วันศุกร์, กรกฎาคม 21, 2549

ดนตรีกับการผ่อนพักอย่างลึกซึ้ง

สื่อสร้างสรรค์ฯ สัญจรครั้งที่ ๓ ผ่อนพักตระหนักรู้กับดนตรี

ณ เรือนไทย โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี

เมื่อถึงหมู่บ้านเด็ก เรานำอาหาร เครื่องดื่มที่นำไปเล็กน้อยๆที่ร่วมในกันแวะซื้อ ที่ร้านโชว์ห่วยระหว่างทาง ไปฝากเด็กๆ หลังจากนั้นเรากลับขึ้นรถต่อต่อไปที่พัก ซึ่งเป็นเรือนไทยหลังใหญ่ งดงาม ยืนเด่นข้างลำน้ำที่อยู่เบื้องล่าง เก็บข้าวของแล้ว เราเริ่มกิจกรรมกันเลย

คณะวิทยากรจากเสมสิขาลัยนำกิจกรรมที่เรียกว่า "ตัวเลขนรก" และ "ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม" เพื่อทำให้ทุกคนรู้จักกันมากขึ้น ได้ความสนุกสนาน และเพื่อลดช่องว่างของผู้เข้าร่วมให้หลอมรวมกับกลุ่ม

กิจกรรมสูดลมหายผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนเป็นวงกลม แล้วสำรวจลมหายใจ อยู่กับตัวเอง จากนั้นออกเดินสำรวจพื้นที่รอบๆตัวเราหาจุดที่เราชอบ ยืนหรืออยู่แล้วรู้สึกอบอุ่น สบาย ปลอดภัย ให้กำหนดจุดนั้นเสมือนเป็นบ้านของเรา เดินออกไปทักทายเพื่อนๆ ส่งรอยยิ้มที่มาจากใจจริงของเรา

โจทย์ต่อไป คือ ในขณะที่เราเดิน เราจะหายใจได้ต่อเมื่อเราอยู่ในพื้นที่ที่เรากำหนดแล้วว่าเป็นบ้านของเรา ถ้าหากเราเดินออกไปนอกบ้าน เราไม่สามารถหายใจเข้าได้ หายใจออกได้อย่างเดียว ดังนั้นเมื่อเราออกเดินไป ลมหายใจเริ่มหมด หรือหมดเมื่อไร เราก็ต้องรีบกลับมาบ้านเพื่อสูดลมหายใจต่อชีวิต

โจทย์ข้อต่อไป ยากขึ้นอีกนิด (๓) มองหน้าเพื่อน เลือกเพื่อนคนหนึ่งที่เราชอบหรือประทับใจ แล้วเลือกจุดที่เราประทับใจเค้ามากที่สุด กำหนดให้จุดที่เราเลือกนั้นเป็นบ้าน จะหายใจได้ก็ต่อเมื่ออยู่ที่บ้านเท่านั้น แล้วทุกคนเดินเป็นอิสระตามใจ

เราเรียนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้

- ตอนที่มองและเดินไปรอบๆวง ทักทายเพื่อนๆด้วยรอยยิ้ม เรารู้สึกอบอุ่น คุ้นเคยกับทุกคนมากขึ้น

- เมื่อหยุดยืนอยู่กับตัวเอง สำรวจลมหายใจ สามารถรับรู้ได้ถึงลมหายใจที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งในชีวิตประจำวันไม่ค่อยรับรู้เท่าไร

- ตอนที่อยู่ในจุดที่เรากำหนดว่าเป็นบ้าน ซึ่งเราสามารถหายใจเข้าได้นั้น รู้สึกสบาย แต่พอออกจากบ้านซึ่งทำได้แค่หายใจออกเท่านั้น เรารู้สึกเกร็ง เหนื่อย อึดอัดเพราะต้องกลั้นลมหายใจ และต้องพยายามกะระยะที่จะต้องกลับบ้านมาหายใจเข้า

- ตอนที่กำหนดให้เพื่อนเป็นบ้าน ที่เราต้องเข้าไปหาเพื่อสูดลมหายใจเข้า รู้สึกไม่ค้อยสบายนัก เพราะ เราต้องพึ่งพิงคนอื่น ยุ่งยาก เกรงใจเพราะเพื่อนอาจต้องพึ่งเรา

ช่วยกันคิดและแบ่งปัน เมื่อเทียบเคียงสิ่งที่เรียนรู้ จากกิจกรรมกับชีวิตประจำวัน เรามาร่วมกันแบ่งปันว่า เรามีกิจกรรมใด สถานที่ใด หรือใครที่เป็นเหมือนบ้านที่ให้พลัง ความสุข สงบกับเราบ้าง

- บ้านที่เรารู้สึกปลอดภัย เช่น อยู่กับคนในครอบครัว และคนที่เราคุ้นเคย

- ไปเที่ยวตามสถานที่เป็นธรรมชาติ

- ไปเที่ยวกับเพื่อน ทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยแบ่งปันกันและกัน

- การกอด การสัมผัส ถ่ายทอดพลังแก่กันและกัน- ฟังเพลง ดนตรี

- ไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ สนทนาธรรม- ย้ายอารมณ์จากสิ่งที่พัวพันอยู่

- ไปที่ไหนก็ได้ที่โดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า

- อยู่กับตัวเองในสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เป็นธรรมชาติ แล้วปลดปล่อยอารมณ์ รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น อารมณ์จะคลี่คลายไปเองตามธรรมชาติ

- อยู่กับลมหายใน มีมุมมองที่สามารถยอมรับความจริงได้ ปล่อยวางส่งต่างๆ

- ปรึกษาผู้ใหญ่ที่ให้คำแนะนำได้ หรืออ่านหนังสือธรรมมะ

- หมั่นสำรวจความสำเร็จเล็กๆน้อยที่ผ่านเข้ามาในชีวิต

- ปล่อยวางความคาดหวัง อยู่กับปัจจุบัน มีสติอยู่กับงานที่เราทำอยู่ หรือดูหนัง อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสกับดิน เช่นลง ปลูกต้นไม้ กิจกรรมที่สามารถเต็มพลังให้แก่ตัวเราได้

จากความเห็นต่างๆ เราช่วยกันวิเคราะห์ตรองต่อ ว่า ความสุข สงบ ของเรามีที่มาจากอะไรบ้าง เราจึงเห็นว่า ความสุขของเรามาจาก 3 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ตัวของเราเอง ครอบครัวและเพื่อนๆ และสิ่งแวดล้อม

-------------------

อยู่กับตัวเอง สติ และ ฐานทั้ง 4

ตลอดเวลาในการอบรม วิทยากรเชื้อเชิญให้ทุกคน หยุดทำกิจกรรมที่เคยทำอย่างคุ้นเคยและให้ทำกิจกรรมต่างๆอย่างช้าลง ลดการพูดคุย และลองสำรวจตัวเอง ด้วยหลักสติกับฐานทั้ง ๔ คือ

๑. ฐานกาย เฝ้ารับรู้การเคลื่อนไหวของกาย
๒. ฐานความรู้สึก เฝ้ารับรู้ถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น ชอบ ไม่ชอบ ร้อน เย็น
๓. ฐานจิต รับรู้ถึงการคิดปรุงแต่ง ความคิดต่างๆ
๔. ฐานธรรม รับรู้ถึงความจริงในชีวิต เห็นธรรมในธรรมชาติ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ


สรุปความรู้สึกระหว่างอยู่กับตัวเอง
- อึดอัดที่ไม่ได้ทำตามที่ต้องการ
- ร้อนกาย – ร้อนใจ – อาบน้ำ – นั่งสมาธิ – สำรวจความรู้สึกภายในตนเอง ทำให้เห็นตนเองเมื่อมีอารมณ์ร้อน
- อิสระ สบายไม่อยู่บนความคาดหวังของใคร
- บางครั้งเราพร้อมที่จะอยู่คนเดียว และบางครั้งก็พร้อมที่จะรวมตัวกันอีกครั้งเมื่อโอกาสเหมาะสม โดยปรกติในชีวิตเรามักจะมองไม่เห็นความงามหรือรายละเอียดบางอย่าง(เพราะเราคิดเรื่องอื่นไม่ใช่สิ่งที่เรา ณ ปัจจุบัน)
- เรามักจะคิดถึงอดีตหรืออนาคตมากกว่าปัจจุบัน เนื่องจากชีวิตเราถูกช่วงชิงไปด้วยบทบาทหน้าที่การงาน
- ลังเล แต่ก็อยากรู้เมื่อปิดวาจาจะเป็นอย่างไร – รู้ตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่
- ความจริงของชีวิตเรามักจะมองเห็นตอนที่เราปล่อยวางภาระบางสิ่งบางอย่างหรือภายในสงบ
- ได้สัมผัสและดึ่มด่ำกับธรรมชาติ ที่สวยงามและละเอียดอ่อน
- ไว้ใจธรรมชาติมากขึ้น ผ่อนคลาย รับรู้ถึงการก้าวเดินย่างไม่เร่งรีบ อยู่กับตัวเอง
- การที่เรานิ่ง สงบภายใน ทำให้การสัมผัสรับรู้ของเราจะดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ทำให้สัมผัสได้ถึงความสุขของคนรอบข้าง
- รู้สึกได้ย้อนกลับเป็นวัยเด็ก
- เห็นความกลัวของตนเอง
- สัมผัสกลิ่นได้เร็ว เช่น กลิ่นดิน ฝุ่น ใบไม้ กลิ่นผ้าเปียกฝน กลิ่นบางอย่างทำให้นึกย้อนถึงอดีต
- การเห็นแก่ตัวคือการมองไม่เห็นความเชื่อมโยงจากชีวิตจริง

---------------------

นั่งสมาธิผ่อนคลายกับเสียงเพลง


เราทุกคนนั่งในท่าที่สบาย ในที่ที่สบายตามใจเลือก จะหลับตาลง หรือ เปิดตาดูสิ่งรอบตัวก็ได้ จากนั้นกระบวนกรเปิดเพลงบรรเลง เชื้อเชิญให้เราทุกคนปล่อยวางความคิด และน้อมใจให้อยู่กับบทเพลง
เรานั่งหลับตาอย่างสบายๆ ประมาณ 30 นาที จากนั้น มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณืความรู้สึกระหว่างนั่งผ่อนคลายดับเสียงดนตรี หลายคนชอบเสียงเพลงที่เลือกมาเปิดมาก บอกว่า เสียงเพลงช่วยทำให้มีสมาธิมากขึ้น ผ่อนคลาย รู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันกับเสียงเพลง ดนตรียังช่วยเร้าให้เกิดภาพที่งดงาม ผ่อนคลาย สบายใจ เช่น ภาพขุนเขาแม่น้ำ

วาดภาพเดียวกัน

ทุกคนนั่งล้อมเป็นวงกลม กระบวนกรแจกกระดาษให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคนละแผ่น แล้วให้แต่ละคนพินิจมองกระดาษที่อยู่ตรงหน้าให้เห็นว่า กระดาษแผ่นนี้เกิดจากดิน เมฆ ฝน สายลม ทุกสิ่งทุกอย่างที่หลอมรวมกันจนเป็นกระดาษแผ่นนี้ จากนั้นให้ทุกคนมองกระป๋องน้ำตรงหน้า ให้พิจารณาเห็นน้ำที่อยู่ตรงหน้า ว่าน้ำเกิดจากแสงแดด ภูผา สายลม ดวงดาว ทุกสิ่งทุกอย่างหลอมรวมกัน

จากนั้นผู้เข้าร่วมหยิบพู่กันขึ้นมา จุ่มน้ำแล้วชโลมลงบนพื้นที่ ๑ ส่วน ๓ ของกระดาษ “กระดาษนี้มีชีวิต ค่อยๆชโลมด้วยน้ำ น้ำนี้มีชีวิตค่อยๆแทรกซึมลงผืนแผ่นดินอย่างช้าๆ”

จากนั้น แต่ละคนเอาพู่กันแตะสีเหลือง ระบายลงบนกระดาษ ให้สีเหลืองเหรียบเป็นพื้นดินอันหนักแน่นมั่นคง เต็มไปด้วยความรัก ที่ให้กำเนิดสรรพสิ่ง สวยงาม เฝ้ามองแผ่นดินที่เราสร้างขึ้นมา ให้ความรัก ความเคารพ นอบน้อมกับผืนแผ่นดิน ที่ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์นี้ เต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา

จากนั้น เอาพู่กันไปแต้มสีแดง แล้วทำเป็นจุดเล็กๆ บนพื้นที่สีเหลือง สีแดงเป็นสีแห่งเมล็ดพันธุ์ เรากำลังจะหย่อนเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิตลงบนผืนแผ่นดินแห่งชีวิต ให้ความรักกับเมล็ดพันธุ์ที่เราปลูก อีกไม่นานจะเติบใหญ่สวยงาม ผืนแผ่นดินอุดมสมบูรณ์นี้เมล็ดพันธุ์ค่อยๆ เกิดรากหยั่งลงบนพื้นแผ่นดิน เป็นรากแก้ว จากรากแก้วค่อยๆแตกขยายออกเป็น รากฝอยคอยยึดเหนี่ยว และดูดซับแร่ธาต และอาหารจนขยายใหญ่เติบโต แสงอาทิตย์ค่อยๆทำให้มันเติบโต ต้นอ่อนนี้เราปลูกด้วยความรัก ความเมตตา ต้นอ่อนต้นนั้นกำลังเติบใหญ่ไปข้างหน้า เราเฝ้าดู ให้น้ำ ให้ปุ๋ย เมื่อมันเติบใหญ่จะเป็นความหวังข้างหน้า จากนั้นก็มีใบอ่อนๆสีเขียว ใบอ่อนนี้กำลังรอรับแสงอาทิตย์

วางพู่กันลง พิจารณาภาพ แล้วส่งภาพต่อไปยังเพื่อนที่อยู่ทางขวามือ

กระบวนกรนำกิจกรรมต่อไปว่า ให้ทุกคนมองต้นอ่อนที่อยู่เบื่องหน้า ต้นอ่อนนี้เป็นต้นอ่อนแห่งความรัก ความหวัง ที่กำลังเติบใหญ่ในอนาคต ให้เราแต้มสีเป็นลำต้น แตกเป็นใบ มีรูปร่างที่แข็งแรง มั่นคง เป็นที่พึ่งพิงให้เหล่านกกา และสัตว์ต่างๆได้ ต้นไม้นี้กำลังเติบโต มั่นคง แข็งแรง เป็นต้นไม้แห่งความรัก ที่มีชีวิตชีวา สวยงาม เป็นที่ปรารถนาของสรรพสิ่ง

เฝ้ามองต้นไม้นี้ด้วยความรัก ความเมตตา เป็นต้นไม้ที่เราภูมิใจ เราเป็นส่วนหนึ่งของต้นไม้นี้

จากนั้นให้ส่งภาพต้นไม้ เวียนไปทางขวามืออีกครั้ง ทุกคนมองภาพที่ได้รับแล้ว กระบวนกรกล่าวนำกิจกรรมต่อไปว่า ให้เราเฝ้ามองต้นไม้ที่อยู่เบื่องหน้า มันเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง และมั่นคง มันกำลังอกดอก ออกผล ดอกไม้ให้ความสดชื่น สวยงาม แก่ผู้ที่พบเห็น จากดอกกลายเป็นผล ผลไม้นี้เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ให้เราแต้มสีระบายดกอผลลงไป จากดอกและผลนี้จะก่อเกิดเป็นสิ่งไม่ชีวิตใหม่ในวันหน้า เฝ้ามองต้นไม้นี้ด้วนความรัก ความเมตตา ต้นไม้นี้เรามีส่วนสร้าง มีส่วนช่วยให้ต้นไม้นี้ออกดอก ออกผล

เวียนรูปไปทางขวามืออีกครั้ง มองต้นไม้ที่อยู่เบื่องหน้าเรา ต้นไม้นี้ช่างสวยงาม อุดมสมบูรณ์ ร่มเย็น แต่แล้วก็มีพายุพัดมาอย่างแรง มาทำร้าย ทำราย พายุที่โหมกระหน่ำ พัดพาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่เบื่องหน้าเรา พังทลายลง ให้เราแต้มสีระบายพายุลงไปในภาพต้นไม้นี้

เวียนรูปกลับคืนไปให้เจ้าของเดิม เฝ้ามอง พิจารณาดูว่า เราจะแต่งเติมอย่างไรต่อไป

กิจกรรมภาพวาดสะท้อนอะไรบ้าง
รู้สึกอย่างไร
- ตอนแรกเมื่อได้กระดาษ ได้ลงมือระบายสีที่บอกว่าเรากำลังแต่งแต้มพื้นดิจ และ จุดของเหล็ดพันธุ์ เรารู้สึกสบายๆ มีความหวังว่าเราจะเป็นผู้สร้างก่อกำเนิด รู้สึกดี ตั้งใจให้ได้ดี รู้สึกเหมือนกลับเป็นเด็กอีกครั้ง ผ่อนคลาย
- เมื่อตอนที่เราจำต้องวาดรูปต่อจากคนอื่น หลายคนรู้สึกกลัวว่าจะวาดของเพื่อนได้ไม่ดี เครียด ฝืนใจที่ต้องวาดรูปทับของคนอื่น บางคนพยายามทำของเพื่อนให้ดีที่สุด หลายคนเป็นห่วงภาพของตัวเองด้วยว่าเพื่อนจะทำอะไรกับภาพของเรา
สิ่งที่เราเรียนรู้ คือ
- สรรพสิ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆที่เกื้อหนุนกัน
- การอยู่ร่วมกันโดยมีการเกื้อกูลกัน ต้องมีความไว้วางใจต่อกัน ถ้าเราวางใจผู้อื่นว่าเขาจะทำงานให้ดีที่สุด เราจะคลายความกังวลงเรื่อยๆ งานแต่ละชิ้นไม่ใช่เกิดหรือเป็นผลจากเราคนเดียว แต่หลายคนมีส่วนร่วมในการสร้างงานด้วยทั้งสิ้น
- ถ้าหากงานมาถึงมือเรา แม้จะทำต่อจากคนอื่น เราควรอยู่กับปัจจุบัน คิดว่าภาพตรงหน้านั้นเป็นของเรา ทำให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ให้ดีที่สุด
- คิดว่าภาพนั้นยังคงดำรงอยู่ และภาพวาดนั้นเป็นของทุกคน ไม่ใช่ของใครคนไดคนหนึ่ง
- สบายใจคิดว่าทุกคนทำดีที่สุดภายใต้กติกาเดียวกัน

ตอนที่ต้องวาดพายุ หลายคนทำใจไม่ได้ ตกใจเล็กน้อย ไม่อยากทำลาย บางคนพยายามวาดไม่ให้เสียหายมาก ไม่ทำลายแต่พลิกสถานการณ์ให้ดีขึ้น มีเพลงมาเร่งเร้าให้ทำลาย รู้สึกมีพลังเพราะมีปัจจัยเกื้อหนุนในการทำลาย แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ


- มองเห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ให้เราคลายความกังวลมีความสุขมากขึ้น
- เห็นตัวตนมากขึ้น
- การทำลายที่เกิดจากธรรมชาติมักแฝงไปด้วยความปราณี มีมุมมองกับคำว่าการทำลายใหม่
- การทำลายกับการสร้างสรรค์จะอยู่เป็น วัฐจักร

ในชีวิตประจำวันกับการที่เรายึดติดกับบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นได้อย่างไร
- เพราะเราเป็นผู้สร้างสิ่งนั้นขึ้นมา
- เป็นสัญชาติญาณของชีวิต เกิดจาก – ความไม่รู้ที่คิดว่ามีของเรา – ทำเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยทั้งของตัวเอง ครอบครัว เผ่าพันธุ์ เพราะมีความกลัว ทำให้เราเลือกที่จะยึดบางสิ่งบางอย่างไว้
- การศึกษาการถูกสั่งสอนมา
- ระบบสื่อมวลชน การตลาด ระบบทุนนิยม ที่ส่งเสริมให้คนสร้างอัตลักษณ์ของตนที่เหนือกว่าคนอื่น
- คนเรามีการปรุงแต่งไม่รู้จักพอ
- วัฒนธรรมที่แยกตัวคนเดียว ไม่รวมเป็น สังฆะ
- เรามองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง(เพราะถูกบีดเบือนจากความจริง)
- มองไม่เห็นความเชื่อมโยง การเกื้อหนุนของสรรพสิ่ง



นอนผ่อนพักตระหนักรู้

กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเสียงเพลงและบทกวี



พิธีเฉลิมฉลองชีวิต
ชีวิตคนทำงานมักขาดความรื่นเริงในชีวิตทำให้ลางครั้งเรารู้สึกทุกข์ เราควรหาความสุขเล็กๆน้อยจากสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต จึงมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองให้ทุกคนได้มีส่วนในการสร้างสรรค์ความสุขมอบให้แก่กันและกัน ทุกคนในวงกิจกรรมผลัดกันนำเสนอกิจกรรมเพื่อความรื่นเริงในชีวิต คนหนึ่งนำเสนอการช่วยกันแต่งกลอนคนละประโยค วลี อีกคนนำเสนอเพลงร้อง ประกอบท่าเต้น ในวัยเด็ก ให้ทุกคนได้ลุกขึ้นมาบริหาร เคลื่อนไหวตัวเองไปรอบๆ

ขอสรุปท้ายด้วยภาพนี้ ทุกคนมีความสุขกันถ้วนหน้า ^^
(โดยเฉพาะพี่มัณ กินได้น่าอร่อยมากๆค้า)

เรียบเรียงโดย พี่อุ๊

โพสโดยนิ้งค่ะ

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โอวว...ความทรงละเอียดยิบๆ

หุหุ..เข้ามาช่วยเพิ่ม comment เดี๋ยวจะเงียบเหงาซะ

ใครอยากได้ version ไร้สาระเกือบสิ้นเชิงยกมือขึ้น ถ้าข้าพเจ้าว่าง ข้าพเจ้าจะรจนาให้

ภาวนาว่าอย่าให้มีใครยกมือเลย เจ้าประคู้นนนน...ซ้าทุ