดในข้อแรก เพราะอะไรจึงรู้สึกนึกคิดอย่างนั้น

- ในชีวิตรุ่นปู่ย่าเป็นเรื่องปกติพบเห็นที่บ้าน แต่การเสียชีวิตในรุ่นต่อมาขึ้นอยู่กับฝีมือหมอ

- ภาพในละครมีอิทธิพล หรือภาพที่แสดงในสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ล้วนมีอิทธิพล เช่น การแสดงในละครทีวี การแสดงผีก็กลายเป็นสร้างภาพให้เกิดความน่ากลัวมากกว่า

- สื่อนำเสนอความตายที่ไม่ปกติ จึงกลายเป็นว่าความตายเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ใช่ตัวเรา

- วิถีชีวิตปัจจุบันห่างไกลจากความตาย ทำให้มองไม่เห็น ไม่รู้สึก จึงไม่คิดจะต้องเตรียมตัวกับตนเอง

- คิดว่าน่าจะขึ้นอยู่กับหลักธรรมมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเรามักไม่ได้น้อมนำมาใส่ตัว

- เราไม่พร้อมที่จะตาย จำยอม เลือกไม่ได้ ไม่มองแบบการใคร่ครวญ ไม่เข้าใจในหลักศาสนา

- เรื่องการตายที่ทำให้เราเห็นเป็นเรื่องน่ากลัว ทำให้ไม่อยากเห็น และเห็นว่าเป็นเรื่องของคนที่เป็นวัยอันควร

- ค่านิยมของเพื่อน ถ้าเราพูดความตายขึ้นมา จะถูกมองว่าเราพูดไม่ดี เรื่องอัปมงคล ห้ามพูด ในทางกลับกันหากเราหันมาให้กลุ่มเพื่อนเห็นว่าการตายเป็นเรื่องธรรมดา เราพูดถึงได้ เราก็จะใคร่ครวญ

- ชีวิตสมัยใหม่ที่มีผลต่อเรา ที่ส่งผลต่อการมองความตายเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ยิ่งระบบการแพทย์ เทคโนโลยีทันสมัย การตลาด เกือบทุกอย่างที่ให้เราสะดวกสบายเห็นดี จนเห็นว่าเรามีความสุขด้วยสิ่งเหล่านี้ การตลาดเสนอว่าสิ่งนั้นให้คุณค่า แต่สิ่งเหล่านั้นกลับทำให้เราไกลจากธรรมชาติ

- คนโบราณพูดอะไรก็มีคำว่าตายพ่วงจนเป็นเรื่องธรรมดา เช่น ตายละวา สิ่งเหล่านี้เป็นกุศโลบายหรือเปล่าที่ทำให้เราไม่ละเลยความตาย

- สังคมทับถมซ้ำเติมเราว่า อย่ารู้มันเลย ถ้าพูดถึงจะกลายเป็นสิ่งผิดปกติ หน่วยงานสื่อหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพูดในสิ่งที่เป็นจริงแต่กลับไม่ได้ทำหน้าที่นี้ รวมทั้งบทบาทพระซึ่งเป็นบทบาทสำคัญมาก แต่สมัยนี้ห่างไปแล้ว

- ไม่มีองค์กรหรือสังคมไม่ได้ทำให้เราเห็นความจริงของชีวิต ให้บทเรียนสะท้อนความจริง เรียนรู้ทางจิตวิญญาณ

- แม้พระสงฆ์เองก็ยังต้องการผู้นำทางจิตวิญญาณมาให้กำลังใจยามป่วยไข้

- เหตุปัจจัยที่ทำให้คนเราหลงลืมความตาย มาจากกระแสทุนนิยม อันเป็นที่มาที่ให้เราเข้าใจว่าเราต้องการอยู่เหนือธรรมชาติ และมีเรื่องของการตลาด งานศพไม่ได้ทำให้เรามาสนใจชีวิต

- การประกันชีวิต ทำให้เรามองในแง่ที่ว่าเราจะมีหลักประกันที่จะมีชีวิต สร้างเราให้เป็นลูกค้า

- มนุษย์มีสัญชาตญาณที่จะต้องการมีชีวิต

- คนที่ผ่านเฉียดตายหรือมีประสบการณ์เจ็บป่วย ก็จะทำให้ชีวิตไม่ประมาท และเปลี่ยนชีวิต เช่น ให้พรกับคนอื่นว่า ขอให้มีสุขภาพดี

- อาจจะสรุปได้ว่า ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการมองความตายที่เราไม่พึงปรารถนาก็คือ วัฒนธรรม การแพทย์ การสาธารณสุข บริโภคนิยม เทคโนโลยี สื่อ การตลาด ที่มุ่งกระตุ้นกิเลส การศึกษา สิ่งทีททำให้เราเกิดตัวตน และยึดตัวตนมาก เกิดสัญชาติการสืบเนื่องของตัวตนต่อไป

ทีมวิทยากรเสริม

กานดาวศรี:
- อยากให้สื่อช่วยเสนอภาพที่ช่วยนำความรู้สึกที่ดี เห็นภาพที่เกี่ยวกับความตายที่เป็นจริง ไม่ใช่อย่างที่สวยงามเกินไปหรือน่าเกลียดน่ากลัวไป

พระไพศาล :
- เป็นเรื่องของความเชื่อของคนเรา เมื่อร้อยปีก่อนเราสามารถชนะเชื้อโรค เราก็คิดว่าจะชนะความตายได้ เราจึงไม่ยอมรับความตาย คนส่วนใหญ่สนใจความสุขในโลกนี้

- เราคิดว่าสามารถทำให้ทุกสิ่งทุกอย่าง perfect สมบูรณ์ จัดการได้ แม้ใต้วงแขน ทุกอย่างทำได้เป็นไปตามใจหวังได้ ความคิดนี้ทำให้ไม่ยอมรับการผิดหวัง จะยิ่งไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่รู้จักการผิดหวัง เด็กถูกปลูกฝังทางคอมพิวเตอร์ ทุกอย่างสามารถควบคุมตามใจหวัง จึงไม่รู้จักผิดหวัง แม้แต่เรื่องการมาสายก็ผิดหวัง เช่น ที่ญี่ปุ่น รถไฟฟ้าต้องมาตรงเวลา ทำให้ต้องตรงเวลา เมื่อพบสิ่งผิดพลาดก็ผิดหวัง ฆ่าตัวตายมาก

- เวลานี้ความตายทำให้กลายเป็นสินค้า เช่น วีดิโอเกม หนังต้องมีการไล่ล่าฆ่า จึงจะสนุก สื่อมวลชนทำให้ข่าวตื่นเต้น การตายทำให้เป็นเรื่องตื่นเต้น น่าติดตาม เช่น ข่าววิกฤต อุบัติเหตุมีการฆ่า หรือตายอย่างไร ทำไมหน้านสพ.ต้องมีข่าวอาชญากรรม เพราะมันตื่นเต้น โฆษณาที่เสนอการตายเป็นความไม่แน่นอนมีน้อยมาก เดี๋ยวนี้เราสนใจแต่ อายุ วรรณะ สุขะ พล ไม่สนใจโลกหน้า ดูแต่โลกนี้

- มีสุขภาพดี ก็ไม่ใช่ว่าไม่ทุกข์ แต่คนไม่สนใจตรงนี้ ไม่สนใจมิติจิตใจเลย สนใจแต่เรื่องทางกายภาพ

- สัญชาตญาณการอยู่รอดเป็นธรรมดา แต่ของมนุษย์บางครั้งยอมตายได้ ไม่เฉพาะเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ได้ เพราะมีมากกว่านั้น มันคือสัญชาตญาณที่ต้องการสืบต่อของตัวตน คนสมัยก่อนไม่กลัวความตายเพราะคิดว่ามีชาติหน้า ความคิดเช่นนี้อยมรับความตายของพ่อแม่ได้ เพราะอาจจะเจอพ่อแม่ในชาติหน้าก็ได้ อย่างน้อยเป็นการคิดถึงจะไปเกิดใหม่ แต่การติดตัวตนสืบเนื่อง กลัวตายแล้วตัวตนจะขาดสูญ นอกจากนี้ยังมีสิ่งหลอกล่อ เช่น ตัวตายแต่ชื่อยัง จึงต้องมีชื่อที่อนุสาวรีย์ คุณตายแต่ชื่อยัง หรือเอาตัวตนไปผูกกับชาติ หรือคนญี่ปุ่นไปผูกกับบริษัท ศาสนาของณี่ปุ่นคือมิตซูมิบิชิ ชื่อยังอยู่เป็นตัวตนที่ต้องการไม่ขาดสูญ หรือความเป็นชาตินิยมบอกว่าคุณตายเถิด ชื่อของคุณจะปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ นี้คือสัญชาตญาณของมนุษย์มีมากไปกว่านั้น ดังนั้นตัวตนเป็นเรื่องที่การตลาดต้องการตรงนี้

- และการมีครอบครัวเดี่ยว ทำให้การดูแลไม่พร้อม

๓. ภาพที่คุ้นตาของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นอย่างไร เขาถูกปฏิบัติอย่างไร

- คนไข้ที่เป็นผัก เราก็กลับไม่สนใจชีวิต แต่สนใจให้หายใจได้

- คนไข้บางคนที่จะต้องตายจริง ๆ แต่คนที่เป็นคนดูแลเป็นญาติ มีแต่จะให้หาย ปลอดภัย โดยไม่ยอมรับความจริง คนไข้จึงไม่ได้รับรู้ความจริงและไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจ

- สภาพการดำเนินชีวิตของผู้ดูแล ที่ไม่มีเวลา ทำให้ปล่อยให้เป็นบทบาทของแพทย์พยาบาล ในการดูแลผู้ป่วย

- พยาบาลเล่าว่ามักพบว่าญาติต้องการให้ใช้การแพทย์ทุกวิถีทางในการเยียวยารักษาคนไข้ แต่พอมาถึงจุดๆหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาแล้ว ก็กลับปล่อยปละละเลย

- ทุนทรัพย์เป็นต้นทุนสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจจะยื้อหรือไม่

- พยาบาลได้ปรับปรุงวิธีการให้มีมิติจิตใจเข้ามาเยียวยาคนไข้ เช่น เปิดอนุญาตให้ทำพิธีกรรมต่อคนไข้ได้ ให้คนมาทำพิธีข้างเตียงได้

- พยาบาลพบว่าการทอดทิ้งคนไข้เกิดจากการเบื่อของคนดูแล เมื่อต้องอยู่ดูแลรักษานาน ก็ปล่อย ทำให้เกิดการทิ้งเป็นภาระให้กับโรงพยาบาลแทน

- ความเชื่อที่มีพิธีกรรม หรืออะไรที่ยึดเหนี่ยวมาใช้ในช่วงกำลังใกล้ตาย เป็นสิ่งที่ดี ยังมีการใช้ซึ่งเป็นสิ่งดี เช่น การอโหสิกรรม

- พยาบาลสงสัย คนไข้มีปัญหาการหายใจ คนไข้ต้องการให้ดึงท่อหายใจออกซึ่งก็หมายถึงการให้ตาย อย่างนี้จะเป็นบาปกับพยาบาลไหม

- มีคำถามว่า แม้แต่หมอยังบอกว่าคนไข้คนนี้รักษาไม่หาย ถ้าจะรักษาไปก็ไม่มีประโยชน์ เราจะตัดสินใจอย่างไรดี

- หรือกรณีหนึ่งว่า คนนี้จะจากไปอยู่แล้ว เราก็บอกให้เขาปล่อยวาง วันต่อมาก็จากไป เราบาปไหม ตรงนี้พระไพศาลบอกว่า การให้กำลังใจคือการให้เขาทำความดี ไม่ใช่ให้แบบมีความยั่งยืนทางชีวิต ความดีเป็นสิ่งค้ำจุนที่ให้เขาพร้อมที่จะก้าวข้ามธรณีประตูที่สงบและเกิดความมั่นใจ

- การแพทย์ใช้เครื่องมือการรักษาทุกอย่างกระทำต่อคนไข้ แต่เครื่อมือเหล่านั้นทำให้คนไข้ไม่เกิดความสงบ
- การแพทย์มักจะทำให้การตัดสินใจอยู่กับคนอื่น มีตัวอย่างแม่ ภาพของแม่ที่ป่วยคือ มีเครื่องมือทุกอย่างใส่เข้าไป เช่น เครื่องหรือท่อช่วยหายใจ เรารู้สึกรับไม่ได้ เราไม่รู้ว่าจะตัดสินใจตรงนั้น สิ่งที่คิดตอนนั้นคือ เราจะตัดสินใจอย่างไร คือถ้ารอดก็ดี แต่ถ้ายื้อมันเจ้บก็แย่ ก็ถามพ่อ มันสับสนว่าจะปล่อยหรืออย่างไรดี จะหาพระเพื่อช่วยตัดสินใจ แต่ก็ช่วยให้เกิดกำลังใจมีคนช่วยตัดสินใจมากกว่าเรา คืออย่างน้อยมี ๓ คนแล้ว คำถามที่เรารู้สึกถึงความรู้สึกแม่ เพราะรู้สึกสัมผัสกับแม่ได้ ต่อมาได้ตัดสินใจพาแม่ไปที่ รพ.อื่น ก็ยังพบว่าเจอแบบเดี๋ยวดีเดี๋ยวไม่ดีจากการรักษา ต่อมาเราได้พบกับกัลยาณมิตรแนะนำให้คำนึงถึงความรู้สึกของเรา เรารู้ว่าแม่ต้องการกำลังใจจากเรามากกว่า หลังจากนั้นแม่ดีขึ้นๆอย่างน่าประหลาดใจ อาจจะเป็นเพราะการได้กำลังใจ น่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ได้ ซึ่งไม่ได้จากแพทย์ที่เราไปหวังเพื่อการรักษา ตรงนี้สรุปได้ว่า ไม่ใช่เพียงการได้เทคโนโลยีชั้นสูงเท่านั้น หรือการตัดสินใจไปไว้ที่แพทย์ ซึ่งเรากลับพบว่าเราตอบหมอไปว่าแล้วแต่หมอก็แล้วกัน ทำไมกลายเป็นเช่นนี้

- บางกรณี ก็เห็นว่าหมอก็มีปัญหา หมอบางคนรักษาได้ แต่บางคนรักษาไม่หายกับคนไข้คนเดียวกัน นี่ก็คือความไม่แน่นอนของการรักษาของหมอ แล้วทำไมเราไปฝากชีวิตกับหมอ แต่คนไข้ก็กลับไขว่คว้า หาหมอที่เก่งขึ้นไป แทนที่จะเปลี่ยนวิธีการมองของตนเอง หรือญาติมีบทบาทในการตัดสินใจพยายามยื้อชีวิตแทนที่จะดูใจของคนไข้จริง ๆ ว่ารู้สึกหรือต้องการอย่างไร

ทีมวิทยากรเสริม

กานดาวศรี :
- การช่วยหรือพูดอะไรกับคนไข้หรือใกล้ตาย คือการให้คนไข้ได้บอกอะไรที่จะปล่อยวาง ส่วนท่าทีเราคือการให้ความจริงใจ เรามักพบว่าคนไข้ใกล้ตายไม่สามารถพูดได้ ได้แค่การยกมือขึ้น เราก็ต้องเตรียมที่จะสื่อกับคนไข้ มีหลายวิธีตามความเหมาะสมกับสภาพคนไข้ เขาช่วยตัวเองไม่ได้ แต่ละคนไม่เหมือนกัน สภาพเขาไม่มีแรง หลายกรณีที่พบว่าหมอ พยาบาลก็มีปัญหาในการสื่อสาร

พระไพศาล:
- อยากให้มองความเจ็บความป่วยในเรื่องที่กว้างไกล มากกว่ามิติทางกาย การที่เราปล่อยให้หมอดูแลเพราะเราคิดว่าเป็นเรื่องความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวนึกว่าเป็นการปวดปกติ มาหาหมอทุกทีก็นึกว่าเป็นเรื่องของทางกาย แต่รักษาไม่หาย จนในที่สุดจึงถามคนไข้ว่าเขามีอะไร ติดอะไร ก็พบว่าสาเหตุที่เขาติดมีปมเป็นเรื่องที่มีปัญหากับญาติ เขามีปัญหาของเขา หมอจึงแนะนำว่าให้เขาปล่อยวาง อย่าไปติดกับเรื่องนั้นมากนัก ในที่สุดเขาก็สามารถคลายความวิตกกังวล แล้วแก้ปัญหาของเขาได้ ตัวอย่างคนไข้รายหนึ่งของอาจารย์ประเวศ วะสี นศ.แพทย์จะเดินตามดูการซักถามของอาจารย์ เมื่ออาจารย์ประเวศถามคนไข้ ฟังเรื่องราวของเขา อาจารย์ก็เลยบอกนศ.ว่าให้เหล็ก เขาไม่ได้เป็นอะไรหรอก เมื่อคนไข้ได้ยินจากอาจารย์ประเวศพูดกับนักศึกษาอย่างนั้นก็ลุกขึ้นเพื่อจะกลับบ้านเลย นี่คือปัญหาของเขาคือความทุกข์ในใจที่เราไม่ได้มองนัก

๔.ภาพที่คุ้นตาเหล่านั้น เกิดขึ้นเพราะอะไร เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง (เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดภาพการดูแลผู้ป่วยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน)

- ไม่ได้เตรียมตัว ลืมตาย

- ความคาดหวังทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

- มีวิธีคิดที่ยื้อ ไม่อยากสูญเสีย

- ไม่ยอมรับความจริง

- ไม่กล้าพูดความจริงกับผู้ป่วย

- ทุนทรัพย์

- มีความหวังว่าจะมีปาฏิหาริย์ ช่วยชีวิตได้

- ไม่มีใครอยากเป็นผู้จบชีวิตผู้ป่วย

- ไม่ได้ถามความต้องการ ความคิดเห็นของผู้ป่วย

- เป็นความต้องการของญาติเอง ต้องการให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ด้วยได้นาน ๆ

- วิถีชีวิตที่เหินห่างความสัมพันธ์กัน เนื่องจากการเร่งรีบ หาเงิน

- การแพทย์ที่มุ่งเป้าหมายยืดชีวิต

- ทัศนะแพทย์ที่หากเกิดการตายขึ้นจากการรักษาหมายถึงความพ่ายแพ้ของแพทย์ (ขึ้นอยู่การสอนแพทย์ในแต่ละยุค ยุคนี้เป็นผลพวงการสอนให้แพทย์มีมุมมองให้ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยหาย จนกระทั่งสอนให้คิดว่าการรักษาไม่หายก็จะเป็นความพ่ายแพ้ของแพทย์)

- แพทย์ไม่ได้ดูแลผู้ป่วยอย่างองค์รวม กระบวนการรักษาเป็นแบบแยกส่วน

- เทคโนโลยีทางการแพทย์กับแพทย์มีผลสืบเนื่องต่อกัน ต่างก็มีผลผลักดันต่อกัน ในที่สุดก็กระทบมาที่ผู้ป่วยและการรักษา

- ทั้งแพทย์เองและปัจจัยรอบข้างหลายอย่าง ให้การตัดสินใจการรักษาไปอยู่ที่แพทย์

- ความคาดหวังของสังคมต้องการยื้อยุดชีวิต

ทีมวิทยากรเสริม

พระไพศาล :
- ในการรักษาจะมีเหตุปัจจัยยื้อยุดเวลาอายุผู้ป่วยนอกจากต้องการช่วยแล้ว ยังมีอีกปัจจัยคือคนรอบข้างตั้งแต่ญาติพี่น้องไปจนกระทั่งสังคมที่จะมากดดันให้เราต้องทำต้องตัดสินใจตามนั้น เช่น ต้องยื้อ ต้องเข็น นี้คือส่วนของสังคมที่ต้องทำ เพราะฉะนั้นการรักษาให้คำนึงผู้ป่วยนั้นก็ยาก เพราะมีคนรอบข้างเข้ามาเกี่ยวด้วย ยิ่งสังคมของคนมีเงิน ยิ่งได้รับผลกระทบ เข้ามากดดันในการตัดสินใจ

- ในการดูแลผู้ป่วย คนส่วนใหญ่มักมองในแง่วัตถุ เช่น เวลาดูแลผู้ป่วย เอาจำนวนวัน จำนวนเงินเป็นตัวตั้ง แทนที่จะดูว่าเขาต้องการอย่างไร มีคุณภาพชีวิตอย่างไร นั่นเพราะเราเอาเหตุผลทางวัตถุ

- การยื้อยุดชีวิตคนป่วย มองได้ ๒ มุมมอง คือ ในแง่ของการสร้างปัญหา แต่อีกมุมมองในทางประโยชน์ คือการใช้เป็นโอกาส ของคนที่มีสิ่งที่ค้างคา เช่น ญาติใช้ในการทำความดี จากที่ไม่เคยดูแลแม่ จนกระทั่งวันดีคืนดีแม่ป่วย แม่เป็นผัก ลูกก็ได้มาดู และแสดงความดีในโอกาสสุดท้าย หรือคนป่วยเอง ได้โอกาสในการปลดปล่อยหรือปล่อยวางสิ่งค้างคาในใจ ของคนไข้ เช่น ก็กลับกลายมาเป็นโอกาสทำความดี ก็ได้ยืดความสัมพันธ์ นี้คือการใช้เป็นโอกาส

๕. ถ้าเราต้องตาย สภาพการตายที่เราปรารถนาควรเป็นอย่างไร หรืออย่างไรที่เรียกว่า “ตายดี”ที่เราอยากจะเลือก (สภาพการตายที่พึงปรารถนา)

- อยากให้ขณะสุดท้าย จิตอยู่ในสภาพที่ไม่โกรธ ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัว หมดห่วงกังวล อยากให้ที่มีความโกรธหายไป ช่วงเวลานั้นแม้ร่างกายจะอยู่ในสภาพรุนแรง เจ็บปวดอย่างไร ก็ขอให้ใจสงบไปได้ ไม่โกรธ จิตไม่ทุรนทุราย กายเจ็บแต่ใจไม่ป่วย

- สภาพการตายอย่างไรก็ได้ แต่จิตสงบ

- อยากให้ตายอย่างมีสติ แม้หายใจเฮือกสุดท้ายก็สามารถตัด ปล่อยวางสิ่งยึดมั่นถือมั่นได้ แม้ยังมีสิ่งค้าง ยังจัดการไม่หมด ขณะที่ตาย ก็ขอให้ตายไปได้อย่างสงบจริง

- อยากได้โอกาสอโหสิกรรม รู้ตัวอย่างมีสติด้วย ก่อนตาย

- ถ้าเลือกได้ อยากตายไปแบบไม่เจ็บปวด แต่ก็มีคนเสริมว่า ต้องการทำความเข้าใจว่าถ้าเลือกได้ อยากได้ความชัดเจนมากขึ้นคือการรู้ตัวก่อนเป็นเรื่องสำคัญ

- กลัวกระบวนการตาย แต่ไม่กลัวตาย

- ตายขณะจิตเป็นกุศล

- ณ ขณะตาย อยากให้มีคนรับรู้ มีคนรอบข้างที่เป็นคนรักมีความอบอุ่น ต่างก็จะได้ดูใจกัน

- ค่อย ๆ ปล่อยวาง นิ่งสงบ

ทีมวิทยากรเสริม

พระไพศาล :
- ความตายที่ท่านพึงปรารถนาคือ การตายในลักษณะที่เกิดปัญญา สว่าง ปล่อยวางได้ ถ้าได้ตรงนี้ก็จะสู่นิพพานได้

- การตายอย่างสบายขึ้นอยู่กับว่า เราอยู่ในสภาพไหน เพราะจะเกิดอะไรขึ้น แม้เราตายอย่างสบาย พอพบว่าหลังตาย เรามารู้ว่าเราตายแล้ว เราอาจจะมีสภาวะอะไรบ้าง เช่น อาจจะตกใจเพราะมาคิดว่า เรายังมีภาระที่ทิ้งไว้อยู่ เพราะฉะนั้นการตายอย่างสงบยังไม่เพียงพอถ้าไปไม่ถึงการสว่างทางปัญญา

สรุป การตายดีที่พึงปรารถนา

๑) สภาพทางกาย ตายอย่างสบาย ทุกข์ทรมานน้อย ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ฉับพลัน

๒) ความสัมพันธ์ ไม่มีเรื่องคั่งค้าง อยู่ท่ามกลางญาติมิตร คนรัก ไม่เป็นภาระ ทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ ญาติมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ดี

๓) จิต สงบ มั่นคง มีสติระลึกรู้

๔) ปัญญา มองถึงความไม่น่ายึดติดกับอะไร ละวางความยึดติด ยึดมั่นถือมั่น เข้าถึงนิพพานได้ ดับไม่เหลือ รู้และเข้าใจความจริง

สิ่งที่ควบคุมยาก

- สภาพการตาย

- เวลาตาย สถานที่ตาย

- ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี

- ขึ้นอยู่กับการฝึกจิต
--- จบตอนที่ 1 ---
ตอนที่สองเตรียมพบกับคำถามเกี่ยวกับ "ความตาย"
เรียบเรียงโดย พี่อุ๊
โพสต์โดย นิ้ง

วันศุกร์, กรกฎาคม 21, 2549

ดนตรีกับการผ่อนพักอย่างลึกซึ้ง

สื่อสร้างสรรค์ฯ สัญจรครั้งที่ ๓ ผ่อนพักตระหนักรู้กับดนตรี

ณ เรือนไทย โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี

เมื่อถึงหมู่บ้านเด็ก เรานำอาหาร เครื่องดื่มที่นำไปเล็กน้อยๆที่ร่วมในกันแวะซื้อ ที่ร้านโชว์ห่วยระหว่างทาง ไปฝากเด็กๆ หลังจากนั้นเรากลับขึ้นรถต่อต่อไปที่พัก ซึ่งเป็นเรือนไทยหลังใหญ่ งดงาม ยืนเด่นข้างลำน้ำที่อยู่เบื้องล่าง เก็บข้าวของแล้ว เราเริ่มกิจกรรมกันเลย

คณะวิทยากรจากเสมสิขาลัยนำกิจกรรมที่เรียกว่า "ตัวเลขนรก" และ "ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม" เพื่อทำให้ทุกคนรู้จักกันมากขึ้น ได้ความสนุกสนาน และเพื่อลดช่องว่างของผู้เข้าร่วมให้หลอมรวมกับกลุ่ม

กิจกรรมสูดลมหายผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนเป็นวงกลม แล้วสำรวจลมหายใจ อยู่กับตัวเอง จากนั้นออกเดินสำรวจพื้นที่รอบๆตัวเราหาจุดที่เราชอบ ยืนหรืออยู่แล้วรู้สึกอบอุ่น สบาย ปลอดภัย ให้กำหนดจุดนั้นเสมือนเป็นบ้านของเรา เดินออกไปทักทายเพื่อนๆ ส่งรอยยิ้มที่มาจากใจจริงของเรา

โจทย์ต่อไป คือ ในขณะที่เราเดิน เราจะหายใจได้ต่อเมื่อเราอยู่ในพื้นที่ที่เรากำหนดแล้วว่าเป็นบ้านของเรา ถ้าหากเราเดินออกไปนอกบ้าน เราไม่สามารถหายใจเข้าได้ หายใจออกได้อย่างเดียว ดังนั้นเมื่อเราออกเดินไป ลมหายใจเริ่มหมด หรือหมดเมื่อไร เราก็ต้องรีบกลับมาบ้านเพื่อสูดลมหายใจต่อชีวิต

โจทย์ข้อต่อไป ยากขึ้นอีกนิด (๓) มองหน้าเพื่อน เลือกเพื่อนคนหนึ่งที่เราชอบหรือประทับใจ แล้วเลือกจุดที่เราประทับใจเค้ามากที่สุด กำหนดให้จุดที่เราเลือกนั้นเป็นบ้าน จะหายใจได้ก็ต่อเมื่ออยู่ที่บ้านเท่านั้น แล้วทุกคนเดินเป็นอิสระตามใจ

เราเรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้

- ตอนที่มองและเดินไปรอบๆวง ทักทายเพื่อนๆด้วยรอยยิ้ม เรารู้สึกอบอุ่น คุ้นเคยกับทุกคนมากขึ้น

- เมื่อหยุดยืนอยู่กับตัวเอง สำรวจลมหายใจ สามารถรับรู้ได้ถึงลมหายใจที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งในชีวิตประจำวันไม่ค่อยรับรู้เท่าไร

- ตอนที่อยู่ในจุดที่เรากำหนดว่าเป็นบ้าน ซึ่งเราสามารถหายใจเข้าได้นั้น รู้สึกสบาย แต่พอออกจากบ้านซึ่งทำได้แค่หายใจออกเท่านั้น เรารู้สึกเกร็ง เหนื่อย อึดอัดเพราะต้องกลั้นลมหายใจ และต้องพยายามกะระยะที่จะต้องกลับบ้านมาหายใจเข้า

- ตอนที่กำหนดให้เพื่อนเป็นบ้าน ที่เราต้องเข้าไปหาเพื่อสูดลมหายใจเข้า รู้สึกไม่ค้อยสบายนัก เพราะ เราต้องพึ่งพิงคนอื่น ยุ่งยาก เกรงใจเพราะเพื่อนอาจต้องพึ่งเรา

ช่วยกันคิดและแบ่งปัน เมื่อเทียบเคียงสิ่งที่เรียนรู้ จากกิจกรรมกับชีวิตประจำวัน เรามาร่วมกันแบ่งปันว่า เรามีกิจกรรมใด สถานที่ใด หรือใครที่เป็นเหมือนบ้านที่ให้พลัง ความสุข สงบกับเราบ้าง

- บ้านที่เรารู้สึกปลอดภัย เช่น อยู่กับคนในครอบครัว และคนที่เราคุ้นเคย

- ไปเที่ยวตามสถานที่เป็นธรรมชาติ

- ไปเที่ยวกับเพื่อน ทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยแบ่งปันกันและกัน

- การกอด การสัมผัส ถ่ายทอดพลังแก่กันและกัน- ฟังเพลง ดนตรี

- ไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ สนทนาธรรม- ย้ายอารมณ์จากสิ่งที่พัวพันอยู่

- ไปที่ไหนก็ได้ที่โดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า

- อยู่กับตัวเองในสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เป็นธรรมชาติ แล้วปลดปล่อยอารมณ์ รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น อารมณ์จะคลี่คลายไปเองตามธรรมชาติ

- อยู่กับลมหายใน มีมุมมองที่สามารถยอมรับความจริงได้ ปล่อยวางส่งต่างๆ

- ปรึกษาผู้ใหญ่ที่ให้คำแนะนำได้ หรืออ่านหนังสือธรรมมะ

- หมั่นสำรวจความสำเร็จเล็กๆน้อยที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

- ปล่อยวางความคาดหวัง อยู่กับปัจจุบัน มีสติอยู่กับงานที่เราทำอยู่ หรือดูหนัง อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสกับดิน เช่นลง ปลูกต้นไม้ กิจกรรมที่สามารถเต็มพลังให้แก่ตัวเราได้

จากความเห็นต่างๆ เราช่วยกันวิเคราะห์ตรองต่อ ว่า ความสุข สงบ ของเรามีที่มาจากอะไรบ้าง เราจึงเห็นว่า ความสุขของเรามาจาก 3 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ตัวของเราเอง ครอบครัวและเพื่อนๆ และสิ่งแวดล้อม

-------------------

อยู่กับตัวเอง สติ และ ฐานทั้ง 4

ตลอดเวลาในการอบรม วิทยากรเชื้อเชิญให้ทุกคน หยุดทำกิจกรรมที่เคยทำอย่างคุ้นเคยและให้ทำกิจกรรมต่างๆอย่างช้าลง ลดการพูดคุย และลองสำรวจตัวเอง ด้วยหลักสติกับฐานทั้ง ๔ คือ

๑. ฐานกาย เฝ้ารับรู้การเคลื่อนไหวของกาย
๒. ฐานความรู้สึก เฝ้ารับรู้ถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น ชอบ ไม่ชอบ ร้อน เย็น
๓. ฐานจิต รับรู้ถึงการคิดปรุงแต่ง ความคิดต่างๆ
๔. ฐานธรรม รับรู้ถึงความจริงในชีวิต เห็นธรรมในธรรมชาติ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ


สรุปความรู้สึกระหว่างอยู่กับตัวเอง
- อึดอัดที่ไม่ได้ทำตามที่ต้องการ
- ร้อนกาย – ร้อนใจ – อาบน้ำ – นั่งสมาธิ – สำรวจความรู้สึกภายในตนเอง ทำให้เห็นตนเองเมื่อมีอารมณ์ร้อน
- อิสระ สบายไม่อยู่บนความคาดหวังของใคร
- บางครั้งเราพร้อมที่จะอยู่คนเดียว และบางครั้งก็พร้อมที่จะรวมตัวกันอีกครั้งเมื่อโอกาสเหมาะสม โดยปรกติในชีวิตเรามักจะมองไม่เห็นความงามหรือรายละเอียดบางอย่าง(เพราะเราคิดเรื่องอื่นไม่ใช่สิ่งที่เรา ณ ปัจจุบัน)
- เรามักจะคิดถึงอดีตหรืออนาคตมากกว่าปัจจุบัน เนื่องจากชีวิตเราถูกช่วงชิงไปด้วยบทบาทหน้าที่การงาน
- ลังเล แต่ก็อยากรู้เมื่อปิดวาจาจะเป็นอย่างไร – รู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่
- ความจริงของชีวิตเรามักจะมองเห็นตอนที่เราปล่อยวางภาระบางสิ่งบางอย่างหรือภายในสงบ
- ได้สัมผัสและดึ่มด่ำกับธรรมชาติ ที่สวยงามและละเอียดอ่อน
- ไว้ใจธรรมชาติมากขึ้น ผ่อนคลาย รับรู้ถึงการก้าวเดินย่างไม่เร่งรีบ อยู่กับตัวเอง
- การที่เรานิ่ง สงบภายใน ทำให้การสัมผัสรับรู้ของเราจะดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ทำให้สัมผัสได้ถึงความสุขของคนรอบข้าง
- รู้สึกได้ย้อนกลับเป็นวัยเด็ก
- เห็นความกลัวของตนเอง
- สัมผัสกลิ่นได้เร็ว เช่น กลิ่นดิน ฝุ่น ใบไม้ กลิ่นผ้าเปียกฝน กลิ่นบางอย่างทำให้นึกย้อนถึงอดีต
- การเห็นแก่ตัวคือการมองไม่เห็นความเชื่อมโยงจากชีวิตจริง

---------------------

นั่งสมาธิผ่อนคลายกับเสียงเพลง


เราทุกคนนั่งในท่าที่สบาย ในที่ที่สบายตามใจเลือก จะหลับตาลง หรือ เปิดตาดูสิ่งรอบตัวก็ได้ จากนั้นกระบวนกรเปิดเพลงบรรเลง เชื้อเชิญให้เราทุกคนปล่อยวางความคิด และน้อมใจให้อยู่กับบทเพลง
เรานั่งหลับตาอย่างสบายๆ ประมาณ 30 นาที จากนั้น มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณืความรู้สึกระหว่างนั่งผ่อนคลายดับเสียงดนตรี หลายคนชอบเสียงเพลงที่เลือกมาเปิดมาก บอกว่า เสียงเพลงช่วยทำให้มีสมาธิมากขึ้น ผ่อนคลาย รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับเสียงเพลง ดนตรียังช่วยเร้าให้เกิดภาพที่งดงาม ผ่อนคลาย สบายใจ เช่น ภาพขุนเขาแม่น้ำ

วาดภาพเดียวกัน

ทุกคนนั่งล้อมเป็นวงกลม กระบวนกรแจกกระดาษให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคนละแผ่น แล้วให้แต่ละคนพินิจมองกระดาษที่อยู่ตรงหน้าให้เห็นว่า กระดาษแผ่นนี้เกิดจากดิน เมฆ ฝน สายลม ทุกสิ่งทุกอย่างที่หลอมรวมกันจนเป็นกระดาษแผ่นนี้ จากนั้นให้ทุกคนมองกระป๋องน้ำตรงหน้า ให้พิจารณาเห็นน้ำที่อยู่ตรงหน้า ว่าน้ำเกิดจากแสงแดด ภูผา สายลม ดวงดาว ทุกสิ่งทุกอย่างหลอมรวมกัน

จากนั้นผู้เข้าร่วมหยิบพู่กันขึ้นมา จุ่มน้ำแล้วชโลมลงบนพื้นที่ ๑ ส่วน ๓ ของกระดาษ “กระดาษนี้มีชีวิต ค่อยๆชโลมด้วยน้ำ น้ำนี้มีชีวิตค่อยๆแทรกซึมลงผืนแผ่นดินอย่างช้าๆ”

จากนั้น แต่ละคนเอาพู่กันแตะสีเหลือง ระบายลงบนกระดาษ ให้สีเหลืองเหรียบเป็นพื้นดินอันหนักแน่นมั่นคง เต็มไปด้วยความรัก ที่ให้กำเนิดสรรพสิ่ง สวยงาม เฝ้ามองแผ่นดินที่เราสร้างขึ้นมา ให้ความรัก ความเคารพ นอบน้อมกับผืนแผ่นดิน ที่ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์นี้ เต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา

จากนั้น เอาพู่กันไปแต้มสีแดง แล้วทำเป็นจุดเล็กๆ บนพื้นที่สีเหลือง สีแดงเป็นสีแห่งเมล็ดพันธุ์ เรากำลังจะหย่อนเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตลงบนผืนแผ่นดินแห่งชีวิต ให้ความรักกับเมล็ดพันธุ์ที่เราปลูก อีกไม่นานจะเติบใหญ่สวยงาม ผืนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์นี้เมล็ดพันธุ์ค่อยๆ เกิดรากหยั่งลงบนพื้นแผ่นดิน เป็นรากแก้ว จากรากแก้วค่อยๆแตกขยายออกเป็น รากฝอยคอยยึดเหนี่ยว และดูดซับแร่ธาต และอาหารจนขยายใหญ่เติบโต แสงอาทิตย์ค่อยๆทำให้มันเติบโต ต้นอ่อนนี้เราปลูกด้วยความรัก ความเมตตา ต้นอ่อนต้นนั้นกำลังเติบใหญ่ไปข้างหน้า เราเฝ้าดู ให้น้ำ ให้ปุ๋ย เมื่อมันเติบใหญ่จะเป็นความหวังข้างหน้า จากนั้นก็มีใบอ่อนๆสีเขียว ใบอ่อนนี้กำลังรอรับแสงอาทิตย์

วางพู่กันลง พิจารณาภาพ แล้วส่งภาพต่อไปยังเพื่อนที่อยู่ทางขวามือ

กระบวนกรนำกิจกรรมต่อไปว่า ให้ทุกคนมองต้นอ่อนที่อยู่เบื่องหน้า ต้นอ่อนนี้เป็นต้นอ่อนแห่งความรัก ความหวัง ที่กำลังเติบใหญ่ในอนาคต ให้เราแต้มสีเป็นลำต้น แตกเป็นใบ มีรูปร่างที่แข็งแรง มั่นคง เป็นที่พึ่งพิงให้เหล่านกกา และสัตว์ต่างๆได้ ต้นไม้นี้กำลังเติบโต มั่นคง แข็งแรง เป็นต้นไม้แห่งความรัก ที่มีชีวิตชีวา สวยงาม เป็นที่ปรารถนาของสรรพสิ่ง

เฝ้ามองต้นไม้นี้ด้วยความรัก ความเมตตา เป็นต้นไม้ที่เราภูมิใจ เราเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้นี้

จากนั้นให้ส่งภาพต้นไม้ เวียนไปทางขวามืออีกครั้ง ทุกคนมองภาพที่ได้รับแล้ว กระบวนกรกล่าวนำกิจกรรมต่อไปว่า ให้เราเฝ้ามองต้นไม้ที่อยู่เบื่องหน้า มันเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง และมั่นคง มันกำลังอกดอก ออกผล ดอกไม้ให้ความสดชื่น สวยงาม แก่ผู้ที่พบเห็น จากดอกกลายเป็นผล ผลไม้นี้เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ให้เราแต้มสีระบายดกอผลลงไป จากดอกและผลนี้จะก่อเกิดเป็นสิ่งไม่ชีวิตใหม่ในวันหน้า เฝ้ามองต้นไม้นี้ด้วนความรัก ความเมตตา ต้นไม้นี้เรามีส่วนสร้าง มีส่วนช่วยให้ต้นไม้นี้ออกดอก ออกผล

เวียนรูปไปทางขวามืออีกครั้ง มองต้นไม้ที่อยู่เบื่องหน้าเรา ต้นไม้นี้ช่างสวยงาม อุดมสมบูรณ์ ร่มเย็น แต่แล้วก็มีพายุพัดมาอย่างแรง มาทำร้าย ทำราย พายุที่โหมกระหน่ำ พัดพาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่เบื่องหน้าเรา พังทลายลง ให้เราแต้มสีระบายพายุลงไปในภาพต้นไม้นี้

เวียนรูปกลับคืนไปให้เจ้าของเดิม เฝ้ามอง พิจารณาดูว่า เราจะแต่งเติมอย่างไรต่อไป

กิจกรรมภาพวาดสะท้อนอะไรบ้าง
รู้สึกอย่างไร
- ตอนแรกเมื่อได้กระดาษ ได้ลงมือระบายสีที่บอกว่าเรากำลังแต่งแต้มพื้นดิจ และ จุดของเหล็ดพันธุ์ เรารู้สึกสบายๆ มีความหวังว่าเราจะเป็นผู้สร้างก่อกำเนิด รู้สึกดี ตั้งใจให้ได้ดี รู้สึกเหมือนกลับเป็นเด็กอีกครั้ง ผ่อนคลาย
- เมื่อตอนที่เราจำต้องวาดรูปต่อจากคนอื่น หลายคนรู้สึกกลัวว่าจะวาดของเพื่อนได้ไม่ดี เครียด ฝืนใจที่ต้องวาดรูปทับของคนอื่น บางคนพยายามทำของเพื่อนให้ดีที่สุด หลายคนเป็นห่วงภาพของตัวเองด้วยว่าเพื่อนจะทำอะไรกับภาพของเรา
สิ่งที่เราเรียนรู้ คือ
- สรรพสิ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆที่เกื้อหนุนกัน
- การอยู่ร่วมกันโดยมีการเกื้อกูลกัน ต้องมีความไว้วางใจต่อกัน ถ้าเราวางใจผู้อื่นว่าเขาจะทำงานให้ดีที่สุด เราจะคลายความกังวลงเรื่อยๆ งานแต่ละชิ้นไม่ใช่เกิดหรือเป็นผลจากเราคนเดียว แต่หลายคนมีส่วนร่วมในการสร้างงานด้วยทั้งสิ้น
- ถ้าหากงานมาถึงมือเรา แม้จะทำต่อจากคนอื่น เราควรอยู่กับปัจจุบัน คิดว่าภาพตรงหน้านั้นเป็นของเรา ทำให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ให้ดีที่สุด
- คิดว่าภาพนั้นยังคงดำรงอยู่ และภาพวาดนั้นเป็นของทุกคน ไม่ใช่ของใครคนไดคนหนึ่ง
- สบายใจคิดว่าทุกคนทำดีที่สุดภายใต้กติกาเดียวกัน

ตอนที่ต้องวาดพายุ หลายคนทำใจไม่ได้ ตกใจเล็กน้อย ไม่อยากทำลาย บางคนพยายามวาดไม่ให้เสียหายมาก ไม่ทำลายแต่พลิกสถานการณ์ให้ดีขึ้น มีเพลงมาเร่งเร้าให้ทำลาย รู้สึกมีพลังเพราะมีปัจจัยเกื้อหนุนในการทำลาย แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ


- มองเห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ให้เราคลายความกังวลมีความสุขมากขึ้น
- เห็นตัวตนมากขึ้น
- การทำลายที่เกิดจากธรรมชาติมักแฝงไปด้วยความปราณี มีมุมมองกับคำว่าการทำลายใหม่
- การทำลายกับการสร้างสรรค์จะอยู่เป็น วัฐจักร

ในชีวิตประจำวันกับการที่เรายึดติดกับบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นได้อย่างไร
- เพราะเราเป็นผู้สร้างสิ่งนั้นขึ้นมา
- เป็นสัญชาติญาณของชีวิต เกิดจาก – ความไม่รู้ที่คิดว่ามีของเรา – ทำเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยทั้งของตัวเอง ครอบครัว เผ่าพันธุ์ เพราะมีความกลัว ทำให้เราเลือกที่จะยึดบางสิ่งบางอย่างไว้
- การศึกษาการถูกสั่งสอนมา
- ระบบสื่อมวลชน การตลาด ระบบทุนนิยม ที่ส่งเสริมให้คนสร้างอัตลักษณ์ของตนที่เหนือกว่าคนอื่น
- คนเรามีการปรุงแต่งไม่รู้จักพอ
- วัฒนธรรมที่แยกตัวคนเดียว ไม่รวมเป็น สังฆะ
- เรามองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง(เพราะถูกบีดเบือนจากความจริง)
- มองไม่เห็นความเชื่อมโยง การเกื้อหนุนของสรรพสิ่ง



นอนผ่อนพักตระหนักรู้

กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลงและบทกวี



พิธีเฉลิมฉลองชีวิต
ชีวิตคนทำงานมักขาดความรื่นเริงในชีวิตทำให้ลางครั้งเรารู้สึกทุกข์ เราควรหาความสุขเล็กๆน้อยจากสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต จึงมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองให้ทุกคนได้มีส่วนในการสร้างสรรค์ความสุขมอบให้แก่กันและกัน ทุกคนในวงกิจกรรมผลัดกันนำเสนอกิจกรรมเพื่อความรื่นเริงในชีวิต คนหนึ่งนำเสนอการช่วยกันแต่งกลอนคนละประโยค วลี อีกคนนำเสนอเพลงร้อง ประกอบท่าเต้น ในวัยเด็ก ให้ทุกคนได้ลุกขึ้นมาบริหาร เคลื่อนไหวตัวเองไปรอบๆ

ขอสรุปท้ายด้วยภาพนี้ ทุกคนมีความสุขกันถ้วนหน้า ^^
(โดยเฉพาะพี่มัณ กินได้น่าอร่อยมากๆค้า)

เรียบเรียงโดย พี่อุ๊

โพสโดยนิ้งค่ะ

วันเสาร์, กรกฎาคม 15, 2549

โยคะ สภาวะอันผ่อนคลายเบาสบาย

กิจกรรมโยคะ เป็นกิจกรรมแรกของโครงการสื่อสารสรรค์ที่ช่วยคลายใจและคลายกายคนทำสื่อหลายๆ คน (ที่แน่ๆก็พี่ปิ่นคนหนึ่งแหละค่ะ)

จำได้ว่าเราไปค้าง รีสอร์ตที่มีทางเดินทอดยาวไปถึงห้องประชุม ไปเจอะไปเจอกับคุณครูหน้าใสๆ จากสถาบันโยคะวิชาการ



เริ่มด้วยกิจกรรมสันทนาการน่ารักๆ อย่างเกมส์ผูกผ้าพันคอ
ตามด้วยการทำความเข้าใจศาสตร์โยคะที่เชื่อมทั้งกายและจิต
เน้นผ่อนคลาย สบาย และไม่ฝืนตัวเองมากเกินไป

การทานข้าวปลาอาหารอย่างมีสติ


ท่าอาสนะต่างๆ


บวกกับ ล้างตาด้วยการเพ่งเทียน
การล้างจมูกด้วยน้ำผสมเกลือ และอื่นๆ อีกมากมาย
(ชอบรูปนี้มากค่ะ เพราะไม่ได้ลองทำ เห็นแล้วอเมซิ่งใจยิ่งยวด)

อื่นๆ อีกมากมาย และที่ลืมเสียไม่ได้คือชาสีชมพู ชื่อ สัพตางค ที่หอมๆ หวานๆ ติดใจไม่ว่าทริปไหนก็ได้กิน (ฮี่ๆๆ)

หลังจากทริปนั้น หลายคนก็ได้ฝึกฝนโยคะรายสัปดาห์ก่อนต่ออย่างเป็นล่ำเป็นสัน สุขภาพดีทั้งกายทั้งใจแบบนี้ อย่าลืมเอามาบอกเล่ากันบ้างนะคะ

จำรายละเอียดกิจกรรมได้น้อยไปหน่อย

ขออภัยนะคะ ^^