วันศุกร์, พฤษภาคม 30, 2551

“สื่อกับจิตสาธารณะ”

สัมมนาวิชาการ
“สื่อกับจิตสาธารณะ”
วันพุธที่ 25 มิถุนายน 2551 เวลา 08.30- 16.00 น.
ณ ห้องประชุมทวี บุณยเกตุ ชั้น 6 อาคารสำนักอธิการบดี
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สื่อมวลชน สื่อโฆษณา สื่อการตลาด สื่อประชาสัมพันธ์ ข่าวสารจากองค์กรเหล่านั้นจะมีการชูประเด็นสาธารณะ จิตสาธารณะ จิตอาสาอยู่บ้าง แต่หลายคนอาจเคลือบแคลงว่าเป็น "จิตสำนึกเทียม" หรือไม่ อันเนื่องมาจากความมีผลประโยชน์แฝงเร้น ซึ่งเมื่อได้ผลตอบแทนแล้วก็ปราศจากอุดมการณ์ที่จะสานต่อประโยชน์สาธารณะอย่างต่อเนื่อง
จิตสาธารณะไม่ควรเป็นเพียงกระแสการตลาดหรือการะแสงานเพื่อสังคม แต่จิตสาธารณะจำเป็นอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่และเสรีประชาธิปไตย
คนรุ่นใหม่ต้องการสำนึกใหม่ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น เส้นแบ่งขอบเขตความเป็นส่วนตัวส่วนรวมทั้งในเชิงพื้นที่และในเชิงตัวตนชัดเจนขึ้น แต่กระนั้นสิทธิของปัจเจกชนจะต้องสอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม
รัฐและนโยบายพัฒนาที่ผิดพลาดไม่อาจตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของกลุ่มพวกและท้องถิ่น จำเป็นที่ต้องมีการรวมกลุ่มร่วมมือพึ่งตนเอง รวมถึงการทวงถามสิทธิที่รัฐพึงให้บริการ ความพยายามในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการต่อรองกับนโยบายสาธารณะที่ส่งผลกระทบถึงตน
จิตสำนึกสาธารณะจึงเป็นเรื่องของกระบวนการเรียนรู้จากความเป็นจริงทางการเมือง
และสังคมของประชาชนพลเมืองเอง ไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูปในหลักสูตรการศึกษาใด ๆ

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้จัดทำโครง การวิจัยชุด“จิตสำนึกสาธารณะ” และจะนำเสนอผลงานใน วันที่ 25 มิถุนายนนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด งานวิจัยสู่สังคม ดังกำหนดการดังต่อไปนี้


08.30- 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.30 น. - ศาสตราจารย์สุกัญญา สุดบรรทัด
คณบดี คณะนิเทศศาสตร์และหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวรายงาน
- รองศาสตราจารย์ ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน อธิการบดี กล่าวเปิดการประชุม - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว
ผู้อำนวยการดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์
นำเสนอภาพรวมงานวิจัยชุด “จิตสำนึกสาธารณะ”

09.30-10.30 น. นำเสนอผลการวิจัยกลุ่ม การสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะกับเยาวชน
1. “บทบาทรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กกับการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ” โดย รศ.ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์
2. “ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารของกลุ่มเยาวชนในการดำเนินงานกิจกรรม
สาธารณะ” โดย ผศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ
3. “ถอดบทเรียนสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศกับจิตสำนึกสาธารณะของเยาวชน
กรณีศึกษา ชมรมมุสลิมในสถาบันอุดมศึกษา” โดย ผศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว

10.30-10.40 น. พักรับประทานของว่าง

10.40- 12.00 น. นำเสนอผลการวิจัยกลุ่มการสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะกับชุมชน
4. “จิตสำนึกของหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหาสาธารณะที่ได้รับการร้องเรียน
ผ่านสื่อมวลชน” โดย อาจารย์พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์
5. “บทบาทสื่อมวลชนในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ:
กรณีศึกษาสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน เอฟ เอ็ม 96.0 เมกกะเฮิร์ตซ์” โดย อาจารย์วีณา แก้วประดับ
6. “จิตสำนึกสาธารณะ: อำนาจเรื่องเล่าบ้านทรายขาว” โดย อาจารย์วิไลวรรณ จงวิไลเกษม

12.00-13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.30-14.30 น. นำเสนอผลการวิจัยกลุ่มองค์กรและสื่อกับการสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะ
7. “การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะผ่านพันธมิตรองค์กร
ภาครัฐ องค์กรธุรกิจเอกชนและองค์กรไม่แสวงหากำไร” โดย อาจารย์เสาวนีย์ ฉัตรแก้ว
8. “จริยธรรมของนักวิชาชีพประชาสัมพันธ์ในการนำจิตสำนึกสาธารณะมาใช้ใน งานประชาสัมพันธ์”
โดย อาจารย์กอบกวี ชื่นรักสกุล
9. “ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะกับทัศนคติ
และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค" โดย อาจารย์มนัสสา จินต์จันทรวงศ์

14.30-14.40 น. พักรับประทานของว่าง

14.40-15.40 น. นำเสนอผลการวิจัยกลุ่มองค์กรและสื่อกับการสื่อสารจิตสำนึกสาธารณะ (ต่อ)
10. “การสื่อสารเพื่อการเชื่อมร้อยจิตสำนึกสาธารณะขององค์กรธุรกิจ
กับภาคประชาชน” โดย ผศ.สุรางคนา ณ นคร
11. “กลยุทธ์การวางแผนและการสร้างสรรค์สื่อจดหมายตรงขององค์กร เพื่อสาธารณประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการระดมทุน" โดย อาจารย์ วิลาวัณย์ วโรภาษ
12. “จิตสำนึกของผู้ประกอบการในการตลาดแบบปฏิสัมพันธ์” โดย ผศ.พนารัตน์ ลิ้ม

15.40-15.50 น. ซักถาม/ข้อเสนอแนะในภาพรวม
15.50-16.00 น. สรุปและปิดการประชุมสัมมนา
โดย ศาสตราจารย์สุกัญญา สุดบรรทัด คณบดี คณะนิเทศศาสตร์


การลงทะเบียน
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประชุมสัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสำรองที่นั่งได้ที่
1. คุณนันธิการ์ จิตรีงาม โทรศัพท์ 02-954-7300 ต่อ 445 หรือ 081-6560948
โทรสาร: 02-954-7355 และ E-mail: star_dao3@hotmail.com
2. สำนักงานเลขานุการ คณะนิเทศศาสตร์ 02-954-7300 ต่อ 300, 233, 724
โทรสาร: 02-954-7355

ไม่มีความคิดเห็น: