วันอังคาร, ธันวาคม 30, 2551

Reaching out for Happiness

Reaching out for Happiness is written by Karnjariya Sukrung for In Spirit package of Outlook, the Bangkok Post, on December 30, 2008

On his recent visit to Thailand, I had a chance to talk to Venerable Matthieu Ricard, 62, on the effect of mind training and his new book, Happiness: A Guide to Developing Life's Most Important Skill, which has been translated and published in Thai "ความสุข".

Based on scientific approach and researches as well as his 35 years of Buddhist practice, Ven. Ricard suggests mind training and altruistic love as keys to our happiness for the individual and the collective whole.


Aristotle said happiness is the goal of all goals. We try to do this and that because we think that it will bring us happiness. We get money, not for getting money, but to earn happiness. So does it do or not? Be objective.

Ask yourself, in your life, what are the moments of genuine sense of fulfillment? Are they when you get more money, or are they times when you spend with friends, family or in nature?

What do we want in life? We have to begin thinking what really matter. There are things that matter, things that really matter, and things that really, really matter. Those are the things you need to know.

You must have moments of silence to see what comes at the surface. Quieten your mind. Try to look inside.

And if you see that the things that really, really matter, take only five percent of your time, then something is wrong. Then you should do something that can fulfill your aspiration to engage in what really, really matter to you.

It is always difficult to predict the consequences of your decisions and actions but what you can always check is your motivation.

Why am I doing that? Is it just for me or is it also taking into considerations of others?

Is it just for benefits of one person, or for more? Is it harming to others? Definitely, we should not harm anyone.

Is it for the short term or the long term benefits? We can think of selfish pleasure in the short term, but lots of sufferings will come in the long term. This is not a good bargain.

These questions are important. To have meanings to directions give you strength.

You have to be able to discriminate, what is going to bring you genuine fulfillment and what does not.

Authentic happiness is not an endless succession of pleasure. It is an optimal way of being that really gives you resources to deal with the ups and downs in life.

Pleasure changes all the time. I drink a cup of tea, very delicious. Three cups of tea, enough. Twenty cups, I got sick. The pleasurable can turn unpleasant.

Also, pleasure is vulnerable to change and circumstance. If I don’t have a cup of tea, I’m not happy. It does not last or give you a sense of fulfilling.

Happiness is not like that. The way of well being is the opposite. No matter what happens; getting a pot of tea, fine, not getting one is also okay.

The more you experience happiness, it becomes stronger
. The more you eat ice cream, it won't get more delicious. You won't get any happier, you start becoming nauseated.

Our control of the outer world is limited. It is always changing, sometimes, it is illusory. The best is to control the way you experience things; how we translate our experience; happiness or suffering.

You can be terribly sad and depressed although everything is beautiful. Or you can be happy in the environment that does not look very nice. So it is the mind that is stronger than the outer environment. That is why we need to cultivate the mind.

You need to know what kinds of mental states will destroy your happiness; is it jealousy, anger or obsession? And there are other mental states that you don’t want to suppress; like altruism and compassion.

You need to cultivate the constructive ones and get rid of destructive ones.

If you genuinely construct more compassion, more inner peace, inner freedom and inner strength, day after day, it is growing, you become stronger and less vulnerable to the change outside.

Slowly, you will become a better person and you feel better, others will appreciate. When facing adversity, you will not be discouraged. Facing success, you will not be presumptuous. Good criticism, very good. Bad criticism, it is alright. You can manage and deal with whatever happens. You keep your balance. That is the result of change. That is the real criteria; slow and real change.

Therefore, we must develop the understanding of how the mind works. We can train our body, our intellect, why can’t we train our mind and altruistic love? We can. And we have the potentials to do so.

If you said, it is normal for human beings to be jealous and it is a part of our being, then why don’t you try cultivating jealousy for 24 hours? Or if you think strong ego is great, go for it, do it for 24 hours, what would you experience? Is it something genuinely good? Experiment!

Now if you do loving kindness for 24 hours, what kind of result it brings? You can make a distinction. Anyone who is honest will see the difference.

We all have it; passion, emotions, anger, and envy. We don’t need that much to encourage it or boost our anger or amplify our envy. They go themselves very well.

But there are many ways to be part of something. Take for example a glass of water. Water is H2O. I can put some medicine in that, and it becomes therapeutic water. I can put some syenite in it, it will kill me. But H2O is not medicinal or toxic, but the contents in it are.

Is it like that for mental poisons? How can we investigate that? We need some kinds of introspection. We can see behind the wandering thoughts. There is a basic nature of consciousness --- awareness that is not modified by contents (mental constructions).

To recognize that is to realize the possibility of change. You can bring antidotes, you can neutralize hatred with loving kindness, and you can stop identifying with your anxiety and anger. The awareness of anger is not anger.

The more awareness and mindfulness grows, the more anger will vanish and fade away. When we know that transformation is possible then we can put it in action.

Meditation is a way to become a better human being, then to function better in society, then to be at the better service of others.

We are working with scientists studying how the brain changes with those who do short and long term meditations; from 8 weeks and 20 years.

They find that those who do long term meditation have tremendous change in their brain. The faculty that generates powerful mental states is the result of their training.

For those who are not experienced, they were asked to meditate for 30 minutes a day for 8-10 weeks, and the study showed remarkable results.

The area of the brain that is related to stress is less active. Their anxiety and stress diminishes; the immune system and production of antibody increases, high blood pressure decreases, the traits of anger and the tendency to depression goes down. These lead to conditions to happiness and increase the quality of life.

I’d suggest you do meditation for 30 minutes every day, best in the morning when your mind is not too covered by thoughts. It will give you a different taste to the day. You will be less affected by whatever happens during the day.

And like any trainings, change is not going to happen within a snap. We don’t mind spending 15 years going to schools and learn professional skills. When we know and accept the fact that we need to change, we need to learn.

Your happiness can be achieved with and through happiness of others. Selfish happiness does not exist. It destroys self. You make yourself and others miserable.

Our suffering and happiness is closely linked with that of others. We are not in our own bubble. We are interdependent. So we have to learn how to live together.

Altruism is the key. Compassion and altruism love is the most constructive emotion of mental states.

It is the thing that makes us speak and act in favour of others. It is attuned with reality, which is interdependence.

Living together does not mean that everybody should think the same. Have different ideas but work together!

This is for the good of the nation, for the people, for the good of your family, and for your own good.
People have to be genuinely concerned about bringing a better society. If everyone tries to pull the strings out of personal interests, for fame, glory, power, or money, then it is not going to work because selfish interest never satisfies, endless and also bound to fail because you cannot always succeed in self interest.

If you are genuinely concerned, you will always find solutions, through dialogue and good will. That is what we need.

You can’t make good human beings by issuing new laws. A good human being needs to be developed from inside.

So first, begin with yourself by being sensible, wise, strong, altruistic, then slowly others will also change. Their anger somehow is going to reduce. The power of truth, ahimsa, is really strong. Take for example, Gandhi, a small man who brought the British Empire down by the power of truth. Non violence does not mean passiveness. Non violence means to be very determined not to use hatred.

In any situations, it is important that we cultivate love in our mind. It is our mind that generates the optimal quality of being, that is genuine happiness.

About Venerable Matthieu Ricard
In 1972, after completing his PhD degree in molecular genetics from the Institut Pasteur in France, young and promising biologist Matthieu Ricard decided to pursue his practice, not in science, but in Tibetan Buddhism.

For 35 years, the world has known Venerable Ricard as a Buddhist monk, the French translator for the Holy Dalai Lama, a photographer, a best selling author of the Monk and the Philosopher, a dialogue of himself and his father; the renown French philosopher Jean-Francois Revel.

Ven. Ricard has also coordinated more than 30 humanitarian projects ( see www.karuna-asia.org) to promote health and well being, education and cultural preservation in under-privileged communities in Nepal, Tibet, India and Bhutan.

And at the Mind and Life Institute, he works with scientists from leading institutions on collaborative researches of the effect of mind training.

On his recent visit to Thailand as one of keynote speakers at the International Conference on Buddhism in the Age of Consumerism, hosted by the College of Religious Studies, Mahidol University, Outlook has a chance to talk to Ven. Ricard, 62, on the effect of mind training and his new book, Happiness: A Guide to Developing Life's Most Important Skill.

วันอาทิตย์, ธันวาคม 28, 2551

รสนา โตสิตระกูล : บนหนทางเพื่อชีวิตและสังคม

กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย – หลังจากใช้เวลาสามชั่วโมงอยู่ท่ามกลางจราจรที่ติดขัดและให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับภาวะการเมืองที่สับสนวุ่นวาย – ทั้งในสภาและบนท้องถนน – รสนา โตสิตระกูลดูเป็นปรกติและผ่อนคลายขณะที่ก้าวเข้ามาในห้องเพื่อร่วมประชุมโต๊ะกลม หัวข้อของเธอ: ชีวิตในฐานะชาวพุทธในการเคลื่อนไหวทางสังคม

วงสนทนาเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำเดือนร่วมกับกลุ่มจิตวิวัฒน์ ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยท่านอาจารย์ประเวศ วะสี

ทันที ที่เพิ่งมาถึง นักเขียนหนุ่ม วิจักขณ์ พานิช ได้เข้าไปหาและมอบหนังสือเล่มใหม่ของเขาที่ว่าด้วยการเรียนรู้ที่นำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงตนเอง “สำหรับนักรบสตรี” เป็นคำอุทิศที่เขียนไว้

รสนาที่สวมแว่นตาออกจะงงอยู่สักหน่อย “ดิฉัน ค่อนข้างจะชอบไอเดียนี้นะ มันเป็นสิ่งที่ดิฉันมองเห็นภาพตัวเองเวลาที่ต้องสู้เพื่ออะไรบางอย่าง เพื่อไปข้างหน้าและบรรลุสู่จุดหมาย” รสนา โตสิตระกูลกล่าว เธออายุ ๕๕ ปี นักกิจกรรมทางสังคมมือเก๋าและวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งคนล่าสุดของกรุงเทพมหานคร “เป้าหมายไม่ใช่การได้รับตำแหน่งสูงหรือรวยล้นฟ้า เป็นการต่อสู้เพื่อความถูกต้องยุติธรรม จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้นั่นแหละที่ทำให้ฉันมีชีวิตอยู่” เธอกล่าว ดวงตาเป็นประกาย

สำหรับแนวคิดเรื่องนักรบนั้น รสนากล่าวว่า เธอได้รับแรงบันดาลใจจากภาพของนักรบในหนังสือชัมบาลา: หน ทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ โดยเชอเกียม ตรุงปะ ธรรมาจารย์ชาวทิเบต ซึ่งอรรถาธิบายเกี่ยวกับแนวคิดของปัจเจกบุคคลในการสร้างสังคมอุดมคติ อันเป็นเช่นเดียวกันกับถ้อยความของมิเกล เดอ เซรบานเตสในดอน กิโฆเต อัศวินวิปลาสผู้ต่อสู้กับความอยุติธรรม

และนั่นก็เป็นสิ่งที่ผลักดันให้เธอเข้าสู่การเมืองระดับชาติ ถึงแม้จะมีคำเตือนจากทุกฝ่ายว่าการเมือง “สกปรก” หากความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขสิ่งผิดให้ถูกของเธอก็สอดคล้องกับท่วงทำนองของผู้ มีสิทธิ์เลือกตั้งในกรุงเทพฯ พวกเขามอบหมายผ่านให้เธอด้วยคะแนนเสียง ๗๔๐,๐๐๐ เสียง

รสนา สนใจกิจกรรมทางสังคมมาตั้งแต่ยังเรียนหนังสือ เธอทำงานทางด้านพุทธศาสนาเพื่อสังคมและการเคลื่อนไหวเชิงสันติวิธีแบบติดดิน มาตลอดจนกระทั่งปีที่เศรษฐกิจตกต่ำ พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อเธอเป็นผู้น้ำกลุ่มประชาสังคม ๓๐ กลุ่มขุดคุ้ยการทุจริตในกระทรวงสาธารณสุข เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่นักการเมืองที่เคยเป็นถึงรัฐมนตรีต้องถูก คุมขังในคุกด้วยข้อหาทุจริต

รสนากลาย เป็นชื่อสามัญประจำบ้านเมื่อเธอทำงานร่วมกับกลุ่มคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการเคลื่อนไหวต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย และปตท. ยักษ์ใหญ่ของประเศทางด้านกาซและน้ำมัน

“ดิฉันไม่มีความทะเยอทะยานทางการเมืองหรือมุ่งหวังที่จะเป็นวีรสตรี” นักสันติวิธีที่ได้รับการยกย่องกล่าว “สิ่งที่ทำเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามแนวพุทธ – พุทธศาสนาเพื่อสังคม”

ในทัศนะของเธอ การปฏิบัติตามแนวพุทธมิใช่การพูดเชิงปรัชญาหรือทำสมาธิบนโซฟา หากแต่เป็นการกระทำที่เต็มไปด้วยความกรุณา ความกล้าวหาญ และความเข้าใจที่จะช่วยกำจัดความทุกข์

พุทธศาสนาเพื่อสังคมคือการเอามือเท้าของเราเข้าไปคลุกกับดินโคลน นำการปฏิบัติไปสู่การกระทำ เธอกล่าว “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิต ดิฉันจะถือว่าเป็นเสมือนบทเรียนบนหนทางแห่งการฝึกฝน”

นั่นคือ การดำรงจิตอยู่ในความสงบ ปราศจากความหวั่นไหว และเต็มไปด้วยความกรุณา ถึงแม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นนักคิดแบบ “ถอยหลังเข้าคลอง” และ “ฝ่ายซ้าย” ซึ่งฉุดดึงบ่อนทำลายเศรษฐกิจของประเทศลงมา ถึงแม้ว่าจะถูกฟ้องในศาลหลายคดีโดยข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองที่กำลัง มีอำนาจ การได้รับคำขู่ฆ่าหรือมีระเบิดใกล้ที่ทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแลก เปลี่ยนกับเรื่องดังกล่าว

ผู้คนมักจะประทับตราให้กับอีกฝ่าย เธอกล่าว “ถ้า คุณไม่ใช้ขวา คุณก็ต้องเป็นซ้าย ถ้าคุณไม่เห็นด้วยกับเรา คุณก็เห็นด้วยกับพวกเขา พุทธศาสนาสอนไม่ให้เราสุดโต่ง ซึ่งไม่ง่ายเลย ฉันต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอไม่ให้หลุดและหลงทางไปกับเรื่องเหล่านี้”

ในยามที่เธอมีความลังเลสงสัยว่ากำลังอยู่บนหนทางที่ถูกต้องหรือไม่ เธอก็จะนึกถึงสิ่งที่หลวงพ่อคำเขียน สุวรรณโณ พระอาจารย์ที่เธอเคารพยิ่ง เคยแนะนำไว้ “ครั้ง หนึ่งหลวงพ่อเคยสอนว่า เมื่อไหร่ที่ใจของเราไม่เป็นปรกติหรือไม่เป็นกลาง ถือว่าผิด ไม่ว่าเราจะให้เหตุผลดีเพียงใดต่ออารมณ์ของเราและสาเหตุที่เราทำ มันก็ยังผิดอยู่นั่นเอง การโกรธหรือคิดแค้นไม่เคยถูกเลย”

“ถึงแม้จะพูดไปอย่างนั้น ต้องขอยืนยันว่าดิฉันยังคงอยู่ในกระบวนการเรียนรู้และพยายามอยู่”

ที่มาแห่งแรงบันดาลใจ

ขณะ ที่เป็นนักศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ยุคที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน แรงบันดาลใจของรสนาที่จะเปลี่ยนแปลงก่อรูปขึ้นจากนักคิดชาวพุทธร่วมสมัย อย่างพุทธทาสภิกขุ ติช นัท ฮันห์ พระเซ็นชาวเวียดนาม และมาโซบุ ฟูกูโอกะ ผู้บุกเบิกการทำเกษตรกรรมธรรมชาติชาวญี่ปุ่น รวมทั้งมหาตมคานธี คุรุด้านอหิงสา เหล่านี้เป็นที่มาของแรงบันดาลใจแห่งเธอทั้งสิ้น

การ เป็นนักอ่านระดับหนอนได้สร้างธรรมเนียมปฏิบัติขึ้นมา ด้วยการแปลหนังสือปีละเล่มเพื่อนำแนวคิดในหนังสือที่อ่านซึมซาบเข้าไปใน เนื้อตัว โดยทำในช่วงเข้าพรรษาสามเดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เธอไปภาวนาในวัดป่า

ช่วง ที่แปลหนังสือหลายเล่มของติช นัท ฮันห์ เธอได้รับเอาแนวคิดเรื่องชุมชนสังฆะเข้ามาในชีวิตและงาน ในการดำเนินชีวิตตามแนวคิดดังกล่าว รสนากับเพื่อนอีก ๑๔ คน ร่วมกันตั้งกลุ่ม “เทียบหิน” ขึ้นมา โดยพบปะกันทุกสองสัปดาห์เพื่อทวนศีล ๑๔ ข้อ ซึ่งช่วยชี้แนะหนทางการดำเนินชีวิตด้วยความตระหนักรู้และการทำงานเพื่อ สันติภาพและรับใช้สังคม

รสนากล่าว ว่าเธอได้เรียนรู้บทเรียนอันล้ำค่านานับประการจากติช นัท ฮันห์ ซึ่งเธอเรียกท่านว่า ไถ่ (ครู) ทั้งจากหนังสือของท่านและจากการได้ใกล้ชิดท่านช่วงที่พำนักอยู่ในประเทศไทย เมื่อ ๓๐ ปีก่อน

“ถึง แม้ว่าท่านจะเป็นพระและครู ไถ่ไม่พยายามที่จะยัดเยียดความเห็นและการปฏิบัติให้ดิฉันเลย ท่านเป็นเพียงตัวท่านเอง สิ่งนี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับดิฉันในการปฏิบัติตามแนวทางและคำสอนของ ท่าน”

หลักการหนึ่งที่เธอถือไว้อย่างมั่นคงก็คือ “การเห็นต่างไม่ใช่ปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเราพยายามที่จะบังคับผู้อื่นให้ยอมรับความเห็นของเรา” รสนากล่าว

พุทธศาสนาสนับสนุนให้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนด้วยความกรุณา เธอกล่าว “แต่ หนทางของพระพุทธเจ้านั้นใช้เวลา แต่คนยุครีโมต-คอนโทรล ในปัจจุบันไม่มีเวลาอย่างนั้น เราคุ้นชินกับการได้มาซึ่งสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและสำเร็จรูป แล้วเราก็นำเอาทัศนะแบบนี้เข้ามาในวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ”

รสนาชี้ให้เห็นว่า ทัศนะ แบบพุทธนั้น การทำงานกับความอยุติธรรมหรือความป่วยไข้ของสังคมจำต้องใช้ความกรุณาเป็นอย่างยิ่ง รวมท้งความเข้าใจในความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสรรพสิ่ง เธอกล่าวว่า เธอได้เรียนรู้สิ่งนี้จากการเข้าไปทำงานในแปลงเกษตรกรรมช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๖

หลัง จากแปลหนังสือคลาสสิกตลอดกาล ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว โดย มาซาโนบุ ฟูกุโอกะ เจ้าพ่อเกษตรธรรมชาติ รสนาได้สมัครขอทุนแลกเปลี่ยนไปทำงานในไร่ที่ญี่ปุ่น วัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็คือการไปหาปราชญ์ชาวนาผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล อย่างฟูกุโอกะ

“พอทำงานในไร่ได้เก้าเดือน และใช้เวลาสองวันขึ้นลงรถไฟ ๓๐ เที่ยว ดิฉันก็ไปถึงไร่ของลุงฟูกุโอกะจนได้” เธอเล่าถึงความหลังด้วยรอยยิ้ม “ครั้งหนึ่ง ตอนที่เราขึ้นรถไฟไปเที่ยวเมืองอื่นด้วยกัน ลุงฟูก็บอกว่า ‘รสนา เราไม่ต้องกังวลว่าจะถึงที่หมายหรือเปล่า เราควรสนใจว่าเราอยู่บนขบวนที่ถูกหรือยัง ถ้าเราอยู่บนรถไฟถูกขบวน ก็มั่นใจได้ว่าเราจะไปถึงที่หมาย ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง’”

เธอใช้เวลาสองสามเดือนอยู่กับฟูกุโอกะและเรียนรู้ปรัชญาของธรรมชาติและการเกษตรแบบ “อกรรม” ตลอดจนศิลปะแห่งการใช้ชีวิต

“ทั้ง หมดทั้งนั้นก็คือการรักษาสมดุล พืชไม่ได้งอกงามขึ้นถ้าเราปรับคุณภาพดินให้ดีขึ้น โดยมากแล้ว พืชแย่ๆ มักจะงอกในดินที่เสียแล้ว มันเป็นส่วนหนึ่งของการปกป้องโดยธรรมชาติก่อนที่ดินจะกลายเป็นทะเลทราย เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องสู้กับระบบที่เลวร้ายโดยตรง สิ่งที่เราทำได้ก็คือการบ่มเพาะสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้สิ่งดีงามงอกงาม เติบโตได้”

เธอ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้สามารถปรับใช้กับการเมืองได้เหมือนกัน สำหรับรสนาแล้ว ผืนดินของการเมืองแบบรัฐสภาสามารถบ่มเพาะให้เข้มแข็งผ่านการเมืองภาคประชาชน และการกระจายอำนาจ และนี่ก็คือเหตุผลที่เธอให้ความเคารพนับถือต่อคานธีเป็นอย่างสูงในฐานะที่ เป็นแบบอย่างอันดี

“คาน ธีสร้างแรงบันดาลใจให้กับดิฉันเป็นอย่างมากทีเดียว ท่านได้ทดลองความคิดของท่านด้วยชีวิตของท่านเอง ท่านปรารถนาที่จะนำสัจจะมาสู่การเมือง ท่านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างขวาง สามารถมองเห็นการณ์ไกลว่าในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดียจากอ้อมอกอังกฤษ ผู้คนจำต้องพึ่งพาตนเองให้ได้” เธอกล่าว

ทัศนะ ของคานธีว่าด้วยเรื่องการพึ่งพาตนเองได้เป็นแรงผลักดันให้เธอริเริ่มโครงการ สมุนไพรพึ่งตนเอง ซึ่งต่อมากระตุ้นให้เกิดความสนใจต่อการแพทย์สมุนไพรและแผนโบราณในวงกว้าง โครงการนี้ได้เติบใหญ่กลายเป็นมูลนิธิสุขภาพไทที่มุ่งเน้นความสำคัญของ สุขภาพแบบองค์รวมและความรุ่มรวยขององค์ความรู้พื้นถิ่นด้านนี้

แนว รบอีกด้านของรสนาก็คือลัทธิบริโภคนิยม อันเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้คนเชื่อว่าความสุขของเขาเหล่านั้นขึ้นอยู่ กับการเป็นเจ้าของครอบครองวัตถุ กิจกรรมนวดเด็กทารกเป็นโครงการเล็กๆ หนึ่งโครงการของเธอที่ช่วยให้ผู้คนมองเห็นความเท็จในความเชื่อชนิดนั้น

“ดิฉัน อยากจะให้ผู้คนมองเห็นว่าความสุขอยู่ในมือของเราเองนี้แหละ ง่ายมากเลย ลองไปนวดเด็กดูสิแล้วคุณจะพบกับความร่าเริงเบิกบาน ความสุขของเราไม่ได้เกิดจากการบริโภคหากเกิดจากการให้ต่อผู้อื่น” เธอกล่าว

นอกเหนือจากกิจกรรมนวดเด็กแล้ว รสนายังใช้การปิดทองพระเป็นงานอดิเรก “เป็นงานอดิเรกที่ช่วยทำให้เกิดสมาธิและให้คุณประโยชน์อย่างมาก ทำให้ดิฉันมีพลังใจ”

“การ ทำงานด้านสังคมและการต่อสู้กับความอยุติธรรมต้องใช้เวลา ความสำเร็จไม่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายดายและฉับพลัดทันที และในช่วงเวลาเหล่านั้น หัวใจคุณอาจจะถูกบีบคั้นอย่างหนัก ดิฉันเลยต้องมีบางอย่างที่ช่วยให้พลังกับจิตวิญญาณของตัวเอง บางอย่างที่ดิฉันสามารถทำได้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนด”

“สิ่งเหล่านั้นช่วยให้ดิฉันผ่านพ้นงานอันหนักหน่วงยาวนานได้”

ชะตากรรมมนุษย์และชมพูพันธุ์ทิพย์

แน่ ล่ะ หนทางของรสนาย่อมมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เธอเคยหมดแรงใจหลายครั้งหลายหน ตัวอย่างเช่น โครงการสมุนไพรพึ่งตนเองของเธอได้รับผลกระทบจากนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค เป็นอย่างมาก “ผู้คนต่างหันกลับไปสู่การรักษาด้วยยาแทนการป้องกันตนเอง” เธอขยายความ

ความพยายาม ๓๐ ปีของเธอจะเหลวเปล่ากระนั้นหรือ? การพึ่งพาตนเองจะกลับกลายเป็นสิ่งไร้ความหมายกระนั้นหรือ? “บางครั้ง ดูเหมือนเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ที่จะต่อสู้ ที่จะแก้ไขสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นงานที่ไร้จุดจบ”

ความ ยอกย้อนของชีวิตทำให้เธอนึกถึงชะตากรรมของซิซิฟุสในตำนานกรีก โดยเฉพาะการตีความของอัลแบร์ต กามูส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสที่มีเชื้อสายอัลแกเรีย

“ชะตา กรรมของมนุษย์ก็เหมือนกับซิซิฟุสน่ะแหละ เขาถูกสาปให้ทำงานที่ไร้ความหมายซ้ำไปซ้ำมาอยู่นั่นแล้ว นั่นคือ การเข็นก้อนหินขึ้นสู่ยอดเขา เพียงเพื่อที่จะเห็นมันกลิ้งลงมาอีกรอบ ดูเปล่าประโยชน์และไร้ความหมายอย่างสิ้นเชิง”

เธอเล่าต่อ “กระนั้น กามูส์ชี้ให้เห็นว่า วันหนึ่งนั้นเอง ขณะที่ซิซิฟุสกำลังเข็นหินขึ้นสู่ยอดภู เขาก็เหลือบไปเห็นดอกไม้เล็กๆ ดอกหนึ่ง กำลังบานอยู่ข้างทาง เพียงเท่านั้น เขาก็เป็นสุข”

“บาง ที มันอาจจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราถึงยังต้องทำงานที่ไร้ความหมายและน่าเหน็ดหน่ายอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะว่า ยังมีความงามอยู่ระหว่างทางนั่นเอง”

ถ้อย คำของกามูส์เข้ากันได้ดีกับตัวเธอมากทีดียว รสนาพบว่าตนเองมีความละม้ายคล้ายคลึงกับนักเขียนนวนิยายผู้นี้โดยเหตุที่เธอ เองก็พบความสุขจากดอกไม้ – ชมพูพันธุ์ทิพย์ หรือดอกซากุระของไทย

“ทุกปี พอถึงฤดู ดิฉันจะรู้สึกตื่นเต้น คล้ายกับว่าเพื่อนเก่ากำลังจะมา”

ปีละครั้ง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม รสนาจะขับรถไปบริเวณที่ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์กำลังบาน

ต้น ชมพูพันธุ์ทิพย์มีความวิเศษมาก ดำรงตนอยู่สันโดษ แผ่กิ่งก้านอย่างสง่า ดอกสีชมพูก็งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ถึงแม้ภาวะแวดล้อมจะไม่ค่อยเหมาะนัก แต่ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ก็ยังคงภักดีต่อฤดูกาล ทั้งเติบใหญ่และเบ่งบานอย่างองอาจห้าวหาญ

“สัจจะ แท้จริงย่อมเผยตัวออกมาอย่างสามัญธรรมดา เมื่อเรามอบเวลาให้กับตนเองเพื่อพิจารณาใคร่ครวญถึงธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว เราย่อมเปี่ยมพลังและกระตือรือล้น” รสนากล่าว

เมื่อฤดูกาลผ่านพ้น รสนาได้ถ่ายภาพต้นชมพูพันธุ์ทิพย์เก็บไว้ดูเพื่อเตือนให้รำลึกถึงงานเข็นครกขึ้นภูเขา เช่นเดียวกับซิซิฟุส

“เรามีหน้าที่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่อง เพื่อสร้างเหตุแห่งกุศลกรรมให้เกิดขึ้น ซึ่งจะดูแลผลหลังจากนั้นเอง” เธอกล่าว

“คุรุ ทางจิตวิญญาณของดิฉันเคยกล่าวไว้หนหนึ่งว่า พระพุทธองค์จักทรงฉวยโอกาสเท่าที่มีในการทำสิ่งที่ถูกต้อง และแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง แม้จะเป็นการกระทำอันเล็กน้อย ไม่สำคัญหรอกว่าคุณจะสำเร็จหรือล้มเหลว โดยเหตุที่พุทธศาสนาเป็นทั้งหนทางและเป้าหมายในตัวเอง”

บทความชิ้นนี้ แปลโดย ชลนภา อนุกูล

จากงานเขียนภาษาอังกฤษของ กรรณจริยา สุขรุ่ง

บางกอกโพสต์, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๑

วันอังคาร, พฤศจิกายน 04, 2551

มิตรภาพแห่งป่าสีเสียด

ถึงขทิรวรรณแล้ว นั่งและนอนมา 3 ชั่วโมง เหนื่อยจัง ขอพักร้อน นั่งกินก่อนทำงาน
พ่อเอก แม่เก๋ กินอาหารไม่ลืมที่จะเผื่อลูก แต่ไม่รู้ว่า สิ่งที่พ่อกินเกี่ยวอะไรกับลูกในท้องแม่ด้วยนะเนี่ย
พี่หน่อย หมวกส้ม กำลังขนถ่าย (ดูท่านั่ง แล้วจะรู้ว่า หนักหรือเบา) กล้าไม้สีเสียดลงมา อุ๊ได้สัมผัสรู้จักกับต้นสีเสียดครั้งแรก
ปิ่น จ๋า และเพื่อน ๆ พากันเรียงแถว ลำเลียงกล้าไม้จากรถกระบะ ลงมาวาง พร้อมปลูก เย้

นุ่นภาคสนาม กับกล้าต้นสีเสียด เธอเดินลำเลียงกล้าไปให้เพื่อน ๆ ปลูกกัน
เอก กำลังขุดดิน ลงกล้าไม้อย่างขมีขมัน ไม่กลัวความร้อน โดยมีเก๋ ภรรยาแสนน่ารักและลูกน้อยในท้องคุ้มหัวและเป็นกำลังใจให้
3 ออ ท้าแดด อุ๋ย ออม (น้องอุ๊) และ อลีน กำลังปลูกต้นไม้กันอย่างเบิกบาน

มุมพระสถูปมนต์ ถ่ายเรือนรับรองหลังคาแดง ที่เอกกับเก๋ และพี่หน่อยก้างขวางคอ เข้าพำนัก

ในตอนสาย หลังจากทำสมาธิ สวดมนต์แล้ว เราได้รับแจกธงมนต์คนละผืนให้ร่วมกันผูกรอบสถูปมนต์ ธงมนต์นี้ให้ความร่วมเย็นกับเรามาตลอดช่วงเวลาพำนัก

อากาศข้างนอกอาจจะร้อน แต่หลายคนแปลกใจว่าเมื่ออยู่ในร่มของธงมนต์ กลับได้รับความเย็นสบายอย่างประหลาด สายลมที่พัดทำให้ธงโบกสะบัด เกิดท่วงทำนองอันไพเราะ พาจิตให้เป็นสมาธิได้ง่าย เงาของธงที่ปลิวไหวทอดลงบนพื้นเสื่อที่นั่ง เกิดเป็นริ้วภาพ พาให้เห็นใจที่ขยับตามแรงลม

ก้าวย่างของมิตรภาพ
ขอให้มิตรภาพยั่งยืน ดั่งไม้ยืนต้น
ขอให้มิตรภาพให้ร่มเงา แก่ใจเพื่อน
ขอให้มิตรภาพงอกงาม ดั่งขทิร ที่จะเติบโต
(ใครแต่งกลอนได้ดีกว่านี้ เชิญจ๊ะ)

ดูภาพและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ http://krisadawan.wordpress.com

อุ๊

มิตรภาพแห่งป่าสีเสียด

โดย กรรณจริยา สุขรุ่ง


ภาพ: ด้วยรอยยิ้มท้าแดด
พวกเรายืนถือธงมนตร์พร้อมผูกร่วมกันทำพระสถูป








เมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา 1-2 พฤศจิกายน พวกเรา 11 คน ชาวแฮปปี้มีเดีย ได้ไปร่วมกฐินปลูกป่าที่ขทิรวรรณ หัวหิน ของมูลนิธิพันดารา

สำหรับเราแล้ว กิจกรรม 2 วัน 1 คืน มีความหมาย คุณค่าสำหรับตัวเอง และสำหรับมิตรภาพรวมหมู่ของพวกเราอย่างยิ่ง

ความทรงจำรายละเอียดของเราพร่าเลือน สิ่งที่ตราตรึงใจกลับไม่ใช่รายละเอียดของเหตุการณ์ ลำดับความที่เกิดขึ้น หากแต่เป็นความรู้สึก ความหมาย คุณค่า และความประทับใจในเรื่องราว ผู้คนที่พบเจอ จึงขอเล่าความรู้สึก ความประทับใจที่มี

เราตื่นเต้นนับแต่วันที่รู้ว่าจิ๊กรับเป็นแม่งานการปลูกป่าที่สถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้
ความตื่นเต้นมีเหตุมาจากความเชื่อที่ว่า การปลูกต้นไม้ เป็น การทำบุญใหญ่ บุญในที่นี้ไม่ได้หมายถึงบุญที่จะตักตวง สะสมกันเอาไว้ทวงถามหลังความตาย หรือชาติภาพหน้า แต่เป็นบุญที่จะเบิกบานงอกงามในใจเราในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นบุญที่ทำให้ยิ้มได้เรื่อยๆ พร้อมๆ กับต้นไม้ที่จะเติบโต

ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิต ดังนั้นสิ่งที่เราทำก็คือ การให้ชีวิต การปลูกและหล่อเลี้ยงชีวิต มันเป็นความรู้สึกที่วิเศษ
ในยามที่เราขุดดิน ลงต้นไม้ เรานึกด้วยว่ากำลังเป็นตัวแทนของเพื่อน ๆ และทุกชีวิต ร่วมกันปลูกความดีงามบนพื้นโลก และเราจะได้รับประโยชน์สุขนี้ร่วมกัน

ลองคิดดูสิว่า ต้นไม้ยืนต้นมีอายุนานเท่าไร ระหว่างช่วงอายุของเขานั้น ต้นไม้จะทำคุณประโยชน์ให้โลก และสรรพชีวิตมากเพียงไร และประโยชน์ที่ต้นไม้จะรังสรรค์นั้นไม่แบ่งแยก ไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง คาร์บอนไดออกไซด์ที่แปรรูปเป็นออกซิเจนก็จะขจรกระจายให้แก่สรรพสัตว์และมนุษย์ อากาศอันร่มเย็นก็ให้แก่ทุกอย่างที่ขอมาพักพิงอาศัย ไม่ว่าจะคนดี คนยังไม่ดีนัก

ยิ่งพอได้ทราบว่าต้นสีเสียด มีฤทธิ์และสรรพคุณทางยา ก็ยิ่งพาให้ใจเบิกบาน ตามพุทธตำนาน เล่าขานว่า พระพุทธองค์เสด็จมาที่ป่าสีเสียด แล้วพระอาการประชวรทุเลา อันนี้หมายความว่า แม้จะไม่ได้กิน การที่อยู่ในบรรยากาศของป่าสีเสียด ก็สามารถเยียวยาทุกข์ทางกายและทางใจได้

ด้วยความงดงามของต้นไม้นี้ ทำให้เรารู้สึกดีที่จะได้ปลูกต้นขทิรบนพื้นที่ที่เราเห็นว่าเป็นเนื้อนาบุญด้วย ดังที่อาจารย์กฤษดาวรรณ ตั้งใจให้ ขทิรวรรณ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ปลีกวิวเกของเหล่าศาสนิกชนทุกความเชื่อมาใช้ในการแสวงหาความสงบ สันติภาพในใจ เราจึงเห็นว่าการที่เราทุกคนมาร่วมกันปลูกต้นไม้ อย่างที่ทำไปแล้ว นับว่าจะให้คุณประโยชน์แก่คนทั้งหลายทั้งในปัจจุบันและอนาคต

นี่เอง ที่เราว่าเป็นบุญ คือ การนึกถึงผู้อื่น การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นโดยรวม
โดยเฉพาะเพื่อนๆ ทุกคนทำงานกันอย่างแข็งขัน ท้าแดด และความเหนื่อยยาก เราได้เห็นพลังของความตั้งใจ ความรัก เอื้ออาทร และมิตรภาพ เราไม่ได้เพียงปลูกต้นไม้ เรากำลังปลูกกล้าแห่งธรรมลงไปในใจของเราด้วย เรากำลังปลูกต้นรักและมิตรภาพลงไปในใจของเราด้วย
เราเชื่อมั่นว่า กล้าไม้แห่งคุณงามความดีนี้จะปกป้องคุ้มครอง ดูแลตาน้ำแห่งความสุข สงบ สันติ ให้กับเพื่อน ๆทุกคน

ยามใดที่เห็นต้นไม้ เห็นต้นไม้ที่เราร่วมกันปลูก ภาวนาให้ต้นไม้งอกงาม เป็นที่พึ่งพิง พักผ่อนแก่คนทั้งหลาย
และถ้ามีโอกาส เราต้องหาโอกาสปลูกต้นไม้ให้งอกงามให้มากที่สุด
ต้นไม้ทีพลังเยียวยากาย และ ใจ
ต้นไม้นำพาความร่มรื่นทั้งกาย และ ใจ
ต้นไม้คือสิ่งที่โลกกำลังต้องการ
หากเราคิดจะทำบุญ ลงมือปลูกต้นไม้กันเถอะ ในบ้านของเรา และทุกที่ที่เราอยู่ หากเห็นต้นไม้สาธารณะกำลังเหี่ยวแห้งเฉา ขอยื่นมือเข้าไปหล่อเลี้ยงชีวิตอันประเสริฐนั้นด้วย

วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้

วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11180 มติชนรายวัน
ก่อนพุทธศาสนาอายุครบ 26 ศตวรรษ
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ
โดย พระไพศาล วิสาโล เครือข่ายพุทธิกา http://budnet.info

พุทธศาสนากำลังได้รับความนิยมอย่างมากในซีกโลกตะวันตก ในสหรัฐอเมริกา พุทธศาสนาจัดว่าเป็นศาสนาหนึ่งที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในหมู่คนพื้นเมืองผิวขาว โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาชั้นสูง (ผิดกับแต่ก่อนที่การขยายตัวของพุทธศาสนาเกิดจากการอพยพของคนเอเชีย) สมาธิภาวนาแบบพุทธได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางไม่จำเพาะในหมู่ชาวพุทธ หากยังขยายไปสู่แวดวงอื่นๆ รวมทั้งแวดวงการแพทย์และจิตเวช จนคำว่า "วิปัสสนา" กลายเป็นคำที่คุ้นปากผู้คน ร้านหนังสือชั้นนำทุกแห่งทั่วประเทศต้องมีชั้นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาวางขายโดยเฉพาะ และหลายเล่มเป็นหนังสือขายดี

ในเวลาเดียวกัน แนวคิดทางพุทธศาสนาหรือพุทธธรรมก็ได้รับความสนใจจากคนในวงการต่างๆ มากขึ้น ในฐานะที่อาจเป็นคำตอบให้แก่โลกทางด้านนิเวศวิทยาและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็ได้สร้างความรุ่มรวยลุ่มลึกให้แก่องค์ความรู้ในหลายสาขาทั้งวิทยาศาสตร์ การแพทย์ จิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์ ดังเห็นได้จากการเสวนาวิสาสะระหว่างชาวพุทธชั้นนำกับนักคิดในวงการและสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างคึกคักตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวแม้มีแนวโน้มขยายตัวแต่ในที่สุดก็อาจจำกัดอยู่เฉพาะแวดวงส่วนน้อยของชาวพุทธ อาทิ ในหมู่ชนชั้นนำหรือผู้มีการศึกษา จนกลายเป็นรูปแบบการใช้ชีวิต หรือ "ไลฟ์สไตล์" ของคนเฉพาะกลุ่ม (ดังโยคะซึ่งเป็นที่นิยมจนแทบจะกลายเป็น "แฟชั่น" ในหมู่ชนชั้นกลางหรือผู้มีอันจะกินที่มีการศึกษา) อย่างดีก็ทำให้พุทธศาสนาเป็นเรื่องของคนที่ต้องการหลุดพ้นเฉพาะตน ในขณะเดียวกันก็เป็นไปได้เช่นกันว่าพุทธศาสนากระแสใหม่ซึ่งแพร่หลายในกลุ่มคนเหล่านี้จะหดแคบเรียวลงจนเป็นแค่เทคนิคจิตบำบัดหรือวิธีการผ่อนคลายจิตใจอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น ในกรณีเช่นนั้นปรากฏการณ์ดังกล่าวก็เป็นเพียงภาพสะท้อนการแปรเปลี่ยนพุทธศาสนาให้เป็นสินค้าเพื่อการบริโภคอีกชนิดหนึ่งเท่านั้น มิพักต้องกล่าวว่าแนวคิดใหม่ๆ ที่พุทธศาสนาจะให้แก่โลกนั้น ในที่สุดก็อาจเป็นเพียงแค่ประเด็นสำหรับการถกเถียงทางวิชาการหรือกลายเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่จำเพาะผู้คนในแวดวงมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่สนใจ

จะข้ามพ้นจากกับดักดังกล่าวไปได้ การมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับโลกสมัยใหม่และวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างรู้เท่าทัน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวพุทธ ขณะเดียวกันก็ไม่ควรพอใจกับการอ้าแขนต้อนรับของวงการต่างๆ โดยยอมให้มีการนำเอาบางแง่บางด้านไปใช้ประโยชน์ แต่ละทิ้งสิ่งที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา (ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัวจนหลุดพ้นจากความยึดติดถือมั่นในตัวตน) เพราะนั่นอาจกลายเป็นการยอมตนให้ถูกกลืนอีกแบบหนึ่ง แต่ชาวพุทธควรก้าวไปมากกว่านั้น นั่นคือ พยายามผลักดันให้แนวโน้มด้านบวกต่างๆ ที่กล่าวมาขยายตัวในทุกปริมณฑลและผสานเข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนจนกลายเป็น "วัฒนธรรม" เราอาจเรียกวัฒนธรรมดังกล่าวว่า "วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้" กล่าวคือ เป็นไปเพื่อการตื่นจากความหลงในวัตถุนิยม และจากความยึดติดถือมั่นในเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว อันนำไปสู่การเบียดเบียนทำร้ายกัน

ในยามที่โลกกำลังเผชิญวิกฤตจนใกล้ลุกเป็นไฟ (ทั้งด้วยเพลิงสงครามและปรากฏการณ์โลกร้อน) อันเป็นผลจากวัฒนธรรมหลัก ๒ กระแส คือ วัฒนธรรมแห่งความละโมบ และวัฒนธรรมแห่งความโกรธเกลียด โดยมีกระแสโลกาภิวัตน์เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและกระตุ้นเร้า วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะ "ช่วยโลก" ให้ปลอดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้อย่างแท้จริง ทั้งโดยการทัดทานถ่วงดุลวัฒนธรรม 2 กระแสดังกล่าว และด้วยการเสนอทางเลือกของชีวิตและสังคมที่ดีกว่า

ไม่ใช่แต่อนาคตของโลกเท่านั้น แต่รวมถึงอนาคตของพุทธศาสนาด้วย ล้วนขึ้นอยู่กับว่าพุทธศาสนาจะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ได้หรือไม่ เป็นที่ยอมรับกันว่า พุทธศาสนาเป็นระบบการปฏิบัติที่ช่วยให้บุคคลเกิดความตื่นรู้จนเป็นอิสระจากความทุกข์ แต่นั่นก็เป็นเพียงด้านหนึ่งของพุทธศาสนา หากการนำพาบุคคลให้รู้จักมองตนจนประจักษ์แจ้งในสัจธรรม เป็นมิติด้านลึกของพุทธศาสนา พุทธศาสนาก็ยังมีมิติหนึ่งคือมิติด้านกว้าง ซึ่งหมายถึงการช่วยเหลือมหาชนให้พ้นทุกข์และเกื้อกูลสังคมให้เกิดสันติสุข คำสอนทางพุทธศาสนาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อชักนำผู้คนให้เข้าถึงปรมัตถธรรมเท่านั้น หากยังมุ่งส่งเสริมให้ผู้คนมีสำนึกความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และช่วยให้สังคมเกิดความสงบสุข วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากชาวพุทธมุ่งแต่ความหลุดพ้นเฉพาะตน หากจำต้องออกไปสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้เกื้อกูลต่อความตื่นรู้ของผู้คนในวงกว้างด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ลำพังจิตที่ตื่นรู้เฉพาะตนนั้นยังไม่เพียงพอ แต่ต้องขยายผลให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ด้วย

ทุกวันนี้พุทธศาสนาถูกตีความให้แคบจนเหลือแต่ด้านเดียวคือมิติด้านลึก (หรือยิ่งกว่านั้นคือเหลือแต่เพียงประเพณีพิธีกรรม ซึ่งเป็นความตื้นอย่างยิ่ง) การตีความเช่นนั้นเป็นการตีกรอบพุทธศาสนาให้มีบทบาทแคบลง คือไม่สนใจชะตากรรมของสังคม การจำกัดตัวเช่นนี้นอกจากจะทำให้วัฒนธรรมแห่งความละโมบและความโกรธเกลียดเฟื่องฟูและซึมลึกแล้ว ยังเป็นผลเสียต่อพุทธศาสนาเอง เพราะสังคมที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมแห่งความละโมบและความโกรธเกลียดนั้น ย่อมบั่นทอนพลังของพุทธศาสนาเอง และทำให้พื้นที่ในการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธแคบลง จนแม้แต่การรักษาตนให้มีคุณธรรมก็จะเป็นไปได้ยากขึ้น ดังทุกวันนี้ผู้คนพบว่าตนยากที่จะครองตนให้มีความซื่อสัตย์สุจริตได้ในเวลาทำงาน เพียงแค่อยู่บนท้องถนนก็ยากจะมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นได้ แต่ต้องเห็นแก่ตัวจึงจะอยู่รอดได้ กลายเป็นว่าจะเป็นคนดีได้ก็เฉพาะเวลาอยู่ในบ้านเท่านั้น และนับวันการทำความดีหรือมีน้ำใจแม้แต่ในบ้านก็เป็นเรื่องยาก เพราะต่างแสวงหาประโยชน์จากกันและกัน การเอาเปรียบและใช้ความรุนแรงในบ้านจึงมีแนวโน้มมากขึ้น สิ่งที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เตือนไว้เกือบ 3 ทศวรรษมาแล้ว จึงใกล้จะเป็นความจริงขึ้นทุกที กล่าวคือ ชาวพุทธกำลังอยู่ในสภาพเป็นฝ่ายตั้งรับและถอยร่นไปเรื่อยๆ "เหมือนหนีไปรวมกันอยู่บนเกาะที่ถูกน้ำล้อมรอบ ขาดจากชาวมนุษย์อื่น" และต่อไปอาจถึงขั้นว่า "การปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาไม่อาจเป็นไปได้เลย"

การเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้จนกลายเป็นวิถีชีวิตของมหาชน จะทำให้พุทธศาสนาพ้นจากการเป็นวิถีปฏิบัติของคนเฉพาะกลุ่มที่มุ่งความหลุดพ้นเฉพาะตน (โดยกระจุกตัวอยู่ในวัดป่าหรือสำนักปฏิบัติต่างๆ) และมีความหมายต่อผู้คนทุกหมู่เหล่า เปรียบเสมือนสระน้ำอันกว้างใหญ่ที่คนทุกประเภทได้ใช้สอย ไม่จำเพาะนักปฏิบัติธรรมหรือคนบางกลุ่มเท่านั้น อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้จะเกิดขึ้นได้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากลำพังของพุทธคาสนาเอง แต่จำเป็นต้องร่วมมือกับขบวนการอื่นๆ ที่มุ่งสร้างสรรค์สังคมให้เกิดสันติสุขในด้านต่างๆ เช่น ขบวนการสิ่งแวดล้อม ขบวนการสันติภาพ ขบวนการพัฒนา ตลอดจนองค์กรศาสนาอื่นๆ ที่มีจุดร่วมคล้ายกัน โดยเฉพาะที่เห็นโทษภัยของบริโภคนิยม และอุดมการณ์ที่ปลุกให้เกิดความโกรธเกลียดไม่ว่าด้วยสาเหตุทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว

พุทธศาสนาแม้จะมีจุดเด่นในด้านวิถีแห่งการปฏิบัติเพื่อความตื่นรู้เฉพาะตนซึ่งใช้ได้กับผู้คนทุกยุคทุกสมัยเพราะธรรมชาติของคนนั้นเป็นสากล แต่ในด้านการสร้างสรรค์สังคมนั้น พุทธศาสนามีข้อจำกัดตรงที่มีเพียงหลักการกว้างๆ สำหรับการจัดวางสังคมที่ดีงาม แต่ไม่มีคำตอบหรือวิถีทางที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมสำหรับการแก้ปัญหาของสังคมยุคปัจจุบัน (หรือยุคใดก็ตาม) เนื่องจากสังคมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น ในการขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ไปทั่วทั้งสังคมนั้น จึงต้องร่วมมือขบวนการทางสังคมเหล่านี้ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่มียุทธศาสตร์ทางสังคมและการเมืองที่ชัดเจนและสอดคล้องกับบริบททางสังคมมากกว่า อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่พุทธศาสนาจะช่วยได้ก็คือการเสริมสร้างมิติทางจิตวิญญาณให้แก่ขบวนการเหล่านี้ เพื่อให้เป็นขบวนการที่ไม่เพียงมุ่งเปลี่ยนแปลงสังคมเท่านั้น หากมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในด้วย นอกจากการมุ่งช่วยให้ผู้คนเป็นอิสระจากการเอารัดเอาเปรียบและการบีบคั้นทางสังคมแล้ว ยังมุ่งให้ผู้คนเป็นอิสระจากความบีบคั้นของกิเลส ซึ่งเป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ทั้งปวง หาไม่แล้วการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจลงเอยด้วยการเปลี่ยนกลุ่มคนและรูปแบบการเอารัดเอาเปรียบกันเท่านั้น

ในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญกับเสรีภาพจากความบีบคั้นทางสังคม (รวมทั้งจากการเอาเปรียบผ่านกลไกทางเศรษฐกิจและการเมือง) พุทธศาสนาจะมีความหมายได้ก็ต่อเมื่อนำเอาจุดเน้นดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาควบคู่กับเสรีภาพจากความทุกข์ภายใน การเน้นเสรีภาพทั้งสองมิติ คือ เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคม จะทำให้พุทธศาสนากลับมามีพลังและเป็นความหวังของโลกได้

จะทำเช่นนั้นได้ พุทธศาสนาต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อฟื้นฟูมิติทางจิตวิญญาณที่เลือนหายไปให้กลับมามีพลัง โดยไม่ติดยึดกับประเพณีหรือค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงปรมัตถธรรม ขณะเดียวกันก็ต้องออกมาสัมพันธ์กับโลกให้มากขึ้น เปิดมิติทางสังคมให้กว้าง เพื่อลดทอนความทุกข์ของผู้คน นอกจากการฟื้นฟูในทางหลักธรรมแล้ว การปฏิรูปสถาบันก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในสภาพที่คณะสงฆ์นับวันจะเสื่อมถอยและปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงตัวเอง การผลักดันจากภายนอกเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้ามความสำคัญได้ ขณะเดียวกันก็จำต้องคิดถึงการสร้างชุมชนแห่งความตื่นรู้ชนิดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากคณะสงฆ์หรือวัดด้วย ความตื่นตัวของชาวพุทธที่อยู่นอกวัดหรือไม่อิงกับวัด และเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็นเครือข่าย อาจเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ให้เกิดขึ้นได้ในสังคมไทยก็ได้

ปี 2555 พุทธศาสนาจะมีอายุครบ 26 ศตวรรษ (หากเริ่มนับตั้งแต่ปฐมเทศนา หรือ ๔๕ ปีก่อนพุทธปรินิพพาน) พุทธศาสนาจะยังมีชีวิตชีวาและพลังในการปลุกความตื่นรู้ให้แก่สังคมไทยได้หรือไม่ ขึ้นอยู่ว่าสามารถปรับตัวไปในทิศทางที่กล่าวข้างต้นได้มากน้อยเพียงใด หากการปรับตัวดังกล่าวมิอาจเกิดขึ้นได้ ก็น่าเป็นห่วงว่าพุทธศาสนาไทยในศตวรรษที่ 27 จะเป็นได้อย่างมากเพียงแค่ร่างทรงของบริโภคนิยมและวัตถุนิยมเท่านั้น

วันอังคาร, ตุลาคม 28, 2551

ใส่สี กันดีกว่า แดง เหลือง ขาว รุ้ง หรือ เขียวฟ้า?

ขอส่งกลอนไร้ระเบียบ เปล่ารูปแบบ แต่ไม่เปล่าประโยชน์ มากวนใจเพื่อน ๆ

โดย เรือเอี้ยมจุ๊น


ในช่วงนี้กระแสแฟชั่นเสื้อสีแดงและสีเหลืองกำลังร้อน ฮอตฮิต

พ่อค้า แม่ขาย ผลิตเสื้อสีดั่งว่ากันไม่ทัน

โกยเงินกันเป็นกอบเป็นกำ เงินขึ้นให้รับตัก

หากมีความรุนแรง คนอยู่เบื้องหลัง คงมีกรรมเป็นกอบ


ความคิดหลากหลาย ก็มันคน!

ความโง่งม งมงาย หลงติดในความคิด เป็นไฟผลาญตนและผู้อื่น

สังคมตอนนี้สาดสีใส่กัน


สีเหลือง อ้างกูชูธรรม

สีแดง อ้างพลังประชาชน ประชาธิปไตย

สีขาว (อัศวินม้าขาว) หวังเชิดชูสันติ

สีดำ อาลัยสัจธรรมที่ถูกทำลาย

สีรุ้ง ขอร่วมด้วยนะตัว ร้องเรียกสิทธิและความเป็นมนุษย์ที่แตกต่าง ก็ในเมื่อคิดต่างไม่เป็นไร เราก็ชอบเพศเดียวกันได้ เป็นไรเป่า?


สีมีหลายหลาก ต่างสัญลักษณ์และความหมาย ที่คนให้

จำเป็นต้องเลือกไหม จะเลือกอย่างไร ชีวิตจึงจะงอกงาม


มนุษย์ไม่ตระหนักเลยหรือว่า ชีวิตกำลังมอด ตากำลังบอด หูหนวกตึง

ได้ยินบ้างไหม เสียงภัยในชีวิต

ความเจ็บป่วย มะเร็งในสายพันธุ์

แผ่นดินไหว ไฟลาวา มรสุมหนักหนาแรงพลัง คลื่นใหญ่ ถาโถมโรมรัน

ขยะที่ทิ้งในแต่ละวัน กำลังจะเป็นภูเขาลูกใหม่

เมลามีนในอาหาร และอีกหลายสารพิษ ที่คนใจโลภใจร้ายใส่ลงให้สัตว์ ให้ต้นน้ำ ต้นไม้ และเพื่อนร่วมโลกกิน


เราอยากสวมหัวใจสีเขียวและสีฟ้า แทนโลกและท้องฟ้าอากาศ

เราอยากดูแลโลก สิ่งแวดล้อมทั้ง ต้นไม้ ต้นน้ำ สัตว์ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีสิทธิอาศัยในโลกนี้เหมือนเรา

พวกเขาเป็นที่พึ่งพาอาศัยของเรา ให้ชีวิตแก่เรา

หากเราสามารถรักโลก รักสัตว์ได้ ไฉนจะไม่สามารถเผื่อแผ่ความรักให้เพื่อนมนุษย์ได้


ความรักให้ชีวิต ปราศจากความรัก ...ปราศจากชีวิต


ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในบ้านเมือง

อย่าเลิกใส่ใจกับทุกชีวิตรอบกาย


ขอให้หัวใจสีเขียวช่วยเยียวยา

มีชีวิต เพื่อรับมือกับเรื่องที่คาดไม่ถึง

โดย วิสวัฒนา

เคยคิดหรือตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า เราทุกคนเกิดมาเพื่ออะไร และจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่ออะไร เชื่อว่าหลายคน อาจเคยถามตัวเองวันละหลายๆ ครั้ง มีทั้งที่ได้คำตอบและยังคงต้องค้นหาความหมายอย่างที่ต้องการอีกต่อไป

ในเวลาเดียวกันหลายๆ คน อาจไม่เคยถาม ไม่คิดว่าจะถาม และไม่อยากถาม (คงนึกด้วยว่า ผู้เขียนถามทำไม...ไร้สาระ)
แต่หากมานั่งคิดใหม่ เอาตอนเวลาที่ใจสงบๆ ก็น่าสนใจดีนะ น่าสนใจความคิดที่วกวน วิ่งไปมา และพยายามคิดให้ได้คำตอบ

คำตอบที่ว่า ก็เป็นคำตอบที่แต่ละคน อยากจะได้ยิน อยากจะยอมรับนั่นเอง หรืออาจเป็นคำตอบที่คาดว่า น่าจะใช่ สำหรับ “ความหมายของชีวิต” ผู้เขียนเคยได้คุยกับใครหลายคนจึงรับรู้ว่ามีความเห็นในเรื่องนี้แตกต่างกันไป

สำหรับคนที่ใส่ใจและสนใจกับเรื่องของธรรมะและการปฏิบัติภาวนา และมองโลกในแง่ดี ก็จะบอกว่าเกิดมาเพื่อทำกุศล เพื่อให้ก้าวล่วงหลุดพ้นจากความทุกข์ ดียิ่งขึ้นไปกว่านั้น ก็คือ การไม่ต้องกลับมาเกิดเพื่อเป็นทุกข์อีก

ในขณะที่คนซึ่งผ่านชีวิตมาระยะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใครที่มีชีวิตไม่ได้สุขสบายมากนัก หรือต้องประสบเคราะห์ร้ายอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน ก็อาจตอบว่า เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม

แต่สำหรับคนที่โชคดี เกิดมาด้วยชีวิตพรั่งพร้อมทั้งความสุข ความสะดวกสบาย ไม่ต้องขวนขวายดิ้นรนหรือต้องทำมาหาเลี้ยงตนเองให้เหนื่อยสายตัวแทบขาด ก็อาจได้รับคำตอบว่า เกิดมาเพื่อเสวยสุขและกินบุญเก่าที่สั่งสมตั้งแต่ชาติก่อนๆไว้ดีแล้ว
ส่วนจะทำบุญหรือทำความดีเพื่อสะสมต่อไว้ในชาติหน้า (ถ้ามี) หรือไม่ ก็แล้วแต่ว่า ใครจะเชื่ออย่างไร

ไม่ว่าจะเป็นคำตอบใดๆ ก็ได้ทั้งสิ้น ไม่มีความผิดถูก ใช่ หรือไม่ใช่ เพราะอาจมีได้หลายคำตอบและหลายเหตุผล ขึ้นอยู่กับมุมในการมองและความเข้าใจ หรือการตีความหมายของ “ชีวิต” อย่างที่แต่ละคนอยากให้เป็น ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

ผู้เขียนเองเคยจมอยู่กับความคิดนี้มานานหลายปี แต่เป็นการคิดแล้วผ่าน คิดแล้วทิ้งไว้ เพราะยังไม่ได้คำตอบอย่างที่ใจต้องการหรือเชื่อได้ว่าน่าจะเป็นคำตอบที่แท้จริง สุดท้ายก็เลยไม่คิด และไม่ได้ตั้งความหวังในอนาคตว่าจะมีชีวิตไปเพื่ออะไร ก็แค่เพียงใช้ชีวิตไปวันๆ สุขบ้าง ทุกข์บ้างไปตามประสา

แต่มาวันหนึ่ง ก็ได้คิด เมื่อต้องเผชิญกับเรื่องราวที่พลิกผันหลายเรื่องติดๆ กัน แล้วก็ได้คำตอบว่า นี่อาจเป็นสิ่งที่เรามองหาแล้วไม่เจอ ทั้งๆที่อยู่บนปลายจมูกของเรานี่เอง

เพื่อนสนิทคนหนึ่งต้องมาจากไป แม้จะไม่ได้จากตาย แต่ก็แทบไม่มีความหวังสำหรับการฟื้นคืนชีวิตมาอีกครั้ง จากอาการหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน ทำให้สมองขาดเลือดและกลายเป็นเจ้าชายนิทรา การเจ็บป่วยครั้งนี้ ไม่มีวี่แววหรือส่งสัญญาณใดๆล่วงหน้าเลย จึงไม่เคยมีการเตรียมตัวในหมู่คนใกล้ชิด แม้จะรู้ว่ามีความเจ็บป่วย แต่คนไข้ก็เชื่อมั่นว่าดูแลตัวเองดีคงไม่มีปัญหา (อาจมีสัญญาณทางกายที่เป็นโรคหัวใจ แต่ถูกละเลยหรือคิดว่าไม่สำคัญ เพราะดูแลตัวเองจนดีแล้ว จนชะล่าใจ กลายเป็นเรื่องใหญ่ในเวลาต่อมา)

ผู้เขียนตระหนักว่า ความตายอยู่ใกล้ตัวเราแค่เอื้อมเท่านั้นเอง แต่ไม่ค่อยมีใครอยากนึกถึง หรืออยากเผชิญหน้ากับมัน และวิธีไม่ยอมรับก็คือการหลีกเลี่ยง ปฏิเสธไม่ให้ความสำคัญ ไม่ใส่ใจ ซึ่งนั่นเท่ากับความผิดพลาดอย่างมหันต์ เพราะเมื่อเราไม่ตั้งรับ เวลาที่ความตายหรืออาการเฉียดตายมาถึงโดยเราไม่พร้อม จึงกลายเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่ต้องใช้เวลานาน กว่าจะตั้งตัวได้ บางคนต้องใช้เวลาที่เหลือทั้งชีวิต แต่ก็ยังไม่สามารถพลิกฟื้นกลับคืนมาได้อีกครั้ง หรือบางคนก็ไม่มีโอกาสนั้นอีกเลย

ไม่กี่วันถัดมา ก็มีเรื่องราวต่างๆเกิดขึ้นติดตามมาภายในวันเดียว ทำให้ต่อมความคิดได้ทำงานหนักอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่ เช้าวันหนึ่ง ฝนตกตอนกำลังตากผ้าที่ซักไว้แล้ว ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น ฟ้าแจ่มใสมาก จะ ทำอย่างไรได้จึงต้องตากผ้าหมาด ให้เปียกกลางฝนอีกครั้ง (ไม่นับรวมความหงุดหงิดที่เกิดขึ้นหลังฝนตก เพราะเพิ่งล้างรถมาได้เพียงวันเดียว)

แล้วอีกไม่กี่นาทีต่อมา ก็ทำแจกันแก้วใส่พลูด่าง ซึ่งตั้งไว้ที่หน้าต่างหลุดมือตกพื้นแตกละเอียด เนื่องจากปิดหน้าต่างกระแทกโดยไม่ได้ตั้งใจ ใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมงเพื่อทำความสะอาดและเก็บกวาดเศษแก้วบนพื้นเพื่อไม่ให้มีเศษแก้วตกค้าง

เมื่อไปถึงที่ทำงาน ปรากฎว่า นัดหมายประชุมในวันนั้นต้องเลื่อนกระทันหันเพราะ ประธานที่ประชุมติดภารกิจด่วน แผนการที่วางไว้จึงต้องเปลี่ยนแปลงและโยกย้าย ใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะสะสางเรื่องราวได้เรียบร้อย
แต่ตอนบ่าย กลับมีเรื่องให้ประหลาดใจ เพราะเพื่อนสมัยมัธยมที่ห่างหายการติดต่อกันไปนาน โทรศัพท์มาหาเพื่อนัดทานข้าว และบอกข่าวคราวเพื่อนอีกคน ซึ่งจากไปด้วยอุบัติเหตุ

หลังจากนั้นตอนเย็นระหว่างเดินทางกลับจากสำนักงาน เกิดอุบัติเหตุรถผู้เขียนไปชนคันหน้าเพราะเขาเบรคกระทันหัน หลบรถมอเตอร์ไซค์ ทำให้รถเราที่ตามหลังมารั้งไม่อยู่ เสยเข้ากลางลำตัวรถ แถมคู่กรณียังขับต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

วูบแรกของความคิดในนาทีนั้นคือ โกรธ แบบรู้ตัวว่า โกรธจริงๆ โมโหที่เขาไม่รับผิดชอบและไม่ยอมหยุดรถเพื่อดูความเสียหาย ทั้งๆที่เป็นฝ่ายผิด ผู้เขียนสวมวิญญาณ นางสิงห์สาว เหยียบคันเร่งสุดตัว เพื่อตีคู่รถคันหน้าไปให้ทัน พร้อมๆกับการบีบแตรยาวแบบไม่สนใจใครทั้งสิ้น กระพริบไฟสูงไล่ ทำสัญญาณทุกอย่างให้เขาหยุดรถ ซึ่งก็ไม่เป็นผล (มาคิดย้อนหลังให้ใจหาย เพราะขับรถแบบบ้าระห่ำมาก จนน่ากลัวว่า อาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้)

จนกระทั่งรถแล่นมาในระนาบเดียวกัน ประมาณ 400-500 เมตรต่อมา ก็เปิดกระจกรถและให้สัญญาณรถคันนั้นแอบเข้าข้างทาง จึงได้เห็นว่าคู่กรณีเป็นผู้หญิง ซึ่งเขาก็ยอมหยุดรถ แต่เนื่องจากกำลังอยู่บนสะพานข้ามแยก ผู้เขียนจึงบอกให้ลงมาด้านล่างและหยุดรถเพื่อเจรจากัน

พอรถจอดสนิทแล้ว เธอก็ยังอยู่ในรถ ไม่ยอมลงมาคุย จนผู้เขียนต้องเดินไปหา ได้รับคำถามว่า “มีอะไรคะ” พร้อมหน้าตาเหรอหรา ทำให้ความโกรธปรี๊ดขึ้นอีกครั้ง ก็เลยตอบไปว่า คุณเบรครถกระทันหัน ทำให้รถดิฉันชนรถคุณและเสียหาย ลงมาดูหน่อยสิคะ

เมื่อเขาลงมาด้วยท่าทางตกใจ และไปดูความเสียหายที่รถเขาและรถของเรา ประโยคต่อมาทำให้เราใจเย็นลงได้หน่อยหนึ่ง นั่นก็คือ “ ขอโทษที พี่ไม่รู้ว่ารถถูกชน ไม่รู้ตัวเลย”

ถามไถ่ได้ความว่า คู่กรณีไม่รู้สึกเลยว่า รถถูกชน และนี่เป็นครั้งแรกที่มีประสบการณ์เช่นนี้ จึงทำอะไรไม่ถูก กระทั่งการเรียกประกัน ก็ยังไม่คล่อง ต้องโทรไปถามญาติที่บ้าน

อุบัติเหตุครั้งนี้ ทำให้ผู้เขียนต้องยกเลิกงานอีกแห่งหนึ่งซึ่งกำลังรออยู่ เพราะไปไม่ทันเวลา เดือดร้อนต้องหาคนอื่นมาทำงานแทน แต่ก็ทำให้ผู้เขียนได้คิดอีกหลายเรื่อง ระหว่างนั่งรอประกันมาถึง ซึ่งประกันของคู่กรณีมาช้ามาก เจ้าหน้าที่ประกันภัยรถของผู้เขียน ถามว่า เขายอมรับผิดหรือเปล่า ผู้เขียนก็บอกว่า ไม่ได้ถาม แต่ก็เห็นเขาประสานงานอยู่ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
กว่าหนึ่งชั่วโมงที่ต้องนั่งรอเจ้าหน้าที่ประกันข้างถนน ทำให้มีเวลานั่งทบทวนอารมณ์และหวนกลับไปนึกถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ผู้เขียนจึงได้เรียนรู้เรื่องสำคัญหลายประการ

รู้ว่าในวันนั้น อารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง สั่นไหวและขึ้นลงตลอดเวลา ไม่ได้มีแม้ชั่วขณะที่จะอยู่นิ่งๆ เพราะมีสิ่งเร้ามากระทบมากมาย และส่วนใหญ่คือ อารมณ์ด้านร้าย ไม่ว่าจะเป็น ความหงุดหงิด หัวเสีย โกรธ ผิดหวัง และโมโห แต่ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อใจสงบลง ได้ครุ่นคิดมากขึ้น ก็มีอารมณ์ใหม่เข้ามาคือ การลดความโกรธ ใจเย็นลงและให้อภัยในเวลาต่อมา ทั้งเจ้าหน้าที่ประกันภัยที่มาช้า เนื่องจากเกิดเหตุอื่นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน พนักงานไม่พอจึงต้องเคลียร์งานแรกให้แล้วเสร็จก่อน ถึงจะมาได้ ไม่ได้เป็นสาเหตุจากบริการที่ล่าช้าหรือไม่รับผิดชอบแต่อย่างใด(ก่อนหน้านั้นก็ถูกแอบบ่นในใจเป็นกระบุงไปแล้ว ตำหนิการให้บริการไปต่างๆนานา ทั้งเราและคู่กรณี) และคู่กรณี ซึ่งไม่รู้ตัวว่ารถถูกชน แถมด้วยอารมณ์เสียใจและรู้สึกผิด เพราะด่วนไปตำหนิกล่าวโทษ โดยไม่ได้รอฟังเหตุผลหรือข้อเท็จจริง

เป็นการด่วนสรุป และคิดไปเองล่วงหน้า ไม่นับความบุ่มบ่ามใจร้อน ที่เร่งความเร็วรถเพื่อไล่ตามคันหน้า จนไม่นึกถึงความปลอดภัยของตัวเอง โชคดีหนักหนาที่รอดมาได้โดยไม่เกิดเหตุซ้ำซ้อน

คิดได้ดังนั้น สติจึงกลับมาอยู่กับตัว หลังจากพลุ่งพล่าน เตลิดไปกับหลากหลายอารมณ์ตลอดทั้งวัน ความโกรธ หรือหงุดหงิด ที่ควรจะมีกับเหตุที่เกิดขึ้นจึงไม่เกิด และไม่ได้โทษสิ่งที่ไม่คาดฝันทั้งหลายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ผู้เขียนรู้สึกว่า เราเองก็มีส่วนให้เขาต้องเสียเวลา เพราะหากรถมีประกันชั้นหนึ่ง ก็อาจไม่ติดใจและแยกย้ายกันไปก็ได้ แต่เมื่อดึงเรื่องยืดเยื้อจึงต้องกระทบไปหลายส่วน

พอยอมรับดังนั้นได้ จิตใจจึงสบายขึ้น อารมณ์ด้านร้ายก็ไม่สามารถทำลายหรือรบกวนจิตใจผู้เขียนได้อีก และมองเรื่องที่เกิดขึ้นด้วยความรู้สึกที่ผ่อนคลายลง ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์อีก รวมไปถึงการต้องเสียเวลาอีกหลายวันหลังจากนั้นที่ต้องเอารถเข้าอู่ซ่อม แต่ใช้เหตุการณ์นี้เป็นบททดสอบเพื่อการรู้จักและฝึกตัวเองอีกครั้งหนึ่ง

ถอยเวลาย้อนกลับไปที่เหตุการณ์อื่นๆซึ่งเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน ก็พบว่าล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องอยู่นอกเหนือความคาดหมาย ไม่ได้คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น จึงไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้รับ มือล่วงหน้า ในเรื่องดีที่เป็นบวก ก็ทำให้จิตใจยินดีปรีดา แต่สำหรับเรื่องร้าย สิ่งที่ทำได้ก็เพียงแค่บรรเทา เยียวยาและแก้ไขไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้นเอง โชคดีที่เหตุส่วนใหญ่ สามารถแก้ไขได้โดยไม่เกิดความเสียหายมากมายนัก และไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โตอะไร

เรื่องที่เหนือความคาดหมาย ก็คือสิ่งที่เราไม่รู้ การไม่รู้ ทำให้อาจไม่ได้เตรียมตัวตั้งรับสถานการณ์ และเกิดเป็นความกลัวในเวลาต่อมา นำไปสู่อารมณ์และความรู้สึกอื่นๆอีกมากมาย เช่น หดหู่ เสียใจ เศร้า หวงแหน หงุดหงิด โกรธ อาลัยอาวรณ์ ถ้าจิตใจไม่เข้มแข็งพอ ก็จะทำให้ยืนหยัดอยู่ได้ยาก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่เป็นบวก

ในแต่ละวัน เคยนับกันไหมว่า เราได้เจอเรื่องนอกเหนือความคาดหมายกันสักกี่เรื่อง ดี หรือร้ายมากน้อยกว่ากัน และเราจัดการกับเรื่องที่เข้ามาได้อย่างไร

หากใครสามารถรู้เท่าทัน และดูแลเหตุที่เข้ามากระทบใจของเราได้ ก็ถือเป็นโชคและบุญอันยิ่งใหญ่ เพราะจะสามารถประคองใจ ไม่ให้ซัดส่ายจนกลายเป็นคนไร้สติ และอาจนำไปสู่การกระทำอื่นๆที่ให้ผลอันยากจะคาดเดา
วาบความคิดสุดท้ายที่เข้ามาในจิตใจ นึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า และที่ท่านติช นัทห์ ฮัน เคยบอกไว้ ว่าให้อยู่กับปัจจุบันขณะ เพียงแค่ชั่วลมหายใจ เข้า- ออก

การอยู่กับปัจจุบันขณะ มีสติ มีชีวิตเพื่อรับมือกับเรื่องที่คาดไม่ถึง นี่กระมัง ที่เป็น “ความหมายของชีวิต” ของคนหนึ่งคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้

วันพุธ, ตุลาคม 01, 2551

เพื่อลูก เพื่อมนุษยชาติ

เพื่อลูก เพื่อมนุษยชาติ
โดยกรรณจริยา สุขรุ่ง

ก่อนจะสาธยายความ ต้องขอชี้แจงมูลเหตุที่ลุกมาเขียนเรื่องที่ไกลตัวมาก ๆ อย่าง การตั้งท้อง บังเอิญได้ยินเสียงอันห่วงใยของเพื่อนชายที่กำลังเตรียมตัวจะเป็นพ่อคน บ่นมาว่าภรรยาสุดที่รักเล่นเกมคอมพิวเตอร์นานมาก เป็นคุณแม่ติดเกม

เราก็เลยพลอยห่วงใยไปด้วย และขอโอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่หมั่นศึกษามานมนาน แต่เห็นจะไม่ได้ใช้กับตัวเอง

การปฏิสนธิ เป็น ความมหัศจรรย์แห่งชีวิต เพราะเป็นโอกาสแห่งชีวิต โอกาสที่จะบรรลุถึงความประเสริฐแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้ที่กำลังจะถือกำเนิด มาร่วมเฉลิมฉลองกันเถอะ

เมื่อชีวิตเริ่มเกิดขึ้น เนื้อนาที่เป็นแหล่งบ่มเพาะหล่อเลี้ยง คือ ครรภ์มารดา ควรจะเป็นที่ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่กำลังจะมาร่วมเดินบนโลกกับเรา เราจำเป็นต้องตระหนักในหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ลูกคนนี้ไม่ใช่ลูกของเรา แต่เป็นลูกของโลก ของมนุษยชาติ สิ่งที่เขาเป็น เขาทำ อาจทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น เขาอาจเป็นผู้ที่บำรุงหล่อเลี้ยงคนอื่นๆ ในโลกได้ การหล่อเลี้ยงเด็กคนหนึ่ง ๆ จึงเท่ากับการดูแลโลก

การดูแลเด็กเริ่มนับแต่วันที่เขาอยู่ในท้องแม่ เรื่อยไปไม่จบสิ้น และทุกคนมีหน้าที่อันประเสริฐนี้ร่วมกัน เราเป็นครอบครัวเดียวกัน แต่แน่นอนว่า หน้าที่หลัก ตกอยู่ที่พ่อและแม่

แม่ต้องเสียสละนับแต่นาทีนี้ เสียสละความสุขส่วนตัวที่คุ้นชิน คิดให้มากขึ้นถึงความสุข สุขภาวะของทั้งตัวเองและลูก คนเรารับรู้โลกผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ (ความคิดและอารมณ์) ดังนั้นต้องดูแลการเปิด ปิด การรับรู้นี้ให้ดี

ตา --- เคยได้ยินไหมว่า แม่ที่ดูรูปเด็กน่ารัก ๆ ลูกจะเกิดมาหน้าตาดี (แม่ของเราคงไม่รู้เรื่องนี้ น่าเสียดาย) ความหมายของมัน ก็คือ การดูในสิ่งที่เป็นกุศล ภาพที่ดูแล้วเกิดความรู้สึกดี งดงาม เบิกบานใจ เช่นภาพวิวทิวทัศน์ ภาพคนทำความดี ภาพกระตุ้นปัญญา อะไรทำนองนั้น อะไรที่เห็นแล้วทำให้จิตเศร้าหมอง รุนแรง โกรธ เกลียด ก็พยายามเลี่ยงไป ควรลด ละ การดูโทรทัศน์ เพราะเราคุมภาพที่เห็นไม่ค่อยได้

ที่สำคัญหากทำได้ ยิ้มให้ตัวเองทุกเช้า หรือทุกครั้งที่มองกระจก การยิ้มให้ตัวเอง เหมือนการยิ้มให้ลูกด้วยนะ อย่าคิดว่าลูกไม่รู้ เขารับรู้ได้จากพลังงานที่เราส่งให้เขา เราเห็นอะไร เขาก็เห็นด้วยนะ ผ่านทางใจอย่างไรเล่า

หู --- ฟังแต่เรื่องที่ทำให้จิตใจเบิกบาน เป็นสุข สงบ สนุกสนาน ฟังเพลงคลาสสิก เพลงบรรเลง ธรรมชาติ ที่สำคัญพยายามจัดสรรเวลาให้แม่และลูกอยู่กับความเงียบบ้างด้วยในแต่ละวัน การนั่งสมาธิเป็นวิธีที่ดี ทำให้เรานิ่ง สงบ เงียบ และ ถือเป็นการส่งถ่ายพลังที่ดีร่วมกันทั้งแม่และลูก

เราได้ยินอะไร เขาก็ได้ยินด้วยนะ ผ่านทางใจ ดังนั้นนอกจากการเลือกฟังเพลงที่ดีแล้ว ต้องเลือกได้ยินการสนทนาที่ดีด้วย พยายามเลี่ยงการสนทนาที่กระตุ้นความรุนแรง ความโกรธ การนินทา เราอยู่กับการสนทนาที่เต็มไปด้วยความรัก ความห่วงใย ความสงบ พ่อกับแม่ก็ควรพูดคุยกันอย่างอ่อนโยน เมตตากันด้วยนะ

นอกจากการฟังแล้ว ข้อนี้ยังเหมารวมการรับสารทางการอ่านด้วยนะ อ่านสิ่งที่ทำให้ใจดี เบิกบาน สงบนะ อย่าอ่านอะไรที่กระตันเร่งเร้า บีบคั้นใจ เครียดมากนัก อ่านหนังสือเด็ก นิทานสอนใจเตรียมไว้เลยก็ดี จะได้เล่าให้ลูกฟังก่อนนอน บทกวีก็ดีนะ

จมูก ---- การหายใจ หายใจลึกๆ ให้ถึงท้องเข้าไว้ ทุกครั้งที่หายใจลึก เราจะสงบเองโดยไม่ต้องพยายาม ลมหายใจที่ลงลึกทำให้เซลล์ในร่างกายยิ้ม (จริงนะ อย่างลบหลู่) ทำให้สุขภาพดี อารมณ์ดี แล้วยังมีส่วนทำให้คลอดง่ายด้วย

ทุกครั้งที่นึกขึ้นได้ หายใจลึก ๆ สัก 5 รอบ ทำไปเรื่อย ๆ ทั้งวัน อ้อ หายใจลึก ยาว และ ค่อยๆ หายใจอย่างอ่อนโยน อย่าดึงลมหายใจแรง หากทำได้ ทุกครั้งที่หายใจเข้าลึก ยาว อ่อนโยน คิดส่งความรักให้ลูกด้วย ก็จะวิเศษมาก

ส่วนเรื่องกลิ่นนั้น ก็ไม่มีอะไรมากหรอก โดยหลักแล้ว จิตของเราจะกระเพื่อมเมื่อเกิดสัมผัส หากได้กลิ่นดี ก็เบิกบาน ผ่อนคลาย หากได้กลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็อาจอึดอัด อย่าไปได้กลิ่นบุหรี่นะ หรือควันไฟ ควันรถ พยายามเลี่ยงแล้วกัน

ลิ้น --- การพูดจา คำพูดเป็นลูกของความคิด ดังนั้นหากไม่มีอะไรดีๆ จะพูด ก้อเงียบเสียดีกว่า ระวังคำพูดนะจ๊ะ พูดในสิ่งที่ดีงาม เป็นกุศล เป็นมงคล คือ พูดความจริง (ไม่เอาจริงครึ่งเดียวนะ) พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ให้กำลังใจตัวเอง ให้กำลังใจผู้อื่น งดการนินทาผู้อื่นโดยเด็ดขาด (ซึ่งคุณแม่เก๋ไม่ทำอยู่แล้ว เท่าที่รู้จักกันมา)

พูดบอกรักลูกทุกวัน ทั้งพ่อและแม่นะ มีอะไรดี ๆ บอกลูก คุยกับลูกทุกวัน คุยอย่างที่เราจะคุยกับเพื่อนที่ไว้ใจที่สุด รักที่สุด อย่างนั้นเลย เราให้ความไว้ใจ เชื่อใจ มั่นใจ เคารพในตัวเขาได้แต่วันนี้

การเขียนก็จัดอยู่ในข้อนี้ด้วย ขอให้ระวังสิ่งที่เขียนนะ คล้ายๆ กับการพูดนั้นแหละ เขียนในสิ่งที่ดี เป็นกุศล เบิกบาน และเวลาทำงานเขียนก็พยายามอย่าเครียดมากนัก ชวนลูกคิดและเขียนด้วยก็ได้ เผื่อเขาจะมีไอเดียเด็ด ๆ

การกิน ก็ตามใจเลย แต่เอาอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งแม่และลูกนะ ไม่กินเหล้า ของดอง อยู่แล้วนี่นะ ของหวานเลี่ยงนะ เดี๋ยวลูกดุ การกินอาหารอาจมีผลต่อธาตุในตัวเด็กก็ได้นะ แค่มีส่วน เช่นหากแม่กินอาหารธาตุไฟมาก ลูกอาจเกิดเป็นเด็กธาตุไฟ อาหารธาตุไฟก็ อย่างเช่น พริก ผลไม้ ผักสีแดง อาการรสเปรี้ยวเผ็ด ลำไย ทุเรียน เป็นต้น ธาตุไฟก็ไม่มีอะไรเลวร้ายหรอก แต่ถ้าทานมากไป ก็ทำให้เป็นคนใจร้อนเท่านั้น ดังนั้นควรเลือกทานอาหารให้มีรสชาติกลมกล่อม ผสมผสานและสมดุล ทานร้อนเผ็ดได้ แต่ไม่ทุกมื้อ บางมื้ออาจเป็นรสจืด รสฝาด เป็นต้น

กาย --- การสัมผัส สัมผัสที่ดี นุ่มนวล อ่อนโยน พ่อควรมีให้แม่กับลูกอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เป็นการสื่อสารความรัก ความห่วงใยแบบหนึ่ง

การออกกำลังกาย ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนะ อย่างเบาๆ เราแนะนำ ชี่กง หรือ ไทเก๊ก ขอบอกดีจริง ๆ ง่าย สบาย เบา และได้พลังที่ดีมหาศาล แม่และเด็กจะแข็งแรง และที่สำคัญ นี่เป็นการฝึกจิตกับกายเป็นหนึ่ง และฝึกพลังภายในไปด้วย

เล่น --- เริ่มเล่นกับลูกได้เลย กลับไปเป็นเด็ก เล่นอะไรก็ได้ที่ทำให้เรามีรอยยิ้ม วิ่งเล่น ว่ายน้ำเล่นๆ ไปเที่ยว เล่นเกมเช่น scrabble หรือเกมแบบกล่อง ๆ ประลองไหวพริบปัญญา

ใจ – อันนี้ก็เกี่ยวข้องกับทุกข้อที่พูดไปแล้ว ที่จะเสริมคือ การทำใจให้สบาย สงบ และ เป็นสุข จะด้วยการนั่นสมาธิ หรือ ผ่อนคลายอย่างลึก (จำ total relaxation) ได้ไหม ถ้าไม่ได้ ไว้จัดให้ ทำสมาธิทุกเช้า ทุกคืนหรือ ทุกเวลาที่คิดได้ ทำบ่อยๆ ถี่ ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องนานก็ได้ เช่น 5 นาที ทุกครั้งที่นึกได้

สรุปสั้น ๆ
อยู่ในบรรยากาศที่ดี ธรรมชาติ มีพลัง อยู่ท่ามกลางคนที่ทำให้จิตใจเบิกบาน สงบสุข
พูดคุยกับลูกสม่ำเสมอ ฟังเสียงเสานะหู ดูภาพเบิกบานใจ
ยิ้มบ่อยๆ ให้ตัวเอง ให้สามี และให้ทุกคน
ออกกำลังกายเสริมพลังภายใน และพลังจิต
ไปเที่ยวสถานที่ธรรมชาติ สงบสงัดบ้าง อย่างเช่นพาลูกไปปลูกป่ากับแฮปปี้มีเดีย 1-2 พย นี้ ที่หัวหิน
ทำบุญ ทำกุศลทุก ๆ วัน รักษาศีล นั่งสมาธิ เดินสมาธิ ก็ใช้ได้แล้ว
เลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ (นาน ๆ) งดเล่นเกม ลดการดู โทรทัศน์
งด ลด การอยู่ในที่เสียงดังมาก หรือถ้าจำเป็นการอย่านาน (อย่าไปโรงหนัง หรือ malls)
หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ ถ้าจำเป็นอย่าใช้นาน เพราะมีผลต่อสมองและหู

หากคุณแม่ทำตามนี้ หรือดีกว่านี้ มากกว่านี้ ก็ขอขอบคุณ เราเพียงหวังให้มีมนุษย์ที่ประเสริฐเพิ่มอีกคนในโลก เป็นพระโพธิสัตว์ได้ยิ่งดี

ด้วยรัก
อาชีพนักข่าว เป็นหนึ่งในอาชีพของพระโพธิสัตว์ อย่างไร?
พระศรีอารยเมตไตร เป็นพระผู้ฟังอย่างลึกซึ้ง ผู้ยื่นมือ ยื่นหัวใจไปยังทุกคนที่ร้องไห้และทุกข์ทน


นักข่าวไม่ใช่หรือที่ต้องออกไปทำข่าวในพื้นที่เสี่ยงภัยมีการปะทะยิงกัน น้ำท่วม มีไฟป่า
อุบัติเหตุ คลุกคลีกับทุกข์กับความจริง รับฟังปัญหาความทุกข์อย่างเข้าอกเข้าใจ และนำเสนออย่างเป็นธรรมเพื่อ ....

สังคมที่อยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีคนที่หัวใจพระโพธิสัตว์อยู่ นักข่าวก็เช่นกัน เราเชื่อเช่นนั้น


นับเวลาที่เราดูโทรทัศน์ ซึ่งน้อยลงทุกวัน เราได้เห็นว่าอาชีพนักข่าว นักสื่อสารมวลชนเป็นอาชีพที่ประเสริฐ เหมือนกับหมอรักษาผู้ป่วย ในแง่ที่ว่า ผู้ที่ทำงานในอาชีพนี้ได้รับโอกาสอันสูงส่งให้อยู่ใกล้ชิดกับทุกขสัจ


เราเห็นความตาย การทะเลาะเบาะแว้งกัน น้ำท่วมและหยาดน้ำตา เห็นการทุจรติฉ้อโกง เห็นการเอารัดเอาเปรียบและเบียดเบียนกัน

ความจริงของโลกเหล่านี้ทำให้เราตระหนักเห็นอะไรบ้างในชีวิต ช่วยขัดเกลาเราให้มีจิตสูง ช่วยเหลือผู้อื่นขึ้นด้วยไหม ทำให้เราปลงกับชีวิตของเราเองได้อย่างไร การเห็นความจริงเช่นนี้ทำให้เรามีความรัก ความห่วงใยในอันที่จะช่วยให้เพื่อนร่วมสังคมพ้นทุกข์อย่างไร

เรานั่งดูนักข่าวพลเมืองทางทีวีไทย และได้เห็นถึงหัวใจคนทำงานสื่อผู้อยู่เบื้องหลัง หัวใจแห่งความกรุณา ความรัก และการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของนักข่าวพลเมือง

เมื่อคืนได้เห็นมิติการมองว่า มนุษย์เราแม้จะแตกต่างในเรื่องศาสนา คริสต์ และ พุทธ แต่ในชุมชนอุรักละโว้ย (ชาวเล) เรายังมีสิ่งที่เหมือนกัน คือ รากเหง้าเผ่าพันธุ์ ความเป็นชาวเล ซึ่งเอาสิ่งนี้มายึดโยงกันได้ น่าชื่อใจจริง ๆ ถ้าไม่ใช่นักข่าวพลเมือง จะคิดได้อย่างนี้หรือเปล่านะ


ข่าวสั้น ๆที่เราเสพนี้บำรุงสมอง และหัวใจอย่างยิ่ง


เราคิดต่อไปว่า สำหรับข่าวอื่นๆ เล่า จะทำให้เกิดสิ่งนี้ได้ด้วยไหม

เราจะนำเสนอข่าวน้ำท่วม ให้เราเข้าใจชีวิต ปลุกเร้าความกรุณาของเราต่อเพื่อนมนุษย์ได้อย่างไร


สุดท้าย สำหรับเพื่อนนักข่าว
เราทำข่าวไปทำไม คุณค่าและความหาย หัวใจของการทำข่าวอยู่ตรงไหน

การมองเห็น การสังเกตุ และการฟัง เป็นสิ่งที่เราใช้ในการรับรู้และเรียนรู้โลก เราใช้มันเป้นหรือยัง เราเข้าใจโลกแค่ไหน คุรุชาวอินเดีย กฤษณมูรติกล่าวไว้ว่า

การมองเห็นและสังเกตเป็นศิลปะ เมื่อเราเดินเล่น เราไม่เห็นการทะเลาะเบาะแว้ง ความทุกข์ข้างถนน ฝุ่นผงบนฟุตบาท หรือหมาที่กำลังนอนป่วย หากเราเริ่มที่จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น เราจะลงมือทำอะไรบางอย่าง


การเห็นเป็นการกระทำ ถ้าเราเห็น เราสังเกต เราฟัง เราจะอดไม่ได้ที่จะลงมือทำ เด็กคนหนึ่งขี่จักรยานบนถนน สักพักเธอหยุดและเดินลงมาเก็บขยะที่เธอเห็นข้างทางไปทิ้ง ก่อนที่จะขี่จักรยานต่อไป


ไม่ต้องคิดว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด หากเห็นให้เป็น หรือเปิดตามอง ให้ลงไปถึงใจ ใจจะบอกให้เราลงมือทำอะไรสักอย่าง


แต่โดยมากที่เราไม่ทำอะไรเพราะตาบอด และหูหนวก ไม่รับรู้โลก แต่อยู่กับความคิด ความกลัว ความฝัน
---- แปลและย่อความ จากกฤษณมูรติ


กรรณจริยา สุขรุ่ง

วันพฤหัสบดี, กันยายน 11, 2551

พุทธวิธีเพื่อการสื่อสารอย่างเป็นกลาง

โดย กรรณจริยา สุขรุ่ง

“เรากำลังอยู่ในกลียุคแห่งข้อมูลข่าวสาร” รสนา โตสิตระกูล

เมื่อสิ่งที่เห็นอาจไม่จริง และสิ่งที่จริงอาจยังมองไม่เห็น เราจะอยู่กันอย่างไรในโลกที่เสมือนจริงเช่นนี้

ผู้เขียนได้รับรู้จากแหล่งข่าวหลายคนที่ได้รับผลกระทบจากการรายงานข่าวของสื่อที่ให้ข้อมูลไม่เป็นจริง หรือบิดเบือนไป จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ผลกระทบก็ได้เกิดขึ้นกับผู้ที่ถูกกล่าวถึง และผู้รับสารที่เชื่อความที่ได้อ่าน ได้ฟังไป เพิ่มพูนความชิงชัง แยกขั้วกันมากขึ้น

ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิดที่รุนแรงแบ่งขั้วในบ้านเมืองปัจจุบัน สื่อสารมวลชนได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างมาก บ้างก็ขอให้สื่อเลือกข้าง บ้างก็ว่าน้ำเสียงของสื่อเอนเอียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ผู้คนเรียกร้องความเป็นกลางและความรับผิดชอบจากสื่อ แต่ดูเหมือนว่าความเป็นกลางเป็นสิ่งที่เป็นและทำได้ยากยิ่งสำหรับปุถุชนที่เต็มไปด้วยอคติ

การนำเสนอข่าวทั้งสองด้าน ในปริมาณเท่าๆกัน ถือว่าเป็นกลางแล้วหรือไม่ ?
ความจริงมีเพียงสองด้านหรือ? ความเป็นกลางขึ้นอยู่กับปริมาณชิ้นข่าวที่รายงานหรือ?
ความเป็นกลางคือการไม่ข้องเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรือ?

ไม่ว่าสื่อจะพยายามนำเสนอข่าวสารให้สมดุลทั้งสองข้าง เป็นกลางตามความเห็นของตนสักเพียงใด ก็อาจเป็นกลางได้ยากเพราะใจผู้รับสาร ถ้าเอนเอียงเสียแล้วก็อาจจะฟัง และอ่านสารนั้นด้วยอคติ

ความเป็นกลางในปัจจุบันดูจะเป็นเรื่องความถูกใจ ความพอใจเสียมาก และหลายครั้งก็หมายถึงความไม่ออกความเห็น ไม่ข้องแวะยุ่งเกี่ยวไปเสียเลย

กฎหมาย และระบบโครงสร้างทางสังคมสมัยใหม่ ประกอบกับความเจริญทางเทคโนโลยีให้โอกาสและเสรีภาพในการสื่อสาร แต่จะมีเครื่องมืออะไรที่จะกำกับความรับผิดชอบให้การสื่อสารสร้างสรรค์ความเป็นธรรมและสันติภาพให้สังคม

“เรามีข้อมูลมากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วบิดเบี้ยว เป็น ข่าวสารพิษ เราโกหกกันมากที่สุดในยุคที่เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารก้าวไกล” รสนา โตสิตระกูล วุฒิสมาชิกกรุงเทพให้ความเห็น

ประเมินอย่างต่ำ ๆ ปัจจุบันเรามีโทรทัศน์ให้ดูมากกว่า 100 ช่อง
มีหนังสือพิมพ์ให้ได้อ่านทุกวัน กว่า 20 ฉบับ
มีนิตยสารรายสัปดาห์และรายเดือน รายปักษ์ รวมกันกว่า 100 หัว
มีเว็บไซด์ต่างๆ ให้ท่องไปหาข้อมูล ความเห็น ความบันเทิง กว่าหมื่นเวบ
มีช่องรายการวิทยุ ทั้ง FM AM กว่า 100 สถานี

“เรากำลังอยู่ในกลียุคแห่งข้อมูลข่าวสาร” รสนาสรุปและอธิบายความต่อถึงคติพราหมณ์ที่แบ่งยุคต่างๆ เป็น 4 ยุค
1. สัตยยุค เป็นยุคแห่งสัจธรรม เป็นยุคของคนดี ผู้คนต่างมีศีลมีธรรมมั่นคง ซื่อตรง มีจิตใจผ่องใส ไม่อิจฉาริษยา ไม่คดโกง ทุกคนจึงอยู่อย่างมีความสุขเต็มที่
2. ไตรดายุค เป็นยุคที่ความดีเหลือ 3 ส่วน มีความจริง 75 เปอร์เซ็นต์ เริ่มมีคนชั่วประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน มนุษย์จึงเริ่มมีความทุกข์
3. ทวาปรยุค เป็นยุคที่ความดีเหลือครึ่งเดียว เหลือความจริง 50 เปอร์เซ็นต์ คนชั่วเพิ่มมากขึ้นจนมีจำนวนเท่ากับคนดี เรียกว่า มีคนดีครึ่งหนึ่งคนชั่วครึ่งหนึ่ง
4. กลียุค คือ ยุคที่มีความจริงเหลือเพียงเสี้ยว คือ 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในยุคนี้ คนชั่วมีถึง ๓ ใน ๔ ส่วน มีคนดีเพียงส่วนเดียว ชีวิตจึงมีความลำบากมาก โจรผู้ร้ายมีมาก มีการฆ่ากัน ทำร้ายกัน โกงกัน หลอกลวงเอารัดเอาเปรียบกัน

เนื่องจากตำราโบราณว่าพวกเรากำลังอยู่ในกลียุค ลองมาดูกันหน่อยว่าลักษณะของกลียุคเป็นอย่างไรบ้าง (อ้างอิงจาก wikipedia)

ผู้ปกครองบ้านเมืองในกลียุคจะเป็นผู้เหลวไหลไม่มีเหตุผล และจัดเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรม ผู้ปกครองจะไม่เห็นว่าการส่งเสริมทางด้านจิตวิญญาณเป็นหน้าที่อีกต่อไป ผู้ปกครองจะทำตัวเป็นอันตรายต่อโลก ผู้คนจะเริ่มค้นหาและอพยพไปยังประเทศที่มีข้าวสาลีและข้าวบาเล่ย์เป็นอาหารหลัก

ความโลภและความโกรธแค้นจะกลายเป็นเรื่องธรรมดา ผู้คนจะแสดงความเกลียดชังต่อผู้อื่นอย่างเปิดเผย

สำหรับสภาพอากาศและธรรมชาติ เมื่อดอกไม้ออกในดอกไม้ ผลไม้ออกในผลไม้ (จะหมายถึงการตัดต่อทางพันธุกรรมหรือเปล่าไม่รู้---ผู้เขียน) เมื่อนั้นกลียุคมาถึงกาลอวสาน และเมื่อเมฆเทฝนลงมาอย่างไม่มีฤดูกาล เมื่อนั้นจุดจบของกลียุคมาใกล้แล้ว

ไม่ยึดถือสิ่งที่เห็นหรือได้ยิน
หากจะถือตามคติพราหมณ์ในแง่ที่ว่า โชคชะตากำหนดไว้แล้วโดยพระพรหมเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เราคงไม่ต้องทำอะไร นอกจาก “ทำใจ” ยอมรับชะตากรรมว่ากำลังอยู่ในโลกแห่งเศษเสี้ยวความจริง ก็มีแง่ดีเหมือนกัน เราอาจใช้เป็นมาตรฐานในการชั่งน้ำหนักสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน เช่น ใครบอกว่ารักเราเท่าชีวิต ก็ให้คิดไว้เลยว่า เขารักเราเพียงแค่เสี้ยวชีวิตเขาเท่านั้น อย่างนี้แล้วจะได้พิจารณาว่าจะให้ใจกันแค่ไหน
หรือเวลาที่เราได้ยิน ได้เห็น ได้อ่านอะไร ก็ตระหนักในใจไว้ว่า มีความจริงเพียงเสี้ยว 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ไม่ต้องไปยึดมั่นถือมั่นอะไรมาก เราอาจต้องเปลี่ยนจากคำพูดที่ว่า “เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง” มาเป็น “เชื่อเพียงเสี้ยว สงสัยเป็นส่วนใหญ่”

ศีลข้อ 4 และ 5 เพื่อการสื่อสารด้วยรักและสันติ
หากใครจะสมาทานความคิดแนวพุทธ ก็ให้มองเรื่องนี้ในแง่ความประพฤติของศีล อาจจะจริงที่เรากำลังอยู่ในกลียุค แต่เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ คนเราไม่ประพฤติศีล ดังนั้นหากเราเปลี่ยนเงื่อนไขปัจจัยเสีย โลกที่เราอยู่ก็จะเปลี่ยนไปด้วย อาจย้อนกลับไปเป็นสัตยุคก็ได้
ศีลที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารโดยตรง คือ ศีลข้อที่ 4 และ ข้อที่ 5 ซึ่งการตีความนั้นครอบคลุม กว้างขวางมากกว่าการพูดปด ให้ทันสมัยก็อาจบอกได้ว่า ดูตามเจตนารมณ์ของศีลแล้ว หมายถึงการสื่อสารทั้งหมด รวมทั้งการเขียนด้วย

“พูดแต่ความจริง ด้วยถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความมั่นใจ ความเบิกบานและความหวัง โดยไม่กระพือข่าวที่ตนเองไม่รู้แน่ชัด รวมทั้งไม่วิพากษ์หรือกล่าวโทษในสิ่งที่ตนเองไม่แน่ใจ ตลอดจนละเว้นจากการกล่าววาจาที่จะก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่ปรองดองกัน หรือทำให้ครอบครัวและชุมชนต้องแตกแยกร้าวฉาน...” ---บางตอนของศีลข้อที่ 4 จาก ติช นัท ฮันห์

ส่วนศีลข้อที่ 5 เป็นเรื่องของการรู้จักบริโภคด้วยสติและปัญญา ซึ่งนับการบริโภคข่าวสารเข้าไปด้วย คือเราจะไม่บริโภคข่าวสารที่เป็นพิษ ที่ทำลายสติปัญญา ศีลธรรมอันดีในใจ

“ข้าพเจ้าตั้งจิตมั่นว่าจะไมใช้แอลกอฮอล์ สิ่งเสพติดอื่นใด หรือการรับอาหารและสิ่งให้โทษ อย่างเช่น รายการโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือ ภาพยนตร์ และการสนทนาบางประเภท เพราะตระหนักรู้ว่าการทำร้ายร่างกายและวิญญาณของตนเองด้วยสิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยเหล่านี้เท่ากับเป็นการทรยศต่อบรรพบุรุษ พ่อแม่ สังคม และลูกหลานของตนเอง
ข้าพเจ้าจะพยายามแปรเปลี่ยนความรุนแรง ความกลัว ความโกรธ รวมทั้งความสับสนในตนเองและสังคม โดยละเว้นจากการบริโภคสิ่งที่เป็นพิษภัย เพื่อตัวเองและสังคม ข้าพเจ้าเข้าใจดีว่าการบริโภคอย่างถูกต้องเหมาะสมนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคม” ---บางตอนของศีลข้อที่ 5 จาก ติช นัท ฮันห์

หากเชื่อเรื่องกรรม คือผลของการกระทำแล้ว การกระทำผิดศีลขอที่ 4 และ 5 บ่อยๆ อาจมีผลทำให้สติฟั่นเฟือนได้ เพราะโกหกจนแยกไม่ออกว่าอย่างไหนจริงอย่างไหนลวง หรือ คนอื่นจับได้เสียชื่อเสียเครดิต เสียความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเพื่อน หรือแฟน ส่วนผลกรรมหลังการตายนั้น ไปดูกันเอาเองแล้วกัน ตัวใครตัวมัน

ยุคมิคสัญญี
ช่วงกลียุคของข้อมูลข่าวสารนั้นยังนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิด มิคสัญญี คือ การสำคัญมั่นหมายว่าคนอื่นที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ผู้ที่เราชิงชัง เป็นเหมือนเนื้อสมันที่เราสามารถฆ่าได้โดยไม่บาป ไม่เป็นไร ตัวอย่างเคยเกิดขึ้นแล้วจากคำพูดเล่าขานครั้ง 6 ตุลาที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”
ครั้งนี้ ขออย่าให้เกิดคำพูดที่ว่า ฆ่าพันธมิตร ฆ่านปช. ฆ่ารัฐบาล หรือ ฆ่าคนชั่ว ไม่บาปเลย

หน้าที่ทางศีลธรรมของสื่อ
การทำหน้าที่ของสี่อมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมปัญญา รักษาสันติภาพในสังคม หากสื่อตระหนักในหน้าที่ คุณค่า และความสำคัญของสิ่งที่ทำ ระมัดระวังในการนำเสนอรายงานข้อมูล และสืบค้นเพื่อเข้าใกล้ความเป็นจริงให้มากขึ้น อาจช่วยลดคลายปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน

การเป็นกลาง มีความหมายลึกซึ้งไปกว่าการไม่เข้าข้างฝ่ายใด แต่คือความเป็นกลางภายใน
สิ่งที่สื่อต้องตระหนักให้มากไม่ใช่โลกภายนอก แต่เป็นโลกภายในใจตน คนทุกคนล้วนมีอคติ ความเชื่อ ความเห็น ทำอย่างไรให้ความเห็นของเราเป็นสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นตรง ความเห็นถูก ทำอย่างไรให้การทำงานมีความเป็นกลาง?

เราอาจใช้หลักอคติ 4 มาสำรวจตัวเองอยู่เนืองๆ
อคติ 4 คือ ฐานะอันไม่พึงถึงทางความประพฤติที่ผิด ความไม่เที่ยงธรรม ความลำเอียงเกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ
1.
ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
ลองสำรวจดูว่าเรากำลังทำข่าว หรือละเว้นการทำข่าว เพราะใจเอนเอียงชอบ รักใคร่ ต่อสิ่งๆนั้น คนๆ นั้นหรือความคิดนั้นๆ หรือไม่ เช่นการรายงานข่าวเพราะผู้นั้นเป็นเพื่อน เป็นผู้ให้ของกำนัล อาจทำให้ส่วนรวมสูญเสียประโยชน์บางอย่างที่ควรจะได้จากพื้นที่และเวลาในการนำเสนอข่าวสาร หรือหากคนที่เราชอบกระทำการไม่ดี เราละเว้นการรายงานนั้นเสีย
2.
โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
ลองสำรวจดูว่าเรากำลังทำข่าว หรือละเว้นการทำข่าว เพราะใจรังเกียจ ชิงชัง ต่อสิ่งๆนั้น คนๆนั้นความเห็นนั้น ๆ หรือไม่ เช่น หากคนที่เราไม่ชอบ เราหาเรื่องแง่ไม่ดีมาพูดรายงานสม่ำเสมอ หากเวลาคนที่เราไม่ชอบทำดี เราก็ละเว้นการรายงานเรื่องของเขาเสีย
3.
โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง หรือเขลา
ลองสำรวจดูว่าเรากำลังทำข่าวด้วยความไม่รู้หรือเปล่า หากไม่รู้ก็ทำให้รู้ขึ้นมาด้วยการค้นคว้า สอบค้น และตรวจสอบความจริงให้ถ้วนถี่
4.
ภยคติ ลำเอียงเพราะกลัว
ลองสำรวจดูว่าเรากำลังทำข่าว หรือละเว้นการทำข่าว เพราะความกลัวต่อสิ่งต่างๆ คนต่างๆ ความเห็นต่างๆ หรือไม่ เช่น กลัวต่ออิทธิพลมืด อาจทำให้นักข่าวที่เห็นการกระทำผิด ละเว้นการรายงานนั้น เกิดผลกระทบต่อส่วนรวมได้ (แต่ก็เห็นใจนะกลัวตายนี่) หรือกลัวว่าโฆษณาไม่ลงสื่อของเรา จะขาดรายได้ ทำให้เราต้องรายงานข่าวบางข่าวที่อาจเอื้อประโยชน์แก่ภาคธุรกิจมากกว่าสังคมโดยรวม

หากเราสามารถตระหนักรู้ ก็อาจวางอคติลง และเข้าถึงความเป็นกลางได้ ซึ่งหมายถึงใจที่ไม่แบ่งแยก แบ่งขั้ว แบ่งข้าง ขาว-ดำ เลว-ดี ผิด-ถูก ชอบ-ชัง
แต่ใช่ว่าผู้ที่เป็นกลางจะไม่ยี่หระต่อความชอบธรรม สัจจะในโลก ตรงกันข้ามคนที่เป็นกลางโดยแท้ มีความกล้าหาญทางจริยธรรมสูงมาก

เพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากจักรวรรดิอังกฤษ ท่านคานธีนำผู้ประท้วงเดินธรรมยาตราไปทะเลเพื่อต่อต้านภาษีเกลือและเรียกร้องสิทธิในการทำเกลือของชาวอินเดีย ผู้ประท้วงคนแล้วคนเล่าถูกทุบตีร่วงลงกับพื้น เสียงร้องครวญคราง แต่ไม่มีใครลุกขึ้นสู้ทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐที่มาปราบปรามเลย

เนลสัน เมนเดลา ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมในสังคมของทั้งคนดำและคนขาว ท่านต่อสู้การเหยียดผิวในแอฟริกาใต้ จนถูกจองจำในคุก 27 ปี หลังจากได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1990 ท่านยังทำงานเรื่องนี้ต่อโดยใช้กระบวนการเจรจาและหันหน้าเข้าหากัน ทำให้แอฟริกใต้เปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมประชาธิปไตยบนพื้นฐานการเคารพความหลากหลายทางเชื้อชาติ
ท่านทั้งหลายเหล่านี้ต่อสู้กับ ความไม่ชอบธรรมและฉ้อฉลในสังคมด้วยจิตที่ปราศจากความโกรธ และความเกลียดชังต่อทุกฝ่าย

เราทุกคนก็สามารถเป็นกลางได้อย่างท่านที่ทำให้เป็นตัวอย่างในอดีตแล้ว
ขึ้นกับว่า เราตั้งใจจะก้าวข้ามอคติในใจ และเข้าถึงความเป็นกลางหรือเปล่า

จิตวิญญาณความเป็นไท

โดย กรรณจริยา สุขรุ่ง

เร็ว ๆ นี้ได้มีโอกาสกลับไปดูภาพยนตร์เรื่อง Amistad ซึ่งกำกับโดย สตีเฟน สปิลเบิร์ก เมื่อกว่าหนึ่งทศวรรษที่แล้ว รู้สึกประหลาดใจว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอเมริกาในยุคก่อนสงครามกลางเมืองเมื่อราว ค.ศ. 1839 คล้ายคลึงกับไทยในยุคดิจิตอล 2008 ทีเดียว เรื่องราวชวนติดตาม และคำพูดเด็ด ๆ ของตัวละครในเรื่อง สะท้อนให้เห็นหลายประเด็นที่อาจนำมาใคร่ครวญและเรียนรู้ได้ กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา

Amistad พูดถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จิตวิญญาณของชาติ การเมืองและการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม บรรยากาศความขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคมระหว่างคนเหนือกับคนใต้ของสหรัฐอเมริกา

ชนวนของเรื่องเริ่มจากเรือเดินสมุทรสัญชาติสเปนชื่อ La Amistad ซึ่งแปลว่า มิตรภาพไร้พรมแดน Friendships without borders

ชื่อเรือช่างเย้ยหยันความจริงที่เกิดขึ้นเสียเหลือเกิน เนื่องด้วยเรือลำนี้บรรทุกชาวแอฟริกันที่ถูกลักลอบจับมาเพื่อไปขายต่อนายทาส ระหว่างทางที่รอนแรมในทะเล ทาสหลายคนถูกเฆี่ยนตีจนตาย ทาสสาวถูกล่วงละเมิดทางเพศ และทาสกว่า 50 ชีวิตถูกทิ้งถ่วงน้ำเพื่อลดภาระน้ำหนักของเรือและเพื่อคลายภาวะอาหารขาดแคลานบนเรือ

คืนฝนตกวันหนึ่ง ทาส ชื่อ ซินเค ใช้นิ้วแคะเอาตะปูจากแผ่นไม้ของเรือออกมาและใช้ตะปูไขทำลายโซ่ตรวนที่ล่ามอิสรภาพเขาไว้ เขาและพวก ฆ่าลูกเรือคนขาวเกือบหมดลำ เหลือเพียงผู้ที่สามารถเดินเรือได้ เพื่อให้นำเขากับพวกกลับกาฬทวีป

แต่เรือกลับไปขึ้นฝั่งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทาสทุกคนบนเรือถูกจับในข้อหาฆ่าคน (ขาว) และรัฐบาลภายใต้การนำของพระราชินียิสซาเบลที่ 2 ของสเปนเรียกร้องให้สหรัฐส่งเรือพร้อมสินค้าทั้งหมดกลับสเปน ซึ่งสินค้าที่ว่านี้ก็ คือ มนุษย์ที่เรียกว่าทาส

ในช่วงปี ค.ศ. 1839 หลายประเทศยังมองทาสเป็น มนุษย์ชั้นสอง ไม่มีสิทธิอะไรนอกจากเป็นสินค้า และแรงงาน

ประเทศอเมริกาก็เช่นกัน รัฐทางใต้ของอเมริกามีฐานทางเศรษฐกิจทางเกษตรกรรม คือ ไร่ฝ้ายขนาดใหญ่ซึ่ง “จำเป็นต้อง” ใช้แรงงานทาสจำนวนมาก ส่วนรัฐทางเหนือเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรเป็นหลัก

ทาสจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่แบ่งความคิดและวิถีชีวิตที่แตกต่างระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ของอเมริกา
ดังนั้น ความรอดหรือความตายของคนที่ถูกทำให้เป็นทาส กลายเป็นเรื่องชัยชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงมีความพยายามจากฝ่ายต่างๆ ที่จะทำให้ตนได้รับชัยชนะ บ้างอ้างความชอบธรรมจริยธรรม บ้างอ้างวิถีชีวิตตามครรลองของพื้นถิ่น บ้างอ้างศาสนาและไบเบิลที่ว่าแม้อดัมส์และอีฟยังมีศักดิ์ไม่เท่ากันเลย คือฝ่ายหญิงอยู่ในฐานะต่ำกว่า และบ้างก็อ้างว่าทำเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง

ความพยายามที่ว่านี้ยังหมายถึงการพยายามจากฝ่ายการเมืองที่จะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมโดยการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา ด้วยหวังว่าผู้พิพากษาหนุ่มผู้มีอนาคตอีกยาวไกลจะตัดสินคดีนี้โดยให้โทษแก่ชาวแอฟริกันในข้อหาฆ่าคนขาว และ/หรือส่งเรือสินค้าทาสนี้กลับสเปน

การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น ผู้พิพากษาหนุ่มเห็นความทุกข์ที่ทาสเหล่านี้เผชิญและตัดสินความให้ทาสได้รับอิสระ ส่วนผู้ค้าทาสถูกคุมขังรับโทษ

คำตัดสินนี้ทำให้การเมืองขั้วใต้ไม่พอใจอย่างยิ่ง และอุทธรณ์เรื่องนี้สู่ศาลสูงสุดของอเมริกา มี นักการเมือง วุฒิสมาชิก ทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ ผู้ที่กำลังรับสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และอดีตประธานาธิบดีเข้ามาเกี่ยวข้อง

อดีตประธานาธิบดีคนที่ 6 ของอเมริกา คือ นาย John Quincy Adams (ดำรงตำแหน่งปี 1825-1829) เข้ามาช่วยว่าความให้จำเลย ท่านเป็นลูกชายของอดีตประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐอเมริกา John Adams ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบิดาผู้วางรากฐานจิตวิญญาณของอเมริกันชน และมีส่วนร่วมในการเขียนคำประกาศอิสรภาพของอเมริกา Declaration of Independence เมื่อวันที่ 4 July ค.ศ. 1776 ร่วมกับ เบนจามิน แฟรงคลิน โรเบิร์ต ลิฟวิงสตัน โทมัส เจฟเฟอสัน และอีกกว่า 50 congressmen ที่ร่วมลงชื่อ

จอห์น ควินซี อดัมส์ ไม่เห็นด้วยกับการมีทาสอยู่แล้ว ท่านเคยให้ความเห็นว่า ประธานาธิบดีสามารถใช้อำนาจในการทำสงครามเพื่อหยุดยั้งการค้าและใช้แรงงานทาส (ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 ผู้รับใช้ประเทศระหว่างปี 1861-1865)

ในภาพยนตร์ มีบทสนทนาสะกิดใจ กระตุกความคิดหลายตอน ซึ่งตอนที่จะยกมาคือ ตอนที่ท่านประธานาธิบดี อดัมส์พูดกับชายผิวดำชื่อ ซินเค

“เราจะไม่ได้ขึ้นศาลโดยลำพังหรอก” ซินเคพูด

อดีตประธานาธิบดีอดัมส์ ส่ายหัวพร้อมกล่าวว่า “ไม่หรอก เรามีสิทธิ และความถูกต้องอยู่ด้วยกับเรา”

“เปล่า ผมไม่ได้หมายความอย่างนั้น” ซินเคตอบ “ในยามวิกฤตคับขัน พวกเราชาวเมนเดจะเรียกหาวิญญาณเหล่าบรรพบุรุษให้มาช่วย ให้นำปัญญาญาณจากอดีตมากอบกู้สถานการณ์ในปัจจุบันอันมืดมน บรรพบุรุษต้องมาตามเสียงเรียกของผม เพราะว่า ในเวลาเช่นนี้ ผมคือเหตุผลทั้งหมดที่จะแสดงให้เห็นว่าพวกท่านทั้งหลายเคยมีอยู่จริง”

คำพูดง่าย ๆ เช่นนี้ ทำให้อดัมส์เห็นทางที่จะพูดในศาลก่อนคำตัดสิน “ถ้าทาสเหล่านี้สมควรตาย เราจะทำอย่างไรกับเอกสารคำประกาศอิสรภาพของอเมริกาที่บรรพชนร่วมกันร่างขึ้น ที่ว่า “All men are created equal...”

“ข้อเสนอแนะของผม ก็คือ" อดัมส์ฉีกกระดาษที่อยู่ในมือ หากเราทำลายจิตวิญญาณของบรรพชนที่ให้กำเนิดประเทศนี้ไปแล้ว นั่นก็เท่ากับพวกท่านไม่เคยดำรงอยู่เลย จิตวิญญาณที่สร้างชาติและความเป็นอเมริกันนั้นได้ถูกทำลายและไม่มีอยู่จริง
คำประกาศอิสรภาพของบิดาผู้วางรากฐานจิตวิญญาณประชาธิปไตยในสหรัฐอเมริกามีเนื้อความน่าสนใจ โดยขอยกตัวอย่างที่ประทับใจมากตอนหนึ่ง คือ

" ทุกคนเกิดมา เท่าเทียมกัน ต่างได้รับสิทธิ บางอย่าง ที่จะโอนให้แก่กันมิได้ สิทธิเหล่านี้ ได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข และเพื่อที่จะให้ได้มา ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้ มนุษย์ จึงได้ตั้งรัฐบาลขึ้น และรัฐบาลนี้ ได้รับมอบอำนาจ จากความยินยอม ของผู้ที่อยู่ในปกครอง ของรัฐบาลนั้น

และเมื่อใด รูปการปกครองใด มุ่งทำลายหลักการสำคัญเหล่านี้แล้ว ประชาชน ก็มีสิทธิ ที่จะเปลี่ยนรัฐบาลนั้น หรือยุบเลิก รัฐบาลนั้นเสีย แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นแทน ซึ่งวางรากฐาน อยู่บนหลักการ และจัดระเบียบ การใช้อำนาจ ตามรูปดังกล่าวแล้ว เพื่อให้เกิดผล ในการพิทักษ์ ความปลอดภัย และความผาสุก ของประชาชน"

อ่านถึงตรงนี้แล้ว ย้อนกลับมามองสภาพบ้านเมืองของเรา เรื่องที่เราถกเถียงกันในปัจจุบัน คือ อะไร รูปแบบการปกครอง หรือ จิตวิญญาณที่เป็นหัวใจในการปกครองบ้านเมือง

จิตวิญญาณอเมริกาคือสิทธิ เสรีภาพของทุกคน ซึ่งไม่ว่ากฎหมาย กฎระเบียบ วิถีชีวิต แม้แต่รัฐบาล ก็จะทำลายหรือละเมิดมิได้
จิตวิญญาณไม่ใช่บุคคล ระบบ โครงสร้าง แม้แต่รูปแบบใดๆ ของสังคม ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป จิตวิญญาณ เป็นความจริงสากลที่มนุษย์โดยทั่วไปน่าจะปรารถนาและปฏิบัติได้ร่วมกัน

ประเทศอังกฤษยึดหลักจารีต ประเพณี สามัญสำนึกแบบอังกฤษ ๆ (conscience)

ประเทศเยอรมนีตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยึดหลักศักดิ์ศรีความเท่าเทียมกันของมนุษย์

แล้วจิตวิญญาณของเมืองไทย สยามประเทศ คืออะไร?

เพื่อนที่อยู่ในแดนอีสานคนหนึ่งแลกเปลี่ยนว่า “สมัยก่อนคนรุ่นปู่ย่าตาทวดอยู่ร่วมกันหลากเชื้อชาติ เมื่อมีคนจากต่างถิ่น เช่น ญวน ลาว เขมร มาในพื้นที่ เราก็แบ่งกันอยู่ ถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นเพื่อนกัน ไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย”

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี หรือเปล่าที่เป็นหัวใจของชนแถบนี้ หากจะลองใช้ศัพท์แสงแบบตะวันตก จะพอพูดได้ไหมว่า บรรพบุรุษของเราเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยวิธีคิดและวิถีปฏิบัติ?

การไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สยามทำให้เห็นว่า อาณาจักรสยามนี้เปิดประตูรับคนต่างเชื้อชาติมากมาย จนกระทั่งความเป็นไทย หมายถึง ความหลากหลาย (melting pot)

คนสยามค่อนข้างใจกว้าง ยอมรับผู้อื่นได้ พร้อมเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ เล่นแร่แปรธาตุได้เสมอ มีความสามารถอย่างยิ่งในการหลอมรวม ผสมผสาน และประยุกต์ดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้เหมาะสมกับจริต ความคุ้นเคยของตน เห็นได้ชัดจากการดัดแปลงอาหารต่างๆให้มีเอกลักษณ์เป็นแบบฉบับของตน

จิตวิญญาณที่หล่อเลี้ยงคนรุ่นแล้วรุ่นเล่าให้อยู่ได้จนปัจจุบัน ยังมีอยู่หรือไม่

ในภาพยนตร์ อดีตประธานาธิบดี อดัมส์ ยังกล่าวต่อไปว่า บางทีการที่คนเราไม่หวนกลับไปรื้อฟื้นภูมิปัญญาในอดีต ไม่กลับไปสู่รากเหง้าของตนอาจเป็นเพราะความกลัวที่จะเผชิญกับความจริงที่ว่า แท้จริงแล้ว เราไม่ได้เก่งกาจอะไร แท้จริงแล้วเราคือผลสืบเนื่องของอดีต แท้จริงแล้วเราไม่ได้เป็นปัจเจกชนอย่างที่เราคิดและหวงแหน

“เราถูกทำให้เข้าใจ และยอมที่จะโอบกอกความเข้าใจนั้นว่า สิ่งที่เราเป็นอย่างทุกวันนี้ คือสิ่งที่เราเป็นมาแต่อดีต เราต้องการความเข้มแข็งจากบรรพชน ปัญญาที่จะช่วยเราก้าวข้ามความกลัวและอคติของตัวเอง โปรดให้พลังแก่เราที่จะกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และถ้าหากสิ่งนั้นหมายถึง สงครามกลางเมืองแล้วละก็ ขอให้มันมา และเมื่อสงครามกลางเมืองมาถึง ก็ขอให้มันเป็นการปฏิรูปครั้งสุดท้ายของอเมริกาเทิด” อดัมส์กล่าวถึง

ในที่สุด องค์คณะของศาลสูง 8 ใน 9 ก็ตัดสินให้ ส่งเรือสินค้าคืนสเปน หากแต่ชาวแอฟริกันมีศักด์ สิทธิ เสรีภาพความเป็นมนุษย์เต็มเปี่ยม และเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง ว่า จะกลับบ้านที่แอฟริกาหรือไม่
ความขัดแย้งทางความคิดเรื่องทาส รวมกับเรื่องอื่น ๆ ระหว่างชาวเหนือและชาวใต้ก็ทวีขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี 1861 สงครามกลางเมืองก็ระเบิดขึ้น ในช่วงสมัยประธานาธิบดี ลินคอล์น

สงครามกลางเมืองระหว่างเหนือและใต้จบลงเมื่อปี 1865 ประธานาธิบดีลินคอล์นประกาศอิสรภาพของทาส และ สถาปนาศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในดินแดนอเมริกา แต่สงครามกลางเมืองนี้ก็ได้คร่าชีวิตทหารอเมริกันไปกว่า 620,000 นาย และ พลเรือนได้รับบาดเจ็บอีกมาก ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การลอบสังหารประธานาธิบดี ลินคอล์น ในปีเดียวกันนั่นเอง

หวังว่าประวัติศาสตร์ของชาติหนึ่ง จะไม่เป็นอนาคตของอีกชาติหนึ่งที่อยู่ไกลกว่าครึ่งโลก แต่ก็นั่นแหละกิเลสที่ครองใจคนเหมือนกันทุกชาติ ดำรงอยู่ทุกสมัย เหตุการณ์เดิม ๆ ในประวัติศาสตร์สามารถซ้ำรอย ซ้ำซากได้เสมอ จนกว่าเราจะเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจ

บางทีหนึ่งในหนทางที่เราจะเปลี่ยนจิตใจได้ คือ การกลับไปมองอดีต เรียนรู้จากความผิดพลาด ค้นหารากเหง้าของตน เรียนรู้ที่จะอยู่กับความหลากหลายอย่างที่บรรพบุรุษเราอยู่กันมา

บางทีหากเรารู้จักตัวเองมากขึ้นว่า เราเป็นใคร แก่นแกนคุณค่าความเป็นเราอยู่ที่ตรงไหน เราอาจจะเห็นความจริงมากขึ้น เห็นทางเดินของชีวิตได้ดีขึ้น

บรรพบุรุษฟากหนึ่งของผู้เขียนเป็นคนจีนล่องเรือมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ อีกฟากเป็นแขกอินเดียอิสลามที่อาศัยในอยุธยา อีกส่วนถือได้ว่าเป็นคนสยาม และชาวเล นี่เพียงแค่สาวบรรพบุรุษในรุ่นรัตนโกสินทร์ตอนต้นค่อนกลาง จะมีเชื้อชาติอื่นที่อยู่ในยีนอีกไหมไม่รู้ อาจด้วยเหตุนี้กระมัง คำเชิงดูหมิ่นว่า “เจ๊ก” หรือวลี “ตีแขกก่อนตีงู” จึงไม่เคยหลุดจากปากเราเลย

จริง ๆ แล้วเราใกล้กันกว่าที่คิด เป็นมิตรกันมากกว่าศัตรู

What is your story? Who are you? Let’s talk about it and share.

หมายเหตุ หากใครสนใจภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังมีจำหน่ายทั่วไป น่าประทับใจมาก ส่วนถ้าไม่มีเวลามากพอ สามารถเลือกฟังคำพูดน่าประทับใจของ ประธานาธิบดี ควินซี อดัมส์ได้จาก www.youtube.com โดยพิมพ์คำว่า Amistad