วันจันทร์, ตุลาคม 05, 2552

โครงการ “ศิลปะ ธรรมะ และธรรมชาติเพื่อครอบครัวเป็นสุข” 23-25 ตค 2552

โครงการ ศิลปะ ธรรมะ และธรรมชาติเพื่อครอบครัวเป็นสุข

ณ สวนสามพราน (The Rose Garden)

ระหว่างวันที่ ๒๓ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒

--------------------------------------------------------------------

ขอเชิญชวน คุณพ่อ คุณแม่ ท่านผู้ปกครอง และลูก ๆ หลาน ๆ ร่วมวงเรียนรู้เพื่อใช้พุทธธรรมนำชีวิตเป็นสุข ในโครงการ ศิลปะ ธรรมะ และธรรมชาติเพื่อครอบครัวเป็นสุขณ สวนสามพราน (The Rose Garden) จังหวัดนครปฐม ระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม 2552 นี้

ในช่วงเวลา 3 วัน 2 คืน ทุกท่านจะได้ร่วมกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว ผ่านกระบวนการกลุ่ม การใคร่ครวญภายในอย่างลึกซึ้ง จนสามารถเชื่อมโยงกับความจริงในชีวิตและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้

กิจกรรม อาทิ

· Awareness Walk เดินสติอย่างผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติของต้นไม้และสายน้ำที่สงบ สดชื่นในยามเช้า

· ใส่บาตร สวดมนต์ แผ่เมตตา ฝึกเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีสติ เสวนาธรรม สมาธิก่อนนอน

· รู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาผ่านนิทานธรรมะจากวิทยากรที่เชี่ยวชาญ

· ฟังธรรมบรรยายเรื่อง หลักชีวิต หลักชาวพุทธ โดยพระไพศาล วิสาโล สำหรับนำไปใช้เป็นแก่นแกนในการดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างเหมาะสม

· ตระหนักถึงคุณค่าแห่งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษผ่านกิจกรรมวิถีไทย เช่น ปรุลายไทย เหลียวหลัง แลราก ดำนา, ร้อยมาลัย, ทำขนมไทย, ปั้นดิน,รำกระทบไม้, วาดร่ม เป็นต้น

· เรียนรู้ความสัมพันธ์ของกายและใจ กับ ศิลปะสู่ธรรมะเพื่อการเข้าใจตนเองและผู้อื่น Contour Art (การวาดเส้นแบบสัมผัส) โดยอาจารย์ ผ่อง เซ่งกิ่ง อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร

· สนุกสนานกับเกมส์เจริญสติ ใบไม้สร้างภาพ ทำของเล่นจากใบไม้ สร้างภาพจากลูกโป่งก้านผักบุ้ง เป็นต้น

· เรียนรู้วิธีแสวงหาความสุขอย่างเรียบง่ายจากต้นไม้และสายน้ำ กับกิจกรรม ล่องเรือลุยสวน ข้ามฟากแม่น้ำนครชัยศรีไปวาดรูปและพักผ่อนในสวนอันร่มรื่น

· เข้าใจกันและกันให้มากขึ้นในครอบครัวกับกิจกรรม สื่อสารอย่างสันติ และ ฟังอย่างไรให้ได้ยิน

· และอื่น ๆ อีกมาก

รับสมัครเพียง 10 ครอบครัวเท่านั้ โดยแต่ละครอบครัวต้องมากัน 2-3 คน มีพ่อ แม่ หรือ ผู้ปกครอง และเด็ก ๆ อายุ ๘-๑๑ ปี (กระบวนการจัดสำหรับเด็กอายุไม่เกิน ๑๑ ปี) และสามารถพักค้างคืนและร่วมกิจกรรมพร้อมกันตลอดทั้ง ๓ วัน

สนับสนุนกิจกรรม ครอบครัวละ 4,500 บาท (2-3 คน)

ติดต่อสอบถามและสมัครเข้าร่วมโครงการ

มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว 02-954-2346-7 หรือ 081-773-9186

วันอังคาร, พฤษภาคม 26, 2552

คอร์สอบรมการดูแลรักษาตนเองโดยการแพทย์โฮมีโอพาธีย์

คอร์สอบรมการดูแลรักษาตนเองโดยการแพทย์โฮมีโอพาธีย์
โดยคุณหมอราโดมีร์ ฮิคล์ ดิพล์. โฮม (Dr. Radomir Hikl, Dipl.Hom.)

• โฮมีโอพาธีย์คือการแพทย์ที่ใช้ธรรมชาติเป็นยาในรูปแบบของคลื่นพลังงาน ช่วยเยียวยารักษาอาการผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา โดยกระตุ้นภูมิการรักษาของร่างกายเราเองให้ต่อสู้กับผลกระทบจากโรคและอาการต่างๆ

อบรม Beginner 1 วันที่ 5-6-7 มิถุนายน 2552 (วันที่ 8 คุณหมอรับปรึกษา)
อบรม Beginner 2 (สำหรับผู้ที่อบรมBeginner 1 แล้ว) วันที่ 9-11-12 มิถุนายน 2552
(วันที่ 13 คุณหมอรับปรึกษา)

สถานที่ ร้านอโณทัย (ซอยโรงพยาบาลพระรามเก้า) ชั้น 4
เวลา 9:30 – 16.30 น.

ค่าอบรม 3 วันเต็ม 4,500.00 บาท (รวมอาหารกลางวันและอาหารว่าง)

รับผู้เข้าอบรมจำนวน 20 ท่าน

กรุณาโอนเงินเข้า บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา พระราม9
บัญชีออมทรัพย์ ชื่อ อโณทัย ก้องวัฒนา # 066-230169-8 และFAXสลิบ pay-in มาที่ 02-6415365

เกี่ยวกับคุณหมดราโดมีร์ ฮิคล์ ดิพล์. โฮม

ราโดมีร์ ฮิคล์ ดิพล์ . โฮม รับปริญญาทางการแพทย์สาขาโฮมีโอพาธีย์ จากบริโน สาธารณรัฐเชคฯ และเป็นสมาชิกของ สมาคมการแพทย์โฮมีโอพาธีย์ของ CLHS สาธารณรัฐเชคฯ คุณหมอได้ปฏิบัติงานเป็นแพทย์โฮมีโอพาธีย์แนวคลาสิคมาเป็นเวลาหลายปี

เมื่อปี 2546 คุณหมอได้เข้ามาทำการรักษาอยู่ที่คลินิกธรรมชาติบำบัดบัลวีที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยทั้งที่กรุงเทพฯ และที่เชียงใหม่

ในเดือนพฤษภาคม 2547 ท่านได้เริ่มโครงการการศึกษาการแพทย์แนวโฮมีโอพาธีย์ขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยการถ่ายทอดวิชาโฮมีโอพาธีย์แนวคลาสิค ให้แก่กลุ่ม แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางด้านสาธารณสุขฯ ที่มาจากชุมชนพุทธสถานสันติอโศก

คุณหมอราโดมีร์ ได้บรรยายเกี่ยวกับวิชาโฮมีโอพาธีย์แนวคลาสิค ในมหาวิทยาลัยคณะต่างๆทั่วประเทศไทย และตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ก็ได้สอนวิชาโฮมีโอพาธีย์ หลักสูตรสองปี แก่ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งจัดโดยกองการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

ท่านได้เดินทางไปที่เมืองมุมไบ ประเทศอินเดียเสมอ และได้ทำการรักษาที่คลินิกโฮมีโอพาธีย์ ร่วมกับนายแพทย์ ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ฟาร๊อกที่มีชื่อเสียง และมีการศึกษาเพิ่มเติมจากดอกเตอร์วิลล์ ไทเลอร์ และนายแพทย์โฮมีโอพาธีย์ที่น่านับถืออื่นๆ

ในปัจุบันท่านอาศัย ทำงาน และทำการสอนอยู่ ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

เข้าใจเรื่องโฮมีโอพาธีย์
“การแพทย์โฮมีโอพาธีย์ ได้รักษาผู้คนมาจำนวนมากกว่า เมื่อเทียบกับการบำบัดรักษาแนวอื่นๆ” มหาตมะคานธี

โฮมีโอพาธีย์เป็นวิธีที่ใช้ในการบำบัดรักษา ที่มีพื้นฐานอยู่บนกฎธรรมชาติแห่งการเยียวยา ที่เรียกว่า “สิ่งที่คล้ายคลึงกันจะรักษาสิ่งที่คล้ายคลึงกันได้”

ความจริงของกฎข้อนี้ถูกทำให้เป็นที่รู้จักขึ้นใหม่ในปี 1796 โดยแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ ดร.แซมมวล ฮาเนมานน์ ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างปี 1755-1843 และการรักษาแนวโฮมีโอพาธีย์ก็ได้รับการพิสูจน์ทั้งโดยการทดลองและทั้งทางคลินิกเป็นเวลามากกว่า 200 ปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน

ท่านได้ค้นพบว่าสสารต่างๆในธรรมชาติที่ก่อให้เกิดอาการป่วยไข้ใดๆในคนแข็งแรงปกติ จะสามารถรักษาอาการป่วยไข้ที่คล้ายคลึงกันได้ในคนป่วยกล่าวได้อีกอย่างก็คือ ยาโฮมีโอพาธีย์จะทำงานโดยมีพื้นฐานอยู่บนความคล้ายคลึงกันของอาการที่ยาก่อให้เกิดในคนปกติ กับอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วย ซึ่งนี้ก็คือหลักแห่งความคล้ายคลึง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่ทั่วไปแล้วก่อนยุคของนายแพทย์ฮานีมานน์

“สิ่งที่คล้ายคลึง จะรักษาอาการที่คล้ายคลึงได้” ท่านได้ศึกษาคุณสมบัติของความเป็นพิษของสารเคมีจำนวนมากมาย เช่น สารหนูและปรอท ฯลฯ และท่านก็ค้บพบว่า ทุกๆสิ่งล้วนแต่มีพิษไม่มากก็น้อย ความเป็นพิษไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ยังขึ้นอยู่กับปริมาณที่เราใช้มันด้วย ท่านเป็นผู้กล่าววลีที่ว่า “ปริมาณที่ใช้เพียงอย่างเดียว ก็ทำให้เกิดพิษแล้ว” แต่นายแพทย์แซมมวล ฮานิมานน์เป็นผู้ที่ให้นามการรักษาแบบนี้ว่า โฮมีโอพาธีย์ และได้พัฒนาการแพทย์แนวนี้ขึ้นมาเป็นระบบในการเยียวยารักษา สาระบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในพืช มีความคล้ายคลึงกับสาระบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในโรค ในอวัยวะหรือในโครงสร้างพื้นฐานของบุคคล ซึ่งทำให้เหมาะที่จะนำพืชนั้นๆมาใช้เป็นยา

การนำกฎ “ความคล้ายคลึงรักษาอาการที่คล้ายคลึง” มาใช้ ท่านได้ให้สารเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้ ในทิศทางเดียวกันกับที่โรคกระทำ เป็นการสร้างอาการต่างๆขึ้นในรูปแบบที่อ่อนโยน แล้วท่านก็พบว่านี่เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิในการปกป้องตนเองตามธรรมชาติของผู้ป่วย แพทย์โฮมีโอพาธีย์ มองอาการของโรคว่า เป็นความพยายามของร่างกายที่จะฟื้นคืนตนเองให้กลับสู่ความมีสุขภาพดี เป้าหมายการรักษาของแพทย์ในแนวนี้ ไม่ใช่อยู่เพียงการคุมกดอาการไว้อย่างง่ายๆ เหมือนแพทย์กระแสหลัก แต่จะเป็นการรักษาปัญหาที่ต้นตอของการเป็นโรค การทำงานของยาโฮมีโอพาธีย์ ไม่ใช่เป็นเพียงการกดอาการของโรคเอาไว้ แต่จะเป็นการกระตุ้นพลังในการรักษาตนเองตามธรรมชาติของร่างกาย ให้เข้าใจถึงอาการต่างๆที่เกิดขึ้นมากกว่า

ยกตัวอย่างเช่น ตำรับยาที่ทำจากหัวหอมซึ่งการแพทย์โฮมีโอพาธีย์เรียกว่าอัลเลี่ยม เซปา Allium Cepa จะมีความสามารถในการก่ออาการที่คล้ายคลึงกับอาการหวัดขึ้นได้ เช่น น้ำมูกไหล อาการจาม น้ำตาไหล ระคายเคือง ภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ เช่นอาการแพ้ละอองเกสร ดังนั้นถ้าสิ่งที่คล้ายคลึง ก่อให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกันได้ อาการที่คล้ายคลึงกันก็ย่อมรักษาอาการที่คล้ายคลึงกันได้

พูดง่ายๆว่า ถ้าหัวหอมสามารถก่อให้เกิดอาการที่คล้ายคลึงกับหวัด อาการจามหรือแม้แต่อาการคล้ายการแพ้ละอองเกสรได้ ดังนั้นถ้านำหัวหอมมาเจือจาง ผ่านกระบวนการกระแทกให้เกิดเป็นความแรงของยา จะสามารถรักษาอาการเช่นนี้ได้ด้วย แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่สามารถปิดกั้นการรักษาไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของโรคเรื้อรัง แต่ในขั้นนี้เราจะเพียงมุ่งเน้นที่การรักษาโรคเฉียบพลันเท่านั้น

ร่วมแลก แจก ซื้อ ขาย ในพื้นที่ของนักอ่านพบนักอ่าน

เชิญร่วมซื้อ ร่วมขาย แจก แลก หนังสือมือสองของตัวเองที่อ่านแล้วหรือซื้อเก็บไว้

ในงาน หนังสือของนักอ่าน

19-21 มิถุนายน 2552

ณ สำนักงานมูลนิธิเสฐียรโกเศศนาคะประทีป สวนเงินมีมา (ใกล้ซอยเจริญนคร 22 )

เพื่อร่วมสร้างพื้นที่นักอ่านพบนักอ่านและร่วมสร้างตลาดหนังสือในอีกรูปแบบ

พบหนังสือหลากประเภท ทั้งวิชาการ ประวัติศาสตร์ นิทาน วรรณกรรมเยาวชน สุขภาพ วรรณกรรมไทย วรรณกรรมต่างประเทศ แนวคิดทางธุรกิจ ปรัชญา ปาจารยสาร เสขิยธรรม ฯลฯ คละเคล้าไปกับกิจกรรมเสวนาดีๆ ดนตรี ละคร และเวิร์คชอปเพื่อการพัฒนาทางใจ

ตัวอย่างหนังสือบางส่วน

ความฝันของไอน์สไตน์ , นิยายรักข้ามศตวรรษ , ปีนตลิ่ง , ดวงตาแห่งธิเบต , ซินจ่าวเวียดนาม , คู่มือแปลข่าว , ความสุขของมะลิ , Animal Farm ,อลิซ ผจญภัยในแดนมหัศจรรย์ ,ใครๆก็อยากมีร้านหนังสือ, จากย่างกุ้งสู่ราชบุรี บทเรียนเพื่อสันติภาพ , สหายต่างวัย , ใครเอาเนยแข็งของฉันไป , สายลม แสงแดด , ใจดวงร้าว ฯลฯ

กำหนดการ

19 มิ.ย. 52

12.00 น. เปิดร้านหนังสือ

14.00-16.00 น. เสวนา เปิดโลกอักษรจากมุมมองนักอ่าน

18.00 – 19.00 น. ดนตรีสบายๆยามเย็น

20 มิ.ย. 52

12.00 น. เปิดร้านหนังสือ

14.00-16.00 น. เสวนา อำนาจนักอ่าน : หรือเป็นเพียงอุดมคติของนักฝัน ?

17.00 – 18.00 น. Workshop ปัญจลีลา (ผู้สนใจสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงหน้างาน)

18.00 – 19.00 น. ดนตรีจากวง ของเรา

21 มิ.ย. 52

9.00 - 10.00 น. เปิดร้านหนังสือ

17.00 – 18.00 น. ละครสั้นๆ หรือศิลปะแสดงสด

18.00 – 19.00 น. ดนตรีจากวงสลึง

แผนที่การเดินทางมาสถานที่จัดงาน

รถไฟฟ้า BTS ขึ้นรถไฟฟ้า BTS ไปลงสถานีสะพานตากสินแล้วข้ามเรือไปฝั่งตรงข้าม (ฝั่งคลองสาน) แล้วนั่งมอเตอร์ไซด์รับจ้าง บอกว่าไปมูลนิธิตรงข้ามปั๊มเชลล์
เรือด่วน ลงท่าเรือสาธร (ท่าเดียวกับสถานีรถไฟฟ้า BTS ตากสิน) แล้วข้ามฟากไปยังฝั่งตรงข้าม (ฝั่งคลองสาน) นั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างต่อเช่นกัน
เดิน นั่งเรือข้ามฝากมาฝั่งคลองสานเช่นเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าและเรือด่วน แล้วเดินเลียบถนนเจริญนครไปทางซ้ายมือ เดินไปเรื่อย ๆ สวนเงินมีมาอยู่ฝั่งตรงข้ามของถนน ใกล้ซอยเจริญนคร 22 ปากทางเข้าเป็นร้านซ่อมรถ หรือ สังเกตจากปั๊มเชลล์ ฝั่งตรงข้ามปั๊มคือสวนเงินมีมา

รถประจำทาง สาย 6 , 111 , 88 , 89

องค์กรร่วมจัด

ร้านของเรา , มูลนิธิเสฐียรโกเศศ นาคะประทีป , กลุ่ม we change

ติดตามรายชื่อหนังสือได้ที่เว็บไซต์www.semsikkha.org , www.wechange555.com และแจ้งความประสงค์นำหนังสือมาขาย แลก หรือแจก ได้ที่เบอร์ 084-662-8062 (วันนี้ถึง 30 พฤษภาคม 2552)

เยียวยาผู้ดูแลผู้ป่วย (Caring the Careers)

เยียวยาผู้ดูแลผู้ป่วย 1 (Caring the Careers 1)
ครั้งที่ 1 วันที่ 30-31 พฤษภาคม 2552 เวลา 09.00-17.00 น.
ครั้งที่ 2 วันที่ 27-28 มิถุนายน 2552 เวลา 09.00-17.00 น.
สถานที่ ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา เจริญนคร 20-22

การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังอาจถือเป็นวิกฤต แต่ก็อาจเป็นโอกาสสำหรับการเรียนรู้ความหมายของชีวิต การคลี่คลายความสัมพันธ์ ไปจนถึงการยกระดับจิตวิญญาณ
แต่เรามักพบว่าบนเส้นทางของการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องง่ายที่เราจะประคับประคองตนให้มีความสุขและเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงเป็นอีกผู้หนึ่งที่ต้องการความเอาใจใส่ดูแลไม่แพ้ตัวผู้ป่วยเอง เพื่อให้มีพลังสร้างคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ที่ดีจากความเจ็บป่วย

ขอเชิญชวนผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้ที่สนใจ ปล่อยวางภาระหน้าที่ลงชั่วคราว ปลดปล่อยความทุกข์ความเครียด เปิดพื้นที่ให้ตนเองได้สงบ ผ่อนคลาย และมาร่วมมอบของขวัญให้ตนเองด้วยการหันหลับมาทบทวนคุณค่าภายในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ฟื้นฟูพลังที่ถดถอย และเติมกำลังใจให้กันและกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับกัลยาณมิตร การภาวนา การเคลื่อนไหว ศิลปะ และกิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยให้เข้าถึงความสุข สงบ และสันติภายใน เพื่อคืนกลับความสมดุลภายในและเสริมสร้างพลังในการดูแลผู้ป่วยอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

วิทยากร วรรณา จารุสมบูรณ์ และคณะ (จากโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ)

รับสมัคร จำนวน 30 ท่าน (เหมาะกับผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย หรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และผู้สนใจทั่วไป)

บริจาค ครั้งละ 1,000 บาท (ไม่ร่วมค่าอาหารกลางวัน) โอนเงินเข้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอมรินทร์ ประเภทออมทรัพย์ ชื่อบัญชี เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย เลขที่ 157-1-17074-3 และแฟกซ์สลิบใบโอนเงินพร้อมชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ระบุว่าสมัครอบรมเยียวผู้ดูแลผู้ป่วยครั้งใด มาที่โทรสาร 02-883-0592

สอบถาม เครือข่ายพุทธิกา ณพร นัยสันทัด
02-883-0592, 02-886-9881, 085-917-7264

กำหนดการ
วันแรก 09.00-10.00 น. ทำความรู้จัก
10.00-10.15 น. อาหารว่าง
10.15-12.00 น. พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องความคาดหวัง
12.00-13.15 น. อาหารกลางวัน
13.15-13.45 น. กิจกรรมผ่อนคลาย
13.45-15.30 น. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย
15.30-15.45 น. อาหารว่าง
15.45-17.00 น. กิจกรรม The letter

วันที่สอง 09.00-10.00 น. Body movement
10.00-10.15 น. อาหารว่าง
10.15-12.00 น. คลี่คลายปัญหาในการดูแลผู้ป่วย
12.00-13.15 น. อาหารกลางวัน
13.15-13.30 น. กิจกรรมสร้างสรรค์
13.30-15.30 น. ภาวนาผ่านศิลปะลายเส้น
15.30-15.45 น. อาหารว่าง
15.45-17.00 น. โปสการ์ดสื่อรักจากใจ

หมายเหตุ: กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
โดย เครือข่ายพุทธิการ่วมกับเสมสิกขาลัย

วันอาทิตย์, เมษายน 26, 2552

ข้ามฝั่งแค้น การเดินทางแห่งความหวัง


เขียน ลอร่า บลูเมนเฟลด์
แปล อนิตรา พวงสุวรรณ โมเซอร์
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
ราคา 350 บาท

“คุณถูกทำให้เจ็บ คุณจะทำอย่างไร จะหันแก้มอีกข้างให้ตบหรือจะใช้วิธีตาต่อตา”

สัญชาตญาณของมนุษย์นั้นไม่ต่างจากสัตว์ เรามักจะผูกใจเจ็บเมื่อถูกใครทำให้เสียใจ โกรธเคืองหรือละอายขายหน้า ผิดแต่ว่าจิตใจของมนุษย์ซับซ้อนยิ่งกว่า ทั้งเสี้ยมสอนกล่อมเกลาให้จิตสูงกว่าเดิมได้และกดให้เตี้ยต่ำโง่เขลากว่าสัตว์ก็ยังได้

ลอร่า บลูเมนเฟลด์ เดินทางไกลเกือบครึ่งค่อนโลกนับจากอเมริกา ยุโรป ถึงตะวันออกกลาง หวังจะใช้อาชีพนักข่าวหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์สืบเสาะเรื่องราวเกี่ยวกับการแก้แค้น เพื่อไปให้ถึงจุดหมายสำคัญคือ การได้เผชิญหน้ากับมือปืนที่พยายามปลิดชีวิตพ่อของเธอ ณ ดินแดนปาเลสไตน์

ทว่าระหว่างทางที่ปกคลุมไปด้วยเงามืดครอบงำความรู้สึกนึกคิด แสงสว่างแห่งการให้อภัยบังเกิดเป็นทางแยก ฉันกำลังมองหาคนที่ยิงพ่อ แต่ก็กำลังมองหาแสงสว่างทางปัญญาบางอย่างด้วย

สำหรับลอร่า การได้ทำความรู้จักโอมาร์ผ่านการโต้ตอบไปมาทางจดหมาย ทำให้เธอเรียนรู้อะไรบางอย่าง เขาไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายที่โหดเหี้ยมพอจะเหนี่ยวไกปืนฆ่าชาวยิวหรือนักท่องเที่ยวอเมริกันอย่างไม่เลือกหน้า ตรงกันข้ามโอมาร์เป็นคนหนุ่มจิตใจอ่อนไหว ฉลาด และเต็มไปด้วยความสามารถ

เขายอมรับความผิดพลาดที่ทำลงไปในอดีต ความเชื่อมั่นในอุดมการณ์ว่าความรุนแรงต้องตอบสนองด้วยความรุนแรงสะท้อนความเบาปัญญาและความเยาว์วัย ทั้งยังกล้าหาญพอที่จะเอ่ยคำขอโทษอย่างสมศักดิ์ศรี

“ผู้คนต่างไปเป็นคนละคนเมื่อเราเปิดโอกาสให้ตัวเองทำความรู้จักกับพวกเขาใกล้ชิดขึ้น”

ทุกวันนี้เราต่างต้องเจอกับคำถามเรื่องการแก้แค้นในหลายประเทศทั่วโลก เสมือนลืมเลือนไปแล้วว่าศรัทธาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์เป็นดั่งประตูสู่สันติภาพ

การดับแค้นด้วยการให้อภัยไม่ใช่แค่นิทานก่อนนอนกล่อมโลกมืด หากแต่เราต้องเลือกเชื่อว่าโลกนี้ยังมีความดีงามอยู่ ประกายแห่งความหวังยังรอวันสาดส่อง

วันพุธ, มีนาคม 11, 2552

รักกันผ่านเพลงชาติ

เรียนรู้ความเป็นพี่เป็นน้องกันในโลก ผ่านการร้องเพลงชาติของคนอื่น

เพื่อนคนหนึ่งส่งคลิปวิดีโอดี ๆ มาให้ เป็นภาพชาวเคนยาจากหลากเผ่าหลายชนชั้น มาร้องเพลงชาติอินเดีย เพลงเพราะ (เพราะร้องโดยนักร้องประสานเสียง) ภาพทิวทัศน์สวย

ในประเทศเคนยามีชาวอินเดียอยู่กว่า 2 ล้านคน เป็นผู้อพยพมาทำงานตั้งแต่สมัยอาณานิคมอังกฤษสร้างรถไฟในแอฟริกาตะวันออก (ในสมัยนั้น ท่านคานธีไปแอฟริกาใต้)

นี่เป็นหนึ่งในโครงการที่ผู้กำกับภาพยนต์ต้องการนำเสนอ เผื่อว่าเราจะรับรูู้โลกต่างไปจากเดิม

ในประเทศไทย มีแรงงานพม่ากว่าล้านคน ลาวและเขมรอีกมาก เราเคยได้ยิน ได้ฟังเพลงชาติของเพื่อนบ้านไหม

คนไทยเคยคิดจะร้องเพลงชาติพม่า ลาว เขมรหรือเปล่า

ถ้าเราเรียนรู้ที่จะร้องเพลงชาติของกันและกัน เราจะรู้สึกต่อกันต่างไปไหม จะรักกัน เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้้นไหม

ไม่รู้ว่า งานประชุมอาเซียนที่ผ่านไป มีการให้เราร้องเพลงชาติอื่นไหม เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี




Leading film-makers are seeking to change the way we think about other countries. This is one of a powerful series of films to be shown on Pangea Day, May 10, "the day the world comes together through film".

See all six anthems. Then visit http://www.pangeaday.org and register your screening for May 10. It's time to imagine a different world.

Here, set against the backdrops of Nairobi city and the beautiful landscape of Uhuru Park (Maasai country), a Kenyan choir sings the Indian national anthem.

The director has chosen the Indian anthem because Kenya is home to a sizeable Indian population (including Sikhs & Jains also) of approximately 2.5 million, most of them descendants of the East African Railways labourers who were brought over by the British during the late 19th and early 20th centuries when the British colonialists ruled Kenya and the rest of the East African region.

วันจันทร์, มีนาคม 09, 2552

ตลาดเขียวบนตึกสูง




"เราเป็นสิ่งที่เรากินเข้าไป" และอยากขอเติมว่า เราเป็นดังวิธีการที่เรากินด้วย

You are what you eat (and how you eat it).


ถ้าเช่นนั้น คนเมืองอย่างเรา ๆ คงเป็นสารพิษและขยะ เพราะสิ่งที่เรากิน ดื่ม เจือปนด้วยสารพิษนานาชนิด และวิถีชีวิตแบบเร่งรีบทำให้เราจำต้องด่วนแดกเป็นประจำ

จะหาอาหารที่ปลอดภัยได้ที่ไหน จะหาคนปรุงอาหารจะใส่ใจกับสุขภาพผู้ซื้อกินได้จากไหน และเราจะหาเวลาค่อย ๆ ละเลียดลิ้มรสอาหารเพื่อสุขภาวะของเราได้อย่างไร

เวทีสร้างสุข สสส.จับมือกับเครือข่ายตลาดสีเขียว เปิดตัวกิจกรรม “ตลาดสีเขียวบนตึกสูง” ที่จะจัดขึ้นทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ ๑ และ ๓ ของเดือน ณ ลานกิจกรรม ชั้น ๓๕ อาคารเอส. เอ็ม.ทาวเวอร์ โดยเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป

ในวันทำการ ตลาดสีเขียวบนตึกสูงเริ่มเปิดเวลา ๑๑.๐๐ น. และตลาดวายตอน ๑๗.๓๐ น. ซึ่งผู้สนใจสามารถเลือกซื้อหาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเครือข่ายตลาดสีเขียวได้ รวมทั้งยังเป้นโอกาสให้ผู้บริโภคได้รู้จักกับผู้ปลิตโดยตรงด้วย เพื่อเพิ่มสายใยสัมพันธ์ของความห่วงใยกันและกัน

และในช่วงกิจกรรมเปิดตลาดในวันที่ ๒ มีนาคมที่ผ่านมา เวทีสร้างสุขหาสาระมาเติมสมองของเราด้วยการเสวนา “ตลาดเขียว เกษตรอินทรีย์ กับวิถีผู้บริโภคคนเมือง”

คุณพฤติ เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งบริษัทแดรี่โฮม เจ้าของผลิตภัณฑ์นมอินทรีย์ตราแดรี่โฮม ในฐานะตัวแทนเครือข่ายตลาดสีเขียว เล่าถึงความเป็นมาของการรวมตัวกันของกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตนมอินทรีย์ว่า เป็นการแสวงหาทางเลือกเพื่อลดแรงกระทบจากธุรกิจนำเข้านมจากต่างประเทศ หลายปีที่ผ่านมานมนำเข้ามีราคาถูกกว่านมที่ผลิตในประเทศ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมประสบปัญหาด้านการจำหน่ายเพราะไม่สามารถผลิตนมที่มีราคาต่ำกว่าได้

ในมุมมองของคุณพฤติ ทางรอดของเกษตรกรจึงไม่ใช่การแข่งขันด้านราคา แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพให้ดีกว่า จึงเป็นที่มาของนมอินทรีย์ ที่งดเว้นการใช้เคมีทุกชนิดในฟาร์ม เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงโคนมให้เป็นไปตามวิถีธรรมชาติ เลี้ยงวัวให้เป็นวัวไม่ใช่เครื่องจักรผลิตนม ที่ต้องควบคุมการผลิตหรือฉีดสารเร่ง แน่นอนว่าผลผลิตย่อมลดลง แต่ผลดีที่ตามมาถือว่าเกินคุ้ม ดังที่ คุณพฤติ กล่าวไว้ว่า

“หลังจาก ๓ เดือนผ่านไปเกษตรกรบอกว่าดี ทำงานน้อยลง มีเวลาทำอย่างอื่นมากขึ้น วัวที่เคยเจ็บป่วยบ่อยๆ ก็ไม่ป่วย ผู้เลี้ยงก็มีสุขภาพจิตดีขึ้น รายได้น้อยลงแต่เหลือเก็บมากขึ้น จากเดิมได้เดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เหลือเก็บ ๑๐,๐๐๐ – ๒๐,๐๐๐ บาท บางเดือนก็ไม่เหลือเพราะต้องจ่ายค่ายา ค่ารักษาวัวป่วย แต่พอเปลี่ยนมาเลี้ยงแบบตามธรรมชาติ วัวไม่เคยป่วย ถึงแม้จะได้แค่เดือนละ ๘๐,๐๐๐ บาท แต่รายจ่ายก็ไม่ค่อยจะมี”

ส่วนกิจกรรมขับเคลื่อนตลาดเกษตรอินทรีย์คุณพฤติบอกว่า สิ่งที่ทำอยู่แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่คุ้มค่าทางธุรกิจแต่ต้องช่วยกันทำ ทำแ ล้วต้องไม่เลิก เพื่อจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

ทางด้านคุณธวัชชัย โตสิตระกูล รองประธานกรรมการมูลนิธิสายใยแผ่นดิน ในฐานะตัวแทนผู้บริโภคคนเมือง ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานกว่า ๑๖ ปี ในการทำงานด้านเกษตรอินทรีย์ ทั้งในบทบาทผู้จำหน่ายและส่งเสริมการผลิต เล่าถึงสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ในสังคมไทยว่า ปี ๒๕๓๖ ที่เริ่มทำตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์นั้น มีคนจำนวนน้อยมากที่เข้าใจว่าเกษตรอินทรีย์คืออะไร และยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างคำว่าปลอดสารพิษ ไร้สาร และเกษตรอินทรีย์ บางคนเข้าใจว่า ปลอดภัยจากสารพิษดีที่สุด ซึ่งในความเป็นจริง คำว่า “ปลอดสาร” หรือ “ไร้สาร” เป็นเพียงการไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แต่ในกระบวนการปลูกยังคงใช้ปุ๋ยเคมีอยู่

ปัจจุบันการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์กว้างขวางมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแวดวงองค์กรพัฒนาภาคเอกชน แต่ยังมีภาคธุรกิจเข้ามาร่วมด้วย เช่น สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย ซึ่งมีองค์กรธุรกิจเป็นสมาชิกเกือบ ๑๐ องค์กร ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีในแง่ของการขยายตัวของกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการ ทำให้คนเข้าใจเกษตรอินทรีย์กว้างขวางขึ้น แต่ก็ยังถือเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ ส่วนสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ คุณธวัชชัยเล่าจากประสบการณ์ในอดีตถึงปัจจุบันว่า

“หลังจากมูลนิธิฯ ทำงานส่งเสริมเกษตรกรประมาณ ๑๓ กลุ่ม ใน ๑๘ จังหวัด ผลผลิตที่ได้มูลนิธิฯ จะมีการรับประกันและรับซื้อในนามของสหกรณ์กรีนเนท เพื่อนำมาจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยสัดส่วนการส่งออกจะสูงกว่าการขายในประเทศ คือส่งออก ๘๐% ขายในประเทศ ๒๐% ตลาดในต่างประเทศมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องและโตเร็วกว่าการเกษตรทั่วไป ยกเว้นปีนี้ที่กำลังซื้อลดลงเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ”

จากสถานการณ์ที่ตลาดรับซื้อในต่างประเทศลดลงในปีนี้ จึงน่าจะเป็นผลดีต่อการหันมาส่งเสริมการทำตลาดภายในประเทศ ให้คนไทยนิยมบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์มากขึ้น

คุณธวัชชัยยังมีข้อเสนอต่อการดำเนินงานด้านการตลาดที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภคคนเมืองว่า ควรติดต่อให้หน่วยงานในระดับนโยบายรับซื้อผลิตภัณฑ์จากเครือข่ายโดยตรงแล้วจำหน่ายต่อให้กับลูกค้าตามจำนวนที่มีการสั่งซื้อ เพื่อลดภาระให้ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ผลิตไม่ต้องลงทุนมาเร่ขายเอง และควรเปิดร้านอาหารของเครือข่าย โดยใช้วัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ล้วนๆ แม้ต้นทุนจะสูงก็ต้องยอมรับกำไรที่น้อยลง เพื่อให้คนสนใจบริโภคมากขึ้น

ในส่วนภาครัฐ คุณสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงานสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ก็ให้ความสำคัญต่อเกษตรอินทรีย์ในแง่ที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ “Green” ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับเกษตรอินทรีย์ได้ ผ่านโครงการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหลายโครงการ อาทิ สวนลอยฟ้า ที่มีการปลูกพืชผักสวนครัวโดยใช้ปุ๋ยหมักจากขยะ ซึ่งเติบโตดีมากจนสามารถส่งขายให้เลมอนฟาร์มได้ การรณรงค์ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การรวบรวมน้ำมันพืชใช้แล้ว และการส่งเสริมให้โรงเรียนหมักเศษขยะอาหาร แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์โดยตรง แต่ก็เป็นเรื่องที่ส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของคนเมืองที่ควรสื่อสารไปยังคนเมืองเพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักให้มากขึ้น

“เครือข่ายตลาดสีเขียวพยายามจะช่วยเหลือผู้บริโภคให้ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย แต่บางทีผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ที่ต้องตัดสินใจเลือกก็ไม่มีความรู้ประกอบการตัดสินใจ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสารให้มากขึ้น องค์กรภาครัฐเองก็ต้องเข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือ และที่สำคัญคือการรวมตัวกันให้เข้มแข็ง”

ฝ่ายนักวิชาการ ผศ.ดร.โอปอลล์ สุวรรณเมฆ จากภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้กล่าวถึงคำว่า “green product” ใน ๒ แนวทาง คือ green product ที่เป็นตัวผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เช่น นมแดรี่โฮม กับ green product ในรูปแบบของการประหยัดพลังงาน เช่น การมุ่งลดภาวะโลกร้อน

จากการทำงานวิจัย ผศ.ดร.โอปอลล์ กล่าวว่า หลักวิชาการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ปลอดภัยจากสารเคมีนั้น ไม่สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติ เพราะเมื่อผลผลิตโตเต็มที่เกษตรกรจะต้องรีบเก็บทันทีก่อนที่แมลงจะมากัดกิน ไม่สามารถรอจนถึงระยะที่ผลผลิตจะสะอาดปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงที่ใส่ไปแล้วได้ ผลผลิตที่นำมาขายในตลาดจึงแฝงไว้ด้วยยาฆ่าแมลงและสารฟอร์มาลีน ซึ่งในเมืองไทยไม่มีมาตรการควบคุมที่ดีพอ ผู้บริโภคต้องระมัดระวังด้วยตนเอง การหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยมากกว่า

“วิถีชีวิตการบริโภคของคนในสังคมเปลี่ยนไปมาก การจัดตลาดนัดก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ง่ายขึ้น ถึงแม้จะไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการมาออกร้านแต่ละครั้ง แต่ก็ช่วยในแง่ของการประชาสัมพันธ์ได้ดี เป็นรูปแบบที่มีชีวิตชีวาและมีสีสัน จุดสำคัญคือต้องดึงกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาหาให้ได้ ซึ่งคิดว่าลูกค้าของตลาดเขียวมีอยู่ ๔ กลุ่มคือ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มคนชั้นกลาง” ผศ.ดร.โอปอลล์ แสดงทัศนะต่อตลาดเขียวบนตึกสูง

อย่างไรก็ตาม ในวิถีทางของธุรกิจ ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ยังจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก เพียงแต่ต้องไม่ลืมที่จะทำตลาดภายในประเทศด้วย ดังที่ ผศ.ดร.โอปอลล์ กล่าวว่า

“ในระยะสั้นและระยะกลางการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จะยังอยู่ในระดับดี แต่ในระยะยาวก็ต้องหันมามองสังคมเราด้วย เพราะมาตรฐานการส่งออกต่างประเทศจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น ภาชนะบรรจุต้องทำให้ย่อยสลายได้ง่ายในช่วงเวลาสั้นๆ”

แม้การสร้างตลาดผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์จะเป็นเรื่องยาก แต่การส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์กลับเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า ดังนั้นความพยายามของเครือข่ายตลาดสีเขียวที่จะนำผู้ผลิตตามแนวทางเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยมาพบกับผู้บริโภค จะเป็นหนทางที่ช่วยเพิ่มความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัยได้ ซึ่งจะย้อนกลับไปสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ผลิต ให้หันมาผลิตตามแนวทางนี้ได้มากขึ้นด้วย

ทางเครือข่ายตลาดสีเขียวจึงยังคงมุ่งมั่นจะดำเนินการตามวิถีตลาดสีเขียวต่อไป เพราะเชื่อว่า วิถีนี้คือความยั่งยืนของการดูแลสุขภาพ ไม่เฉพาะมิติทางกายเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณด้วย
...........................
กิจกรรมตลาดสีเขียวบนตึกสูง
จะจัดขึ้นทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ ๑ และ ๓ ของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๒
ณ ชั้น ๓๕ ตึกเอส.เอ็ม.ทาวเวอร์ (ตรงข้าม ททบ.๕ สนามเป้า) เริ่มเปิดตลาดตั้งแต่ ๑๑.๐๐ น. และปิดตลาดในเวลา ๑๗.๓๐ น.

หากผู้บริโภคท่านใดสนใจ หรือ ผู้ประกอบตึกสูงในกรุงเทพฯ สนใจให้เครือข่ายตลาดสีเขียวไปร่วมออกร้าน
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ๐๒-๒๒๒๕๖๙๘ , ๐๒-๖๒๒๐๙๕๕ , ๐๘๙-๘๙๒๑๗๙๑

“วิชา... ที่โรงเรียนไม่ได้สอน"











เราใช้เวลา 14-20 ปีในการศึกษาเล่าเรียน ตั้งแต่เตรียมอนุบาลไล่ไปจนถึงปริญญาเอก

เรียนมาก ... สุขมากขึ้นด้วยหรือไม่

เมื่อสังคมให้คุณค่ากับปริญญาและการศึกษาสูง ๆ เราเคยถามตัวเองไหมว่า

เราเรียนหนังสือไปมาก ๆ เพื่ออะไร
ตำรา ใบปริญญา ให้อะไรกับชีวิตบ้าง มีความสุข ความสงบในนั้นบ้างไหม
ท้ายที่สุด การเรียนตอบโจทย์ชีวิตของเราอย่างไร

เราได้พูดคุยประเด็นต่างๆดังที่กล่าวมาแล้ว ในการเสวนา “วิชา...” ที่โรงเรียนไม่ได้สอน" ที่จัดโดยโครงการสร้างสุข สสส. เมื่อเร็ว ๆ นี้ เราชวนกันคุยเพื่อค้นว่า สาระสำคัญของการศึกษาและการเรียนรู้ คืออะไร และยังมีอะไรที่เราไม่ได้เรียนจากโรงเรียน


อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ นักวิชาการอิสระ เปิดประเด็นด้วยการยกตัวอย่างประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่ได้รู้จักกับชายพิการผู้ไม่มีแขนทั้งสองข้าง ส่วนขาและเท้าก็ยื่นออกมาจากสะโพกเพียง ๑ ศอก แต่เขากลับสามารถทำให้อาจารย์ได้มองชีวิตในมุมใหม่ เข้าใจถึงคุณค่าและความหมายของการดำรงอยู่มากขึ้น


เขาชื่อเอกชัย เมื่อผมพาเขาไป ไหว้พระธาตุดอยสุเทพเพื่อเป็นการตอบแทนมิตรภาพที่เขามีให้แล้ว เขาก็ซื้อกำไลข้อมือกลับมาด้วยคู่หนึ่ง ระหว่างที่นั่งทานอาหารด้วยกันเขาใช้เท้าหยิบกำไลขึ้นมาหนีบไว้บนไหล่ แล้วสวมเท้าเข้าไปทั้งข้างซ้ายและข้างขวา เมื่อสวมเสร็จแล้วเขายิ้มให้ผมพร้อมกับถามว่า สวยไหมครับอาจารย์ ความรู้สึกของผมตอนนั้นช่างยิ่งใหญ่และงดงามเหลือเกิน


เขา คือครูผู้ยิ่งใหญ่ที่ทำให้ผมรู้สึกได้ถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่ ทั้งๆ ที่คนอย่างผมซึ่งมีร่างกายสมบูรณ์และใช้ชีวิตมานานกว่าครึ่งร้อยปีแล้วบาง ครั้งก็ยังรู้สึกคับข้องหมองใจในชีวิต รู้สึกว่ามันไม่พอ ไม่สมบูรณ์สักครั้ง ความรู้สึกอันยิ่งใหญ่นั้นผมไม่สามารถสอนให้ลูกศิษย์ของผมรู้สึกได้ในขณะที่ ผมเป็นครูสอนปรัชญา


อาจารย์ประมวล เคยเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ตัดสินใจเลือกชีวิตใหม่ด้วยการลาออกจากราชการเมื่ออายุครบ ๕๐ ปี แล้วเริ่มต้นแสวงหาประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณ การเล่าถึงประสบการณ์ทางความรู้สึกที่ได้เรียนรู้จากชายผู้พิการคนนั้น เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า วิชาการ หรือความคิดที่มีการเรียนการสอนกันอยู่ในสังคมนั้นมีมากเป็นล้นพ้น แต่ไม่มีพลังในการขับเคลื่อนชีวิตคนเราไปสู่ความเบิกบานและแจ่มใสเหมือนที่ อาจารย์ได้รับความรู้สึกอันทรงพลังจากชายพิการคนหนึ่ง ซึ่งแม้ร่างกายเขาจะไม่สมบูรณ์ แต่จิตใจเขากลับมีความปีติยินดีกับชีวิตและมีพลังอย่างน่าอัศจรรย์


ใช่ หรือไม่ว่า การศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นที่แนวคิด เหตุผล และการคิดเชิงตรรกะ แต่ไม่ได้เติมเต็มความรู้สึกด้านอารมณ์ที่เป็นนามธรรม อันมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและสามารถผลักดันชีวิตไปสู่ทิศทางที่สร้าง สรรค์ได้ ... แล้ววิธีการเรียนการสอนอย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนถึงพร้อมซึ่งความสมบูรณ์แห่งชีวิต


แบบอย่างจากโรงเรียนทอสี ซึ่งเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ คือการนำพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุขผ่านการลงมือ ปฏิบัติ อาจารย์บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนทอสี พบหลักการศึกษาตามแนวทางของพุทธศาสนาเมื่อได้อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสภิกขุ และพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ประกอบ กับการนำตัวเองเข้าสู่วิถีการปฏิบัติธรรม จึงทำให้เข้าใจหลักพุทธศาสนาที่ว่าด้วยเรื่องการศึกษาและชีวิตมากขึ้น ดังที่อาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า


พอจับหลักพุทธศาสนาได้ว่า ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาคือชีวิต ก็เริ่มมองว่าสาระทั้ง ๘ ที่ให้เด็กเรียนนั้นมันเป็นวิชาการมาก แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ วิชาชีวิต เราจะเรียนเฉพาะวิชาเลข ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ แต่วิถีชีวิตที่เราอยู่ร่วมกันตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาในโรงเรียนกลับไม่ได้ เอามาเป็นบทเรียน แต่ถ้าเอาหลักพุทธศาสนานี้มาใช้เราจะได้บทเรียนชีวิตเพิ่มขึ้นมา


วิธี การที่อาจารย์บุบผาสวัสดิ์นำบทเรียนชีวิตมาใช้ในโรงเรียนคือ จัดสรรวิถีชีวิตในโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาชีวิต เช่น ตอนเช้าเมื่อแม่ครัวทำอาหาร เด็กๆ ต้องไปช่วยงานในครัวด้วย เด็กๆ จะได้เรียนรู้การหั่นผัก การใช้มีด


ขณะ เดียวกันก็ได้เรียนรู้วิชาชีวิตคือ การมีน้ำใจ การแบ่งปัน และการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น วิชาชีวิตจึงเป็นวิชาที่มีความเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วน และการสอนในทุกวิชาไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ จะต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาชีวิตอันมีวิชาที่สำคัญในเบื้องต้นคือ วิชาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือสร้างสัมมาทิฏฐิ และต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองด้วยว่า โรงเรียนสอนให้เด็กนอบน้อม มีความเคารพต่อคุณครู ซึ่งไม่ใช่เฉพาะครูที่สอนในห้องเรียน แต่หมายถึงแม่ครัว คนขับรถ คนสวน หรือยามรักษาความปลอดภัย ส่วนครูที่สอนในห้องเรียนและผู้ปกครองทุกคน ก็เปรียบเสมือนนักศึกษาที่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ



อีกเรื่องหนึ่งที่ทางโรงเรียนเน้นมากคือเรื่อง “เกิดมาทำไม” ซึ่งจะสอนเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลโดยใช้สื่อละคร ให้เด็กๆ รู้ว่า เขาเกิดมาเพื่อทำประโยชน์ให้ตนเองและผู้อื่นควบคู่กันไป



นอกจากโรงเรียนทอสีแล้ว ยังมีอีกหลายรูปแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจในเวทีการเสวนาครั้งนี้ ดังเช่น คุณชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช จาก แผนงานพัฒนาศักยภาพเยาวชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ชุมชน ก็มีวิธีการให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้จากวิถีชีวิตท้องถิ่นของตน ด้วยการจัดกิจกรรมพิเศษนอกโรงเรียนในลักษณะค่ายให้กับเด็กพื้นที่ต่างๆ โดยกลุ่มเป้าหมายมีทั้งเด็กที่เรียนจบเพียงชั้นประถม เด็กที่กำลังเรียนหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน เด็กที่อยู่ในระบบโรงเรียน เด็กชนบท และเด็กเมือง



การ ส่งเสริมให้เด็กๆ มีโอกาสได้เรียนรู้จากความรู้ที่มีอยู่รอบๆ ตัวในท้องถิ่นและชุมชน จะช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจและภาคภูมิใจในถิ่นฐานของตน ซึ่งความรู้สึกนี้จะนำมาสู่ความภาคภูมิใจในตนเองในระยะต่อมา อันจะทำให้เด็กๆ มีจิตใจที่มั่นคง และพร้อมจะพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนของตน ต่อไปด้วย



กิจกรรม การเรียนการสอนผ่านกระบวนการเรียนรู้ชุมชน เป็นการสร้างสรรค์วิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาภูมิปัญญาในท้องถิ่น และสร้างความตระหนักในคุณค่าของความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน คุณชัยวัฒน์กล่าว


ด้าน พระมหานิคม คุณสัมปันโน ผู้ก่อตั้งจาริกาสิกขาลัย ใช้ กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยการจาริก หรือการเดินไปสู่แหล่งความรู้หรือผู้รู้ แตกต่างจากวิธีการศึกษาโดยทั่วไปที่กำหนดให้มีการเรียนอยู่ในสถานศึกษาที่ ตายตัวและมีหลักสูตรชัดเจนที่ถูกกำหนดไว้แล้ว



วิธี การเรียนรู้แบบจาริกาสิกขาลัยจะสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มจากการกำหนดหลักสูตรร่วมกันว่า อยากเรียนรู้เรื่องอะไร และอยากเรียนรู้กับใคร ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สถานที่ หรือสิ่งของก็ได้ จากนั้นจะไปฝังตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนรู้จากสิ่งที่ตัวเองสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดฉันทะหรือความพึงพอใจที่จะเรียนรู้ เมื่อจบหลักสูตรแล้วก็มาสรุปบทเรียนร่วมกัน


การเรียนการสอนของจาริกาสิกขาลัยใช้หลักสูตร ๒ ปี ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน และเมื่อจบหลักสูตรจะไม่มีการมอบใบประกาศให้ แต่ผู้เรียนต้องนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อประกาศความสามารถของตัวเอง พระมหานิคมกล่าวถึงเป้าหมายและประโยชน์ของจาริกาสิกขาลัยว่า



“ถ้าเข้าเรียนตามมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาต่างๆ จะเป็นเหมือนการไปซื้อความรู้ แต่กระบวนการของเราเป็นการสร้างความรู้ แล้วนำความรู้ที่ได้ไปรับใช้ผู้อื่นและรับใช้สังคม เมื่อการเรียนแบบนี้ไม่ต้องซื้อหา ไม่ได้เสียค่าลงทะเบียน ผู้เรียนก็จะเข้ามาด้วยความอ่อนน้อม และตระหนักในคุณค่าของสิ่งที่เรียน”


สำหรับ ชัยพร นำประทีป หรือ เอี้ยว นักดนตรีผู้เคยหลงรักการเดินทาง เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีวิธีการเรียนรู้โดดเด่น เขากล้าหาญพอที่จะเดินออกจากรั้วสถาบันทั้งที่ยังเรียนไม่จบเพื่อแสวงหาตัว เองจากการเดินทาง โดยเอาระยะทางเป็นตัวตั้ง สุดท้ายเขาก็กลับมาหยุดอยู่ที่เดิม แล้วเริ่มเดินทางเข้าสู่ภายในเพื่อค้นหาชีวิตจากพุทธธรรม

หลังจากได้ฝึกนั่งสมาธิมา ๓-๔ ปี ก็ทำให้พบว่า การเดินทางไปยังสถานที่ใกล้ไกลหลายๆ แห่งนั้น มันจะไม่มีคุณค่าเลยถ้าเราละเลยมิติภายใน คือจิตใจ จิตวิญญาณของเรา บางทีการออกเดินทางมากๆ อาจจะไม่พบตัวตนที่เราตามหาเลยก็ได้ ชัยพรเล่าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จาการเดินทาง


วิชาที่โรงเรียนไม่ได้สอน ในทัศนะของชัยพรจึงเป็นวิชาที่เกิดจากการ ใช้ชีวิตด้วยการเดินทางทั้งภายนอกและภายใน จนทำให้ เข้าใจชีวิตอย่างถ่องแท้และนำไปสู่การละวางตัวตนในที่สุด


นอกจาก วิชา ที่จะนำผู้เรียนไปสู่ความมีตัวตนที่ชัดเจนบนเวทีชีวิตแล้ว การศึกษาที่แท้จริงยังควรเป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจอันถ่องแท้ทั้งภายในตัว เอง สังคม และโลก ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน โดยตัววิชาความรู้ที่เล่าเรียนนั้น เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้ดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมั่นใจ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การทำให้ผู้เรียนตระหนักว่า หากเปิดดวงใจให้กว้าง ชีวิตก็จะมอบทุกอย่างให้เราได้เรียนรู้ ดังที่อาจารย์ประมวลได้ให้ข้อคิดปิดท้ายไว้ว่า


ชีวิต ของแต่ละคนมีขั้นตอนในการดำเนินไป และขั้นตอนของการดำเนินชีวิตไปนั้น มันจะมีบทเรียนไปเป็นระยะๆ ผมจึงพยายามสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ว่า ขอให้มีศรัทธาเชื่อมั่นในชีวิตที่มีอยู่ จงศรัทธาเถิดว่าชีวิตนี้จะดำเนินไปเพื่อการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ และเพื่อการค้นพบความหมายที่งดงามของชีวิต หากแม้นวันนี้ยังไม่พบสิ่งที่งดงามในชีวิต ก็อย่าสูญเสียศรัทธาในการมีชีวิตอยู่

.................

นี่คืออีกหนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่ เวทีสร้างสุข สสส. จัดขึ้น เมื่อวันอังคารที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ ลานกิจกรรม ชั้น ๓๕ ตึกเอส.เอ็ม.ทาวเวอร์

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของ เวทีสร้างสุข โครงการสื่อสารสร้างสุข สสส.ได้ที่ คุณธนาทิพ ๐๘๙-๘๙๒๑๗๙๑ และ คุณกิติมาภรณ์ ๐๘๑ -๔๔๙๗๔๗๙

วันพุธ, มีนาคม 04, 2552

ปิดมือถือป้องกันฟ้าผ่า

สบท.เตือนประชาชนปิดมือถือป้องกันฟ้าผ่า

พบข้อมูล คนทั้งไทยและเทศถูกฟ้าผ่าดับหลายรายเพราะเปิดมือถือและฮัลโหลช่วงฝนฟ้าคะนอง
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า ช่วงปลายฤดูฝนเข้าสู่ต้นฤดูหนาวนี้ กรมอุตุนิยมวิทยายังคงออกประกาศเตือนให้ประชาชนทั่วทุกภาค ระวังอันตรายจากสภาวะฝนฟ้าคะนองกระจายและฝนตกหนัก
โดยตลอดปี 2551 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าจนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย และหลายกรณีถูกระบุว่า มีสาเหตุมาจากการใช้โทรศัพท์มือถือขณะที่ฝนตก เช่น

ที่จ.มุกดาหาร ฟ้าผ่านักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวออสเตรเลียเสียชีวิต ขณะเล่นน้ำตกตาดโตน ผู้อยู่ในเหตุการณ์ระบุว่า ก่อนฟ้าผ่าหนึ่งในผู้เสียชีวิตกำลังเช็คข้อความในมือถือ

ที่อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ฟ้าผ่าคนงานชาวกัมพูชาเสียชีวิต 3 ราย เพราะคนงานหยิบโทรศัพท์มือถือมาโทร

ที่อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ฟ้าผ่าชาวบ้านเสียชีวิตขณะออกไปเลี้ยงควาย แล้ววิ่งหลบฝนในกระท่อมกลางทุ่งนาโดยพกมือถือไว้ในกระเป๋าเสื้อผ้า

ที่ อ.งาว จ.ลำปาง ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า ขณะผู้เสียชีวิตเข้าไปหลบฝนในกระท่อม มีสายเรียกเข้ายังไม่ทันกดรับสาย ฟ้าก็ผ่าลงกระท่อมไปยังโทรศัพท์มือถือจนทำให้ผู้นั้นเสียชีวิต

ส่วนในต่างประเทศ เช่น ที่ประเทศอังกฤษ ในปี 2549 สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์ได้รายงานผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อังกฤษหรือ บริติช เมดิคอล เจอร์นัล (บีเอ็มเจ) ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้ง ขณะเกิดพายุฝนอาจทำให้เกิดอันตรายจากฟ้าผ่า

โดยยกตัวอย่างกรณีที่หญิงสาวรายหนึ่งถูกฟ้าผ่าขณะคุยโทรศัพท์มือถือในสวนสาธารณะกลางเมืองจนได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือที่อเมริกาพบกรณีของชายคนหนึ่งกำลังขับรถออกไปทำงานในขณะที่ฝนตกฟ้าคะนอง ก็ถูกฟ้าผ่าทะลุหลังคาลงมายังโทรศัพท์ที่เหน็บโทรศัพท์ไว้ที่เข็มขัดจนผิวหนังไหม้บาดเจ็บสาหัส

ส่วนที่ประเทศจีน มีรายงานเช่นกันว่ามีผู้ถูกฟ้าผ่าขณะใช้โทรศัพท์มือถืออยู่บนท้องถนนในช่วงที่ฝนตกฟ้าคะนอง

เช่นเดียวกับที่ประเทศรัสเซีย มีรายงานว่า ผู้หญิงคนหนึ่งถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตขณะใช้โทรศัพท์มือถือในที่โล่งแจ้ง มือถือเครื่องนั้นถูกฟ้าฝ่าจนละลายคามือ กรณีดังกล่าวทำให้ประเทศรัสเซียมีการออกประกาศเตือนให้ประชาชนระมัดระวังในการใช้โทรศัพท์ในช่วงฝนตกฟ้าร้อง

"จากบทเรียนดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย ประชาชนจึงควรงดใช้โทรศัพท์มือถือหรือปิดเครื่องชั่วคราวในขณะที่เกิดฝนตกฟ้าร้อง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ทุ่งนา ชายหาด ลานกว้าง สนามกีฬา น้ำตก เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้หรือใต้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้าหรือรั้วกำแพง ที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ" นพ.ประวิทย์กล่าว

วันศุกร์, มกราคม 30, 2552

You Walk, the Country Walks




คลิปวีดีโอของรัฐบาลอินเดีย ดูแล้วน่าทึ่งมากในวิธีสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนของเขา

วันอังคาร, มกราคม 20, 2552

เตือน! มลพิษกรุงเทพเกินมาตรฐาน


มลพิษกรุงเทพเกินมาตรฐาน
(โปรดเลี่ยงการหายใจนอกอาคาร - อุ๊ )


ดร. วนิสา สุรพิพิธ แห่ง ศูนย์ข้อมูลระบบเครือข่ายคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งข่าวมาเตือนชาวกรุงเทพว่า
"ขณะนี้พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีมลพิษทางอากาศเกินระดับมาตรฐานถึง 6 สถานี โดยเฉพาะในเขตดินแดง และพระประแดง กรมควบคุมมลพิษจึงขอเตือนประชาชนให้ระวัง ดังนี้
บุคคลทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังภายนอกอาคาร
ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจควรอยู่ในอาคาร
เด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรทำกิจกรรมภายนอกอาคาร
ขอความร่วมมือประชาชน งดการเผาในที่โล่ง
ลดการขับขี่ยวดยานพาหนะส่วนบุคคล ร่วมกันใช้รถสาธารณะ เพื่อบรรเทาปัญหา"


"Today Bangkok Air Quality is exceeding Thailand National Ambient Air
Quality Standard for 6 stations across the area, particularly Din-deang and Pra-bradaeng, Samutprakarn.
We advise the public to avoid outdoor exercise, elderly and people with respiratory problems are particularly at risk and should stay indoor.
We ask open burning to be banned completely.
Please, consider use public transport,
instead of driving private vehicles where possible."

วันจันทร์, มกราคม 19, 2552

พุทธธรรมสำหรับวัยรุ่น

สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองขอแนะนำหนังสือ พุทธธรรมสำหรับวัยรุ่น ชื่อ ชีวิตตื่นรู้ โลกเบิกบาน [Wide Awake]เขียนโดย ไดอาน่า วินสตัน และแปลโดย นุชจรีย์ ชลคุป

หนังสือเล่มนี้แม้จะเขียนให้วัยรุ่นอเมริกันเป็นสำคัญ แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับวัยรุ่นไทยด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เป็นพ่อแม่และครูบาอาจารย์ที่มีลูกและศิษย์เป็นวัยรุ่น จึงควรศึกษาหาประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ด้วยเช่นกัน อย่างน้อยก็อาจให้แนวทางในการอธิบาย และชักนำให้เขาเหล่านั้นรู้จักตนเอง ค้นพบสาระที่แท้ของชีวิต และเข้าถึงความสุขที่ประณีต ซึ่งไม่เพียงนำไปสู่ชีวิตตื่นรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นพลังขับเคลื่อนให้โลกเบิกบานด้วย --- พระไพศาล วิสาโล

พิเศษ ! สำหรับแฟนหนังสือโกมล ซื้อหนังสือที่ร้านโกมลหรือสั่งซื้อทางไปรษณีย์

ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ถึง วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๒

สมาชิกได้รับส่วนลดพิเศษถึง ๓๐%

การ์ตูนโทรทัศน์ : พื้นที่สื่อ พื้นที่เสี่ยงของเด็กไทย

การ์ตูนเพียง 3 เรื่องเท่านั้นที่เหมาะกับเด็กก่อนวัยเรียน นอกนั้นพบ ความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจ รวมถึงมีเรื่องเพศในเนื้อหาการ์ตูนแทบทุกเรื่อง


ผลการศึกษาของโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) พบว่า ตลอด 24 ชั่วโมงของเดือนตุลาคม ในฟรีทีวีทุกช่อง พบการ์ตูน 35 เรื่อง รวมเวลาออกอากาศ 1,052 นาที / สัปดาห์ หรือเฉลี่ยเพียง 1.74% ของรายการโทรทัศน์ทั้งหมดรวมกัน

ทว่าสัดส่วนตัวเลขเพียงเล็กน้อยนี้ กลับพบความรุนแรงต่อร่างกาย จิตใจและวัตถุ ภาษาลามก หยาบโลน รวมถึงมีเรื่องเพศในเนื้อหาการ์ตูนแทบทุกเรื่อง โดยพบว่ามีการ์ตูนเพียง 3 เรื่องเท่านั้น ที่เหมาะกับเด็กก่อนวัยเรียน ช่วงอายุ 3-6 ขวบ

“การ์ตูนบางเรื่องถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า สร้างนิสัยการใช้ความรุนแรงให้เด็กผู้ชาย จากการเลียนแบบฮีโร่ของพวกเขา ส่วนตัวการ์ตูนบางเรื่องมีการแต่งกายวาบหวิว ทำให้เด็กสนใจเรื่องเพศก่อนวัยอันควร รวมถึงการ์ตูนทางทีวีจากต่างประเทศ มีบทแปลภาพยนตร์คำพูดที่ไม่เหมาะสม กลายเป็นคำธรรมดา ที่เด็กสามารถพูดได้ ส่วนหนึ่งเพราะจำมาจากการ์ตูนนั่นเอง เมื่อการ์ตูนมีอิทธิพลต่อเด็กมาก แต่หากพิจารณาจากพัฒนาการ จะเห็นว่าเด็กยังไม่สามารถแยกแยะอะไรดี ไม่ดี ควรจดจำหรือไม่ จึงเป็นที่มาของการศึกษาการ์ตูนเด็ก ของมีเดียมอนิเตอร์” นายธาม เชื้อสถาปนาศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อฯ กล่าว

สำหรับการศึกษานั้นใช้การบันทึกเทปออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงของฟรีทีวีทุกช่อง ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2551 จากนั้นศึกษาเนื้อหารายการด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้ระเบียบวิธีศึกษาที่ออกแบบไว้ พร้อมทั้งศึกษาผ่านกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับ 8 สถาบันการศึกษา และ 5 เครือข่ายด้านเด็ก จากนั้นจึงวิเคราะห์และสรุปผล

การ์ตูนที่ดีเป็นอย่างไร
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูอุบลราชธานี ได้ศึกษาเมื่อ พ.ศ.2532 ถึงลักษณะการ์ตูนที่ดีว่าควรมีลักษณะสำคัญดังนี้
1) ส่งเสริมการค้นคว้า และความคิดที่เป็นที่เป็นวิทยาศาสตร์
2) การหลีกเลี่ยงเรื่องราวเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ วิญญาณ โชคลาง อันหาเหตุผลที่จะพิสูจน์ความจริงมิได้
3) เนื้อหาการ์ตูนควรมีลักษณะใฝ่สัมฤทธิ์ หมายถึง ตัวเอกของเรื่องมีชีวิตที่ต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จในบั้นปลายท้ายเรื่อง
4) มีเนื้อหาธำรงไว้ซึ่งคุณธรรม การนำเสนอในลักษณะนี้ ไม่ควรจะใช้วิธีการสอนโดยตรง เพราะจะทำให้น่าเบื่อ แต่ควรแทรกไว้ในพฤติกรรมของตัวละครต่าง ๆ ไม่ว่าจะตัวเอกหรือตัวร้าย
5) ส่งเสริมให้เป็นคนมีเมตตา ปราณี รักธรรมชาติ เคารพในสิทธิหน้าที่ของมนุษย์แต่ละคน
6) นำเสนอเรื่องที่เป็นจริง มิใช่เรื่องชวนฝัน

ยังมีข้อมูลบางส่วนจากนักวิชาการที่ศึกษาถึงความสำคัญและความทรงพลัง ของโทรทัศน์ และสื่อที่มีต่อพัฒนาการของเด็ก โดย ดร.ดิมิทรี คริสทาคิส นักวิจัยชาวสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการวิจัยเรื่องนี้ในเว็บไซต์สถาบันวิจัยโรงพยาบาลเด็กซีแอตเติล (www.seattlechildrens.org) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2549

จากการศึกษากับเด็กชาย 184 คน อายุประมาณ 2-5 ปีที่ดูโทรทัศน์รายการที่มีความรุนแรงวันละ 1 ชั่วโมง จะมีโอกาสการเป็นคนก้าวร้าวเพิ่มขึ้น 3 เท่า มากกว่าเด็กกลุ่มที่ไม่ดูรายการที่มีความรุนแรง แต่พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ปรากฏกับเพศหญิง

ดร.ดิมิทรี คริสทาคิส พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ละเลยการดูเนื้อหารายการโทรทัศน์ว่ามีความเหมาะสมกับกลุ่ม อายุของเด็กหรือไม่ เด็กในช่วงนั้นไม่สามารถแยกแยะเรื่องที่เป็นแฟนตาซีออกจากความจริงได้ และจำเป็นต้องมีคนอธิบายให้ฟัง

ความรุนแรงในการ์ตูนสอนเด็กว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องสนุก โดยไม่ได้คิดถึงผลที่ตามมา ซึ่งต่างจากความเป็นจริงที่มีความเจ็บปวดเกิดขึ้นหลังจากโดนกระทำรุนแรง

โครงเรื่องหลวม ลักษณะเด่นบนความด้อยของการ์ตูนไทย ผลจากการศึกษาในการ์ตูนทางฟรีทีวีไทย 35 เรื่อง พบว่ามีการวางโครงเรื่อง (Plot) จำแนกเป็น 8 ประเภท คือ การผจญภัย, เรื่องราวในโรงเรียน ชุมชน และสังคม, เรื่องราวในครอบครัว, เรื่องเกี่ยวกับการสืบสวนฆาตกรรม, นิยายปรัมปราและนิทานพื้นบ้านไทย, ต่อสู้, มุ่งเน้นให้ความรู้เฉพาะเรื่อง และประเภทสุดท้ายเรื่องราวชีวิตประจำวันของเด็ก

มีการตั้งข้อสังเกตว่าในการ์ตูนไทยนั้นจะให้ความสำคัญในการวางโครงเรื่อง น้อยมา
ก เห็นได้จากการ์ตูนบางเรื่องมักมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับแก่นเรื่อง (Theme) เช่น การ์ตูนประเภทจบในตอนจะมีการนำเสนอเนื้อหาแต่ละตอนไม่สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน หรืออาจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ถึงแม้จะใช้ตัวละครหลักชุดเดียวกันก็ตาม

นอกจากนี้ในการ์ตูนเรื่องยาวบางเรื่องยังให้ความสำคัญกับประเด็นปลีกย่อย มากกว่าการดำเนินเนื้อหาตามแก่นเรื่องที่วางไว้ เช่น การ์ตูนที่เกี่ยวกับวรรณคดีไทย จะให้ความสำคัญกับเรื่องความรัก เพศ มุขตลก มากกว่าเรื่องคุณงามความดีหรือความสามารถของตัวละครในวรรณคดี ซึ่งลักษณะเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่า การ์ตูนไทยยังมีลักษณะของละครไทยอยู่นั่นเอง

หากมองตามหลักการ์ตูนที่ดี ด้านเนื้อหาการ์ตูนควรมีลักษณะใฝ่สัมฤทธิ์ จะพบว่าเป็นจุดเด่นของการ์ตูนญี่ปุ่น และการ์ตูนตะวันตกที่ตัวละครหลักมีความตั้งใจจะประสบความสำเร็จอย่างใดอย่าง หนึ่งให้ได้ แต่ในการ์ตูนไทยกลับไม่พบเลยตลอด 1 เดือนของการศึกษา

• ความรุนแรง อคติ เพศ ภาษา เป็นเรื่องธรรมดาในการ์ตูน ?

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นสื่อสำหรับเด็ก แต่การ์ตูนก็มีเรื่องเพศแฝงอยู่เช่นกัน โดยถูกเสนอผ่านการแต่งตัวที่วาบหวิว เน้นสัดส่วนของผู้หญิง ทั้งยังมีลักษณะการพากย์ที่ส่อในทางเพศ ลามก สัปดน รวมถึงมีการตอกย้ำเรื่องภาพตัวแทนของเพศหญิง ชาย กับบทบาทหน้าที่ตายตัว ผ่านภาพที่นำเสนอซ้ำ ๆ ได้แก่
ความเป็นพ่อต้องสุขุม ใจเย็น
ขณะที่แม่จะเป็นพวกเจ้าระเบียบ จู้จี้ ขี้บ่น หรือหากเป็นเด็กหญิงจะขี้แย
ส่วนเด็กชายจะห้าว สนุกสนาน เกเร สิ่งสำคัญอีกประการที่แฝงอยู่ในการ์ตูนแทบทุกเรื่องก็คือ

ความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้กำลัง การต่อสู้ด้วยอาวุธ อุปกรณ์ กระทั่งทำให้ได้รับบาดเจ็บจนถึงเสียชีวิต ซึ่งอาการบาดเจ็บนั้นแยกออกเป็นลักษณะการเจ็บจริง – เสียชีวิตจริง และบาดเจ็บแบบแฟนตาซี คือเจ็บแล้วหายได้ หรือถูกกระทำอย่างรุนแรงแต่ไม่ตาย หรือตายแล้วฟื้นในที่สุด โดยพบว่ามีการ์ตูนเรื่องเดียวที่ไม่มีความรุนแรง นั่นคือ ไอน์สไตน์จิ๋ว (ช่อง 7)

รศ.กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวรรณกรรมสำหรับเด็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กล่าวว่า ความรุนแรงไม่ควรมีในการ์ตูน เพราะเป็นสื่อสำหรับเด็กซึ่งยังไม่มีวิจารณญาณในการรับชมที่ดีพอ และเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ปกครองจะนั่งดูโทรทัศน์กับเด็กเป็นประจำ การ์ตูนจึงควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับความงาม

เด็กควรเสพงานศิลป์เพื่อความอ่อนโยนของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนที่เป็นหนังสือหรือว่าโทรทัศน์ผู้ผลิตก็ต้องคำนึงถึง ด้านนี้

“หลานเคยถามว่า ที่การ์ตูนใช้พลังต่อสู้กัน หรือใช้อาวุธแทงฝ่ายตรงข้ามจนทะลุทำไมไม่ตาย แล้วถ้าทำตามแบบนั้นจะตายไหม หรืออยากกระโดดจากที่สูงๆ แล้วเหาะเหมือนการ์ตูนจะได้ไหม สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าความพร้อมของเด็กแต่ละช่วงอายุไม่เหมาะกับการรับชมความรุนแรง ไม่ได้ห้าม หรือต่อต้านการดูการ์ตูน แต่ทำอย่างไรให้เด็กได้ดูอย่างพอดี และได้ดูในสิ่งที่ดีพอ ผู้ปกครองต้องรอให้ฐานสติปัญญาของเด็กมั่นคงเสียก่อน ให้เจริญเติบโตพร้อมสิ่งดีๆ เมื่อถึงวัยที่สมควรก็สามารถดูทีวีได้” รศ.กุลวรา กล่าว

• มองเชิงบวก จะเห็นด้านดีนั้นมีอยู่ ใช่ว่าจะเห็นเฉพาะด้านลบเท่านั้น ผลการศึกษายังสะท้อนด้านดีทั้งการ์ตูนไทย – เทศ โดยเฉพาะการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของการ์ตูนไทยนั้นถือว่ามีความโดดเด่น ซึ่งหากมองในภาพรวม จะพบด้านดีของการ์ตูนอยู่หลายด้าน อาทิ การช่วยเหลือผู้อื่น, การเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีมิตรภาพ, รักการเรียนรู้, มีน้ำใจ รู้จักแบ่งปัน, ขยันหมั่นเพียร, รักสิ่งแวดล้อม, มีความสามัคคี, มีความกล้าหาญ, รู้จักสำนึกผิด และยึดมั่นในความดี

นายอรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ประธานสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ไม่อยากให้มองว่าการ์ตูนมีด้านร้าย ความรุนแรงเสมอไป เพราะการ์ตูนดีๆ นั้นมีอยู่ และพฤติกรรมการเลียนแบบการ์ตูนที่เข้ามาในชีวิตของเด็กแต่ละคนนั้น สักวันหนึ่งจะหายไปตามวัยและวุฒิภาวะที่มากขึ้น และเชื่อว่าไม่มีใครที่จะเลียนแบบการ์ตูนเสมอไป

“ความรุนแรงในการ์ตูนที่เป็นแบบธรรมะชนะอธรรมนั้นก็มีด้านดี และแน่นอนคือทำให้เด็กเป็นคนดีมากกว่าคนไม่ดี เพราะใครๆ ก็อยากเป็นพระเอก” นายอรุณฉัตร กล่าว

โมเดลการ์ตูนดี ทางออกที่ต้องคิดและทำร่วมกัน นายวัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ให้ความเห็นว่า ควรหาโมเดลหรือชุดความรู้เกี่ยวกับการ์ตูนที่ดีมาเป็นแนวทางในการทำงานของผู้ผลิตการ์ตูน เพื่อตอบสนองความต้องการและการรับรู้ให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัยด้วย “การ์ตูนดีที่ดูแล้วพอใจคืออะไร อยากให้นำการ์ตูนที่บอกว่าดี หรือไม่ดีนั้นมาให้เด็กดูแล้วเปิดเวทีวิจารณ์ว่าเด็กต้องการอะไร

เราควรมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็นในการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ นอกจากนี้สถานีโทรทัศน์ช่อง NBT สามารถส่งเสริมคนทำการ์ตูนด้วยการให้เวลาในการฉายฟรี เพราะเป็นช่องของรัฐ ซึ่งมาจากภาษีของประชาชน เพื่อเปิดช่องทางให้คนทำการ์ตูน ไม่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของความเป็นธุรกิจ” นายวัลลภ กล่าว

ด้านแพทย์หญิงพรรณพิมล หล่อตระกูล นักจิตวิทยาเด็ก กล่าวว่า ผู้ผลิตการ์ตูนควรคำนึงถึงการรับรู้ของเด็กในแต่ละวัย เพราะจะทำให้แก่นเรื่องมีความชัดเจน อีกทั้งการสร้างความรู้ต้องสอดคล้องตรงกับประสบการณ์การเรียนรู้และวัยของ เด็ก เพราะความสนุกของเด็ก 3 ขวบ กับเด็ก 10 ขวบนั้นแตกต่างกัน

ขณะที่ข้อเสนอแนะจากวิทยากรตลอดจนผู้เข้าร่วมสัมมนายังเห็นว่า การ์ตูนที่จะนำมาออกอากาศ ควรมีการศึกษาข้อมูลและสำรวจผู้ชมก่อน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ชมได้อย่างเหมาะสม คำนึงถึงพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็ก ไม่ยัดเยียดเนื้อหาจนเกินไป

นอกจากนี้ ไม่ควรมีโฆษณาสินค้าที่เป็นอันตรายหรือจะต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ ปรากฏในรายการการ์ตูนเด็ก เช่น โฆษณาถุงยางอนามัย โฆษณาเรื่องไสยศาสตร์ เรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ รายการการ์ตูนจะต้องมีการกำหนดเรตติ้งที่ถูกต้องตรงกับเนื้อหาที่ออกอากาศ อย่างแท้จริงไม่ใช่มุ่งกำหนดเรตติ้งเพื่อผลประโยชน์ทางการตลาดเท่านั้น

ข้อมูลมาจาก การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ“รายการการ์ตูนเด็กในฟรีทีวี (ช่อง 3, 5, 7, 9, NBT และ TPBS)” เมื่อวันที่ 7-8 มกราคม ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสวนดุสิตเพลส มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เพื่อร่วมศึกษาเนื้อหาและค่านิยมที่ปรากฏในรายการการ์ตูนเด็ก
โดยมีอาจารย์และนิสิต นักศึกษา 8 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต นอกจากนี้มีเครือข่ายองค์กรด้านเด็กอีก 5 องค์กร คือ กลุ่มระบัดใบ จังหวัดระนอง, โครงการบริโภคสร้างสรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, กลุ่มไม้ขีดไฟ จังหวัดนครราชสีมา, เครือข่ายเด็กและเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์ และศูนย์ประสานงานสำนักข่าวเด็ก จังหวัดพะเยา

โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor)
เลขที่ 31 อาคารพญาไท ชั้น 5 ห้อง 517-518 ถนนพญาไท
เขตราชเทวี กทม. 10400 โทรศัพท์ 02-246-7440,
โทรสาร 02-246-7441 website: www.mediamonitor. in.th
e-mail: mediamonitorth@ gmail.com

วันอังคาร, มกราคม 06, 2552

ทุกคำถาม มีที่มา

Quality questions create a quality life. Successful people ask better questions, and as a result, they get better answers. ~ Anthony Robbins

คำถามสร้างอนาคตได้
คำถามเป็นเข็มทิศให้เราแสวงหาคำตอบ
คำถามสำคัญอย่าง เราจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร ได้นำให้ เจ้าชายสิทธัตถะ แสวงหาคำตอบจนบรรลุเป้าหมาย และ แสดงธรรมสั่งสอนต่อพวกเราได้ผ่านกาลเวลา
คำถาม สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมได้
เราจะตั้งคำถามอะไร และมีชีวิตอยู่กับคำถามเช่นไร
................................
วันก่อน ได้นั่งชมรายการโทรทัศน์ เป็นการสัมภาษณ์คนในรัฐบาลเรื่องเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง
ผู้ีู่้ดำเนินรายการถาม แขกรับเชิญว่า "ประเทศไหนๆ ระบบใดๆ ก็มีการคอร์รัปชั่นด้วยกันทั้งสิ้น แล้วมันจะเป็นไปได้หรือที่เราจะกำจัดการคอร์รัปชั่นให้หมดสิ้นไป?"
........
เรานั่งนิ่งอยู่กับคำถามของผู้ดำเนินรายการคนนี้ ไม่ใช่เพื่อพยายามหาคำตอบให้ แต่เพื่อเข้าใจมูลเหตุของการถามคำถามนี้
ผู้ดำเนินรายการดูเหมือนจะมีสมมติฐานในใจอยู่แล้วว่า การคอร์รัปชั่นไม่อาจแก้ไขได้ เป็นไปได้ยากด้วยซ้ำที่ใคร รัฐบาลชุดใดจะทำอะไรกับความชั่วร้ายฝังลึกนี้ได้
ถ้าผู้ดำเนินรายการนั้น ๆ มีสมมติฐานอย่างว่าจริง ๆ คำถามของเราคือ แล้วจะถามเพื่อให้ได้อะไรขึ้นมาจ๊ะ ก็ถ้ามันเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่ต้องถาม ไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไร

หลายครั้งเราขาดการสำรวจคำถามของตนเอง ว่ามาจากพื้นความคิดอะไร เป้าหมายของการถามเป็นไปเพื่ออะไร เจตนาในการถามคืออะไร เมื่อขาดการใคร่ครวญต่อคำถามของตนเอง เราจึงมีอาการถามแบบอัตโนมัติ แบบละเมอ ๆ ซึ่งอาการอย่างนี้ เป็นอาการระบาดของคนปัจจุบันที่ขาดโอกาสและเวลาในการนิ่งเงียบ ใคร่ครวญ ไม่มีช่องว่างทางความคิด จึงไม่สามารถเห็นความคิด คำถามอะไรใหม่ๆ ได้ จึงต้องเอาของเก่ามาผลิตซ้ำ เปิดเทปม้วนเก่าไปมา
คำถามที่ย่ำซ้ำรอยเกวียนที่เราต่างเดินมาแล้วกับโลกทัศน์เดิม ๆ กระบวนทัศน์เดิมๆ จึงไม่อาจก่อให้เกิดดอกผลอะไร ซ้ำยังพาลให้หมดหวังไปเสียอีก

.....
เราจึงมีคำถามชวนกันคิดต่อว่า

หากเรารู้อยู่ว่า ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาดึกดำบรรพ์ แก้ไขยากและซับซ้อนเหลือเกิน
และ่เราก็ตระหนักว่า ปัญหานี้สมควรได้รับการแก้ไข บรรเทา เยียวยา

เราจะถามคำถามอะไร ที่ให้ทุกคนตระหนักรู้และเห็นว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และน่าจะหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้เกิดแนวทางที่เป็นไปได้

คำถามอะไรที่จะชวนให้คนเห็นความหวังและเกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยกันแก้ปัญหานี้

คำถามอะไรที่จะก่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ต่อสังคม

การปฏิบัติเพื่อความสมบูรณ์ของชีวิต (Integral Life Practice)

การปฏิบัติเพื่อความสมบูรณ์ของชีวิต (Integral Life Practice)

เสาร์ที่ 17 มกราคม 2552 เวลา 07.00-12.00น.

สวนหลวง ร.9 บริเวณศาลาริมตระพังแก้ว ข้างสวนเชิงผา

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม


จัดโดย เอ๋ ดร. พงษธร ตันติฤทธิ์ศักดิ์ หนึ่งในผู้สนใจสร้างชุมชนแห่งการปฏิบัติใหม่ โดยใช้ชื่อว่า SILP หรือ Sangha of Integral Life Practice ซึ่งอาจารย์หนุ่มคนนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก กูรุ เคน วิลเบอร์ นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักทฤษฎีคนสำคัญของโลก ผู้พัฒนาทฤษฎีบูรณาการ

กลุ่ม SILP ก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบโจทย์ของยุคสมัยปัจจุบันที่คนแยกขาดจากการปฏิบัติ แม้ปฏิบัติก็แยกขาดจากชีวิต ชีวิตที่มีอยู่ก็แยกขาดจากผู้คนอาจารย์เอ๋กล่าว

ชีวิตโดยตัวมันเองแล้วมีอิสรภาพและความเต็ม (Freedom & Fullness) เพียงแต่ยุคสมัยพาเราหลงลืมมันไปเท่านั้น การปฏิบัติของ SILP จึงเป็นการคืนกลับสู่อิสรภาพและความเต็ม อันมีอยู่แล้วในตัวเราทุกคน

อาจารย์เอ๋ เชิญชวนให้เรามาร่วมกันปฏิบัติโดยถือหลัก 3C คือ

Commitment --- ใจของผู้เข้าร่วม มีความมุ่งมั่นเอาจริงกับการปฏิบัติ

Continuity --- การปฏิบัติมีความต่อเนื่อง ทำซ้ำ และสม่ำเสมอ

Community --- กัลยาณมิตรที่ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันในหนทางแห่งการปฏิบัติ

กำหนดการ

07.00-08.00 Check-in และแนะนำการปฏิบัติเพื่อความสมบูรณ์ของชีวิต (ILP)

08.00-09.00 Body Module

09.00-09.15 พัก

09.15-10.00 Spirit Module

10.00-10.45 Shadow Module

10.45-11.45 Open Dialogue (Mind & Relationship Module)

11.45-12.00 Check-out และอุทิศส่วนกุศล

การเตรียมตัว:

1. สวมเสื้อ กางเกง และรองเท้าที่สบายและสามารถออกกำลังกายได้ เช่น วิ่งจ๊อกกี่ ชี่กง โยคะ

2. ถ้ามีเสื่อ หรือเสื่อโยคะ ให้นำมาด้วย

3. ขวดน้ำดื่ม (บริเวณนัดพบมีร้านขายน้ำและขนมด้วยเช่นกัน)