วันเสาร์, กรกฎาคม 29, 2549

เผชิญความตายอย่างสงบ ๒

คำถามจากผู้เข้าร่วม : ให้ผู้เข้าร่วมเสนอคำถามว่าอยากรู้เรื่องอะไรที่เกี่ยวกับความตาย เขียนมาคนละ ๒ คำถาม

๑) ความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวกับนิมิต

ช่วงก่อนไป คนป่วยมักเห็นภาพต่าง ๆ ดีบ้าง แย่บ้าง นั่นคือนิมิต อย่างแรกคือกรรมนิมิต คือภาพกรรมในอดีตอาจจะดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่ เช่น เขาเคยฆ่าสัตว์ เพราะสภาวะเช่นนั้นคือความทรงจำในอดีตย้อนทวนขึ้นมาใหม่ การย้อนจะเกิดขึ้นเร็วมาก เพราะอะไรที่สะดุดใจก็จะค้างอยู่ตรงนั้น เพราะคนเราที่ทำความไม่ดี ก็จะผุดขึ้นมา

ไม่จำเป็นต้องสะดุดตา จะแสดงอานิสงส์ตอนใกล้ตาย คนที่ sensitive ถ้าไม่มีสติครองใจเลย สัญลักษณ์ภพภูมิ ตามทฤษฏี ทุกคนเกิด แม้ ๑ วินาที ก็กระทบเราได้

๒) ตายแล้วจะไปไหน

ขึ้นอยู่กับกรรมเป็นหลัก กรรมจะเป็นแรงขับไปเกิด กรรมอะไรมาก่อนมาหลัง ตัวที่จะให้ผลทันที คือ อาสัญณกรรมคือ ตาย จวนเจียนตายเป็นความนึกคิด เหมือนกับการเปิดประตู ถ้ามีอะไรที่ติดประตูก็แสดงผลมาก่อน เพราะฉะนั้นคนที่ทำกรรมมาก็วูบขึ้นในวินาทีสุดท้าย ก็จะไปเกิดสุคติ และจะแสวงหาภพ

๓) ถ้าพูดถึงความเชื่อแบบทิเบต หากนำมาประยุกต์ใช้กับเรา เราควรจะให้เวลาแค่ไหนกับคนตาย

ในช่วงสุดท้าย น่าจะปล่อยไว้สัก ๒-๓ ชม. สวดมนต์แผ่เมตตาเหมือนกับยังมีชิวติอยู่ ตายเมื่อไรตอบยาก วิทย์ก็ยังบอกว่ามีชีวิตอยู่ เพร่าร่งกายมีบางส่วนยังทำงานอยู่ เม่าอหมดลม สมองตาย แต่ทางกายยังไม่ตายสนิท เพราะเราก็ยังเผปื่อให้ เพราะพยังม่ตายสนิท โดยน้อมใจพาเขาไป หรือเมื่อตายไปแล้ว เขาก็ยังไม่รู่ว่าเขาตายแล้ว มีคนมานั่งรอบข้าง ร้องไห้ เขาก็จะตกใจ ต่าถ้าเราสงบ เขาก็ไปอย่างสงบ

หรือถ้าแม้เขาจะยังไม่สงบ หากเราน้อมใจ เขาก็จะไปอย่างสงบ แม้ว่าทางการแพทย์ว่าเขาป่วย เราก็ดูแลเขา

๔) ทำอย่างไรกับสิ่งที่ค้างคากับผู้ที่ยังอยู่

เราอาจจะคิดว่า สิ่งที่ค้างคาในผู้ตายนั้นไม่มี(ตายไปแล้ว) จะมีก็แต่ผู้ยังอยู่ จึงใช้พิธีกรรมมาช่วย แต่ก็พบว่ามีบ้าง ตัวอย่างเช่น เขาเคยเป็นเพื่อนรักกัน จนกระทั่งวันหนึ่งเขาโกรธกันมาก ถึงขนาดบอกว่าตายแล้วไม่เผาผี พอตายแล้ว มาเข้าฝันเพื่อน เพื่อนคนนี้ก็ไม่ยอมให้อภัย จนวันหนึ่งพระถามเขาว่ามีใครตามมาไหม เขาจึงกรวดน้ำไปให้ จากนั้นเพื่อนเขาก็เลิกตามมาอีกเลย

เป็นเพราะผู้ตายไปไม่ได้ เพราะยังค้างคา กรณีตัวอย่างไปได้เพราะให้อโหสิแล้วจากคนที่เขาต้องการให้อภัย ดังนั้นคนตายก็ยังต้องการรับการอโหสิ จึงจะไปได้



๕) ส่งใจถึงกันได้หรือไม่


มีตัวอย่างหนึ่ง เพื่อนที่ตายแล้ว มาปรากฏให้เราเห็น เหมือนมีสัญญาณที่ส่งให้ ทั้งที่เราไม่รู้มาก่อน ขณะกำลังบรรยายอยู่ เห็นเพื่อนคนนี้เดิมผ่านมา ตอนนั้นไม่รู้ว่าคนนี้ตายไปแล้ว มารู้ที่หลังว่าคนที่เห็นตายไปแล้ว

๖) การสวดมนต์ ต้องสวดอย่างไร


เอาสิ่งที่ผู้ป่วยคุ้นเคย ส่วนใหญ่เราทำตอนที่เขามีชีวิตอยู่ เอาสิ่งที่ผู้ป่วยเขาผูกพัน เช่น กรณีบางคนไม่เคยเข้าวัด เราไปสวด ก็ไม่มีผล ก็ต้องลองที่เขาชอบ มีตัวอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยต้องการให้สวดบางบทให้ พอได้ยิน เขาก็ไปอย่างสงบ

๗) การตายก่อนตายคืออะไร

ท่านพุทธทาสมักพูดหมายถึง การให้ระลึกการตายก่อนตาย ขณะที่ยังมีชีวิติอยู่ นี้คือความหมายเบื้องต้น ลึกลงไปเป็นความหมายที่ ๒ ให้ตายจากการยึดถือตัวตน เป็นการระลึกว่า เรามีอยู่ที่เรายึดสำคัญมั่นหมาย ฉันเป็นลูปก เป็นแม่ เป็นคนเก่ง นี้คือการเกิดเป็นยึดถือเป็นตัวตน เป็นตัวกู ตัวตน เพราะฉะนั้นลดตัวตน เป็นที่ละเอียด เป็นเรื่องยาก มีแต่ความตาย แต่ไม่มีผู้ตาย เพราะว่าไม่มีตัวตนแล้ว เวลาเกิดโกรธ ให้เรามองความโกรธมี แต่ไม่มีตัวตน เหมือนมีการตาย แต่ไม่มีใครตาย ก็ทำให้ไม่มี ปกติเราไปคิดว่า มีคนตาย ฉันตาย ก็เลยกลัว เพราะฉะนั้นพอมีการตาย ก็ใม่มีใครตาย ก็ไม่ต้องมีอะไร ตอบแบบพุทธ ไม่มีการตาย ไม่มีใครตาย ก็เป็นการเปลี่ยนสภาพเท่านี้ เหมือนดักแด้เป็นผีเสื้อ ก็แค่เปลี่ยนสภาพ หรือเด็กในท้อง คลอดเป็นเด็กออกมา เป็นการเปลี่ยนภพ เป็นการเกิดเท่านั้น จากท้องแม่สู่โลก เปลี่ยนภพ ใช้ศัพท์เป็นการเกิดเท่านั้น เป็นการแปรสภาพจากภพภูมิ เด็กจะไม่ยอมออกมา เพราะมันต้องการขัดขืน เหมือนคนติดคุก ๕๐ ปีอยู่นานมาก สบายแล้ว ก็ไม่อยากออก

พระมักพูดเปลี่ยนจากอกุศลกรรมเป็นกุศลกรรม เป็นสิ่งที่ตามไปคือ บุญ กรรม เว้นแต่ว่า เหนือกรรม ก็ไม่ไปเกิด แต่ถ้ายังมีเรื่องบาป เรายังมีอยู่ ก็ต้องไปเกิดอีก พระพุทธเจ้าถูกถามว่า ตายแล้วไปไหน พระพุทธเจ้าก็ถามกลับมาว่า เทียนดับแล้วไปไหน

) คำพูดของท่านพุทธทาส ตกกระไดพลอยโจน

คำนี้ มีความหมายกับท่าทีต่อการฝึกใจ เราต้องกระโดดลงไปเลย อย่าไปคิดหน้าคิดหลัง ต้องไปข้างหน้าเลย ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ต้องกล้าตัดใจ แต่เรามักตกอยู่ในสภาพที่ทำให้เราไม่ปล่อยวาง ไม่ปล่อยจากตัวตน ฉะนั้นเราต้องตัดสะบั้นเลย ในการเตรียมเพื่อที่จะตาย มีตัวอย่างหนึ่ง พระติสะ อยู่ในสภาพที่มีหนองน้ำเหลือง พระพุทธเจ้ามาพบ ก็เข้ามาดูแล และสวดบังสกุล พระติสะ ได้รับปัญญาขณะเจ็บป่วย ถือว่าบรรลุนิพพาน เพราะเกิดปัญญา การเตียมตัวตายเป็นอุปกรณ์ที่จากการได้ธรรมจากพระพุทธเจ้า
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง พระองค์หนึ่งจะฆ่าตัวตาย เพราะไม่บรรลุธรรม พอสะบัดมีด บรรลุธรรม เพราะรู้ว่า พิจารณาจากความเจ็บป่วย เกิดปัญญา หรือกรณีอีกองค์หนึ่งไฟกำลังคอก พอได้พิจารณา ก็บรรลุเพราะเกิดปัญญา คนที่มีความทุกข์ ณ ขณะนั้นได้พิจารณา โดยใช้ความทุกข์เป็นประโยชน์ตรงนี้ ซึ่งเกิดจากการไตร่ตรอง หรือมีคนชี้แนะ

๙) กรณีคนฆ่าตัวตาย บาปไหม

หากพิจารณาการตายสุดท้ายที่เป็นจิตอกุศล เช่น ความหดหู่ เศร้าหมอง จิตสุดท้ายสำคัญ เป็นปัญญาที่มีพลังมาก ตัวอย่างพระนั้นเป็นเพราะได้รับการฝึกฝน

คนที่ฆ่าตัวตาย มักจะมีติดตัว ที่เขาเรียกว่าบาปคือตรงนี้ คือตายไปแล้วมาเกิดใหม่ก็ยังคิดแต่จะฆ่าตัวตาย ทำร้ายตนเอง ภพแล้วภพเล่า เพราะมีติดตัว หรือที่เรียกว่า บาปติดตัว

ในทางการแพทย์บอกว่าการฆ่าตัวตาย เกิดจากอาการที่มีสารเคมีที่ส่งผลให้เกิดความซึมเศร้า มีสาเหตุเช่นนี้ด้วยหรือไม่ เคยมีงานวิจัยพบว่า ผู้เป็นแม่ที่ถูกกระทำข่มขืน จะส่งผลต่อลูก เพราะแม่ที่ถูกข่มขืน (abuse) มักจะพบอาการอย่างนี้ ซึ่งงานศึกษาทางการแพทย์ก็มี แต่ก็น่าจะแค่สาเหตุเดียว ถ้าจะแก้ไข จะต้องรับฟังเรื่องต่าง ๆ ของคนไข้จริง ๆ

สิ่งสำคัญของคนที่มีอาการซึมเซาคือเขาจะต้องการให้เราฟังเขามากกว่า ซึ่งเรามักลืม มักพบว่า คนไข้รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ฉะนั้นหากฟังเขา ไม่ใช่จู่ ๆไปแนะนำ โดยเราต้องทำตัวเป็นฟองน้ำ

ถามว่า คนหนึ่งที่มีชีวิตปกติอยากตาย กับคนหนึ่งที่มีชีวิตที่มีปัญหาแต่ไม่ทุกข์ ต่างกันอย่างไร
ความทุกข์ไม่ได้อยู่ที่ความรุนแรงของปัญหา หรือมีอะไรมากระทบกับเรา แต่อยู่ที่การมองของเราต่างหาก เช่น บางเป็นคนเป็นมะเร็ง กลับมองชีวิตดีและกลับใม่ทุกข์

คนฆ่าตัวตาย เพราะมีบางอย่าง คือ เห็นคุณค่าของตนน้อยลง เพราะ Self extreme ลดลง และการไม่สามารถคุยกับใคร ทั้งสองประการนี้ เป็นจุดสำคัญของคนที่ฆ่าตัวตาย ฉะนั้น การมีคนฟังจะมีความสำคัญ
จึงขึ้นอยู่กับว่า เรามองอย่างไร เสีย self อย่างไร ตัวอย่าง งานเรื่องเกอิชา สามีของเกอิชาเสีย เจอชีวิตมีปัญหามากมาย บังเอิญวันหนึ่งพบชายชราคนหนึ่ง จึงบอกไปว่าตนอยากจะฆ่าตัวตาย ชายชราบอกว่าก่อนตายขอให้ไปทำความดีก่อน วันละ ๑ คน เกอิชาคนนั้นก็ไปช่วยเด็ก สอนให้เด็กให้หัวเราะ ทำจนกระทั่งในที่สุด พบว่าเขาไม่ฆ่าตัวตาย เพราะเห็นการกระทำที่ตนได้จากการเสียสละช่วยผู้อื่นนั้นก่อประโยชน์
สิ่งที่เป็นก่อให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีกับจิตใจ พบว่าเป็นบาป สิ่งที่เศร้าหมองเป็นอุปสรรคขัดขวาง เป็นบาป


๑๐) ที่ว่ามีความเชื่อว่า คนตายนั้น จริง ๆ แล้วเขายังมีชีวิตอยู่ถึง ๔๙ วัน จริงหรือไม่

เป็นความเชื่อทางพุทธ ที่ว่า ทุก ๗ วัน ชีวิตจะกลับมาครั้งหนึ่ง รวมประมาณ ๔๙ วัน ซึ่งแต่ละคนจะไม่เท่ากัน แต่นี้คือค่าเฉลี่ย เป็นสภาวะของช่วงการเตรียมตัวไปสู่ภพใหม่ การทำบุญช่วงนี้ เป็นการช่วยเขา และเป็นการเยียวยาให้กับผู้ที่ยังอยู่ด้วย เช่น ความรู้สึกว่ายังไม่สิ้นไร้ไม้ตรอก ทำให้รู้สึกดีกับผู้ยังอยู่ที่ว่ายังดีกว่าเอาแต่เศร้าโศก

๑๑) เราควรจะมีท่าทีอย่างไรในการดูแลคนป่วย

ซึ่งมีหลายองค์ประกอบ เทคนิคต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ต้องเข้าถึงใจของเขาและสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมด้วย คนรอบข้าง เช่น
- ใจของเรา
- ท่าที
- ดูสภาพแวดล้อม
- ดูสิ่งที่เขาต้องการดูว่าเขาได้ทำแล้วหรือยัง
- เอื้ออำนวยในสิ่งที่เขาต้องการ
- จิตของเราต้องมั่นคง เข้มแข็ง ต้องเข้าใจว่าคนเราย่อมแตกต่างกัน หากเราหมดหวัง เสียกำลังใจจากกความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เราต้องฝึกการอุเบกขาด้วย

๑๒) ในฐานะพยาบาล การไปดูแล เราควรไปร่วมรู้สึกกับเขาไหม

ควรจะระวัง ไม่ใช่ทำให้เราทุกข์ด้วย เคยมีคำพูดว่า อย่าเอาอารมณ์ของคนไข้เข้ามาไว้ที่เรา ควรปล่อย และอยู่ห่างเขา แต่เราต้องทำด้วยเมตตา อย่าเอาตัวเองไปเศร้ากับเขา

๑๓) เรื่องการบอกจะบอกหรือไม่เกี่ยวกับความจริงของชีวิต

ในสังคมตะวันตกจะบอกว่า การบอกเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญ แต่ถ้าเป็นสังคมตะวันออกจะต้องดูคนรอบข้างเขาด้วย เสนอว่าเราต้องทำไปพร้อมกันทั้งกับญาติและคนป่วย แต่ถ้าต้องเลือก เราอาจจะยึดคนไข้ก่อน ดูปฏิกิริยา คอยประเมินว่าทั้งคนป่วยและญาติมีปฏิกิริยาอย่างไร การบอกต้องระมัดระวัง แต่ที่มักพบคือญาติมักจะห่วงไปเองก่อนมาก คิดล่วงหน้า

ฉะนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการบอก เรื่องร้ายแต่ไม่จำเป็นต้องบอกอย่างร้าย ไม่ใช่การบอกทางโทรศัพท์แล้ววางหู แล้วต้องคิดต่อว่าบอกแล้วต้องมีการดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น และจะทำอย่างไรด้วย และการบอกอาจจะค่อย ๆ บอก ทีละนิด

มีตัวอย่างหนึ่ง คนไข้เหมือนรู้ตัว แต่ไม่ยอมรับ ญาติเองก็รู้อยู่แล้ว แต่คนไข้ก็บอกญาติไว้ ตนเองจะหายปกติ เมื่อสภาพร่างกายแย่มาก ญาติก็ไม่รู้จะทำอย่างไร

๑๔) หลักการไปอย่างสงบ

๑. ขจัดสิ่งเป็นลบ เอาสิ่งรบกวนออกจากจิตใจเขาให้มากที่สุด คือ สิ่งรบกวน ห่วงกังวลออก จะเห็นได้ว่า เขารอบางอย่าง ขนาดว่าเขามีอาการโคม่า เขายังเปิดตาได้เพราะได้พบคนที่ต้องการ
ตัวอย่าง ดีเจโจ้คนที่เสียชีวิต ร่างเหมือนตายแล้ว แทบจะไม่ไหวแล้ว คนที่ยังอยู่คือภรรยาร้องไห้บอกว่าอย่าเพิ่งไปน่ะ เขาก็ต้องทน จนกระทั่งพอภรรยาบอกว่าไม่ต้องห่วงแล้ว เขาก็จากไปด้วยดี เพราะเขาสามารถปล่อยวาง ไม่ต้องห่วง กรณีนี้สะท้อนว่าเพราะเขาต้องถูกรั้งไว้เพราะคนที่ยังอยู่เป็นภรรยาต้องการให้เขายังอยู่

อีกรายหนึ่ง พอแม่มาบอกเขาที่รพ.ว่าได้ถวายสังฆทานให้เขาแล้ว เขาก็จากไปได้ เพราะฉะนั้นต้องดูทั้งคนไข้ และญาติ มีต่อกันว่ามีอะไรที่ยังไม่ได้เคลียร์ พยาบาลอาจจะช่วยในการเชื่อมทำความเข้าใจเขาและญาติ บอกให้เขาเข้าใจต่อกัน และหรือได้รับฟังกัน เอาสิ่งที่ค้างคาให้ได้รับการจัดการ นี้คือการทำหน้าที่ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่

๒. ทำหน้าที่น้อมนำจิตใจ เช่น นำสวดมนต์ หรือหาพระพุทธรูปมาให้เขาได้เห็น ทำให้เขามีสิ่งที่ระลึก หลับตาก็เห็น หรือทำการน้อมนำสวดมนต์ ทำสมาธิร่วมกัน ทำด้วยกัน การบอกคนป่วยทำ ต้องทำด้วยกัน ไม่ใช่แค่เปิดเทป แต่ต้องทำด้วยกัน

กรณี สุภาพร พงศ์พฤกษ์ เจ้าตัวไม่ต้องการรับการรักษา สิ่งที่เขาต้องการคือการน้อมนำให้จิตใจไปอย่างสงบ เขาทำบ้านให้น่าตาย ไม่ใช่แค่น่าอยู่ เขาวางกระทั่งการกรองเพื่อนที่จะมาเยี่ยม เช่น ไม่ใช่คนที่มาร้องไห้ ทำให้เขาเสียใจ เขาต้องการสงบ เพื่อนที่มาจึงมาทำให้เกิดความสงบ มาคุย หยอกล้อ เปิดเทป นั่งสมาธิ สวดมนต์ด้วยกัน เขาพึ่งยาน้อยมาก เขาใช้วิธีอาณาปานสติ ตามลมหายใจ หมอเต็มศักดิ์ช่วยดูแลให้ในสิ่งเขาต้องการ เขาจะไม่พึ่งยา เขาให้มีการตีระฆัง เพื่อเตือนสติเพราะความคุ้นเคยที่เขาเคยมีมาก่อน จากการที่เขาเริ่มไม่สามารถพูด แต่มีระฆังช่วยเขาได้

อีกรายหนึ่ง เป็นมะเร็ง ช่วงสุดท้ายสามารถมีสติก่อนไป ประคองสติไปได้ตลอด พี่น้องที่อยู่ข้างเตียงนำทางให้ โดยการสวดมนต์ ใน ๒ สัปดาห์สุดท้าย พูดให้นึกถึงพระรัตนตรัย ขอให้มั่นใจในพระคุณ ต่อมา ๒ วันสุดท้าย ต่อมาให้เขาขออโหสิ ขอขมา ปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ สรุปคือ น้อมนำสู่สุคติ และขออโหสิ ปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ ธรรมทำให้อาจหาญร่าเริง ญาติควรย้ำว่า คนป่วยที่เป็นคนไข้ ไม่ได้เป็นภาระ บอกว่าเขาเป็นประโยชน์ที่ทำให้เขาได้เรียนรู้ เป็นโอกาสที่ทำความดี เต็มใจที่จะมา ให้เขาสบายใจ

ประโยคสุดท้ายมีความสำคัญคือ การกล่าวคำอำลา ถ้ากำลังแย่ ก็พูดดัง ๆ กล่าวคำอำลา ก็มี ๑) แสดงความซาบซึ้ง ความดีของเขาที่เขาช่วยสร้างครอบครัว ดูแลลูกหลาน ทำบุญที่ไหน ให้เขาภูมิใจในตัวเขา ยกความดีของเขาขึ้นมา หรือคนที่ใช้ชีวิตกับเขา ๒) ขอขมาต่อเขา รวมให้อโหสิ ขอขมา ๓) พูดถึงธรรม ปล่อยวาง ความยึดมั่นตัวตน ถ้าไม่มีธรรมที่เขารับมา ก็ให้เขาอย่าห่วงอะไรที่ทำให้เขามีตัวตน



๑๕) การร้องไห้เป็นการทำร้ายเขาไหม

ถ้าเรามีความเศร้า ไม่ควรแสดง แต่ก็เลือกเวลา สถานที่ เพราะคนตายต่องการความมั่นใจ จะไปด้วยการไม่ห่วงกังวล การร้องไห้เป็นสัญญาณที่ทำให้เขาห่วง แต่ก็มีบางคนไปห้าม ก็ไม่ควร เพราะเคยมีที่เมื่อเลิกร้องไห้เลยนั้น กลับทำให้คิดว่าเขาโกรธ การหาสิ่งที่ผู้ตายคุ้นเคย เป็นสิ่งจำเป็น

๑๖) การกล่าวคำอำลา ช่วงเวลาไหนเหมาะ

ช่วงที่รู้ตัวอยู่ จะช่วยเป็นการตอกย้ำ เป็นการน้อมใจไปสู่สิ่งนั้น เพราะเขาจะลืม ต้องย้ำ คนที่โคม่า สติจะอ่อนลงไปมากแล้ว จิตสุดท้ายเป็นเรื่องสำคัญ จิตสุดท้ายสำคัญเพราะหากมีอะไรหลงเหลือ การพูดอีกครั้งก่อนไปก็ดีมาก การขอขมากับผู้จะตาย ดีมาก เป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาไปดี และยังช่วยคนที่ยังอยู่ ทำให้เขาได้จัดการแล้ว โดยการขอขมาและให้อภัย

๑๗) ในสถานการณ์ที่เราเป็นคนใกล้ชิดกับผู้ป่วย ถึงแม้ในบางกรณี ผู้ป่วยต้องการไปอย่างสงบ ญาติของผู้ป่วยยังทำใจไม่ได้ สังคมก็มักจะรู้สึกว่าต้องทำอะไรกับสิ่งสุดท้าย แต่เป็นการทำเพื่อใครกันแน่ ทำเพื่อตนเองหรือผู้ป่วย เราจะเลือกทำเพื่อเขาหรือตัวเรา

- หมอและบุคลากรทางการแพทย์จะคอยเตือนว่า จะมีอะไรที่ต้องการบอกหมอไหม เขาจะบอกว่าไม่ต้องการอะไรบ้าง เป็นต้น
- และหมอจะแนะนำว่าควรจะไม่ตัดสินใจคนเดียว ควรจะมีหลายคนอยู่ด้วย คุยพร้อม ๆ กันหลายคน เพราะเคยมีที่เกิดเรื่องกัน
- ปัจจุบัน วงการแพทย์ดีขึ้น

เวลาเจอจริง ทำได้แค่ไหน?

- เพราะความคาดหวังต่างกัน ทัศนคติที่ต่างกัน แลกการตัดสินใจต้องผ่านการลงความเห็นที่แตกต่างกันจากหลายมุมมอง
- ระหว่างการดูแลรักษาความสงบ ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ อย่าง ไม่มีสูตรสำเร็ตายตัว แต่ไปถึงขั้นปล่อยวาง ได้ก็ดี แต่ถ้าไปอย่างสงบก็จะดี
- การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ ให้ดี ก็จะดีมากกว่าด้วย

**** สรุปสาระสำคัญที่ทีมวิทยากรขยายความเข้าใจเพิ่มเติม ****

นิมิต

๑) กรรมนิมิต ภาพที่เกี่ยวกับการกระทำในอดีตที่รับรู้ทางจิต อาจดีหรือไม่ดีก็ได้ ทำให้ความทรงจำในอดีตย้อนทวนมา life review เพราะค้างคาอยู่ในใจ ภาพนั้นเกิดขึ้นก่อนตาย

๒) คตินิมิต ภาพหรือสัญลักษณ์ เกี่ยวกับภพภูมิที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า ตายแล้วไปไหน ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง? กรรม/การกระทำที่เป็น กุศล และ อกุศล? อาสันนกรรม(วัวปากคอก) เป็นกรรมที่จะให้ผลทันทีเมื่อตาย เป็นความนึกคิดทางจิต เช่น เศร้าหมอง เบิกบาน? อานันตริยกรรม กรรมหนัก เช่น ฆ่าแม่ ทำให้สงฆ์แตกแยก

ภาวะหลังการตาย

หลังจากผู้ป่วยตาย ถ้าเป็นไปได้ ควรปล่อยวางศพไว้ ๑-๒ ชม. และสวดมนต์ แผ่เมตตาให้เขาไปดี สู่สุคติ สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ และอบอวลด้วยธรรมะ ช่วยให้ดวงจิตของผู้ตายได้ลดทอนความเศร้าโศกและนำทางไปสู่สุคติ ถือเป็นของขวัญชิ้นสุดทายให้แก่ผู้ตาย

วิธีลดสิ่งค้างคาใจของญาติ ?

ขออโหสิกรรม
ทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้ผู้ตาย?
เราสามารถส่งจิต รับรู้กันได้ แม้ระยะทางไกลเป็นการเยียวยาจิตใจให้ผู้ที่ยังอยู่ ญาติ ทำให้เขารู้สึกว่าสามารถทำอะไรให้ผู้ตายไปได้บ้าง

ตายก่อนตาย

มีความหมาย ๒ แบบ ๑)ระลึกถึงการตายของตนอยู่เสมอก่อนตนหมดลม เช่น ถ้าเราจะตายปล่อยวางอย่างไร

๒)ตายจากความยึดถือในตัวตน หรือความสำคัญมั่นหมายในตน ปล่อยวางตัวตน (ปล่อยวางทางจิตวิญญาณ) ถึงที่สุดจะไม่มีใครตาย มีแต่ความตายแต่ไม่มีผู้ตาย ทำได้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่มีชีวิตอยู่มีสติอยู่เสมอ ความตายคือการเปลี่ยนภพภูมิเปลี่ยนสภาพ บาปคือสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง อกุศล หรือ เป็นอุปสรรค ขัดขวางการรทำดีหรือมีความสุข

ตายแบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่คิดกังวล ละวางทุกสิ่ง ไม่ห่วงกังวลคนข้างหลัง ไม่คิดถึง กลัวว่าตายแล้วไปไหนทำจิตให้เป็นกุศล นำความเจ็บปวดทรมานกายเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาทางจิตวิญญาณ เข้าถึงธรรมขั้นสูง

ความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะอะไรกระทำ ต่อเรา เกิดอะไรขึ้นกับเรา แต่อยู่ที่เรามีมุมมองหรือท่าทีอย่างไรต่อทุกข์นั้น

ความทุกข์โดยทั่วไปของผู้ป่วย

๑) ไม่เห็นคุณค่าของตัวเองน้อยเนื้อต่ำใจ

๒) ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารกับคนอื่นได้ เช่น ไม่มีผู้รับฟัง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

- เข้าใจปฏิกิริยาทั้งทางร่างกายและจิตใจที่อาจจะเกิดกับผู้ป่วย รับฟังความทุกข์ของผู้ป่วย

- ช่วยให้ผู้ป่วยคลี่คลายความทุกข์ภายในใจหมดห่วงกังวล และอโหสิกรรม

- ใช้ความรักความเมตตาเป็นพื้นฐาน (ใช้ใจ)

- ให้การดูแล เป็นทีม ทำให้ทั้งญาติ แพทย์ พยาบาล เข้าใจวิธีการรักษาทั้งทางกายและทางใจ

- ท่าทีสุภาพอ่อนโยน ให้เกียรติผู้ป่วย เคารพในความเชื่อของผู้ป่วย มีสติ จิตใจมั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย

- ประเมินผล ช่วยดูแลจิตใจของญาติที่ยังอยู่ ถ้าช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้วต้องปล่อยวาง อุเบกขา

- เข้าใจความทุกข์ของผู้ป่วย แต่ไม่แบกรับความทุกข์ของเขาไว้

- นำผู้ป่วยเป็นบทเรียน เป็นครู สอนให้เห็นคุณค่าของชีวิต

- ประเมินความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยและญาติ ทำให้บอกความจริงแก่ผู้ป่วยหรือญาติง่ายขึ้น ให้เหมาะสมกับสภาพอารมณ์เป็นเวลา ความพร้อมของทั้งญาติและผู้ป่วย

- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ช่วยให้เขาระลึกถึงคุณความดีที่เคยทำหรือสิ่งที่เป็นกุศล

- รับฟังความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง

- ช่วยจัดการภาระกิจที่ยังไม่ลุล่วง
๑) จัดการสิ่งที่รบกวนจิตใจ คลี่คลายสิ่งที่ค้างคาใจ
๒) ทำให้จิตใจเป็นกุศล น้อมระลึกถึงสิ่งดีงาม คุณงามความดี พระ เป็นต้น(ทำด้วยจิตใจที่มีพลัง และช่วยเหลือทางใจได้มาก)

- สร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับความตาย กลั่นกรองคนเยี่ยมเฉพาะที่เข้าใจผู้ป่วย และเข้าถึงความสงบ

- อาจหาญร่าเริงในธรรม มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น สงบแต่ไม่เศร้าโศก

- นั่งสมาธิ สวดมนต์ด้วยกัน ตีระฆัง หรือเปิดเทปธรรมะ

- พูดคุยให้ผู้ป่วยรับรู้ว่า เขาไม่ได้เป็นภาระให้กับใคร

- กล่าวคำอำลา
๑) แสดงความซาบซึ้งภูมิใจ พูดถึงความดีของผู้ป่วย
๒) ขอขมาลาโทษ ให้อโหสิ
๓) นำทางให้เขาปล่อยวางเข้าถึงความจริง ควรทำในสิ่งที่ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ขณะจวนเจียน

- เคารพความต้องการ การตัดสินใจวิธีการรักษาของผู้ป่วย ในกรณีญาติเปลี่ยน แพทย์ควรยืนยันการยืนยันการตัดสินใจขชองผู้ป่วยและขณะเดียวกันต้องเข้าใจญาติด้วย

- จัดให้มีการคุยกันของญาติหลายๆคน และร่วมตัดสินใจ (กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว)

- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา และผลการรักษากับทั้งญาติ ผู้ป่วย มุมมองการตัดสินใจของเขาด้วย

เรียบเรียงโดย พี่อุ๊
โพสต์โดย นิ้ง

ไม่มีความคิดเห็น: